OCSC & MOJ

โครงการทุนฝึกอบรมเพื่อสนับสนุนยุทธศาสตร์พัฒนาประเทศ (Strategy-Based) ด้านการปรับสมดุลและพัฒนา
ระบบบริหารจัดการภาครัฐสำหรับกระทรวงยุติธรรม
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๓

หลักการและเหตุผล

เนื่องด้วยวันที่ ๘ ตุลาคม ๒๕๖๑ ได้มีการประกาศใช้ยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี (พ.ศ. ๒๕๖๑ – ๒๕๘๐) ที่เน้นให้เกิดการพัฒนาประเทศไทยตามวิสัยทัศน์ “ประเทศไทยมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นประเทศพัฒนาแล้ว ตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง” โดยมี ๖ ยุทธศาสตร์เพื่อการขับเคลื่อน ได้แก่ (๑) ยุทธศาสตร์ด้านความมั่นคง (๒) ยุทธศาสตร์ด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน (๓) ยุทธศาสตร์ในการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ (๔) ยุทธศาสตร์ด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม (๕) ยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และ (๖) ยุทธศาสตร์ชาติด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ

ยุทธศาสตร์ด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบบริหารจัดการภาครัฐเป็นหนึ่งในยุทธศาสตร์ที่สำคัญในการการสร้างความสามารถในการแข่งขันให้กับประเทศ โดยกระทรวงยุติธรรมเป็นหนึ่งในกระทรวงหลักที่เกี่ยวข้องในการสนับสนุนยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี ในหมวดนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านการสร้างหลักประกันความยุติธรรมตามหลักสากลซึ่งเป็นพื้นฐานด้านการสร้างความเชื่อมมั่นแก่นักลงทุนและผู้ที่มีการทำธุรกรรมภายในและระหว่างราชอาณาจักร อย่างไรก็ดีการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจ ทางสังคมและการเมือง ส่งผลให้เกิดความจำเป็นในการพัฒนาบุคลากรที่จะสามารถพัฒนาระบบงานบริการ ระบบงานยุติธรรม ระบบป้องกันอาชญากรรม และประสิทธิภาพารบริหารความยุติธรรมและ การบังคับใช้กฎหมายให้เป็นไปตามหลักสากลและสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมได้อย่างเป็นรูปธรรม

ตามมาตรา ๑๓ (๙) แห่งพระราชบัญญัติระบบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑ บัญญัติให้สำนักงาน ก.พ. มีอำนาจหน้าที่ในการดำเนินการเกี่ยวกับทุนเล่าเรียนหลวงและทุนของรัฐบาลตามนโยบายและระเบียบของ ก.พ. ตามมาตรา ๘ (๘) ในการจัดสรรทุนรัฐบาล เพื่อส่งคนไปศึกษาวิชาต่างๆ เพื่อเตรียมกำลังคนที่มีศักยภาพสูงภาครัฐในอนาคตให้สอดคล้องกับนโยบายการบริหารทรัพยากรบุคคลของข้าราชการฝ่ายพลเรือน ความสามารถด้านดิจิตอลเป็นทักษะสำคัญของบุคลากรภาครัฐบาลในการเปลี่ยนผ่านความสามารถในการพัฒนาและแข่งขันเพื่อการพัฒนาประเทศไทย

อ.ก.พ. วิสามัญเกี่ยวกับการการบริหารจัดการกำลังคนคุณภาพของราชการในการประชุม ครั้งที่ ๙/๒๕๖๒ เมื่อวันที่ ๗ ตุลาคม ๒๕๖๒ ได้พิจารณา เรื่อง “แนวทางและรายละเอียด การจัดสรรทุนรัฐบาลประเภททุนสนับสนุนยุทธศาสตร์พัฒนาประเทศ (Strategy-Based) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๓” ซึ่ง อ.ก.พ.ฯ มีมติเห็นชอบแนวทางและรายละเอียดการจัดสรรทุนรัฐบาลประเภททุนสนับสนุนยุทธศาสตร์พัฒนาประเทศ (Strategy-based) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๓ โดยจัดสรรให้ยุทธศาสตร์ชาติทั้ง ๖ ด้าน ด้านละ ๑๕ ทุน รวมทั้งสิ้น ๙๐ ทุน โดยให้ดำเนินการในประเทศและ/หรือต่างประเทศ ทั้งนี้ เนื่องจากการแพร่ระบาดของ โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) ในช่วงเดือนมีนาคม ๒๕๖๓ อ.ก.พ. ฯ จึงมีมติเห็นชอบในหลักการการบริหารจัดการทุน ก.พ. ในช่วงสถานการณ์วิกฤติ ได้แก่ ทุนฝึกอบรมเพื่อสนับสนุนยุทธศาสตร์พัฒนาประเทศ (Strategy-based) โดยให้ดำเนินการในประเทศในรูปแบบการฝึกอบรมในชั้นเรียนและ/หรือออนไลน์ให้เหมาะสมกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19)

