OCSC & MOT

โครงการทุนฝึกอบรมเพื่อสนับสนุนยุทธศาสตร์พัฒนาประเทศ (Strategy-based) ด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขันสำหรับกระทรวงคมนาคม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๓

หลักการและเหตุผล

เนื่องด้วยวันที่ ๘ ตุลาคม ๒๕๖๑ ได้มีการประกาศใช้ยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี (พ.ศ. ๒๕๖๑ – ๒๕๘๐) ที่เน้นให้เกิดการพัฒนาประเทศไทยตามวิสัยทัศน์ “ประเทศไทยมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นประเทศพัฒนาแล้ว ตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง” โดยมี ๖ ยุทธศาสตร์เพื่อการขับเคลื่อน ได้แก่ (๑) ยุทธศาสตร์ด้านความมั่นคง (๒) ยุทธศาสตร์ด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน (๓) ยุทธศาสตร์ในการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ (๔) ยุทธศาสตร์ด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม (๕) ยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และ (๖) ยุทธศาสตร์ชาติด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ


ยุทธศาสตร์ด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน มีเป้าหมายการพัฒนาที่มุ่งเน้นการยกระดับศักยภาพของประเทศในหลากหลายมิติ บนพื้นฐานแนวคิดที่สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของแผนยุทธศาสตร์กระทรวงคมนาคม (พ.ศ. ๒๕๖๗ – ๒๕๖๔) “พัฒนาระบบขนส่งอย่างบูรณาการ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนทุกภาคส่วน และขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศอย่างยั่งยืน” ในยุค ๔.๐ ที่เน้นใช้เทคโนโลยี ตัวอย่างเช่น ระบบ MOT Data Platform ของกระทรวงคมนาคม ที่ได้มาตรฐานและมีความปลอดภัย กอปรกับ มาตรา ๑๓ (๙) แห่งพระราชบัญญัติระบบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑ บัญญัติให้กระทรวงคมนาคม มีอำนาจหน้าที่ในการดำเนินการเกี่ยวกับทุนเล่าเรียนหลวงและทุนของรัฐบาลตามนโยบายและระเบียบของ ก.พ. ตามมาตรา ๘ (๘) ในการจัดสรรทุนรัฐบาล เพื่อเตรียมกำลังคนที่มีศักยภาพสูงภาครัฐในอนาคตให้สอดคล้องกับนโยบายการบริหารทรัพยากรบุคคลของข้าราชการฝ่ายพลเรือน ความสามารถด้านดิจิตอลเป็นทักษะสำคัญของบุคลากรภาครัฐบาลในการเปลี่ยนผ่านความสามารถในการพัฒนาและแข่งขันเพื่อการพัฒนาประเทศไทย


ดังนั้น การพัฒนาองค์ความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ และคุณลักษณะด้านดิจิตอล สำหรับข้าราชการพลเรือนสามัญที่ปฏิบัติงานกระทรวงคมนาคม จึงเป็นสิ่งที่จำเป็นในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน เพื่อเตรียมความพร้อมในการปฏิบัติงานสำหรับระบบ MOT Data Platform ของกระทรวงคมนาคม ให้เกิดประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อเสริมสร้างความรู้ ทักษะ และประสบการณ์ในการทำงานให้กับข้าราชการพลเรือนสามัญที่ปฏิบัติงานเพื่อขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน

  2. เพื่อเปิดมุมมองและเพิ่มประสบการณ์ให้กับข้าราชการพลเรือนที่ปฏิบัติงานเพื่อขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขันของส่วนราชการได้ศึกษาตัวอย่างที่ดี (Best practices) ในหน่วยงานภาครัฐและเอกชนทในประเทศ ตลอดจนมิติการเรียนรู้วิธีหรือแนวทางการปฏิบัติที่ดีของต่างประเทศ (Best practices)

  3. เพื่อสร้างเครือข่ายการทำงานระหว่างข้าราชการพลเรือนที่ปฏิบัติงานเพี่อขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน

