Entrepreneur Ecosystem

รายงานการให้คำปรึกษาผู้ประกอบการในโครงการพัฒนาระบบนิเวศน์เพื่อสร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่

ผู้ประกอบการรุ่นใหม่

ผู้ประกอบการรุ่นใหม่ของโครงการมีจำนวนทั้งสิ้น 5 รายที่เข้ามาร่วมกับการให้คำปรึกษา โดยสามารถแบ่งกลุ่มสินค้าออดได้เป็น 3 หมวด อันได้แก่ 1. สารสนเทศประยุกต์ (จำนวน 3 ธุรกิจ) 2 สารสนเทศน์เพื่อการวิเคราะห์ (จำนวน 1 ธุรกิจ) และ 3. อาหารเฉพาะทาง (1 ธุรกิจ)

ผู้ประกอบการในหมวดธุรกิจสารสนเทศประยุกต์ประกอบด้วย ธุรกิจเกมเพื่อสุขภาพ ระบบการเรียนสอนสดผ่านระบบสารสนเทศน์ และระบบจัดการคลังสินค้าสำหรับผู้ประกอบการรายย่อย ผู้ประกอบการในหมวดธุรกิจสารสนเทศน์เพื่อการวิเคราะห์ดำเนินธุรกิจเกี่ยวข้องกับการนำข้อมูลจากเครื่องจักรกลไในโรงงานมาวิเคราะห์เพื่อดูแลและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตของโรงงานอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดใหญ่ที่มีระบบการผลิตกึ่งอัตโนมัติและระบบอัตโนมัติ สำหรับผู้ประกอบการธุรกิจอาหารเฉพาะทางนั้น ดำเนินการพัฒนาขนมสำหรับกลุ่มเด็กและคุณแม่ที่มีภาวะแพ้นมวัวและแพ้อาหารกลุ่มหลัก 8 กลุ่มส่วนผสม

กรอบการพัฒนาผู้ประกอบการ

การพัฒนาผู้ประกอบการนั้นมีกรอบการพัฒนา องค์ความรู้ ทักษะ คุณลักษณะ ประสบการณ์ และการส่งมอบเครื่องมือดังนี้

  1. การพัฒนาองค์ความรู้ องค์ความรู้นั้นมีการเน้นการพัฒนาผ่านการร่วมคิดและลงมือทำ โดยในช่วงแรกเป็นการให้กรอบเป้าหมายของการดำเนินการซึ่งเกี่ยวพันธ์กับความรู้ที่จำเป็นต้องมี อันได้แก่ ความรู้ด้านคุณค่าของสินค้าในมุมมองของกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย ความรู้ด้านต้นทุน การเงินเพื่อการประเมินการลงทุน การเก็บข้อมูลทางการตลาด การวิเคราะห์ข้อมูลลูกค้า การประเมินรูปแบบธุรกิจที่สามารถประเมินผลตอบแทนต่อผู้ถือหุ้น การจัดการความเสี่ยง กลยุทธ์องค์กรสำหรับธุรกิจขนาดเล็ก การเตรียมองค์กรเพื่อการดำเนินธุรกิจ รวมถึงการจัดการทางการตลาด โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านการแบ่งกลุ่มตลาด การกำหนดกลุ่มตลาด การวางตำแหน่งสินค้าหรือบริการ รวมถึงการวางแผนทางการตลาดทั้งรูปแบบออนไลน์และออฟไลน์ และความรู้ด้านการพัฒนาแผนธุรกิจ

  2. การพัฒนาทักษะ การพัฒนาทักษะด้านประเมินแนวคิดของโมเดลธุรกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งขอบเขตการดำเนินธุรกิจในซัพพลายเชน การระบุกลุ่มผู้บริโภคผ่านทักษะคิดวิเคราะห์เชื่อมโยงระหว่างคุณค่าสินค้าหรือบริการกับกลุ่มเป้าหมาย ทักษะการหาข้อมูลคู่แข่งและการดำเนินกิจกรรมของคู่แข่งผ่านระบบสารสนเทศน์ของหน่วยงานราชการ เช่น กรมพัฒนาธุรกิจการค้า การฝึกทักษะการระบุและบริหารต้นทุนของการดำเนินธุรกิจเพื่อความเป็นไปได้ในการพัฒนาธุรกิจ ทักษะความเชื่อมโยงการลงทุน การดำเนินการ กับการใช้ประโยชน์ของทรัพยากรองค์กร (เช่น จำนวนพนักงาน การจัดการเงิน จำนวนเครื่องจักรและค่าใช้จ่ายด้านการผลิตและดำเนินการ) นอกเหนือจากนั้นยังฝึกทักษะการระบุปัญหาของลูกค้าเพื่อเก็บข้อมูลทางการตลาด การพัฒนาเครื่องมือในการเก็บข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลลูกค้าในเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ รวมถึงการพัฒนาทักษะการวางแผนและนำเสนอแผนธุรกิจที่มีการตรวจสอบความเป็นไปได้ในการลงทุนแล้ว

  3. คุณลักษณะ เน้นพัฒนาคุณลักษณะของนักธุรกิจที่มีแนวคิดสำคัญด้านการตระหนักรู้ถึง การจัดการทรัพยากรเพื่อการสร้างผลตอบแทนผู้ถือหุ้น การไม่ตัดสินความต้องการลูกค้าด้วยความไม่เข้าใจในกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย และการสร้างการตระหนักรู้ถึงผลกระทบทางสังคมและเศรษฐกิจ

  4. ประสบการณ์ ประสบการณ์ในการพัฒนาเครื่องมือเก็บข้อมูลลูกค้าและได้ข้อมูลที่เอาไปเป็นแกนในการวางแผนธุรกิจ ด้านการระบุจำนวนและกลุ่มตลาดการลงทุนและกำลังการผลิต การจัดการทรัพยากร และการประเมินผลตอบแทนต่อผู้ถือหุ้น เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้กรอบแนวคิดด้านธุรกิจชัดเจนและจะสามารถคิดต่อยอดด้านกลยุทธ์และกิจกรรมที่จะส่งผลต่อการเติบโตของธุรกิจได้ในอนาคต

