หน่วยการเรียนรู้ที่ 1

แนวคิดและรูปแบบการจัดการเรียนการสอนออนไลน์

.........การจัดการเรียนการสอนออนไลน์ เป็นนวัตกรรมสําหรับการเรียนรูที่ได้รับการพัฒนาและใช้เป็นสื่อเสริม สื่อเติม และสื่อหลัก หรือการเรียนรูแบบผสมผสาน (Blended learning) หากสถานการณ์ปกติผู้สอนสามารถ ออกแบบและจัดการเรียนการสอนในห้องเรียนปกติควบคู่ไปกับการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ได การจัดการ เรียนการสอนออนไลนถูกพัฒนาและเปลี่ยนแปลงรูปแบบไปตามความก้าวหน้าของเทคโนโลยี มักมีองค์ประกอบ หลักประกอบดวย เนื้อหาวิชา ระบบบริหารจัดการรายวิชา ระบบบริการการติดตอสื่อสาร และแบบฝึกหัดและ แบบทดสอบ ทั้งนี้การวางแผนการสอนและการวิเคระห์เนื้อหาสำหรับในการจัดการเรียนการสอนออนไลน์จึงเป็นส่วนที่ผู้สอนต้องมีการเตรียมตัวเป็นอย่างดี

| การเรียนการสอนออนไลน์ คือ?

.........การเรียนการสอนออนไลน์ (Online learning) จัดเป็นนวัตกรรมทางการศึกษาในอีกรูปแบบหนึ่ง ซึ่งสามารถเปลี่ยนแปลงวิธีเรียนในรูปแบบเดิมๆ ให้เป็นการเรียนใหม่ ที่ใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยทำการสอน นอกจากนี้ความหมายอีกในหนึ่งยังหมายถึง การเรียนทางไกล , การเรียนผ่านเว็บไซต์ อีกด้วย
.........การเรียนการสอนแบบออนไลน์ (Online learning) จะเป็นเรียนทางผ่านทางอินเทอร์เน็ต โดยอยู่ในรูปแบบของคอมพิวเตอร์ เป็นการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ บวกเข้ากับเครือข่ายอินเทอร์เน็ต สร้างการศึกษาที่มีปฏิสัมพันธ์คุณภาพสูง โดยไม่จำเป็นต้องเดินทาง เกิดความสะดวกและเข้าถึงได้อย่างรวดเร็ว ทุกสถานที่ ทุกเวลา เป็นการสร้างการศึกษาตลอดชีวิตให้กับประชากร
.........การเรียนการสอนแบบออนไลน์ เป็นการศึกษาผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ด้วยตนเอง ผู้เรียนสามารถเลือกเรียนตามความชอบของตนเอง ในส่วนของเนื้อหาของเรียน ประกอบด้วย ข้อความ , รูปภาพ , เสียง , VDO และMultimedia อื่นๆ สิ่งเหล่านี้จะถูกส่งตรงไปยังผู้เรียนผ่าน Web Browser ทั้งผู้เรียน , ผู้สอน และเพื่อนร่วมชั้นทุกคน สามารถติดต่อ สื่อสาร ปรึกษา แลกเปลี่ยนความคิดเห็นแบบเดียวกับการเรียนในชั้นเรียนทั่วไป โดยการใช้ E-mail, Chat, Social Network เป็นต้น ด้วยเหตุนี้การเรียนรู้แบบออนไลน์ จึงเป็นเหมาะสำหรับทุกคน , เรียนได้ทุกเวลา


ลักษณะสำคัญของการเรียนการสอนแบบออนไลน์ (Online learning)

  • ผู้เรียนเป็นใครก็ได้ อยู่ที่ใดก็ได้ เรียนเวลาก็ใด เอาตามความสะดวกของผู้เรียนเป็นสำคัญ เนื่องจากโรงเรียนออนไลน์ได้เปิดเว็บไซต์ให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง

  • มีสื่อทุกประเภทที่นำเสนอในเว็บไซต์ ไม่ว่าจะทั้ง ข้อความ , ภาพนิ่ง , ภาพเคลื่อนไหว , เสียง , VDO ซึ่งจะช่วยกระตุ้นความสนใจ ในการเรียนรู้ของผู้เรียนได้เป็นอย่างดี อีกทั้งยังทำให้เหตุภาพของเนื้อหาต่างๆง่ายดายมากขึ้น