แนวคิดการออกแบบหลักสูตร

การออกแบบหลักสูตร เกิดจากกรอบแนวคิดหลักกรอบธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ นั้นอ้างอิงจาก กรอบธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐในระดับหน่วยงาน (รูปที่ ๑) ที่เอื้อต่อการพัฒนาระบบ MOT Open Data Platform ของกระทรวงคมนาคมที่ได้มาตรฐานและมีความปลอดภัย โดยบูรณาการการทำงานร่วมกันของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงคมนาคม สำหรับสนับสนุนการวิเคราะห์และใช้ประโยชน์จากข้อมูลขนาดใหญ่ในระดับประเทศ เพื่อสนับสนุนการสร้างความสามารถทางการแข่งขันของประเทศไทยให้ก้าวผ่านกับดักรายได้ปานกลาง โดยการออกแบบและพัฒนาระบบ MOT Open Data Platform ดังกล่าวของกระทรวงคมนาคม ซึ่งจำเป็นต้องพัฒนาการพัฒนาองค์ความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ และคุณลักษณะด้านดิจิตอล สำหรับข้าราชการพลเรือนสามัญที่ปฏิบัติงานกระทรวงคมนาคมก่อนเป็นอันดับแรก

รูปที่ ๑ กรอบธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ (DATA GOVERNANCE FRAMEWORK FOR GOVERNMENT)

รูปที่ ๑ แสดงกรอบธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐในระดับหน่วยงาน ประกอบด้วย นิยามและ กฎเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับข้อมูล (Definition and Rules) โครงสร้างธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ (Data Governance Structure) และกระบวนการธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ (Data Governance Processes) โดย บุคคลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับโครงสร้างธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ จะถูกแต่งตั้งโดยผู้บริหารระดับสูงของ หน่วยงาน เพื่อทำหน้าที่กำหนดยุทธศาสตร์และเป้าหมาย ตรวจสอบสภาพแวดล้อมของธรรมาภิบาลข้อมูล นิยามความหมายและขอบเขตของข้อมูล กำหนดกฎเกณฑ์และนโยบายข้อมูล และดำเนินการตรวจสอบการ ปฏิบัติตามกฎเกณฑ์และนโยบายข้อมูล

รูปที่ ๒ กฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ แนวนโยบาย และแนวปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับ ธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ

ปัจจุบันกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับข้อมูล ข่าวสาร หรือสิทธิส่วนบุคคลในประเทศไทย มีประเด็นที่อาจ ส่งผลกระทบต่อหลักแนวคิดธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ ซึ่งหากหน่วยงานในประเทศไทยต้องการสร้างหรือ ปรับปรุงระบบภายในให้มีธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ จะต้องพิจารณาประเด็นหลัก ๆ ที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย (รูปที่ ๒)

  1. การเปิดเผยข้อมูล

การเปิดเผยข้อมูลเป็นสิ่งจำเป็นต่อการดำเนินงานของรัฐบาล ซึ่งแสดงความโปร่งใสในการดำเนินงานและความสามารถในการตรวจสอบได้จากภาคเอกชนและประชาชน รวมไปถึงการ สนับสนุนให้ภาคเอกชนและประชาชนนำข้อมูลที่เปิดเผยไปสร้างนวัตกรรมผลิตภัณฑ์และบริการ เพื่อยกระดับการพัฒนาประเทศ โดยแนวคิดการเปิดเผยข้อมูลเป็นที่ยอมรับของหน่วยงานระหว่าง ประเทศและรัฐบาลประเทศต่าง ๆ โดยในประเทศไทยมีกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการเปิดเผยข้อมูล

  1. การเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูล

การเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลเป็นสิ่งสำคัญต่อการบูรณาการการดาเนินงานระหว่างหน่วยงานภาครัฐ ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อหน่วยงานภาครัฐและประชาชนในการขอใช้บริการจาก ภาครัฐ โดยมีกฎหมายท่ีเก่ียวข้องกับการเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูล

  1. การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Data Protection) เป็นสิ่งสำคัญที่ภาครัฐต้องดำเนินการ โดยปัจจุบันมีการนำระบบสารสนเทศและการสื่อสารมาประยุกต์ใช้ประกอบการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์อย่างแพร่หลาย ซี่งหน่วยงานภาครัฐอาจจะมีการรวบรวม จัดเก็บใช้ หรือเผยแพร่ข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้บริการในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อเป็นการป้องกันการ ละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานสำคัญในความเป็นส่วนบุคคล (Privacy Right) ของ ประชาชนที่ต้องได้รับการคุ้มครอง อันจะทาให้ประชาชนมีความมั่นใจในการทาธุรกรรมทาง อิเล็กทรอนิกส์ ดังนั้นการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลจาเป็นที่จะต้องนามาวิเคราะห์เพื่อให้เกิด ธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐที่ดี โดยมีกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

