GRoup presentation

หน้าหลักของโครงการ | ตารางเรียน | การนำเสนองานกลุ่ม [PPT] [Full Report] | การนำเสนองานเดี่ยว

ร่างแผนยุทธศาสตร์ดิจิทัลกระทรวงยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๖๖- ๒๕๗๐ เป็นส่วนหนึ่งของผลลัพทธ์การอบรมของผู้เข้ารับการอบรมดำเนินการร่วมกัน "โครงการทุนฝึกอบรมเพื่อสนับสนุนยุทธศาสตร์พัฒนาประเทศ
(Strategy-Based) ด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบบริหารจัดการภาครัฐสำหรับกระทรวงยุติธรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๓
"

เอกสารนำเสนอ

คลิกที่นี่เพื่อดาวน์โหลด (ครั้งที่ 1) [เอกสารนำเสนอ PPT | PDF]

คลิกที่นี่เพื่อดาวน์โหลด (ครั้งที่ 2) [เอกสารนำเสนอ PPT | PDF] [วีดีโอนำเสนอ]

ปัญหาและโอกาสที่เกิดขึ้นจากการดำเนินตามยุทธศาสตร์กระทรวงยุติธรรมภายใต้กรอบ

ยุทธศาสตร์ชาติและแผนแม่บทกระทรวง

  • ยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี ความเชื่อมโยงยุทธศาสตร์ชาติ

  • แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ

  • แผนการปฏิรูปประเทศ (ฉบับปรับปรุง)

  • แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๒ (พ.ศ. ๒๕๖๐–๒๕๖๔)

  • กรอบแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๓

  • แผนแม่บทการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ

  • นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม

  • แผนปฏิบัติราชการ ระยะ ๓ ปี (พ.ศ. ๒๕๖๓ - ๒๕๖๕) ของกระทรวงยุติธรรม

  • แผนปฏิบัติการดิจิทัล กระทรวงยุติธรรม พ.ศ ๒๕๖๐ - ๒๕๖๔

  • ระบบราชการ ๔.๐

  • แผนพัฒนาทักษะดิจิทัล บุคลากรภาครัฐ (สำนักงาน ก.พ. ว )

ตัวชี้วัดที่สำคัญที่นำมาใช้วิเคราะห์และประเมินประสิทธิภาพการดำเนินการภายใต้ยุทธศาสตร์กระทรวงยุติธรรม ปี พ.ศ. ๒๕xx

  • เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของโลก (Sustainable Development Goals: SDGs)

  • ดัชนีนิติธรรม (Rule of Law Index)

  • อันดับความสามารถในการแข่งขันทางดิจิทัล (IMD World Digital Competitiveness Ranking)

ปัญหาและโอกาศที่พบจากการศึกษาเบื้องต้น

. ระบบจัดเก็บข้อมูล โครงสร้างข้อมูล และการเชื่อมต่อข้อมูล จากการวิเคราะห์ พบว่า ข้อมูลไม่เป็นระบบ มีความซ้ำซ้อน ขาดควาทเชื่อมโยง และขาดความมั่นคงปลอดภัยในการใช้ข้อมูล

๒. กระบวนการให้บริการ มีหลายขั้นตอน ยุ่งยาก ซับซ้อน ไม่เป็นมาตรนฐาน ทำให้ยากต่อการเข้าถึงบริการ

๓. บุคคลากร ขาดความรู้ความเข้าใจ และทักษะด้านดิจิทัล รวมถึงวัฒนธรรมองค์กรและวิธีคิดเกี่ยวกับการใช้ดิจิทัลในองค์กร

. การสื่อสาร แนวทางการสื่อสารกับสาธารณะไม่ชัดเจน ไม่สามารถให้ตระหนักรู้ถึงบริการ และไม่สามารถสร้างความมั่นใจและการมีส่วนร่วมได้อย่างเต็มที่

๕. การมีส่วนร่วม ขาดการรับรู้ เข้าใจผู้รับบริการ ขาดการบูรณาการ ประชาชนขาดความเชื่อมั่น และมีปัญหาร้องเรียนเกี่ยวกับระบบงานยุติธรรม

ชื่อโครงการ

ร่างแผนยุทธศาสตร์ดิจิทัลกระทรวงยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๖๖ - ๒๕๗๐ (MOJ Digital Strategic Plan 2023 - 2027) หรือเรียกอย่างย่อได้ว่า "Digitize justice for all"

กรอบแนวคิดในการพัฒนา (ร่างแผนยุทธศาสตร์ดิจิทัลกระทรวงยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๖๖ - ๒๕๗๐)

