งานที่ปฏิบัติตามมาตรฐานตำแหน่งครู (ตามที่ทำข้อตกลงไว้)

ลักษณะงานที่เสนอให้ครอบคลุมถึงการพัฒนาตนเองอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง การมีส่วนร่วมในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้ และการนำความรู้ความสามารถ ทักษะที่ได้จากการพัฒนาตนเองและวิชาชีพมาใช้ในการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ การพัฒนาคุณภาพผู้เรียน และการพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้


1. พัฒนาตนเองอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง โดยเข้ารับการอบรม รับชม รับฟัง หรือศึกษา เพื่อพัฒนาความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการใช้ สถานการณ์ปัญหาในการจัดการเรียนการสอน และเพิ่มเติมความรู้ในเนื้อหาเกี่ยวกับ เรื่อง “เวกเตอร์ในสามมิติ” เพื่อนำมาพัฒนาเป็นนวัตกรรมที่นำมาใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ส่งเสริมให้นักเรียนได้เกิด “ทักษะการสื่อสารทางคณิตศาสตร์” และให้สอดคล้องกับประเด็นท้าทายที่จะนำมาพัฒนาผู้เรียน ตามที่คาดหวังไว้

  • การพัฒนาตนเองเพื่อให้มีความรู้ ความสามารถ ทักษะด้วยวิธีการต่าง ๆ อย่างเหมาะสม

  • การมีส่วนร่วมในชุมชนการเรียนรู้

เสวนาประสาคณิตศาสตร์ ครั้งที่ 18
จำนวน 2 ชั่วโมง

โครงการอบรมพัฒนาสมรรถนะครูมืออาชีพ
จำนวน 6 ชั่วโมง

การจัดทำแฟ้ม สะสมผลงานแบบอิเล็กทรอนิกส์ครั้งที่ 2
จำนวน 3 ชั่วโมง

การจัดการเรียนรู้วิทยาการคำนวณสำหรับครูมัธยมศึกษาปีที่ 1 - 3
จำนวน 20 ชั่วโมง

2. มีส่วนร่วมในชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพในโรงเรียน เพื่อร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในบทบาทที่แตกต่างกัน เช่น ครูผู้สอน หรือครูผู้ร่วมเรียนรู้ เป็นต้น และนำผลที่เกิดจากวงกิจรรม PLC นั้นมาสร้างและพัฒนาการจัดการเรียนรู้ให้ผู้เรียนมีคุณภาพตามเป้าหมายที่กำหนด

  • ปฏิบัติกิจกรรม วันจันทร์ที่ 13 ธันวาคม 2564 ชี้แจงรายละเอียดการดำเนินการ PLC กลุ่มยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และ 2

แผนปฏิบัติกิจกรรม PLC.pdf
สมาชิกในกลุ่ม จำนวน 8 คน.pdf
  • ปฏิบัติกิจกรรม วันจันทร์ที่ 30 พฤษภาคม 2565 วงสนทนาที่ 2 เรื่อง "การออกแบบกิจกรรมการเรียนการสอน"

บันทึก PLC 30_5_65 ชัชวาลย์.pdf

ผลลัพธ์ (Outcomes) ของงานตามข้อตกลง ที่คาดหวังให้เกิดขึ้นกับผู้เรียน

  • นักเรียนมีสื่อและแหล่งเรียนรู้ที่สามารถศึกษาเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง และมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่สูงขึ้น

  • นักเรียนที่มีปัญหาในการเรียน ได้รับการแก้ไขด้วยแนวทางหรือข้อเสนอแนะจากการเข้าร่วมชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC)

ตัวชี้วัด (Indicators) ที่จะเกิดขึ้นกับผู้เรียนที่แสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลง ไปในทางที่ดีขึ้นหรือมีการพัฒนามากขึ้นหรือผลสัมฤทธิ์สูงขึ้น

  • นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนในรายวิชา คณิตศาสตร์เสริมเข้ม 4 (ค32204) และ คณิตศาสตร์เสริมเข้ม 3 (ค32203) มีระดับคุณภาพผู้เรียนเป็นไปตามค่าเป้าหมายที่สถานศึกษากำหนด

  • นักเรียนร้อยละ 50 ของกลุ่มที่ไม่ผ่านเกณฑ์ ได้รับการซ่อมเสริม แก้ไข ปรับปรุง และพัฒนาจนมีผลการเรียนรู้ผ่านเกณฑ์