  1. การรักษาความลับ

การรักษาความลับทางราชการเป็นสิ่งที่จำเป็นต่อการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ ซึ่งเป็นการป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นต่อภาครัฐ ทั้งในด้านชื่อเสียง การเงิน ความสามารถในการ พัฒนาประเทศ และความมั่นคงของประเทศ โดยมีกฎหมาย ระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการรักษา ความลับ

ดังที่กล่าวมาข้างต้นจึงขอเสนอหลักสูตรการพัฒนา MOT Open Data Platform เพื่อให้เกิดความสามารถในการแข่งขันให้ได้ตามเป้าประสงค์ของโครงการ และที่ปรึกษาจึงได้เสนอกรอบแนวคิดของการพัฒนา MOT Open Data Platform ของกระทรวงคมนาคม (รูปที่ ๓) โดยมีองค์ประกอบ ดังนี้

  1. Open Data Platform เป็นระบบสารสนเทศซึ่งหน่ายงานสามารถใช้ในการเปิดเผยชุดข้อมูลที่ ต้องการได้อย่างเป็นระบบ

  2. การวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analytics) โดยในโครงการเป็นการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ภาษา Python เพื่อใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้น

  3. การกำหนดชุดข้อมูล (Data Definition) และ ความมั่นคงของข้อมูล (Data Security) เพื่อให้เข้าถึงการจัดการข้อมูลตั้งแต่ระดับนโยบายจนถึงระดับนำไปใช้งาน และนำไปจัดทำข้อมูลเพื่อการเปิดเผย (Open Data)

  4. กรอบแนวคิดเกี่ยวกับ ธรรมาภิบาลข้อมูล (Data Governance Framework) เป็นเนื้อหาที่กล่าวถึงการบริหารจัดการข้อมูลของหน่วยงานภาครัฐ ในภาพรวม ตั้งแต่ระดับนโยบายและ ขั้นตอนการปฏิบัติต่างๆที่จำเป็นเพื่อให้เกิดธรรมาภิบาลของข้อมูลเพื่อให้ สามารถเปิดเผยข้อมูลได้อย่าง ถูกต้องและได้มาตรฐาน

การกำหนดเนื้อหาสาระและโครงสร้างหลักสูตร

โครงสร้างหลักสูตร ประกอบด้วย ๔ โมดูล โดยใช้ระยะเวลาในการเรียนรู้รวม ๒๑ วัน


โมดูล ๑ การปรับและเสริมสร้างความรู้พื้นฐาน (Knowledge-based building) ใน ๕ ประเด็นการเรียนรู้และพัฒนา ได้แก่ (๑) Digital Transformation (๒) เทคนิคและวิธีการพัฒนา Data Platform / Open Data Platform / Data Catalog Platform อาทิ CKAN, DKAN หรือ อื่นๆ (๓) การเขียนโปรแกรมด้วยภาษา Python เพื่อใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ และสร้าง Smart Service (๔) การพัฒนา Data Exchange ให้ได้มาตรฐานความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ (Cyber Security) (๕) ประเด็นการเรียนรู้และพัฒนาอื่นๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อการขับเคลื่อนโครงการ โดยใช้ระยะเวลาในการเรียนรู้รวม ๑๓ วัน (ระหว่างวันที่ ๑ เมษายน ถึง ๓๐ เมษายน ๒๕๖๔)

โมดูล การให้คำปรึกษาสำหรับข้อเสนอการปรับเปลี่ยนหรือพัฒนงานเชิงนวัตกรรม (Consultant Service) ในประเด็นการเรียนรู้และพัฒนา ได้แก่ การให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการจัดทำข้อเสนอการปรับเปลี่ยนหรือพัฒนางานเชิงนวัตกรรมทั้งข้อเสนองานเดี่ยวและข้อเสนองานกลุ่ม โดยใช้ระยะเวลาในการเรียนรู้รวม ๔ วัน (ระหว่างวันที่ ๑ เมษายน ถึง ๓๐ พฤษภาคม ๒๕๖๔)

งานเดี่ยว หมายถึง โครงการศึกษาเฉพาะเรื่อง เฉพาะบุคคล โดยกำหนดให้ผู้เข้ารับการอบรมรมทำ การศึกษาลงลึก เฉพาะเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ในหัวข้อเฉพาะที่สนใจ และนำมาประยุกต์ใช้กับงานหรือ ข้อมูลในองค์กร โดย ผู้เข้าอบรมต้องจัดทำ การนำเสนอในรูปแบบของ Poster ขนาด A0 เพื่อนำเสนอ ในวันที่ 14 พฤษภาคม 2564