  5. เครื่องมือ เพื่อให้มีเครื่องมือในการพัฒนากิจกรรมทางธุรกิจต่อเนื่อง เครื่องมือในการเก็บข้อมูล เครื่องมือในการวิเคราะห์ข้อมูลลูกค้า เครื่องมือในการระบุต้นทุน ประมาณการความเป็นไปได้ แผนธุรกิจและเครื่องมือประกอบการเรียนรู้ได้มีการจัดเตรียม และหรือสร้างควบคู่ไปกับผู้ประกอบการ

วิธีในการให้คำปรึกษาที่ตอบกรอบการพัฒนาผู้ประกอบการ

วิธีการให้คำปรึกษาเป็นรูปแบบการมีกลุ่มที่ปรึกษาที่เชื่อมโยงความรู้ระหว่างกับทั้งแบบเดี่ยวและแบบโหนดความรู้ ทั้งนี้รูปแบบกิจกรรมที่ให้คำปรึกษานั้นเป็นรูปแบบของการให้คำปรึกษาเดี่ยวจากการให้คำแนะนำ แนวทาง การระบุกิจกรรมย่อย การร่วมพัฒนา และการสรรหาบุคคลภายนอกมากสนับสนุนกิจกรรมและการดำเนินการของผู้ประกอบการ ทั้งนี้การให้คำปรึกษาในแต่ละกลุ่มมีจำนวนไม่น้อยกว่า 13 ครั้ง โดยให้คำปรึกษาต่อกลุ่ม (โดยตรง) ประมาณ 2 ชั่วโมงต่อครั้งต่อกลุ่ม หรือ 130 ชั่วโมงให้คำปรึกษาสำหรับ 5 กลุ่มผู้ประกอบการ ไม่รวมถึงการสนับสนุบช่วยเหลื่อการพัฒนาเครื่องมือในการดำเนินการไม่น้อยกว่า 36 ชั่วโมงต่อกลุ่มหรือ 180 ชั่วโมง

ผลลัพธ์จากการให้คำปรึกษา

ผลลัพธ์ที่เป็นประจักษ์ของการให้คำปรึกษา ประกอบด้วย (1) แนวคิดของเทคโนโลยีและตัวต้นแบบเทคโนโลยี (สินค้าหรือบริการ) (2) ข้อมูลลูกค้า (3) แผนธุรกิจ (4) โมเดลการเงินเพื่อการลงทุนที่ดีเพียงพอในการประกอบการยื่นกู้สินเชื่อจากธนาคาร

กรณีศึกษาการให้คำปรึกษาผู้ประกอบการในโครงการพัฒนาระบบนิเวศน์เพื่อสร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่

เกมสุขภาพ

เกมเพื่อสุขภาพเป็นโปรแกรมที่ผู้ประกอบการตั้งใจที่จะเอาโมชั่นเซ็นเซอร์มาประกอบการพัฒนาเกมเพื่อสุขภาพของกลุ่มพนักงานบริษัท ซึ่งการเข้ามาของผู้ประกอบการนั้นเน้นการที่จะขายสินค้าเพื่อพนักงานโรงงานที่ผู้ก่อตั้งได้มีการรู้จักเป็นการส่วนตัว และมีการถามข้อมูลเบื้องต้นจากพนักงานบุคคลของโรงงานหนึ่ง ปัญหาของกลุ่มผู้ประกอบการรายนี้คือการไม่เข้าใจกลุ่มลูกค้าที่เป็นกลุ่มธุรกิจ ว่ามีกระบวนการในการตัดสินใจในการตัดสินใจซื้อสินค้าวับซ้อนกว่ากลุ่มลูกค้าทั่วไป รวมถึงยังละเลยสินค้าทดแทนที่มีอยู่แล้วในตลาด รวมถึงภาวะการตัดสินใจของกลุ่มพนักงานที่อิงจากวิถีชีวิตของการเป็นพนักงานในกลุ่มโรงงานอุตสาหกรรม ต่อการออกกำลังกาย

การให้คำปรึกษามีปัญหาในเบื้องต้นเนื่องจากผู้ประกอบการให้ความสำคัญกับการพัฒนาตัวสินค้าโดยเอาความเข้าใจลูกค้าที่ไม่ชัดเจนเป็นตัวนำทางในการพัฒนา และยังมีข้อจำกัดทางเทคโนโลยีรวมถึงทรัพยากรคนที่จะนำมาพัฒนาอย่างต่อเนื่องให้เป็นรูปธรรม (ดูเนื้อหานำเสนอเบื้องต้นประกอบ)

จากการเก็บข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลที่ผู้ประกอบการให้แก่ทีมที่ปรึกษา ทีมที่ปรึกษาได้วางแผนการพัฒนาในด้าน (1) การระบุกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย (2) การระบุคุณค่าของสินค้าต่อกลุ่มเป้าหมาย (3) การเก็บข้อมูลลูกค้า (4) การวิเคราะห์และเชื่อมโยงความเข้าใจลูกค้ากับการพัฒนาสินค้า (5) การตรวจสอบความเป็นไปได้ของธุรกิจต่อกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย และ (6) การระบุทรัพยากรที่จำเป็นเพื่อขับเคลื่อน และ (7) สนับสนุนการพัฒนาแผนธุรกิจ

การระบุกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย กลุ่มเป้าหมายเบื้องต้นที่ผู้ประกอบการพิจารณาไว้เป็นกลุ่มหนักงานโรงงาน โดยเน้นขายสินค้าให้กับโรงงาน หากแต่ทีมที่ปรึกษาได้ให้พัฒนากิจกรรมร่วมกับผู้ประกอบการดำเนินการ อันได้แก่ การร่วมพัฒนาแบบสัมภาษณ์และการเข้าเก็บข้อมูลลูกค้า โดยผู้ประกอบการยืนยันที่จะลองเก็บข้อมูลกลุ่มหนักงานบุคคล และผลที่ได้รับครั้งแรกเป็นผลที่ไม่เกิดประโยชน์เท่าที่ควรเนื่องจากผู้ประกอบการเลือกถามข้อมูลเฉพาะที่ตัวเองสนใจและละเลยคำถามที่เกี่ยวข้องกับมิติทางการตลาดอื่น ทางทีมที่ปรึกษาสนับสนุนให้ทดลองเก็บข้อมูลอีกครั้ง แต่รอบที่สองผู้ประกอบการยังได้ข้อมูลเดิมเนื่องจากยังไม่สามารถพัฒนาแนวคิดเรื่องการเก็บข้อมูลลูกค้าได้ ทีมที่ปรึกษาได้เปลี่ยนให้ลองหาข้อมูลสินค้าทดแทนและลองแบ่งกลุ่มพนักงาน เช่น ฟิตเนสของพนักงาน และลองแบ่งกลุ่มพนักงานที่มีการเล่นกีฬาและใช้สิทธิของพนักงาน กับพนักงานที่มีสิทธิสวัสดิการพนักงานแต่ไม่มีความสนใจด้านการออกกำลังกาย ทั้งนี้ก็สนับสนุนผู้ประกอบการในการดำเนินการเก็บข้อมูลกระบวนการตัดสินใจของบริษัทต่อการซื้อเกมออกกำลังกายสำหรับพนักงาน ผลที่ได้เริ่มมีพัฒนาการโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ประกอบการเริ่มเข้าใจถึงทางเลือกของบริษัทต่อการตัดสินใจว่ามีทางเลือกการออกกำลังกายและงบต่อสถานออกกำลังกายจริงจังเช่น ฟิตเนส อยู่แล้ว หากแต่เกมยังไม่เห็นคุณค่าเพียงพอในการที่จะนำมาทดแทน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มที่ไม่เล่นกีฬาก็จะไม่สามารถกระตุ้นให้เกิดความสนใจได้ต่อให้เป็นเกมกีฬา หรือถ้าได้ก็เป็นเพียงช่วงเวลาหนึ่ง ทีมที่ปรึกษาจึงได้เริ่มให้ดึงข้อมูลที่ผู้ประกอบการอาจจะละเลย เช่น การตรวจสุขภาพของพนักงาน ซึ่งเป็นกลไกที่ช่วยองค์กรในการลดต้นทุนค่ารักษาพยาบาลและประเมินความพร้อมของทรัพยากรบุคคลและยังช่วยวางแผนกำลังคนได้ ไปเชื่อมกับเกมออกกำลังกาย ซึ่งควรจะสามารถวัดประเมินหรือให้ค่าที่สนับสนุนมิติเหล่านี้ขององค์กร อย่างไรก็ดีผู้ประกอบการยังไม่สามารถเชื่อมประเด็นการใช้เกมต่อการลดภาวะปัญหาสุขภาพในจากการตรวจร่างกายได้ ทีมที่ปรึกษาจึงต้องมีการทำงานร่วมกับผู้ประกอบการที่จะนำไปสู้การศึกษาความต้องการด้านเกมสุขภาพต่อการวัดจำนวนเวลาในการออกกำลังกายกับการลดลงของค่าสุขภาพที่ก่อให้เกิดอันตรายแก่สุขภาพ และเชื่อกับเรื่องของการจรวจสุขภาพของพนักงานรายปี ข้อมูลที่ได้รับจากกลุ่มบริษัทเริ่มชัดขึ้นว่าเป็นคุณที่เขาต้องการ หากแต่ในกลุ่มพนักงานที่ไม่เล่นกีฬาผู้ประกอบการได้ข้อมูลที่เชื่อมต่อได้น้อย อย่างไรก็ดีคุณค่าต่อกลุ่มเป้าหมายธุรกิจสามสารถระบุได้มากขึ้น และเป็นตัวตั้งให้เกิดการพัฒนาถึงการพัฒนาโมเดลทางธุรกิจที่จะตอบความต้องการของกลุ่มลูกค้ากลุ่มนี้ พร้อมกับการที่ต้องย้อนไปเก็บข้อมูลเพิ่มเติมการตัดสินใจองค์กร ผู้ประกอบการได้รับข้อมูลเพิ่มจากการเข้าไปเก็บข้อมูลเชิงสัมภาษร์กับกลุ่มทรัพยากรบุคคลเพิ่มเติมเกี่ยวข้องกับกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างมากขึ้น และมีการนำมาเป็นองค์ประกอบในการพัฒนาโมเดลความเป็นไปได้ในการลงทุนในธุรกิจนี้ ซึ่ทางทีมที่ปรึกษาได้ดำเนินการพัฒนาให้ทั้งหมดหากแต่เอาข้อมูลที่เก็บรวบรวมมามาหารือร่วมกับและปรับปรุงข้อมูลทั้งด้านของกลุ่มจำนวนเป้าหมายทางการตลาด การเข้าถึงกลุ่มลูกค้า ต้นทุนการเข้าถึงลูกค้า การลงทุนในเครื่องมือทางสารสนเทศน์ การรุต้นทุนการดำเนินการ การประมาณการมูลลงทุน จนกระทั่งเห็นผลตอบแทนจากการลงทุนที่เป็นบวก (ดูตารางการวิเคราะห์เพิ่มเติม)

จากข้อมูลการประเมินความเป็นได้ในการลงทุนจึงสนับสนุนและให้ความรู้และแนวทางการดำเนินการทั้งจากการให้คำปรึกษาโดยตรงและการอัดคลิปการพัฒนาแผนธุรกิจ และเครื่องมือติดตามหัวข้อที่ต้องมีเพื่อสนับสนุนการพัฒนาแผนธุรกิจของผู้ประกอบการอย่างสะดวกที่สุด สุดท้ายจึงมีการขอตัวต้นแบบและขอให้ดำเนินการส่งแผนธุรกิจเพื่อเอามาช่วยคัดกรองให้ข้อมูลประกอบ แนะนำ และตอบข้อซักถามผู้ประกอบการในมิติที่ยังไม่แน่ใจ อย่างไรก็ดีผู้ประกอบการได้ใช้เวลาในการพัฒนาและมีความตั้งใจในการพัฒนาแผนธุรกิจำกัด ทางที่มที่ปรึกษาจึงพยายามช่วยให้ข้อมูลเพิ่มเติมและอธิบายอย่างต่อเนื่อง ท้ายที่สุดพบว่าการพัฒนาต้นแบบมีข้อจำกัดเนื่องจากการไม่จัดสรรคทรัพยากรในการดำเนินการถึงแม้โครงการจะสนับนสนุนค่าต้นแบบโดยแตจ้งว่าไม่เพียงพอและคอยได้งบจากโครงการอื่น อย่างไรก็ดีได้มีการพูดคุยถึงกรอบและการดำเนินการที่ต้องส่งมอบ จนได้มาเป็นตัวต้นแบบ (ดูเอกสารประกอบ) และแผนธุรกิจ อย่างไรก็ตามแผนธุรกิจผู้ประกอบการเปลี่ยนกลุ่มเป้าหมายในการนำเสนอสุดท้ายเป็นกลุ่มลูกค้าทั่วไป ซึ่งทางทีมที่ปรึกษาได้ท้วงติงแล้วแต่ยึงยืนยันการดำเนินการของตน จึงขอบันทึกไว้ในเอกสารรายงานการดำเนินการดำเนินการนี้ อย่างไรก็ดีในกระบวนการนั้นทีมที่ปรึกษาได้ส่งมอบ องค์ความรู้ ทักษะ คุณลักษณะ ประสบการณ์ และการส่งมอบเครื่องมือที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาธุรกิจให้ทางผู้ประกอบการแล้ว

