หน่วยการเรียนรู้ที่ 2

การจัดการเรียนการสอนออนไลน์

......... การจัดการชั้นเรียน หมายถึง การสร้างและการรักษาสิ่งแวดล้อมของห้องเรียนเพื่อเอื้อต่อการเรียนรู้ของนักเรียน หรือหมายถึงกิจกรรมทุกอย่างที่ครูทำเพื่อจะช่วยให้การสอนมีประสิทธิภาพและนักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ในการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้สำหรับบทเรียนหนึ่งๆนอกจากนี้การจัดการห้องเรียนยังรวมถึงการที่ครูสามารถที่จะใช้เวลาที่กำหนดไว้ในตารางสอนได้อย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย และการจัดที่นั่งของนักเรียน และอุปกรณ์ที่ครูจะใช้ในการสอนให้อยู่ในสภาพที่จะช่วยครูได้ในเวลาสอน

......... การจัดการชั้นเรียนที่มีประสิทธิภาพโดยเฉพาะการจัดการชั้นเรียนออนไลน์ จะทำให้ผู้สอนและผู้เรียนมีความรู้สึกสบายกาย สบายใจ และจัดการการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากการจัดการเรียนการสอนออนไลน์เป็นรูปแบบใหม่ที่ผู้สอนและผู้เรียนยังไม่คุ้นเคยกับการจัดการเรียนการสอนแบบนี้ ดังนั้นจึงแบ่งการจัดการชั้นเรียนออนไลน์ออกเป็น 3 ด้าน ปะรกอบด้วย การจัดการชั้นเรียนออนไลน์ด้านกายภาพ และการจัดการชั้นเรียนด้านจิตวิทยา (จิตใจ) และการจัดการชั้นเรียนออนไลน์ด้านการศึกษา และเพื่อให้การจัดการชั้นเรียนออนไลน์มีประสิทธิภาพควรประกอบด้วยการจัดการชั้นเรียนออนไลน์ช่วงก่อนเริ่มเรียน ช่วงระหว่างเรียน และช่วงหลังเรียน ดังมีรายละเอียดดังนี้

| การจัดการชั้นเรียนออนไลน์ด้านกายภาพ

การจัดการชั้นเรียนด้านกายภาพ อาจเป็นการจัดอาคารสถานที่ โต๊ะ เก้าอี้ สื่อวัสดุอุปกรณ ์และแหล่งความรู้ที่เกื้อกูลต่อการเรียนรู้และการปฏิบัติกิจกรรมของผู้เรียน แต่สําหรับการจัดการชั้นเรียนออนไลน์เนื่องจากผู้สอนและผู้เรียนอยู่คนละอาคาร คนละสถานที่กัน การจัดการชั้นเรียนด้านกายภาพอาจประกอบด้วย

1. สถานที่สำหรับจัดการเรียนการสอนออนไลน์ เช่น ภายในบ้าน ห้องนอน ห้องนั่งเล่น ร่มไม้ สวนหย่อม ภายนอกบ้าน เช่น ร้านกาแฟ ห้างสรรพสินค้า

2. วัสดุอุปกรณ์จัดการเรียนการสอนออนไลน์ แหล่งจ่ายไฟ อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ สัญญาเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โปรแกรมสำหรับเชื่อมต่อออนไลน์

3. แหล่งเรียนรู้ให้สอดคล้องกับกิจกรรมจัดการเรียนการสอนออนไลน์ เหมาะสมกับเนื้อหา สาระรายวิชา การเข้าถึงแหล่งเรียนอื่นๆ

| การจัดการชั้นเรียนออนไลน์ด้านจิตวิทยา

บรรยากาศทางจิตวิทยา เป็นลักษณะของบรรยากาศที่เกิดขึ้นโดยการกระทำของ ผู้เรียนที่ส่งผลต่อความรู้สึกนึกคิดและพฤติกรรมของผู้เรียน ถ้าลักษณะบรรยากาศทางจิตวิทยาเป็นไปในทางบวก ผู้เรียนจะเกิดความรู้สึกอบอุ่นใจ ผ่อนคลาย ทำให้เกิดการเรียนรู้ได้โดยง่าย และมีผลทำให้รู้สึกมีความสุขในการเรียนรู้ ทำให้เป็นผู้ที่รักและใฝ่ในการเรียนรู้

1. สร้างบรรยากาศกระตุ้นให้ผู้เรียนอยากเรียนรู้ และให้กำลังใจเมื่อผู้เรียนลงทำหรือตอบสนอง

2. สร้างบรรยากาศที่อบอุ่น ปลอดภัย เป็นมิตร ปราศจากความหวดกลัว เพื่อให้ผู้เรียนกล้าคิดกล้าติดสินใจแสดงความคิดเห็น

3. บรรยากาศที่ยอมรับนับถือซึ่งกันและกัน เพื่อสร้างความมั่นใจต่อการเรียนรู้


4. สร้างความความมีระเบียบวินัย ของการทำงานจาการติดตามข่าวสาร และสิทธิหน้าที่ของตนเองบนห้องเรียนออนไลน์

| การจัดการชั้นเรียนออนไลน์ด้านการศึกษา

บรรยากาศการจัดการเรียนออนไลน์ด้านการศึกษา เป็นการจัดการชั้นเรียนรออนไลน์ที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมการเรียนการสอนทั้งหมดตั้งแต่ก่อนเรียน ระหว่างเรียน และหลังเรียน ให้มีความพร้อมเข้ากับบริบทของการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนออนไลน์ ซึ่งทั้งหมดระบุอยู่ในแผนการสอนแต่ละครั้ง ประกอบด้วย