งานกลุ่ม หมายถึง โครงการศึกษา และ พัฒนา "ระบบ Data Catalog สำหรับ Open Data ของกระทรวงคมนาคม" ซึ่งเป็นโครงการที่ทำร่วมกัน มีเป้าหมายให้ สามารถนำความรู้ที่เรียน มาประยุกต์ใช้กับงานของ กระทรวงได้อย่างเป็นรูปธรรม โดยการ จัดทำระบบ Data Catalog และ การศึกษาวิเคราะห์ ถึงขั้นตอน และ กระบวนการต่างๆ ในการจัดทำ รายการ การเปิดเผยข้อมูล (Open Data Catalog) ในมิติต่างๆ ที่เกี่ยวข้องตามเนื้อหาของหลักสูตร


โมดูล ๓ การแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และการนำเสนอข้อเสนอการปรับเปลี่ยนหรือพัฒนงานเชิงนวัตกรรม (Knowledge Sharing & Project Presentation) ในประเด็นการเรียนรู้และพัฒนา ได้แก่ การระดมสมองเพื่อแลกเปลี่ยนมุมมองจากการเรียนรู้ รวมทั้งสรุปองค์ความรู้ที่ได้รับจากโมดูล ๑ และ โมดูล ๒ เพื่อนำองค์ความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ พัฒนา และปรับปรุงงานที่รับผิดชอบเพื่อขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน โดยใช้ระยะเวลาในการเรียนรู้รวม ๑ วัน (วันที่ ๓๑ พฤษภาคม ๒๕๖๔)


โมดูล ๔ การติดตามและประเมินผลโครงการ (Project Monitoring and Evaluation) ที่เป็นโจทย์ของยุทธศาสตร์ด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน เพื่อรายงานกระทรวงคมนาคม โดยใช้ระยะเวลาในการเรียนรู้รวม ๓ วัน (ระหว่างวันที่ ๑ พฤษภาคม ถึง ๓๐ มิถุนายน ๒๕๖๔)

การจัดการเรียนรู้และพัฒนาหลักสูตร

การจัดการเรียนรู้และพัฒนาของหลักสูตร ประกอบด้วย ๒ แนวทาง คือ ทฤษฎี และปฏิบัติ โดยใช้หน่วยงานในสังกัดกระทรวงคมนาคมเป็นฐานในการเรียนรู้ และใช้เทคโนโลยีและเครื่องมือของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงคมนาคมเป็นแหล่งเรียนรู้

  1. การจัดการเรียนรู้และพัฒนาในภาคทฤษฎี มุ่งเน้นการเรียนรู้จากประสบการณ์จริง ณ หน่วยงานในสังกัดกระทรวงคมนาคม ผ่านกรณีศึกษา (Case study-based Learning) ซึ่งประกอบด้วย ๓ กิจกรรม ได้แก่ การบรรยาย (Lecture) การอบรมเชิงปฏิบัติการ (Workshop) และการอภิปราย (Discussion)

  2. การจัดการเรียนรู้และพัฒนาในภาคปฏิบัติ มุ่งเน้นการเรียนรู้จากประสบการณ์จริง ณ หน่วยงานในสังกัดกระทรวงคมนาคม ผ่านการทำโครงงาน (Project-based learning) โดยมีผู้สอนเป็นผู้กระตุ้นความสนใจที่เกิดขึ้นจากตัวผู้เรียน มาใช้ในการทำกิจกรรมค้นคว้าหาความรู้ด้วยตัวผู้เรียนเอง หรือการให้คำแนะนำ (Coach) ด้วยโมเดลจักรยานแห่งการเรียนรู้ (รูปที่ ๔) ประกอบด้วย ๕ กิจกรรม ได้แก่ การกำหนดโจทย์จริงของสถานประกอบการ (Define) การวางแผน (Plan) สำหรับการดำเนินโครงงาน (Do) และสิ้นสุดโครงงานด้วยการถอดบทเรียน (Review) ร่วมกับการประเมินพัฒนาการของผู้เรียนผ่านการนำเสนอโครงการ (Presentation)

รูปที่ ๔ โมเดลจักรยานแห่งการเรียนรู้

การจัดการเรียนรู้และพัฒนาของหลักสูตรในภาคทฤษฎีด้วยการเรียนรู้ผ่านกรณีศึกษา (Case study-based Learning) และในภาคปฏิบัติด้วยการเรียนรู้ผ่านการทำโครงงาน (Project-based learning) สามารถออกแบบให้สอดคล้องกับเนื้อหาสาระและโครงสร้างหลักสูตร ดังตารางที่ ๑