เอกสารที่เกี่ยวข้อง [แผนธุรกิจ | โมเดลทางการเงิน | แบบฟอร์มเก็บข้อมูล | ข้อมูลที่ได้รับจากการเก็บข้อมูล | แผนการตลาด | ข้อมูลแนวคิดสินค้าตอนต้นที่เข้าโครงการก่อนให้คำปรึกษา ]

ะบบการบริหารจัดการข้อมูลกระบวนการผลิต

ะบบการบริหารจัดการข้อมูลกระบวนการผลิตเป็นแพลทฟอร์มที่ดึงข้อมูลของเครื่องจักรในสายการผลิตมาจัดการ (สร้างฟอร์มเก็บข้อมูล ดึงข้อมูล รวมข้อมูล เตรียมข้อมูล และวิเคราะห์) เพื่อให้สามารถวิเคราะห์และการดำเนินการเครื่องจักรในสายการผลิตให้มีประสิทธิภาพะความรู้เชิงเทคนิกในการดึงข้อมูลจากเครื่องจักรในสายการผลิต จากความสามารถเชิงเทคนิกนี้ทีมที่ปรึกษาได้มีการตั้งวัตถุประสงค์ที่สำคัญแก่กลุ่มนี้ในด้านของ 1. การเข้าใจกระบวนการจัดการข้อมูลเพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการข้อมูลของโรงงานในเงื่อนยไขที่โรงงานต้องการการเชื่อมโยงของข้อมูลที่เก็บมาได้จากเครื่องจักรมาประกอบกับระบบสารสนเทศน์ทางการผลิตที่มีอยู่ของโรงงาน ณ ปัจจุบัน 2. การขยายโอกาสทางการตลาดที่จะต่อยอดธุรกิจลูกค้าเบื้องต้นรวมถึงการระบุกลุ่มลูกค้าที่ชัดเจน 3. การวิเคราะห์และพัฒนาแนวทางการตลาดของธุรกิจ และ 4. การประเมินความต้องการด้านเงินทุน และแผนทางการเงินในการพัฒนาด้านการเติบโต 5. แผนธุรกิจที่ชัดเจนในการดำเนินการต่อเนื่อง

ในส่วนของการเข้าใจความต้องการของโรงงานนั้นทีมที่ปรึกษาได้พยายามศึกษาร่วมในด้านขององค์ประกอบของข้อมูลที่โรงงานมีความต้องการทั้งในเรื่องของประเภทของเครื่องจักร ระดับการพัฒนาด้านเทคโนโลยีในการผลิตของโรงงาน (เช่น เงื่อนไขอย่างไรที่โรงงานสามารถใช้ระบบได้อย่างมีประสิทธิภาพ) และการปรับโครงสร้างการเก็บข้อมูลของระบบเพื่อเก็บข้อมูลฐานไปเชื่อมต่อและใช้ประโยชน์ร่วมกับข้อมูลอื่นๆ ในระบบสารสนเทศอื่นของโรงงาน) จากการปรึกษาร่วมทำให้ความชัดเขนด้านของชั้นของข้อมูลหลังการเก็บข้อมูลจากเครื่องจักรมราความชัดเจนขั้นเป็น การดึงข้อมูลจากเครื่องจักร (Machine layer) ไปยังระบบเชื่อมโยง (Middleware) เพื่อเตรียมข้อมูลให้พร้อมไปเชื่อมกับระบบสารสนเทศน์อื่น หรือระบบการนำเสนอข้อมูล (Visualization layer) ทั้งนี้การเพิ่มมุมมองด้านองค์กรประกอบย่อยของการใช้ข้อมูลในโรงงานอุตสาหกรรมสร้างให้เกิดการปรับปรุงองค์ประกอบย่อยของแพบลทฟอร์ม

สำหรับการขยายโอกาสทางการตลาดนั้นมีการทำงานร่วมกันด้านการระบุกลุ่มตลาดจากเริ่มต้นที่ผู้ประกอบการจะเน้นโรงงานทุกประเภท ให้เป็นโรงงานขนาดกลางที่มีระบบเครื่องจักรกึ่งอัตโนมัติในองค์กร เนื่องจากการดำเนินการจำเป็นต้องมีระบบที่สมบูรณ์ระดับหนึ่งและจำเป็นต้องมีการเข้าวิเคราะห์ระบบก่อนปรับซึ่งทำให้เกิดค่าใช้จ่ายที่โรงงานขนาดเล็กจะไม่เป็นประโยชน์หรือเป็นสัดส่วนต้นทุนที่สูงต่อรายได้จากการดำเนินการ ทั้งนี้มาจากการร่วมวิเคราะห์ถึงคุณค่าที่จะนำส่งต่อกลุ่มลูกค้าในด้านของการลดต้นทุน การควบคุมการดำเนินการได้ทันที รวมถึงความมั่นใจด้านข้อมูลที่จะนำไปสู่การตัดสินใจที่ถูกต้อง สำหรับการประเมินความถูกต้องของข้อมูลทางการตลาดนั้นทางทีมที่ปรึกษาได้จัดทำแบบเก็บข้อมูลร่วมกับผู้ประกอบการและมีการเข้าเก็บข้อมูลรูปแบบการสัมภาษณ์กับโรงงานที่อยู่ในเงื่อนไขจำนวน 5 โรงงาน (จำนวนผู้ให้ข้อมูลน้อยกว่าที่ควรจะเป็นในด้านของการวิเจัยเชิงปริมาณเนื่องจากเป็นธุรกิจที่ต้องได้ข้อมูลเฉพาะทาง ทำให้การเข้าถึงผู้ให้ข้อมูลในช่วงเวลามีข้อจำกัด) อย่างไรก็ดีข้อมูลที่ได้มาสามารถนำมาใช้ในการประเมินความถูกต้องพร้อมทั้งได้ข้อมูลนเชิงลึกเพื่อนำมาใช้ในการพัฒนาแนวทางการตลาด