1. การเตรียมแผนการเรียนรู้ เนื้อหา กิจกรรม ที่เหมาะสมกับผู้เรียน และเนื้อหา อุปกรณ์ สำหรับการเรียนการสอนออนไลน์

2. การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่ผู้สอนได้เตรียมไว้ การกำหนดกฎระเบียบ การสื่อสาร เนื้อหา กิจกรรม การวัดประเมินผล

3. การพัฒนาปรับปรุงการเรียนการสอนออนไลน์ ครั้งต่อไปเพื่อ ทั้งกระบวนการ และผลสัมฤทธิ์ที่เกิดกับผู้เรียน

| จิตวิทยาการสอนออนไลน์

จิตวิทยาการสอนออนไลน์ เป็นการนำหลักการทางจิตวิทยาการศึกษามาใช้ในการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ เพื่อให้ผู้สอนและผู้เรียนเข้าใจในทิศทางเดียวกันเกี่ยวกับพฤติกรรมและกระบวนการทางจิตใจของผู้เรียน และผู้สอนสามารถวางแผนการบริหารจัดการชั้นเรียนออนไลน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในประเด็นเกี่ยวกับความสำเร็จของจิตวิทยาต่อผู้สอน พฤติกรรมของผู้เรียนออนไลน์ และแรงจูงใจของผู้เรียนที่มีผลต่อการจัดการเรียนการสอนออนไลน์

พฤติกรรมของผู้เรียนออนไลน์ จากผลการสำรวจสะท้อนให้เห็นว่านักศึกษาไม่มีปัญหาในการเข้าถึงและใช้งานอินเทอร์เน็ตและเครือข่ายสังคมออนไลน์และสามารถใช้งานอินเทอร์เน็ตได้เป็นอย่างดี รวมถึงสามารถใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์และแอพพิเคชั่นทั้งหลาย ผู้สอนสามารถคลลายความกังวลในการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตและการใช้งานของผู้เรียนได้


ปี 2562 คนไทยใช้อินเตอร์เน็ตโดยเฉลี่ย 10 ชั่วโมง 22 นาทีต่อวัน แลอาชีพที่ใช้อินเทอร์เน็ตเยอะที่สุดคือ นักเรียน/นักศึกษา 10.50 ชั่วโมงต่อวัน ส่วนอาชีพอื่น ๆ ไม่ต่างกันมากโดยเฉลี่ยมากกว่า 10.30 ชั่วโมงต่อวัน

Social media ยังคงเป็นกิจกรรมออนไลน์ที่คนไทยใช้เวลาเยอะที่สุด รองลงมาคือดูหนังฟังเพลงและค้นหาข้อมูล
ที่น่าสนใจ คือ กิจกรรมที่ปกติทำผ่านช่องทางออฟไลน์มีอัตราเติบโตสูงขึ้นมากในปีที่ผ่านมา เช่น สั่งอาหาร (เมื่อก่อนคนชินกับการโทรสั่ง) ชำระเงิน และดำเนินธุรกรรมรับส่งของและเอกสาร

กลยุทธ์ในการกระตุ้นผู้เรียนทางออนไลน์ ควรมีเทคนิคการสอน ที่จะช่วยให้คุณครูสามารถดึงดูดความสนใจ กระตุ้นผู้เรียนทางออนไลน์ มี 7 กลยุทธ์ ก่อนอื่นคุณครูต้องทบทวนในเรื่องจิตวิทยาการศึกษากันก่อนครู ซึ่งได้จำแนกแรงจูงใจออกเป็น 2 ประเภท คือ แรงจูงใจภายใน และ แรงจูงใจภายนอก (Bligh, 1971; Sass, 1989)

แรงจูงใจภายใน นั่นจะเป็นสิ่งผลักดันจากภายในตัวบุคคล และมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมค่อนข้างถาวร ได้แก่

  1. Interest : ความสนใจ

  2. Perceptions : การรับรู้สิ่งเร้า

  3. Desire : ความต้องการ

  4. Self-confidence : ความมั่นใจในตัวเอง

  5. Self-esteem : การเห็นคุณค่าในตัวเอง ซึ่งส่งผลต่อความกระตือรือร้นในการใช้ชีวิต

  6. Patience : ความอดทน

  7. Persistence : ความพากเพียร


ส่วนแรงจูงใจภายนอก เป็นสิ่งผลักดันจากสิ่งเร้าภายนอกตัวบุคคลที่มากระตุ้นให้เกิดพฤติกรรมไม่ถาวร แต่หากเกิดการกระตุ้นอย่างต่อเนื่องจะสามารถเปลี่ยน แรงจูงใจภายนอกเป็นแรงจูงใจภายในได้ ซึ่งส่งผลให้พฤติกรรมเปลี่ยนค่อนข้างถาวร