โมดูล

Case study-based Learning

Project-based learning

1

2

3

4

X

-

-

-

-

X

X

X

ตารางที่ ๑ การออกแบบการจัดการเรียนรู้และพัฒนาตามเนื้อหาสาระและโครงสร้างหลักสูตร

โครงสร้างหลักสูตรและเนื้อหาหลักสูตร

โมดูล ๑ การปรับและเสริมสร้างความรู้พื้นฐาน (Knowledge-based building) ประกอบด้วยเนื้อหา ๕ หัวข้อ โดยใช้ระยะเวลาในการเรียนรู้รวม ๑๓ ครั้ง (ระหว่างวันที่ ๒ เมษายน ถึง ๒๓ เมษายน ๒๕๖๔) ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

วันที่

เวลา

เนื้อหา

ผู้รับผิดชอบ

ชั้น ๒ เมษายน ๒๕๖๔

ห้อง X01B, ชั้น 10, อาคาร KX

๙.๐๐ น. – ๑๒.๐๐ น.

๑๓.๐๐ – ๑๖.๐๐ น.

ผศ.ดร.วรพจน์ อังกสิทธิ์

คุณ สุดภัคดี รัตนภัณฑ์

เมษายน ๒๕๖๔

ห้อง X11.5, ชั้น 11, อาคาร KX

๙.๐๐ น. – ๑๒.๐๐ น.


๑๓.๐๐ – ๑๖.๐๐ น.

ดร. อานนท์ ทับเที่ยง


ดร. อานนท์ ทับเที่ยง

เมษายน ๒๕๖๔

ห้อง X11.5, ชั้น 11, อาคาร KX

๙.๐๐ น. – ๑๒.๐๐ น.

๑๓.๐๐ – ๑๖.๐๐ น.

ดร. ปารเมศ วรเศยานนท์


คุณ ปวริศา ชุมวิกรานต์

เมษายน ๒๕๖๔

๙.๐๐ น. – ๑๒.๐๐ น.


๑๓.๐๐ – ๑๖.๐๐ น.

รศ.​ดร.​วชิรศักดิ์ วานิชชา และ ทีมวิทยากรของ มหาวิทยาลัย


รศ.​ดร.​วชิรศักดิ์ วานิชชา และ ทีมวิทยากรของ มหาวิทยาลัย

๙ เมษายน ๒๕๖๔

๙.๐๐ น. – ๑๒.๐๐ น.

๑๓.๐๐ – ๑๖.๐๐ น.

รศ.​ดร.​วชิรศักดิ์ วานิชชา และ ทีมวิทยากรของ มหาวิทยาลัย

รศ.​ดร.​วชิรศักดิ์ วานิชชา และ ทีมวิทยากรของ มหาวิทยาลัย

๑๙ เมษายน ๒๕๖๔

๙.๐๐ น. – ๑๒.๐๐ น.


๑๓.๐๐ – ๑๖.๐๐ น.

  • Security Basics

  • Brief overview of security management system

  • ข้อกำหนดระบบบริหารความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศ ตามมาตรฐาน ISO27001-2013

ผศ.ดร.ชลเมธ อาปาณิกานนท์ และทีมวิทยากรของมหาวิทยาลัย


ผศ.ดร.ชลเมธ อาปาณิกานนท์ และทีมวิทยากรของมหาวิทยาลัย

๒๐ เมษายน ๒๕๖๔

๙.๐๐ น. – ๑๒.๐๐ น.


๑๓.๐๐ – ๑๖.๐๐ น.

  • แนวปฏิบัติการควบคุมความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศ ตามมาตรฐาน ISO27002-2013

  • การประยุกต์ใช้ ISO27001 และ ISO27002 เพื่อการพัฒนา Data exchange

  • พระราชบัญญัติ คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล Personal Data Privacy Act (PDPA)

ผศ.ดร.ชลเมธ อาปาณิกานนท์ และทีมวิทยากรของมหาวิทยาลัย


ผศ.ดร.ชลเมธ อาปาณิกานนท์ และทีมวิทยากรของมหาวิทยาลัย

๒๒ เมษายน ๒๕๖๔

๙.๐๐ น. – ๑๒.๐๐ น.

๑๓.๐๐ – ๑๖.๐๐ น.

  • การเขียนโปรแกรมภาษา Python เบื้องต้น โครงสร้างภาษา

  • การเรียกใช้ Open Data Platform API Service

ดร.ไพรสันต์ พดุงเวียง และ ทีมวิทยากรของมหาวิทยาลัย

ดร.ไพรสันต์ พดุงเวียง และ ทีมวิทยากรของมหาวิทยาลัย

๒๓ เมษายน ๒๕๖๔

๙.๐๐ น. – ๑๒.๐๐ น.