  • Digital Transformation: Digital Straegy, Digital Leadership and Change Management, Digital Marketing for Citizen Engagement and Digital Literacy

  • Problem Solving: Corporate Governance and Conflict Resolution, Risk Management, Conflict Management, Marketing Communication in Public Administration, Negotiation

  • Organization Management: Corporate Culture, Leadership Key Performance Indicator and Public Value Management

  • Budgeting and Project Management: Project Evaluation, Budgeting and Research Methodology

เป้าประสงค์

เป้าหมายที่ ๑ โครงสร้างและข้อมูลของกระทรวงยุติธรรม มีการวางแผน วิเคราะห์ จัดอยู่ในรูปแบบ Digital Platform สามารถแลกเปลี่ยนเชื่อมโยงข้อมูลเพื่อใช้ประโยชน์ร่วมกัน

เป้าหมายที่ ๒ ประชาชนได้รับบริการด้านกฎหมายและงานยุติธรรมด้วยความสะดวก รวดเร็ว ด้วยบริการดิจิทัลเต็มรูปแบบ เกิดความเชื่อมั่นและมีส่วนร่วมในกระบวนงานด้านยุติธรรม

เป้าหมายที่ ๓ บุคลากรกระทรวงยุติธรรมมีสมรรถนะพร้อมสู่การเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล

ตัวชี้วัดที่สำคัญ

  • ร้อยละของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงยุติธรรม มีศักยภาพของโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัล พร้อมในการเชื่อมโยงข้อมูลตามเกณฑ์ประเมินมาตรฐาน

  • ระดับความสำเร็จของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงยุติธรรม มีระบบแลกเปลี่ยนเชื่อมโยงข้อมูลด้านเทคโนโลยีดิจิทัล

  • จำนวนของประชาชนที่เข้าใช้บริการงานยุติธรรมด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลแบบบูรณาการ

  • ระดับความสำเร็จของการให้บริการประชาชน สำหรับเรื่องร้องเรียนร้องทุกข์

  • ร้อยละของบุคลากรกระทรวงยุติธรรมได้รับการพัฒนาทักษะด้านดิจิทัล (E-Government) ตามแนวทางการพัฒนาทักษะด้านดิจิทัลของข้าราชการและบุคลากรภาครัฐเพื่อการปรับเปลี่ยนเป็นรัฐบาลดิจิทัล
    (หนังสือสำนักงาน ก.พ. ที่ นร 1013/ว 6 ลงวันที่ 18 พฤษภาคม 2561) ร้อยละ 80

  • ร้อยละของประชาชนที่มีความรู้และความเข้าใจด้านกฎหมาย (Legal literacy) งานยุติธรรม (Justice literacy) และงานบริการของกระทรวงยุติธรรม (Justice Service) ร้อยละ 85

ยุทธฺศาสตร์​

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 1: พัฒนาโครงสร้างและข้อมูลดิจิทัลกระทรวงยุติธรรม

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 2: ยกระดับการให้บริการประชาชนด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลแบบบูรณาการ

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 3: พัฒนากลไกการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนต่อระบบงานยุติธรรมด้วยระบบดิจิทัล

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 4: พัฒนาศักยภาพบุคลากรกระทรวงยุติธรรมด้านเทคโนโลยีดิจิทัล

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 5: ยกระดับการสร้างการรับรู้และความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับกฎหมาย กระบวนการยุติธรรม และการให้บริการงานยุติธรรมผ่านสื่อเทคโนโลยีดิจิทัล

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 1: พัฒนาโครงสร้างและข้อมูลดิจิทัลกระทรวงยุติธรรม

เป้าประสงค์: ยกระดับประสิทธิภาพโครงสร้างพื้นฐานของกระทรวงยุติธรรมตามมาตรฐานสากลในการบริหารจัดการความมั่นคงปลอดภัยของระบบสารสนเทศให้รองรับการปฏิบัติงานต่างๆ ของส่วนราชการ ในสังกัดกระทรวงยุติธรรม และสามารถเชื่อมโยงกันระหว่างส่วนราชการได้อย่างทั่วถึง มั่นคง และปลอดภัย


กลยุทธ์: พัฒนาสถาปัตยกรรมองค์กรในภาพรวมของกระทรวงยุติธรรม (EA)

  • กลยุทธ์ย่อย 1 พัฒนาระบบข้อมูลด้านกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม เพื่อเตรียมความพร้อมในการเชื่อมโยงกระบวนการยุติธรรมทั้งระบบ

  • กลยุทธ์ย่อย 2 พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลของกระทรวงยุติธรรม

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 2: ยกระดับการให้บริการประชาชนด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลแบบบูรณาการ

เป้าประสงค์: ประชาชน/ผู้รับบริการเข้าถึงบริการจากหน่วยงานในสังกัดกระทรวงยุติธรรมได้อย่างรวดเร็ว สะดวก และประหยัดค่าใช้จ่าย


กลยุทธ์ที่ 1 บูรณาการและผสมผสานบริการประชาชนของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงยุติธรรมและหน่วยงานอื่นอย่างไร้รอยต่อ (Seamlessness) ด้วยดิจิทัล

กลยุทธ์ที่ 2 พัฒนาการให้บริการประชาชนด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล

กลยุทธ์ที่ 3 ยกระดับการบริการเพื่อสร้างความเชื่อมั่นในกระบวนการยุติธรรมที่เที่ยงตรง รวดเร็ว และเป็นธรรม

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 3: พัฒนากลไกการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนต่อระบบงานยุติธรรมด้วยระบบดิจิทัล

เป้าประสงค์:

1. กระทรวงยุติธรรมมีการให้บริการที่มีประสิทธิภาพลดความความซ้ำซ้อน เพิ่มความรวดเร็ว

2. เพิ่มระดับความเชื่อมั่นในการให้บริการประชาชนของกระทรวงยุติธรรม


กลยุทธ์ที่ 1 ส่งเสริมให้ภาคเอกชน ภาคประชาชน และภาคประชาสังคม เข้ามามีส่วนร่วม ทั้งร่วมคิด ร่วมทำและร่วมตัดสินใจ ในงานบริการของกระทรวงยุติธรรมเพิ่มขึ้น

กลยุทธ์ที่ 2 บูรณาการความร่วมมือภาคสังคมในการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการป้องกันและแก้ไขปัญหาอาชญากรรม

กลยุทธ์ที่ 3 ส่งเสริมบทบาทความร่วมมือหน่วยงานนานาชาติเพื่อพัฒนาระบบงานยุติธรรม


ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 4: พัฒนาศักยภาพบุคลากรกระทรวงยุติธรรมด้านเทคโนโลยีดิจิทัล

เป้าประสงค์:

1. บุคลากรกระทรวงยุติธรรมมีความรู้ ทักษะ ศักยภาพ และกระบวนทัศน์ พร้อมรองรับการเปลี่ยนแปลงสู่องค์กรดิจิทัล

2. มีการพัฒนาระบบเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในการบริหารบุคลากรกระทรวงยุติธรรม


กลยุทธ์ที่ 1 การจัดทำแผนการพัฒนาบุคลากรด้านดิจิทัล

กลยุทธ์ที่ 2 ยกระดับสมรรถนะของบุคลากรกระทรวงยุติธรรมให้มีความพร้อมรองรับการเปลี่ยนแปลงสู่องค์กร

กลยุทธ์ที่ 3 การบริหารจัดการบุคลากรด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 5: ยกระดับการสร้างการรับรู้และความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับกฎหมาย กระบวนการยุติธรรม และการให้บริการงานยุติธรรมผ่านสื่อเทคโนโลยีดิจิทัล

เป้าประสงค์: ประชาชนรับรู้และเข้าใจความรู้กฎหมายและกระบวนการยุติธรรม และการให้บริการงานยุติธรรมที่ถูกต้องผ่านสื่อเทคโนโลยีดิจิทัล


กลยุทธ์ที่ 1 Digital Marketing เพื่อสร้างการรับรู้ข้อมูลด้านงานยุติธรรมให้เหมาะแก่ประชาชนทุกกลุ่ม

กลยุทธ์ที่ 2 สื่อสารเชิงรุกและตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลข่าวสารด้านงานยุติธรรม (สร้าง IO)

กลยุทธ์ที่ 3 ป้องกันและปราบปรามการกระทำผิดที่ใช้สื่อเป็นเครื่องมือในการหลอกลวงประชาชน

ตัวอย่างโครงการที่สนับสนุนการดำเนินการเพื่อบรรลุเป้าหมายและตัวชี้วัดองค์กร

แนวทางการพัฒนานักวิเคราะห์นโยบายกระทรวงยุติธรรมในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติ

นายพรินทร์ เพ็งสุวรรณ

เอกสารอ้างอิง

  • Luna E.D., Valle A., Vela S. and Reyes F. L. (2015). Digital governance and public value creation at the state level. 20: 167-182, From http://www.dx.doi.10.3233/IP-150360

  • Mintrom, M. and Luetjens, J. (2017). Creating public value: Tightening Connections between policy design and public management. The policy studies Journal, vol 45 (1): 170-190