  • ผู้เรียนสามารถเลือกวิชาเรียนได้ตามความต้องการ

  • เอกสารบนเว็บไซต์ที่มี Links ต่อไปยังแหล่งความรู้อื่นๆ ทำให้ขอบเขตการเรียนรู้กว้างออกไป และเรียนอย่างรู้ลึกมากขึ้น


ประโยชน์ของการเรียนการสอนแบบออนไลน์ (Online learning)

  • ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการเรียนการสอน เนื่องจากไม่ได้จำกัดอยู่ในสถานที่เดียวเท่านั้น

  • เกิดเครือข่ายความรู้ โยงใยออกไปไกล

  • เน้นการเรียนแบบผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง

  • ช่วยลดช่องว่างระหว่างการเรียนรู้ในเมืองกับท้องถิ่น


ใบความรู้ที่ 1 การออกแบบการเรียนการสอนออนไลน์

| รูปแบบ TPACK Model

.........รูปแบบ TPACK หรือ TPCK คือ กระบวนการให้ความรู้แก่ครูหรือบูรณาการไอซีที ที่มีประสิทธิผล โดยที่ครูจะต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับเทคโนโลยี การเรียนการสอนความรู้ด้านเนื้อหาที่ปฏิสัมพันธ์กันเพื่อประสิทธิผลของการสอนใน รายวิชาโดยใช้เทคโนโลยีสนับสนุน ซึ่งมีองค์ประกอบของ TPACK ทีนำมาบูรณาการ 3 ส่วน คือ (ประหยัด จิระวรพงศ์ : 2553 )

1.ความรู้ด้านเนื้อหา (Content Knowledge) CK คือ สาระ ข้อมูล แนวคิด หลักการ เกี่ยวกับเนื้อหาวิชาการ หรือประสบการณ์ในตัวของผู้สอนที่จะถ่ายทอดไปยังผู้เรียน มีความรู้ความเข้าใจตามวัตถุประสงค์

2.ความรู้ด้านศิลปะการเรียนการสอน (Pedagogical Knowledge) PK คือ ความรู้ที่ใช้ประยุกต์แนวทางการเรียนการสอนให้กับผู้เรียน การจัดชั้นเรียนและการประเมินผลซึ่งเป็นความรู้ที่ลุ่มลึกเกี่ยวกับกระบวนการและการปฏิบัติหรือวิธีการสอน

3.ความรู้ด้านเทคโนโลยี (Technological Knowledge) PK คือ ความรู้ความสามารถเกี่ยวกับการประยุกต์ใช้สื่ออุปกรณ์ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา ประกอบการเรียนการสอนที่สอดคล้องและเหมาะสมกับเนื้อหาวิชาการและผู้เรียน

แนวคิดในการจัดการเรียนการสอน TPACK Model | ความรู้ในเนื้อหาผนวกเทคโนโลยี : TCK | ความรู้ในวิธีการสอนผนวกเทคโนโลยี TPK

Digital Education : spu.mooc

TPACK Model : thaicyberu

| รูปแบบการเรียนการสอน Instruction Model

.........รูปแบบการสอน หมายถึง สภาพหรือลักษณะของการจัดการเรียนการสอนที่จัดขึ้นอย่างมีระบบระเบียบ มีแบบแผนตามหลักปรัชญา ทฤษฎี หลักการแนวคิด หรือความเชื่อต่างๆ โดยอาศัยวิธีสอนและเทคนิคการสอนต่างๆ เข้ามาช่วยให้สภาพการเรียนการสอนนั้นเป็นไปตามหลักการที่ยึดถือ (ทิศนา แขมมณี : 2550 )

.........ทั้งนี้รูปแบบการเรียนการสอนที่เป็นสากลล้วนได้รับการพิสูจน์ทดสอบประสิทธิภาพมาแล้วและมีผู้นิยมนำไปใช้ในการเรียนการสอนโดยทั่วไป แต่เนื่องจากรูปแบบการเรียนการสอนดังกล่าวมีจำนวนมาก เพื่อความสะดวกในการศึกษาและการนำไปใช้ จึงได้จัดหมวดหมู่ของรูปแบบเหล่านั้นตามลักษณะของวัตถุประสงค์เฉพาะหรือเจตนารมณ์ของรูปแบบ ซึ่งสามารถจัดกลุ่มได้เป็น 5 หมวดดังนี้

1. รูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นการพัฒนาด้านพุทธิพิสัย (cognitive domain)
2. รูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นการพัฒนาด้านจิตพิสัย (affective domain)
3. รูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นการพัฒนาด้านทักษะพิสัย (psycho-motor domain)
4. รูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นการพัฒนาทักษะกระบวนการ (process skill)
5. รูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นการบูรณาการ (integration)

การพัฒนาด้านพุทธิพิสัย
(cognitive domain)

การพัฒนาด้านจิตพิสัย
(affective domain)

การพัฒนาด้านทักษะพิสัย
(psycho-motor domain)

การพัฒนาทักษะกระบวนการ
(process skill)

รูปแบบการเรียนการสอนออนไลน์

รูปแบบการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ 9 ขั้น ของกาเย่ ( Gagne )
รูปแบบการจัดการเรียนการสอนออนไลน Khan’s E-Learning P3 Model
รูปแบบการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ อาชีวศึกษายุควิกฤติโควิด-19
รูปแบบการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ จาก e-learning สู่ Flipped Classroom
รูปแบบการจัดการเรียนการสอนออนไลน AL MIAP

| หลักการออกแบบการเรียนการสอน ADDIE Model

ADDIE Model เป็นกระบวนการพัฒนารูปแบบการสอนที่นักออกแบบการเรียนการสอนและนักพัฒนาการฝึกอบรมนิยมใช้กัน ซึ่ง ADDIE Model มีลำดับการพัฒนาเป็น 5 ขั้น ซึ่งประกอบด้วย การวิเคราะห์ (Analysis) การออกแบบ (Design) การพัฒนา (Development) การนำไปใช้ (Implementation) และการประเมินผล (Evaluation) ซึ่งแต่ละขั้นตอนเป็นแนวทางที่มีลักษณะ

ขั้นตอนการวิเคราะห์ (Analysis)
1. การกำหนดเรื่องและวัตถุประสงค์ทั่วไป 2. การวิเคราะห์ผู้เรียน
3. การวิเคราะห์วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม
4. การวิเคราะห์เนื้อหา

ขั้นตอนการออกแบบ (Design)
1. การออกแบบ Courseware (การออกแบบบทเรียน) วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม เนื้อหา แบบทดสอบก่อนบทเรียน (Pre-test) สื่อ กิจกรรม วิธีการนำเสนอ และแบบทดสอบหลังบทเรียน (Post-test)
2. การออกแบบผังงาน (Flowchart) และการออกแบบบทดำเนินเรื่อง (Storyboard) (ขั้นตอนการเขียนผังงานและสตอรี่บอร์ดของ อลาสซี่) 3. การออกแบบหน้าจอภาพ (Screen Design) การออกแบบหน้าจอภาพ หมายถึง การจัดพื้นที่ของจอภาพเพื่อใช้ในการนำเสนอเนื้อหา ภาพ และส่วนประกอบอื่นๆ สิ่งที่ต้องพิจารณามีดังนี้
3.1 การกำหนดความละเอียดภาพ (Resolution)
3.2 การจัดพื้นที่แต่ละหน้าจอภาพในการนำเสนอ
3.3 การเลือกรูปแบบและขนาดของตัวอักษรทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
3.4 การกำหนดสี ได้แก่ สีของตัวอักษร (Font Color) ,สีของฉากหลัง (Background) ,สีของส่วนอื่นๆ
3.5 การกำหนดส่วนอื่นๆ ที่เป็นสิ่งอำนวยความสะดวกในการใช้บทเรียน

ขั้นตอนการพัฒนา (Develop) (ขั้นตอนการสร้าง/เขียนโปรแกรมและผลิตเอกสารประกอบการเรียน)
1. การเตรียมการ
1.1 การเตรียมข้อความ
1.2 การเตรียมภาพ