๑๓.๐๐ – ๑๖.๐๐ น.

  • การจัดการข้อมูลด้วย DataFrame

  • การทำให้เห็นภาพ (Data visualization)

ดร.ไพรสันต์ พดุงเวียง และ ทีมวิทยากรของมหาวิทยาลัย

ดร.ไพรสันต์ พดุงเวียง และ ทีมวิทยากรของมหาวิทยาลัย

เมษายน ๒๕๖๔

๙.๐๐ น. – ๑๒.๐๐ น.









๑๓.๐๐ – ๑๖.๐๐ น.

  • สัมมนาเชิงปฏิบัติการ เรื่อง Agile: Enterprise Architecture

  • วิเคราะห์สภาพแวดล้อมและสถานการณ์ปัจจุบัน ที่จะทำให้เห็นผลกระทบทั้งภายนอกและภายในองค์กรรวมถึงการส่งผลต่อเนื่องถึงกันและกันอย่างชัดเจน เพื่อใช้ในการกำหนดขอบเขตของงานในแต่ละด้านและลำดับความสำคัญของได้ครบถ้วน

  • จัดทำพิมพ์เขียวองค์กร (Enterprise Blueprint) ที่เป็นเครื่องมือสำคัญต่อการบริหารจัดการองค์กรดิจิทัล การใช้ข้อมูล สู่การนำใช้เทคโนโลยีร่วมกัน

  • เรียนรู้การออกแบบบริการ (Service Worksheet) แบบ Agile ด้วยความคิดเชิงสร้างสรรค์ การใช้ข้อมูลร่วมกัน และการเลือกใช้เทคโนโลยีตรงกับความต้องการอย่างเป็นระบบ

  • เรียนรู้การทำแผนที่นำทางเพื่อกำหนดความสำเร็จให้ออกเป็นความสำเร็จระยะสั้นจนไปถึงระยะยาว (Strategic Roadmap)

คุณ ดนัยรัฐ ธนบดีธรรมจารี















คุณดนัยรัฐ ธนบดีธรรมจารี

๒๗ เมษายน ๒๕๖๔

๙.๐๐ น. – ๑๒.๐๐ น.



๑๓.๐๐ – ๑๖.๐๐ น.

  • กรอบธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ

  • ด้านโครงสร้างด้านกระบวนการและด้านนิยามและกฎเกณฑ์ ด้านการวัดผล

  • การประเมินความพร้อมขององค์กรและสภาพแวดล้อม

  • ขั้นตอนการดำเนินงานธรรมาภิบาลข้อมูล

ผศ.ดร.ณรงค์ฤทธิ์ วราภรณ์ และ ทีมวิทยากรของมหาวิทยาลัย



ผศ.ดร.ณรงค์ฤทธิ์ วราภรณ์ และ ทีมวิทยากรของมหาวิทยาลัย

๒๘ เมษายน ๒๕๖๔

๙.๐๐ น. – ๑๒.๐๐ น.


๑๓.๐๐ – ๑๖.๐๐ น.

  • การจัดการองค์กร การมอบหมายหน้าที่และความรับผิดชอบและรูปแบบ การดาเนินงาน

  • การจัดทำนโยบาย มาตรฐาน กระบวนการ และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับธรรมาภิบาลข้อมูล

ผศ.ดร.ณรงค์ฤทธิ์ วราภรณ์ และ ทีมวิทยากรของมหาวิทยาลัย


ผศ.ดร.ณรงค์ฤทธิ์ วราภรณ์ และ ทีมวิทยากรของมหาวิทยาลัย

๒๙ เมษายน ๒๕๖๔

๙.๐๐ น. – ๑๒.๐๐ น.



๑๓.๐๐ – ๑๖.๐๐ น.

