งานที่ปฏิบัติตามมาตรฐานตำแหน่งครู (ตามที่ทำข้อตกลงไว้)


ลักษณะงานที่ปฏิบัติตามมาตรฐานตำแหน่ง

ลักษณะงานที่เสนอให้ครอบคลุมถึง การสร้างและหรือพัฒนาหลักสูตร การออกแบบการจัดการเรียนรู้ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ การสร้างและหรือ
พัฒนาสื่อ นวัตกรรม เทคโนโลยี และแหล่งเรียนรู้ การวัดและประเมินผลการจัดการเรียนรู้ การศึกษา วิเคราะห์ สังเคราะห์ เพื่อแก้ปัญหาหรือพัฒนา
การเรียนรู้ การจัดบรรยากาศที่ส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียน และการอบรมและพัฒนาคุณลักษณะที่ดีของผู้เรียน

  • 1. วิเคราะห์หลักสูตรแกนกลาง และหลักสูตรสถานศึกษาในส่วนของกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ มาตรฐานการเรียนรู้ และผลการเรียนรู้ของผู้เรียนในภาคเรียนก่อนหน้า
    เพื่อนำมาจัดทำเอกสารชุดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้ และผลการเรียนรู้ที่จะพัฒนาผู้เรียน

  • 2. จัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ทักษะการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ของผู้เรียน เน้นให้นักเรียนได้ฝึกทักษะทางคณิตศาสตร์และเชื่อมโยงองค์ความรู้ที่ถูกต้องด้วยตนเอง ควบคู่กับ

1) การพัฒนาสื่อการเรียนรู้ที่เป็นเอกสาร และวิดีโอ

2) พัฒนานวัตกรรมที่เลือกนำมาใช้คือ โปรแกรม Discord

3) แหล่งเรียนรู้ที่เกี่ยวข้องสำหรับแนะแนวทางการศึกษาเพิ่มเติมให้นักเรียน คือ แพลตฟอร์มการเรียนรู้ Proj14 จาก สสวท.

  • 3. ครูและนักเรียนมีส่วนร่วมในการพัฒนารูปแบบหรือเกณฑ์ที่จะใช้สำหรับการวัดและประเมินผลในรายวิชา คณิตศาสตร์เสริมเข้ม 4 ค32204 (ภาคเรียนที่ 2/64) และ คณิตศาสตร์เสริมเข้ม 3 ค32203 (ภาคเรียนที่ 1/65) โดยจะดำเนินการให้สอดคล้องกับสถานการณ์ และสภาพจริงของนักเรียนในการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนการสอนที่จะจัดขึ้น โดยนักเรียนจะทราบถึงแนวทางการปฏิบัติที่ควรทำได้ ก่อนดำเนินการปฏิบัติจริง เพื่อให้นักเรียนสามารถปฏิบัติได้ตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ได้ และยังเป็นการสร้างบรรยากาศในชั้นเรียนที่ส่งเสริมให้นักเรียนได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับแนวปฏิบัติในการพัฒนาตนเองในการเรียนวิชานี้อย่างมีเหตุมีผล เคารพการตัดสินใจซึ่งกันและกัน โดยครูอาจจะได้เห็นความคิดสร้างสรรค์ของผู้เรียนผ่านชิ้นงาน หรือภารกิจที่กำหนดไว้ในรายวิชาได้ ทั้งนี้ ครูจะสอดแทรกแนวคิด หรือความจำเป็นของในการเรียนในหน่วยนี้ เพื่อให้นักเรียนทุกคนเข้าใจบทบาท และหน้าที่ของตนเองในการเรียน ซึ่งถือเป็นการส่งเสริมและพัฒนาคุณลักษณะที่ดีให้เกิดขึ้นในรายวิชานี้เช่นกัน

คะแนนเก็บ 5/11 ปีการศึกษา 1/2565
  • 4. นำผลการเรียนรู้ของนักเรียนที่ไม่ผ่านเกณฑ์ หรือระดับตามที่กำหนดไว้ โดยจะมีรายละเอียดเป็นข้อมูลสารสนเทศในรายวิชาของนักเรียนกลุ่มนี้ หลังจากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของครูเป็นระยะๆ เพื่อวางแผนแก้ปัญหาหรือพัฒนาการผลเรียนรู้ของนักเรียนกลุ่มดังกล่าว ผ่านกระบวนการวิจัยในชั้นเรียน (Classroom Research) เพื่อเป็นการปรับปรุง และพัฒนาทักษะการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนกลุ่มดังกล่าว

Quiz#1 ระบบพิกัดฉากสามมิติ (Responses)

ผลลัพธ์ (Outcomes) ของงานตามข้อตกลง ที่คาดหวังให้เกิดขึ้นกับผู้เรียน

  • นักเรียนได้รับการพัฒนาทักษะการสื่อสารทางคณิตศาสตร์

  • นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเป็นไปตามค่าเป้าหมายของสถานศึกษา

  • นักเรียนมีความพึงพอใจเชิงบวกต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ การมีส่วนร่วม และการจัดบรรยากาศในชั้นเรียน

ตัวชี้วัด (Indicators) ที่จะเกิดขึ้นกับผู้เรียนที่แสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นหรือมีการพัฒนามากขึ้นหรือผลสัมฤทธิ์สูงขึ้น

ผลเชิงปริมาณ

นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ร้อยละ 60 มีผลคะแนนการทดสอบผ่านเกณฑ์ที่กำหนด

นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ร้อยละ 60 มีผลคะแนนการสัมภาษณ์ผ่านเกณฑ์ที่กำหนด

ผลเชิงคุณภาพ

นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ส่วนใหญ่มีระดับทักษะการสื่อสารทางคณิตศาสตร์อยู่ในระดับดีขึ้นไป

นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนในรายวิชา คณิตศาสตร์เสริมเข้ม 4 (ค32204) และ คณิตศาสตร์เสริมเข้ม 3 (ค32203)
มีระดับคุณภาพผู้เรียนเป็นไปตามค่าเป้าหมายที่สถานศึกษากำหนด

(เนื่องจากโรงเรียนไม่มีการจัดทำเป้าหมายสถานศึกษาจึงไม่สามารถทำรายงานในหัวข้อดังกล่าวได้)

นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีพื้นฐานความรู้ที่จะนำไปศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น หรือเชื่อมโยงกับชีวิตประจำวัน สำหรับใช้ในการตัดสินใจสถานการณ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องได้