1.3 การเตรียมเสียง
1.4 การเตรียมโปรแกรมจัดการบทเรียน
2. การสร้างบทเรียน หลังจากได้เตรียมข้อความ ภาพ เสียง และส่วนอื่น เรียบร้อยแล้ว ขั้นต่อไปเป็นการสร้างบทเรียนโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์จัดการ เพื่อเปลี่ยนสตอรี่บอร์ดให้กลายเป็นบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
3. การสร้างเอกสารประกอบการเรียน หลังจากสร้างบทเรียนเสร็จสิ้นแล้ว ในขั้นต่อไปเป็นการตรวจสอบและทดสอบความสมบูรณ์ขั้นต้นของบทเรียน

ขั้นตอนการนำไปใช้ (Implement) การนำบทเรียนคอมพิวเตอร์ไปใช้ โดยใช้กับกลุ่มตัวอย่างมาย เพื่อตรวจสอบความเหมาะสมของบทเรียนในขั้นต้น หลังจากนั้น จึงทำการปรับปรุงแก้ไขก่อนที่จะนำไปใช้กับกลุ่มเป้าหมายจริง เพื่อหาประสิทธิภาพของบทเรียน และนำไปให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบความเหมาะสมและประสิทธิภาพ

ขั้นตอนการประเมินผล (Evaluate) การประเมินผล คือ การเปรียบเทียบกับการเรียนการสอนแบบปกติ โดยแบ่งผู้เรียนออกเป็น 2 กลุ่ม เรียนด้วยบทเรียน ที่สร้างขึ้น 1 กลุ่ม และเรียนด้วยการสอนปกติอีก 1 กลุ่ม หลังจากนั้นจึงให้ผู้เรียนทั้งสองกลุ่ม ทำแบบทดสอบชุดเดียวกัน และแปลผลคะแนนที่ได้ สรุปเป็นประสิทธิภาพของบทเรียน (ครูบ้านนอก : 2552)


โมเดลการออกแบบการเรียนรู้ : thaicyberu

ADDIE สื่อการเรียนการสอนแบบ : ตั๊ก แม่ให้ไปถูบ้าน

| การประเมินตามสภาพจริง รูบริคการให้คะแนน (Scoring Rubrics)

การประเมินตามสภาพจริง (Authentic Assessment)

.........ารประเมินผลตามสภาพจริง หมายถึง กระบวนการสังเกต บันทึกและการรวบรวมข้อมูลจากผลงาน วิธีการ หรือสิ่งที่ผู้เรียนปฏิบัติ เพื่อเป็นพื้นฐานของการตัดสินใจต่อตัวผู้เรียน การประเมินผลตามสภาพจริง จะไม่เน้นการประเมินเฉพาะทักษะพื้นฐาน แต่จะเน้นประเมินทักษะการคิดที่ซับซ้อนในการทำงาน ความสามารถในการแก้ปัญหาและการแสดงออกที่เกิดจาการปฏิบัติในสภาพจริง ในการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญด้วย การวัดและประเมินตามสภาพจริง มีกระบวนการวัดผลการเรียนรู้ตามแนวทาง 3 ประการ คือ

1. วัดตามจุดประสงค์การเรียนรู้ได้จริง วัดความสามารถทางความรู้ ความคิดได้จริง (Cognitive Ability) วัดความสามารถในการปฏิบัติได้จริง (Performance/Practice Ability) และวัดคุณลักษณะทางจิตใจได้จริง (Affective Characteristics)

2. วัดได้ตรงความเป็นจริง คือ สิ่งที่วัดได้นั้นเป็นข้อมูล เป็นการแสดงพฤติกรรมที่สะท้อนความสามารถที่แท้จริงของผู้เรียน ทั้งความสามารถทางความรู้ ความคิด ความสามารถในการปฏิบัติและคุณลักษณะทางจิตใจ มีความคลาดเคลื่อนผิดพลาดน้อยที่สุด ไม่เปิดโอกาสให้ผู้ด้อยความสามารถได้คะแนนสูง ตัดความผิดพลาดที่ผู้มีความสามารถสูงกลับได้คะแนนน้อย

3. เลือกสรร คิดค้นเครื่องมือและเทคนิคการวัดผลที่เป็นการวัดพฤติกรรมที่แท้จริงที่แสดงออกซึ่งความสามารถของผู้เรียน (Ability to do) ซึ่งอาจได้จากการสังเกตุพฤติกรรมผู้เรียน สังเกตจากการปฏิบัติภาระงาน (Tasks) ที่จัดให้ปฏิบัติในสถานการณ์ที่ผู้สอนจะกำหนด สังเกตจากร่องรอยหลักฐานผลการปฏิบัติภาระงานของผู้เรียน เป็นต้น