  • การจัดทำชุดบัญชีข้อมูล การนิยามข้อมูล หมวดหมู่ของข้อมูล และคำอธิบายชุดข้อมูลดิจิทัลหรือเมทาดาตา

  • บัญชีข้อมูล คลังเมทาดาตา หรือพจนานุกรมข้อมูล

ผศ.ดร.ณรงค์ฤทธิ์ วราภรณ์ และ ทีมวิทยากรของมหาวิทยาลัย



ผศ.ดร.ณรงค์ฤทธิ์ วราภรณ์ และ ทีมวิทยากรของมหาวิทยาลัย

โมดูล ๒ การให้คำปรึกษาสำหรับข้อเสนอการปรับเปลี่ยนหรือพัฒนงานเชิงนวัตกรรม (Consultant Service) ประกอบด้วยเนื้อหา ๒ หัวข้อ โดยใช้ระยะเวลาในการเรียนรู้รวม ๕ ครั้ง (ระหว่างวันที่ ๑๒ เมษายน ถึง ๗ พฤษภาคม ๒๕๖๔) ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

วันที่

เวลา

เนื้อหา

ผู้รับผิดชอบ

๒๑ เมษายน ๒๕๖๔

๑๓.๐๐ – ๑๖.๐๐ น.

  • การให้คำปรึกษาสำหรับข้อเสนอการปรับเปลี่ยนหรือพัฒนางานเชิงนวัตกรรม (Consultant Service) งานเดี่ยว (online) ครั้งที่ ๑

ทีมวิทยากรของมหาวิทยาลัย

๒๖ เมษายน๒๕๖๔

๙.๐๐ น. – ๑๒.๐๐ น.

  • การให้คำปรึกษาสำหรับข้อเสนอการปรับเปลี่ยนหรือพัฒนางานเชิงนวัตกรรม (Consultant Service) งานกลุ่ม ครั้งที่

ทีมวิทยากรของมหาวิทยาลัย

๓๐ เมษายน ๒๕๖๔

๙.๐๐ น. – ๑๒.๐๐ น.

  • การให้คำปรึกษาสำหรับข้อเสนอการปรับเปลี่ยนหรือพัฒนางานเชิงนวัตกรรม (Consultant Service) งานกลุ่ม ครั้งที่

ทีมวิทยากรของมหาวิทยาลัย

พฤษภาคม ๒๕๖๔

๙.๐๐ น. – ๑๒.๐๐ น.

  • การให้คำปรึกษาสำหรับข้อเสนอการปรับเปลี่ยนหรือพัฒนางานเชิงนวัตกรรม (Consultant Service) งานกลุ่ม ครั้งที่ ๓

ทีมวิทยากรของมหาวิทยาลัย

๑๐ พฤษภาคม ๒๕๖๔

๑๓.๐๐ – ๑๖.๐๐ น.

  • การให้คำปรึกษาสำหรับข้อเสนอการปรับเปลี่ยนหรือพัฒนางานเชิงนวัตกรรม (Consultant Service) งานเดี่ยว (online) ครั้งที่ ๒

ทีมวิทยากรของมหาวิทยาลัย

โมดูล ๓ การแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และการนำเสนอข้อเสนอการปรับเปลี่ยนหรือพัฒนางานเชิงนวัตกรรม (Knowledge Sharing & Project Presentation) ประกอบด้วยเนื้อหา ๑ หัวข้อ โดยใช้ระยะเวลาในการเรียนรู้รวม ๑ ครั้ง (วันที่ ๑๔ พฤษภาคม ๒๕๖๔) ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

วันที่

เวลา

เนื้อหา

ผู้รับผิดชอบ

๑๔ พฤษภาคม ๒๕๖๔

๙.๐๐ น. – ๑๒.๐๐ น.





๑๓.๐๐ – ๑.๐ น.

  • นำเสนอโครงการอบรม (จากข้อเสนอแนะจากกรรมการในวันที่ ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๖๔) ของโครงการกลุ่ม พร้อมรับข้อเสนอแนะจากกรรมการเพื่อให้เป้นโครงร่างพร้อมนำส่งแก่หน่วยงานต้นสังกัด

  • นำเสนอผลงาน โครงงาน ส่วนบุคคลในรูปแบบ Poster

  • กล่าวปิดโครงการอบรมและถ่ายภาพร่วมกัน

ทีมวิทยากรของมหาวิทยาลัย





ทีมวิทยากรของมหาวิทยาลัย

โมดูล ๔ การติดตามและประเมินผลโครงการ (Project Monitoring and Evaluation) ที่เป็นโจทย์ของยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน เพื่อรายงานกระทรวงคมนาคม โดยใช้ระยะเวลาในการเรียนรู้รวม ๓ วัน (ระหว่างวันที่ ๒๘ พฤษภาคม ถึง ๒๕ มิถุนายน ๒๕๖๔)

วันที่

เวลา

เนื้อหา

ผู้รับผิดชอบ

๒๘ พฤษภาคม ๒๕๖๔

๙.๐๐ น. – ๑๒.๐๐ น.