การพัฒนาตลาดของธุรกิจนั้นได้มีการใช้ข้อมูลและการหารือร่วมกับทีมที่ปรึกษาจนได้แนวทางในการเข้าถึงลูกค้าโดยการใช้กิจกรรมและกลไกลทั้งการตลาดทั่วไปและการตลาดดิจิตัลในการเข้าถึงกลุ่มลูกค้า โดยมีวัตถุประสงค์ทางการตลาดคือการ สร้างความเชื่อมมั่น การสร้างการรับรู้และเห็นความแตกต่าง และการดึงให้กลุ่มเจ้าของกิจการเข้าถึงกิจกรรมในการนำเสนอสินค้าในรูปแบบการสร้างความสัมพัะนะ์ก่อนที่จะมีการเข้าต่อยอดและศึกษาร่วมผ่านการแบ่งรายได้จากการความสำเร็จจากการใช้ระบบในบการลดต้นทุนหรือทำให้สายการผลิตจัดการได้ดีขึ้น

จากข้อมูลทางการตลาด และการเก็บข้อมูลด้านต้นทุนการดำเนินการ สามารถุนำมาวิเคราะห์ร่วมกับผู้ประกอบการด้านผลตอบแทนการดำเนินการและการที่ผู้ประกอบการสามารถเห็นงบการเงินล่วงหน้าเพื่อเอามาหารือเรื่องแผนธุรกิจร่วมกันทั้งได้ด้านของการจัดหาเงิน การจัดโครงสร้างองค์กรที่จะสามารถรับงานได้ตามกรอบการประเมินความเป็นไปได้ และยังเกี่ยวข้องกับการระบุตัวแปรสำคัญที่เป็นความเสี่ยงในการดำเนินการ ซึ่งผลการดำเนินการร่วมทำให้ผู้ประกอบการได้เครื่องมือด้านสินค้า ด้านการตลาด การเงิน และการพัฒนาองค์กรได้อย่างชัดเจนและเป็นรูปประธรรม ทำให้กลุ่มนี้น่าจะเป็นกรณีตังอย่างที่ดีของโครงการได้

เอกสารที่เกี่ยวข้อง [ข้อมูลต้นแบบผลิตภัณฑ์ | การเก็บข้อมูลลูกค้า | แผนการตลาด | งบการเงินล่วงหน้าและความเป็นไปได้ของธุรกิจ | แผนธุรกิจ ]

ห้องเรียนเสมือนจริง

ห้องเรียนเสมือนจริง เป็นแพลทฟอร์มที่สนับสนุนการเรียนการสอนรูปแบบออนไลน์ ซึ่งในตอนแรกผู้ประกอบการเข้ามาในรูปแบบของระบบอีเลนนิ่งที่เป็นแพลทฟอร์มจัดการเนื้อหาและจัดการสอนออนไลน์ อย่างไรก็ดีเมื่อมีการพิเคราห์ในทีมที่ปรึกษาประกอบข้อมูลการแข่งขันและทรัพยากรของผู้ประกอบการในการแข่งขัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านเครือข่ายการเข้าถึงตลาด ที่ปรึกษาได้เตรียมให้คำปรึกษาเพื่อผลักดันผู้ประกอบการใน 6 ด้าน อันได้แก่ (1) ขอบเขตของการให้บริการ (2) การระบุกลุ่มลูกค้าและการเข้าใจลูกค้า (3) การพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ตอบความต้องการของลูกค้า (4) การพัฒนาแผนการตลาด (5) การประเมินความเป็นไปได้ของธุรกิจและการตรวจสอบโมเดลทางธุรกิจ และ (6) การพัฒนาแผนธุรกิจ

ในด้านของของเขตการให้บริการนั้น จากแนวคิดทางธุรีคกิจดั้งเดิมพบว่ามีขนาดใหญ่กว่าทรัพยากรที่ผู้ประกอบการมีทำให้ต้องมีการหารือและพัฒนาแนวคิดผลิตภัณฑ์ร่วมกันภายใต้ความเชี่ยวชาญของผู้ประกอบการ จากการหารือและทำกิจกรรมเชิงปฎิบัติการร่วมทำให้มีการลดขอบเขตระบบจากเงื่อนไขแรกและเพิ่มทความสำคัญในการ 'แนวทางการสอนรูปแบบออนไลน์' ซึ่ง ณ ปัจจุบันยังมีผู้เล่นในมิตินี้ไม่กี่เจ้าและผู้เล่นหลักโดยมากพัฒนาระบบมาจากระบบการประชุมออนไลน์ เช่น ซูม หรือกูเกิล มีท อย่างไรก็ดีการสอนรูปแบบออนไลน์ที่มีความออกแบบมาเฉพาะทางในด้านนี้ยังไม่มีคู่แข่งในตลาดที่ชัดเจน และยังเป็นจุดที่สร้างประสิทธิภาพการเรียนการสอนที่มากขึ้นและต้นทุนที่ดีขึ้นในการดำเนินการสอน จากประเด็นนี้ที่ปรึกษาจึงให้ผู้ประกอบการเรียนรู้เพิ่มเติมเพื่อพัฒนาเป็น โนฮาวการสอนออนไลน์ที่จะเป็นเทคโนโลยีหลักสำหรับผู้ประกอบการกลุ่มนี้