รูบริคการให้คะแนน (Scoring Rubrics)

.........รูบริค คือ เครื่องมือในการให้คะแนนซึ่งประกอบด้วยเกณฑ์ด้านต่าง ๆ ที่ใช้พิจารณาชิ้นงานหรือการปฏิบัติ เช่น การประเมินงานเขียนจะพิจารณาวัตถุประสงค์ องค์ประกอบรายละเอียด น้ำเสียงของการเขียน และกลวิธีการเขียน เป็นต้น อีกประการหนึ่ง คือ ระดับคุณภาพของเกณฑ์แต่ละด้าน ซึ่งมีตั้งแต่ระดับดีเยี่ยมจนถึงต้องปรับปรุง (Heidi Goodrich Andrade, 1997)
.........รูบริคการให้คะแนน คือ แนวทางการให้คะแนนอย่างละเอียดซึ่งพัฒนาขึ้นโดยผู้สอนหรือผู้ประเมินเพื่อเป็นแนวทางในการวิเคราะห์ผลงานหรือกระบวนการที่เกิดจากความพยายามของนักเรียน (BarbaraM. Moskel, 2000)
.........กล่าาวโดยสรุป รูบริคเป็นเครื่องมือให้คะแนนชนิดหนึ่ง ใช้ในการประเมินการปฏิบัติงานหรือผลงานของนักเรียน รูบริคประกอบด้วย 2 ส่วน คือ
1. เกณฑ์ที่ใช้ประเมินการปฏิบัติหรือผลงาน บอกว่าจะพิจารณาสิ่งใดบ้าง
2. ระดับคุณภาพหรือระดับคะแนน บอกว่าจะได้รับคุณภาพระดับใด
ตัวอย่าง แบบประเมินชิ้นงาน ตัวอย่าง เกณฑ์แบบประเมินชิ้นงาน
ตัวอย่าง แบบประเมินทำงานกลุ่ม ตัวอย่าง เกณฑ์แบบประเมินทำงานกลุ่ม

รูบริคสำหรับครู

- เป็นเครื่องมือการสอนของครู ช่วยควบคุมการปฏิบัติการตามความคาดหวังในผลงานนักเรียน
- ลดเวลาครูในการประเมินงานนักเรียน เห็นจุดเด่นและสิ่งที่นักเรียนต้องปรับปรุง
- มีความยืดหยุ่น คือมีระดับคุณภาพตั้งแต่ดีเยี่ยมจนถึงต้องปรับปรุงใช้กับนักเรียนคละความสามารถได้ โดยใช้เกณฑ์สะท้อนผลงานของเขา

รูบริคสำหรับนักเรียน

- เป็นเครื่องมือการเรียนของนักเรียน ช่วยปรับปรุงพัฒนาการการปฏิบัติและการแสดงออกของนักเรียน
- ช่วยตัดสินคุณภาพผลงานของตนเองและของคนอื่นอย่างมีเหตุผล
- นักเรียนเกิดการเรียนรู้มากขึ้น รู้ว่าอะไรคือผลงานสุดท้ายที่ออกมาดี และจะเตรียมตัวตามประเด็นการประเมินอย่างไร
- ใช้ง่ายและอธิบายได้ง่าย รู้ชัดเจนว่าจะเรียนรู้อะไร จะประเมินอย่างไร

| คำถามชวนคิด

1. จะสอนด้วยเทคโนโลยีอะไร? (Technology) : T
2. จะสอนเรื่องอะไร? (Content) : C
3. มีวิธีการสอนอย่างไร? (Pedagogy) : P
4. จะสอนเนื้อหาด้วยเทคโนโลยีที่เลือกได้อย่างไร? (Technology Content Knowledge) : TCK
5. จะจัดกิจกรรมการเรียนรู้ร่วมกับเนื้อหาที่เลือกได้อย่างไร? (Pedagogy Content Knowledge) : PCK
6. จะทำการส่งเนื้อหาหรือเผยแพร่ชิ้นงานผ่านเทคโนโลยีที่เลือกได้อย่างไรบ้าง? (Technology Pedagogy Knowledge) : TPK