  • การสัมมนาเพื่อ ติดตามประเมินผลโครงการ

  • นำเสนอความคืบหน้าของโครงการ (ครั้งที่ ๑)

  • ที่ปรึกษา และ ผู้เชี่ยวชาญ ให้ความเห็นและข้อเสนอแนะในพัฒนาให้โครงการ ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

ทีมวิทยากรของมหาวิทยาลัย

๑๑ มิถุนายน ๒๕๖๔

๙.๐๐ น. – ๑๒.๐๐ น.

  • การสัมมนาเพื่อ ติดตามประเมินผลโครงการ

  • นำเสนอความคืบหน้าของโครงการ (ครั้งที่ ๒)

  • ที่ปรึกษา และ ผู้เชี่ยวชาญ ให้ความเห็นและข้อเสนอแนะในพัฒนาให้โครงการ ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

ทีมวิทยากรของมหาวิทยาลัย

๒๕ มิถุนายน ๒๕๖๔

๙.๐๐ น. – ๑๒.๐๐ น.

  • การสัมมนาเพื่อ ติดตามประเมินผลโครงการ

  • นำเสนอความคืบหน้าของโครงการ (ครั้งที่ ๓)

  • ที่ปรึกษา และ ผู้เชี่ยวชาญ ให้ความเห็นและข้อเสนอแนะในพัฒนาให้โครงการ ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

ทีมวิทยากรของมหาวิทยาลัย

การประเมินและการวัดผล

ผู้เรียนที่ผ่านหลักสูตรและได้รับประกาศนียบัตรจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี จำเป็นต้องผ่านเกณฑ์ทั้งหมด ดังนี้

  1. การเข้าเรียน ต้องมีเวลาเรียนไม่ต่ำกว่า ร้อยละ ๘๐ ของระยะเวลาเรียนทั้งหมด และการมีส่วนร่วมในชั้นเรียน คิดเป็นร้อยละ ๒๐

  2. การอภิปรายในชั้นเรียน จากการมอบหมายงานเดี่ยวโดยใช้กรณีศึกษาเป็นฐาน เป็นวิธีการวัดผลลัพธ์การเรียนรู้โดยผู้เรียนและครูผู้สอน ที่สอดคล้องกับแนวทางการจัดการเรียนรู้ในภาคทฤษฎี ซึ่งมุ่งเน้นการเรียนรู้จากประสบการณ์จริง ณ หน่วยงานในสังกัดกระทรวงคมนาคม ผ่านกรณีศึกษา (Case study-based Learning) คิดเป็นร้อยละ ๔๐

  3. การนำเสนอร่วมกันหน้าชั้นเรียน จากการมอบหมายงานกลุ่มโดยใช้โครงงานเป็นฐาน เป็นวิธีการวัดผลลัพธ์การเรียนรู้โดยผู้เรียน ครูผู้สอน และผู้บริหารของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงคมนาคม ที่สอดคล้องกับแนวทางการจัดการเรียนรู้ในภาคปฏิบัติ ซึ่งมุ่งเน้นการเรียนรู้จากประสบการณ์จริง ณ หน่วยงานในสังกัดกระทรวงคมนาคม ผ่านการทำโครงงาน (Project-based learning) คิดเป็นร้อยละ ๔๐

ผู้รับผิดชอบโครงการ

ปารเมศ วรเศยานนท์ , ผู้จัดการโครงการ

(มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี)

โทร: +66 0999-191-598

e-mail: parameth.vor@kmutt.ac.th


ผศ.ดร.กานดา บุญโสธรสถิตย์, ผู้ช่วยผู้จัดการโครงการ

(มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี)

โทร: +66 8 9494 0904

e-mail: kanda.boo@kmutt.ac.th

คณะทำงาน

ผศ.ดร.วรพจน์ อังกสิทธิ์, คณบดีบัณฑิตวิทยาลัยการจัดการและนวัตกรรม, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

ดร.อานนท์ ทับเที่ยง, ประธานสาขาการจัดการธุรกิจดิจิตอล, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

รศ.ดร.วชิรศักดิ์ วานิชชา, รองคณบดีด้านบริหารคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

ผศ.ดร.ชลเมธ อาปาณิกานนท์, รองคณบดีด้านพัฒนาความเป็นสากล คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

ผศ.ดร.ณรงค์ฤทธิ์ วราภรณ์, รองคณบดีด้านวิชาการ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

อาจารย์ มนตรี สุภัทรธรรม, ผู้ช่วยคณบดีด้านโครงการและโครงสร้างพื้นฐาน คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี