การประเมินผลการปฏิบัติงาน (PA)   ปีงบประมาณ 2567

ครั้งที่ 1  (1 ตุลาคม 2566 - 31 มีนาคม 2567)

รายงานผลการปฏิบัติงาน

2.2566 ผลงานเชิงประจักษ์ PA.mp4

👍❤️😍😆😲😢😡

แรงบันดาลใจ

ครูผู้ช่วย PA.mp4

ข้อมูลของผู้ขอรับการประเมิน

ส่วนที่ 1  ข้อตกลงในการพัฒนางานตามมาตรฐานตำแหน่ง

 1.1 ชั่วโมงสอนตามตารางสอน                                                    รวม จำนวน........23.....ชั่วโมง/สัปดาห์ดังนี้

 รายวิชา คณิตศาสตร์และสถิติเพื่องานอาชีพ ระดับชั้น ปวส.          จำนวน........9.... ชั่วโมง/สัปดาห์

 รายวิชา คณิตศาสตร์เพื่อพัฒนาทักษะการคิด ระดับชั้น ปวส.        จำนวน........9.... ชั่วโมง/สัปดาห์

 รายวิชา ประวัติศาสตร์ชาติไทย ระดับชั้น ปวส.                               จำนวน.......1..... ชั่วโมง/สัปดาห์

 รายวิชา ภูมิศาสตร์และประวัติศาสตร์ไทย ระดับชั้น ปวส.               จำนวน.......2..... ชั่วโมง/สัปดาห์

          กิจกรรมลูกเสือวิสามัญ 1 ระดับชั้น ปวช.                                         จำนวน........2.... ชั่วโมง/สัปดาห์

1.2 งานส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการเรียนรู้      จำนวน........3.....ชั่วโมง/สัปดาห์

1.2.1   PLC                                                                             จำนวน........2.....ชั่วโมง/สัปดาห์

1.2.2  ปฏิบัติหน้าที่งานดูแลนักเรียน/ โฮมรูม                       จำนวน.........1.....ชั่วโมง/สัปดาห์           

1.3 งานพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษา      จำนวน......3.......ชั่วโมง/สัปดาห์

1.3.1   ผู้ช่วยงานพัสดุ                                                            จำนวน........1.....ชั่วโมง/สัปดาห์

1.3.2  ผู้ช่วยงานหลักสูตร                                                     จำนวน........1.....ชั่วโมง/สัปดาห์

 1.3.3  ผู้ช่วยงานทวีภาคี                                                       จำนวน........1.....ชั่วโมง/สัปดาห์

1.4 งานตอบสนองนโยบายและจุดเน้น     จำนวน........2.....ชั่วโมง/สัปดาห์

1.4.1  คำสั่งที่ได้รับมอบหมายปีการศึกษา 2566                  จำนวน........1.....ชั่วโมง/สัปดาห์

1.4.1  ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง                                จำนวน........1.....ชั่วโมง/สัปดาห์

                                                    รวมจำนวนชั่วโมง  31  ชั่วโมง/สัปดาห์

2. งานที่จะปฏิบัติตามมาตรฐานตำแหน่งครูผู้ช่วย

ส่วนที่ 2  ข้อตกลงในการพัฒนางานที่เป็นประเด็นท้าทายในการพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน 

ประเด็นที่ท้าทายในการพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียนของผู้จัดทำข้อตกลง ซึ่งปัจจุบัน

ดำรงตำแหน่งครูผู้ช่วย (ยังไม่มีวิทยฐานะ) ต้องแสดงให้เห็นถึงระดับการปฏิบัติที่คาดหวัง คือ การปรับประยุกต์ การจัดการเรียนรู้และการพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นหรือมีการพัฒนามากขึ้น (ทั้งนี้ประเด็นท้าทายอาจจะแสดงให้เห็นถึงระดับการปฏิบัติที่คาดหวังในวิทยฐานะที่สูงกว่าได้)


  ประเด็นท้าทาย เรื่อง การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความพึงพอใจที่มีต่อการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง การวัดแนวโน้มเข้าสู่ส่วนกลาง ของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ชั้นปีที่ 1 (ปวส.1) แผนกวิชาการบัญชี โดยใช้โปรแกรม Tiktok

 

1. สภาพปัญหาการจัดการเรียนรู้และคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน

  จากสภาพการจัดการเรียนการสอนรายวิชาคณิตศาสตร์และสถิติเพื่องานอาชีพ 30000-1401 พบว่า  เรื่อง การวัดแนวโน้มเข้าสู่ส่วนกลาง เป็นเรื่องที่ผู้เรียนจำเป็นต้องใช้ในการวัดและประเมินผล เพื่อให้ตัดสินใจได้อย่างมีเหตุผลมากยิ่งขึ้น และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการแก้ปัญหาในชีวิตประจำวันได้ นอกจากนั้นยังนำไปใช้ในการศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น


2. วิธีการดำเนินการให้บรรลุผล

2.1   วิเคราะห์หลักสูตรแกนกลางและหลักสูตรสถานศึกษา

      2.2   ศึกษาข้อมูลสารสนเทศนักเรียน โดยใช้ PLC เข้ามาช่วยเพื่อวิเคราะห์สภาพปัญหา

      2.3   ออกแบบกิจกรรมการเรียนการสอน ด้วย Tiktok

          2.4   จัดทำแผนการสอน ที่สอดคล้องกับตัวชี้วัด

          2.5   จัดทำเครื่องมือเปรียบเทียบผลการเรียนรู้ แบบทดสอบก่อนเรียน-หลังเรียน สื่อการสอน และแบบประเมินต่างๆ

          2.6   นำแผนการจัดการเรียนรู้ที่ได้ ไปจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียน

          2.7   นักเรียนทำแบบประเมินความพึงพอใจ


3. ผลลัพธ์ที่คาดหวัง

3.1 เชิงปริมาณ

            ผู้เรียนชั้น ปวส.1 บัญชี ได้รับการศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความพึงพอใจที่มีต่อการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง การวัดแนวโน้มเข้าสู่ส่วนกลาง โดยใช้ Tiktok มีเกณฑ์ระดับคุณภาพผ่านเกณฑ์ ร้อยละ 70 ของคะแนนเต็ม 


  3.2 เชิงคุณภาพ

       ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจในเนื้อหา การวัดแนวโน้มเข้าสู่ส่วนกลาง มีทักษะในการวัดและประเมินผลต่างๆ สามารถนําความรู้ที่ได้จากการเรียนรู้ไปเชื่อมโยงกับชีวิตประจําวัน ในการตัดสินใจในสถานการณ์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง และผู้เรียนทั้งหมดมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ ด้วยกิจกรรม Tiktok มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากขึ้นไป 

เอกสารแบบรายงานข้อตกลง PA

PA1 1 ต.ค 66-30 ก.ย. 67 เซ็นแล้วใหม่.pdf

แบบข้อตกลงในการพัฒนางาน (PA)

ประจำปีงบประมาณ 2567