จากโจทย์ความต้องการพัฒนาระบบการเรียนการสอนออนไลน์ที่ไม่ใช้ฐานของการประชุมออนไลน์ และการพัฒนาความเข้าใจการสอนออนไลน์เพื่อเป็นเทคโนโลยีหลักของผู้ประกอบการ ทำให้ต้องมาพิเคราะห์ต่อเนื่องถึงกลุ่มเป้าหมายหลัก เป้าหมายรองและการเข้าใจกลุ่มลูกค้า ในการดำเนินการนี้ทางทีมที่ปรึกษาและผู้ประกอบการได้มีการประชุมเชิงปฎิบัติการเพื่อแบ่งกลุ่มเป้าหมาย ระบุกลุ่มเป้าหมาย และการระบุคุณค่าสินค้าต่อกลุ่มเป้าหมาย รวมถึงการทำการเก็บข้อมูลกลุ่มลบูกค้าเป้าหมายเบื้อต้นเพื่อตรวจสอบกลุ่มเป้าหมาย ทั้งนี้พบว่ากลุ่มที่ผู้ประกอบการมีทรัพยากรด้านเครือข่ายการเข้าถึงและมีโอกาสทางการตลาดได้แก่กลุ่ม ติวเตอร์เอกชน (ทั้งนี้ยังไม่ใช่ในรูปแบบมหาวิืทยาลัยเนื่องจากยังมีข้อจำกัดด้านระบบเบียบการจัดซื้อจัดหาที่อาจจะมีผลต่อกระแสเงินสดของผู้ประกอบการ)

หลังจากที่มีการระบุกลุ่มลูกค้าเป้าหมายและการประเมินกลุ่มลูกค้าเป้าหมายเบื้อต้น ทางทีมที่ปรึกษาได้ร่วมกับทางผู้ประกอบการในการออกแบบเครื่องมือการเก็บข้อมูลเพื่อเก็บข้อมูลกลุ่มลูกค้า ซึ่งผลที่ได้มาจากการเก็บข้อมูลลูกค้าและการตรวจสอบความต้องการลูกค้า ได้นำมาใช้ในการปรับปรุงสินค้าและสร้างความสัมพันธ์กับกลุ่มลูกค้าสเป้าหมาย ซึ่งข้อมูลที่ได้มานั้นนำมาสู่แผนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ตรงวตามความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งในกระบวนการปรับปรุงสินค้านั้นทีมโปรแกรมเมอร์ของผู้ประกอบการได้มีการปรับแต่งระบบ ในขณะเดียวกันทีมการตลาดของผู้ประกอบการได้มีการรน่วมพันฒนาแผนการตลาดกับทีมที่ปรึกษา

หลังจากที่ทีมที่ปรึกษาและผู้ประกอบการสรุปเกี่ยวกับแผนการตลาดร่วมก็ได้มีการประเมินงบประมาณการตลาดจากกิจกรรมทางการตลาด และนำข้อมูลนั้นมาประกอบกับข้อมูลการลงทุน ค่าใช้จ่ายและต้นทุนการดำเนินการ และต้นทุนทางการเงินก่อนที่จะนำมาวิเคราะห์ความเป็นไปได้ของโมเดลธุรกิจ ทั้งนี้ผลการประเมินสองรอบแรกโมเดลทางธุรกิจมีผลตอบแทนจากการลงทุนเป็นลบ จึงได้มีการร่วมกับประเมินเพื่อหาข้อจำกัดและแนวทางแก้ไขจนได้ผลประเมินความเป็นไปได้ในการลงทุนพร้อมกับจุดเสี่ยงที่ต้องคิดแผนในการจัดการหากเริ่มดำเนินการ ในกระบวนการเดียวกันนี้ทำให้ผู้ประกอบการได้งบการเงินล่วงหน้าเพื่อนำเป็นทิศทางในการดำเนินการ

กระบวนการสุดท้ายที่ทีมที่ปรึกษาและผู้ประกอบการทำร่วมกันคือการพัฒนาแผนธุรกิจและการตรวจสอบตัวต้นแบบ ซึ่งในกระบวนการนี้ทีมที่ปรึกษาทางธุรกิจและทางระบบได้มีการร่วมพิจารณาร่วมและให้คำปรึกษาเชิงธุรกิจและเทคนิกจนได้แผนธุรกิจและตัวต้นแบบที่ตอบโจทย์วัตถุประสงค์และความต้องการของกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย อย่างไรก็ดีผู้ประกอบการขอเพิ่มระบบที่เขามีการพัฒนาก่อนหน้า อันได้แก่ระบบจัดการเนื้อหาออนไลน์เข้ามาเป็นส่วนประกอบด้วย ทางที่ปรึกษาให้ข้อคิดเห็นเรื่องความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นด้านต้นทุนการดำเนินการเพิ่มขึ้น แลความยากในการสื่อสารต่อกลุ่มเป้าหมายด้านจุดยืนสินค้า หากแต่เป็นเรื่องเพิ่อมเติมที่ผู้ประกอบการจะพิจารณาเพิ่มเติมเอง อย่างไรก็ดีโครงสร้างหลักของระบบได้ตอบวัตถุประสงค์ทางธุรกิจ

เอกสารที่เกี่ยวข้อง [ข้อมูลแนะนำผลิตภัณฑ์ | ข้อมูลต้นแบบ | แบบเก็บข้อมูลลูกค้า | งบการเงินล่วงหน้าและแบบประเมินความเป็นไปได้ในการลงทุน ]

ขนมสำหรับคุณแม่และเด็กที่แพ้นมวัว

ขนมสำหรับคุณแม่และเด็กที่แพ้อาหารเป็นกลุ่มผ๔้ประกอบการที่พัฒนาสินตค้าจากระบุปัญหาได้เรื่องของการทีร่มีเ้ด็กแพ้นมวัวเป็นจำนวนมากซึ่งทำให้เด็กกลุ่มนี้ไม่สามารถเติมเต็มความต้องการสารอาหารระหว่างมื้ออาหารได้ (ถ้าเป็นเด็กทั่วไปจะสามารถทานขนมที่มีอยู่ทั่วไปทดแทนสารอาการที่ร่างกายมีความต้องการระหว่างมื้ออาหาร) ทำให้ผู้ประกอบการมีความต้องการในการพัฒนาขนมระหว่างมื้ออาหารเพื่อตอบสนองความต้องการสารอาหารระหว่างมื้ออาหารของเด็ก สำหรับกลุ่มนี้หลังจากที่มีการหารือระหว่างกับพบว่ามีความต้องการดังนี้ (1) ข้อมูลลูกค้า (โดยเฉพาะอย่างยิ่งกระบวนการตัดสินใจของผู้เปกครองต่อการซื้อขนมของลูก และพฤติกรรมกรรมการเลี้ยงดูต่อเด็กกลุ่มที่มีการแพ้ของครอบครัว) และการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย (2) พัฒนาแผนการผลิตและการขึ้นทะเบียนอาหารและยา (3) การพัฒนาแผนการตลาด (4) การประเมินความเป็นไปได้ทางธุรกิจ (5) การพัฒนาแผนธุรกิจ (6) การวิเคราะห์งบการเงินล่วงหน้าเพื่อเตรียมความพร้อมด้านการเตรียมทรัพยากรเพื่อขับเคลื่อนองค์กร

ข้อมูลลูกค้าได้มีการเก็บออกแบบและเก็บช้อมูลเฃิงคุณภาพและปริมาณ โดยทีมที่ปรึกษาได้เตรียมทีมเก็บข้อมูลพร้อมกับการให้แนวทางการเก็บข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา การสังเคราะห์ปัจจัย รวมถึงการใช้การหยาหร์เพื่อพิจารณาร่วมแนวทางการพัฒนาตลาด โดยข้อมูลที่ได้มีความสมบูรณ์สูง ทำให้สามารถทราบได้ถึงภาวะอาการแพ้ ภาวะการเลี้ยงบุตรของผู้ปกครองต่อกลุ่มเด็กที่แพ้นมวัว (ที่น่าสนใจเพิ่มเติมคือเด็กที่แพ้นมวัวส่วนมากจพแพ้ส่วนผสมของอาหารชนิดอื่นด้วย) รวมถึงยังทราบได้ว่าแม่ที่ให้นมบุตรก็ควรจะจะเลี่ยงอาหารที่แพ้ถ้าต้องให้นมบุตรที่มีภาวะการแพ้นมวัว (ซึ่งจะรวมถึงสารประกอบอาการประเภทอื่นด้วย) นอกเหนือจากนั้นข้อมูลที่เก็บได้ยังช่วยให้สามารถทราบถึงองค์ประกอบทางการตลาดที่จะกระตุ้นให้ลูกค้ากลุ่มเป้าหมายให้สนใจต่อสินค้าเป้าหมาย

จากข้อมูลที่เก็บจากรูปค้าทำให้สามารถมากำหนดรูปฟอร์มและองค์ประกอบสินค้าอื่นๆ ที่ตรงความต้องการของกลุ่มเป้าหมายื และช่วยให้สามารถประเมินแผนการผลิตเบื้องต้นได้ ซึ่งทีมที่ปรึกษาก้ได้สนับสนุนต่อเนื่องด้านของการออกแบบสายการผลิต และการพิจารณาทางเลือกการขอรับการรับรองมาตรฐานและเกณฑ์มาตรฐานสินค้าที่สามารถไปได้ (เช่น มาตรฐานสินค้าชุมชน) ซึ่งทำให้นำข้อมูลมาประเมินแผนและต้นทุนการผลิตสินค้าได้อย่างถูกต้อง

ข้อมูลจากการเก็บช้อมูลยังได้ถุกใฃ้ในการพัฒนาแผนการตลาด โดยเน้นกลุ่มเป้าหมายหลักเป็นกลุ่มผู้ปกครองที่ดูแลเด็กที่มีภาวะแพ้นมวัว โดยมีคุฯค่าหลักคือขนมทางเลือกที่ลดผลกระทบด้านภาวะการแพ้และการเติมสารอาหารระหว่างมื้อสำหรับเด็กเล้ก ซึ่งแผนการตลาดเพื่อเข้าถึงกลุ่มนี้นั้นทำให้ช่วยผู้ประกอบการด้านการประเมินงบประมาณในการลงทุนทางการตลาดและการพัฒนากิจกรรมทางการตลาดในการเข้าถึงกลุ่มลูกค้าเฉพาะทางนี้

จากข้อมูลด้านตลาด ด้านการผลิต และความต้องการของทระัพยากรทางการเงินทำให้สามารถนำข้อมูลเหล่านี้มาช่วยผู้ประกอบการในการประเมินความเป็นไปได้ทางธุรกิจ ซึ่งผลที่ได้รับจากการประเมินความเป็นไปได้ในการลงทุนนี้ช่วยมให้เห็นภาพมากขึ้นว่าการลงทุนในสินค้านี้สามารถสร้างผลตอบแทนจากการลงทุนได้ในอัตราผลตอบแทนที่สามารถเติบโตได้อย่างยั่งยืน (ดูเอกสารประเมินความเป็นไปได้ในการลงทุนประกอบ) ทั้งนี้เมื่อมีข้อมูลประเมินความเป็นไปได้ในการลงทุนที่แสดงถึงอัตราผลตอบแทนภายในที่ยั่งนยืนแล้วจึงได้มีการพัฒนาแผนธุรกิจร่วมกันระหว่างผู้ประกอบการทำให้ผู้ประกอบการได้แผนธุรกิจที่มีการระบุความต้องการด้านทรัพยากรที่ต้องใช้ แนวทางการเติบโต และงบการเงินล่วงหน้าเพื่อการพิจารณากระแสเงินสดและการสรรหาแหล่งทุนมาดำเนินการร่วม จากการดำเนินการเหล่านี้ทีมที่ปรึกษาเห็นว่าผู้ประกอบการได้รับเครื่องมือในการเติบโตทั้ง แผนการตลาด แผนธุรกิจ ข้อมลลูกค้า แผนการจัดหาเงิน รวมถึงการพัฒนาให้สินค้าเป็นมาตรฐานเพื่อให้เกิดธุรกิจที่ยั่งยืน

เอกสารที่เกี่ยวข้อง []

ระบบสินค้าคงคลังสำหรับผู้ประกอบการรายย่อย

ระบบสินค้าคงคลังสำหรับผู้ประกอบการรายย่อย ผู้ประกอบการเริ่มจากแนวคิดนี้หากแต่ความเข้าใจเรื่องโครงสร้างระบบคลังสินค้าที่สามารถแข่งขันได้ในตลาดเดียวกันมีจำกัดมาก (เช่น ยังไม่เข้าใจถึงการเชื่อสินค้าคงคลังกับจัดเก็บรักษาสินค้า การคำนวณต้นทุนสินค้าคงคลังที่มีการนำสินค้าเข้าหลายล๊อตต่อรอบ และจะคำรวณแบบ FIFO LIFO หรือเฉลี่ย หรือแม้แต่การเชื่อมระบบกับระบบบัญชีมาตรฐานยังมีความคลาดเคลื่อนเป้นอย่างยิ่ง) และการเข้าใจลูกค้ามีข้อจำกัดเนื่องจากการขาดทักาะการพัฒนาแบบสอบถามที่เน้นแต่ภาพเฃิงเทคนิคและภาพเชิงเทคนิกยังไม่มีมีการรีวิวเปรียบเทียบกับกลุ่มคู่แข่งหรือแม้แต่เอกสารที่เกี่ยวข้องกับการจัดการสินค้าคงคลัง จากข้อจักัดดังกล่าวทำให้ทีมที่ปรึกษาได้ตั้งวัตถุประสงค์ในการให้คำปรึกษาดังนี้ (1) พัฒนากรอบความคิดด้านการจัดการสินค้าคงคลังแบบมาตรฐาน (2) การรับุกลุ่มเป้าหมายทางการตลาด (3) การระบุคุณค่าต่อกลุ่มเป้าหมาย (4) องค์ประกอบของระบบที่ตอบความต้องการของลูกค้าและตอบมาตรฐานขั้นต่ำของระบบการจัดการสินค้าคงคลัง (4) การประเมินความเป็นไปได้ของธุรกิจ (5) แผนการตลาด (6) แผนการเงินและงบการเงินล่วงหน้าเพื่อให้เตรียมทรัพยากรด้านเงินทุนในการดำเนินการ

จากการดำเนินการครั้งนี้ผู้ประกอบการไม่ค่อยได้ให้ความร่วมมือในการรับการปรึกษานัก ให้เพียงแต่ข้อมูลพื้นฐานและให้ที่ปรึกษาไปดำเนินการต่อเอง ทำให้การดำเนินการของที่ปรึกษาต้องมีการปรับการดำเนินการเป็นอย่างมาก ทั้งด้านการค้นหาข้อมูลที่เกี่ยวข้อง ทั้งการเก็บข้อมูลลูกค้า ทั้งการระบุปัจจัยความต้องการของระบบ การกำหนดกลุ่มเป้าหมาย การพัฒนาความเป็นไปได้และงบการเงินล่วงหน้า ที่จำเป็นต้องบันทึกข้อมูลครั้งนี้เพื่อเปฌ็นการรายงานว่าทักษะในด้านเหล่านี้ผูประกอบการจะไม่ได้รับการฝึกฝนร่วมระหว่างการดำเนินการและไม่น่าจะเป็นประโยชน์ถ้าจะเกี่ยวข้องกับการเข้าร่วมในโครงการอื่นใดของหน่วยงานรัฐ

ทีมที่ปรึกษาได้มีการรีวิวการทำงานของระบบที่ตอบโจทย์ความต้องการของกลุ่มเป้าหมายทางการตลาดในกลุ่มผู้ประกอรรายย่อย (ขนาดเล็กหรือกลุ่มผู้ขายสินค้าออนไลน์ ซึ่งมาจากการรีวิวความคิดของผู้ประกอบการในการนำเสนองานเบื้องต้น) และนำโจทย์มาให้ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบการจัดการคลังสินค้าได้พิเคราห์ร่วม ก่อนส่งให้กลุ่มที่ปรึกษาด้านระบบสารสนเทศ (ด้านการออกแบบระบบและการพัฒนาระบบกำหนดแนวทาง ระยะเวลา ทรัพยากรที่จำเป็น และต้นทุนที่เกี่ยวข้อง) มาช่วยร่างความต้องการของระบบ

หลังจากร่างความต้องการระบบเสร็จสิ้นทางที่ปรึกษาจึงได้มีการเข้าเก็บข้อมูลกลุ่มลูกค้าเป้าหมายโดยพิจารณาถึงความต้องการขององค์ประกอบระบบ พฤติกรรมการใช้ระบบ ณ ปัจจุบันของกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย การตรวจสอบคุณค่าสินค้าของกดลุ่มเป้าหมาย และปัจจัยทางการตลาดต่อการตัดสินใจใช้ระบบ ก่อนที่จะนำข้อมูลเหล่านี้มาเป็นข้อมูลเสนอแนะสำหรับการพัฒนาแผนการตลาด

จากข้อมูลด้านการตลาด ด้านระบบ การดำเนินการระบบ และต้นทุนการดำเนินการ ทีมที่ปรึกษานำข้อมูลเข้ามาพัฒนางบการเงินล่วงหน้าและการวิเคราะห์ความเป็นไปได้ของธุรกิจ ในกรอบการวิเคราะห์ความเป็นไปได้ของธุรกิจในรอบ 10 ปีการดำเนินการและอัตราคิดลดอยู่ที่ร้อยละ 10 หลังจากได้ข้อมูลทั้งหมดได้มีการส่งข้อมูลเหล่านี้ไปยังผู้ประกอบการ และทีมที่ปรึกษาได้พยายามเข้าไปช่วยการพัฒนาตัวต้นแบบบางส่วน ก่อนที่จะให้ผู้ประกอบการพัฒนาแผนธุรกิจ ซึ่งจากการประเมินเบื้องต้นผู้ประกอบการได้ใช้ข้อมูลของทีมที่ปรึกษาเพียงบางส่วน ทั้งนี้ทีมที่ปรึกษาได้มีความพยายามผลักดันอย่างเต็มที่หากแต่การเข้ามาร่วมทำงานกับทีมที่ปรึกษาจำกัดมาก ดังนั้นแผนที่ผู้ประกอบการนำส่งเพื่อพัฒนาธุรกิจทีมที่ปรึกษาข้อให้ความคิดเห็นว่ามีความเสี่ยงในการดำเนินการ

เอกสารที่เกี่ยวข้อง []