ดังนั้น โครงการทุนสนับสนุนยุทธศาสตร์พัฒนาประเทศในการพัฒนาบุคลากรด้านความรู้ ทักษะ และคุณลักษณะเพื่อพัฒนาความพร้อมในการวางแผน การดำเนินการเปลี่ยนผ่านหน่วยงานของรัฐต่อการสนับสนุนการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิตอลต่อความมั่นคง ความยั่งยืน และความมั่งคั่งที่ยั่งยืนของประชาชน ชุมชน สังคม และประเทศชาติจึงเป็นสิ่ที่จำเป็นในการพัฒนาประเทศตามวิสัยทัศน์ประเทศไทยต่อไป

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อเสริมสร้างความรู้ ทักษะ ประสบการณ์และคุณลักษณะในการทำงานให้กับข้าราชการพลเรือนสามัญที่ปฏิบัติงานเพื่อขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ

  2. เพื่อเปิดมุมมองและเพิ่มประสบการณ์ให้กับข้าราชการพลเรือนที่ปฏิบัติงานเพื่อขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ ด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ ในหน่วยงานภาครัฐและเอกชนทั้งในประเทศ
    ตลอดจนมิติการเรียนรู้วิธีหรือแนวทางการปฏิบัติที่ดีของต่างประเทศ (Best practice)

  3. เพื่อสร้างเครือข่ายการทำงานระหว่างข้าราชการพลเรือนที่ปฏิบัติงานเพี่อขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติ ด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐภาคของหน่วยงานภายใต้กระทรวงยุติธรรม

  4. เพื่อสามารถนำความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ และการสะท้อนคิดมาพัฒนาโครงงานขับเพื่อขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติ ด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐภาคของหน่วยงานภายใต้กระทรวงยุติธรรม

แนวคิดการออกแบบหลักสูตร

กรอบแนวคิดการออกแบบหลักสูตรสามารถแบ่งออกได้เป็น ๓ ส่วนได้แก่ (๑) กรอบแนวคิดด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบบริหารจัดการภาครัฐ เพื่อตอบสนองวิสัยทัศน์“ประเทศไทยมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน
เป็นประเทศพัฒนาแล้ว ตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง” (๒) กรอบแนวคิดหลักด้าน กลยุทธ์การขับเคลื่อนองค์กรให้เป็นดิจิตอล (Digital
Transformation) และการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์และการจัดการนวัตรกรรม (Creativity and Innovation Management) และ (๓) รูปแบบและเครื่องมือการพัฒนาสมรรถนะ รวมถึงเครื่องมือติดตามผลการเรียนรู้

  1. กรอบแนวคิดด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบบริหารจัดการภาครัฐ

การปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ (การพัฒนาบริการประชาชน: การพัฒนาระบบงานภาครัฐด้วยเทคโนโลยี) โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการบริหารเชิงกลยุทธ์และการพัฒนาองค์กร ประกอบด้วยกรอบแนวคิดย่อย ๔ ด้าน ดังนี้

๓.๖.๑. การจัดการเชิงกลยุทธ์ ประกอบด้วย การพัฒนาพันธ์กิจ วิสัยทัศน์ ค่านิยม เครื่องมือและการวิเคราะห์ปัจจัยภายนอก การวิเคราะห์ปัจจัยภายในองค์กร เครื่องมือและการกำหนดวัตถุประสงค์และกลยุทธ์องค์กร การจัดการองค์กรเพื่อตอบสนองกลยุทธ์และวัตถุประสงค์องค์กร และการพัฒนาความได้เปรียบในการแข่งขัน

๓.๖.๒. การพัฒนาองค์กรและการเป็นผู้นำ ประกอบด้วย พฤติกรรมองค์กร วัฒนธรรมองค์กร จริยธรรมและพฤติกรรมองค์กร พฤติกรรมบุคคลและกลุ่มบุคคลในองค์กร การจัดการความหลากหลาย กระบวนการองค์กร การจัดการความเปลี่ยนแปลง การจัดการความขัดแย้ง ภาวะผู้นำ และการพัฒนาประสิทธิภาพองค์กร

๓.๖.๓. การพัฒนาความสามารถในการแข่งขันและการสร้างคุณค่าแก่สังคม ประกอบด้วย การพัฒนาเครือข่าย ความน่าเชื่อถือไว้วางใจได้ คุณภาพการให้บริการ (ความเป็นรูปธรรมของบริการ ความเชื่อถือไว้วางใจได้ การตอบสนองต่อลูกค้า การรับประกับต่อลูกค้า และการเข้าใจและเห็นใจลูกค้า) การจัดการต้นทุนและการสร้างความแตกต่าง

๓.๖.๔. การจัดการงบประมาณหน่วยงานภาครัฐบาล ประกอบด้วย ทางเลือกสาธารณะ ความหมายของสำเร็จ การจัดสรรทรัพยากรเพื่อตอบการบริการภาครัฐและนโยบายสาธารณะ ความสัมพันธ์ของรัฐกับพลเมือง การบริหารจัดการงบประมาณที่มีประสิทธิภาพและการรักษาวินัยการคลัง (องค์ประของระบบงบประมาณ การตลาดในระบบงบประมาณเพื่อมุ่งหาความต้องการของประชาชนที่มีต่อบริการสาธารณะ การจัดทำแผนงบประมาณ การพิจารณาอนุมัติงบประมาณ และการบริหารงบประมาณ) ระบบงบประมาณและการจัดการแบบมุ่งผลสำเร็จ เครื่องมือการวิเคราะห์และทำงบประมาณภาครัฐ เช่น การบริหารฐานกิจกรรม (Activity-Based Management) การบริหารงบประมาณโดยผ่านข้อตกลงภายในหน่วยงาน (Internal Contact Management) และการบริหารงบประมาณองค์รวม (Comprehensive Budgeting and Management System) และเครื่องมือสากลในการบริหารและจัดการงบประมาณ

  1. กรอบแนวคิดด้านกลยุทธ์การขับเคลื่อนองค์กรให้เป็นดิจิตอล (Digital transformation) และการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์และการจัดการนวัตรกรรม (Creativity and Innovation management)

เป็นการเน้นกรอบแนวคิดด้านกลยุทธ์การขับเคลื่อนองค์กรให้เป็นดิจิตอล (Digital transformation) ซึ่งเป็นแนวคิดเชิงกลยุทธ์ขององค์กรที่จะนำเครื่องมือ นโยบาย และความสามารถด้านดิจิตอลไปสร้างการเปลี่ยนผ่านขององค์กรไปสู่องค์กรที่การใช้เครื่องมือดิจิตอลเพื่อการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐและความความสามารถในการแข่งขันอย่างยั่งยืนของประเทศ

บัณฑิตวิทยาลัยการจัดการและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (KMUTT) ได้ทำการวิจัยและพัฒนา 7-Factor Model เพื่อเป็นกรอบแนวคิดหรือแพลตฟอร์มในการเปลี่ยนผ่านองค์กรโดยเฉพาะภาครัฐสู่ยุคดิจิทัลในระดับยุทธศาสตร์ ประกอบไปด้วย ๗ มิติ ดังรายละเอียดต่อไปนี้

(๑) การสร้างการมีส่วนร่วมและการเข้าถึงของประชาชน (Citizen engagement) ด้วยการใช้เครื่องมือใหม่ ๆ ยุคดิจิทัล เช่น การตลาดดิจิทัล (Digital Marketing) อาทิ Influencer Marketing, SEM (Search Engine Management), Content Marketing, Digital Branding, Chatbot เป็นต้น ทำให้ประชาชนติดต่อภาครัฐได้ทุกที่ ทุกเวลา เพิ่มความพึงพอใจต่อรัฐ อีกทั้งรัฐสามารถเข้าถึงประชาชนได้เหมาะสม

(๒) ผู้นำยุคดิจิทัล (Digital leadership) ผู้นำมีความสำคัญมากต่อการเปลี่ยนผ่านองค์กรสู่ดิจิทัล เนื่องจาก Digital Transformation มีลักษณะ Top-down Approach ผู้นำจึงต้องมีความตระหนักและความเข้าใจในการบริหารยุคดิจิทัล ต้องมีทักษะการประเมินอนาคต (Foresight) ซึ่งมีความไม่แน่นอนมากขึ้น ต้องมีทักษะการบริหารโครงการ (Project Management) และการบริหารการเปลี่ยนแปลง (Change Management) นอกจากนั้นระบบการนำต้องแสดงให้เห็นทิศทางการบริหารยุคดิจิทัล เช่น การมี Digital Transformation Strategy, CIO บทบาทใหม่ตามที่ ครม.อนุมัติตามข้อเสนอของ ก.พ. เป็นต้น

(๓) การปรับเปลี่ยนกระบวนการทำงาน (Process Transformation) โดยอาจเริ่มจากการคิดแบบลีน (Lean Process) เพื่อให้เป็นภาครัฐที่คล่องตัว ลดขั้นตอนที่ไม่จำเป็น แล้วอาจเริ่มการทำ Document Digitization จากนั้นปรับเปลี่ยนกระบวนการในองค์กรด้วยดิจิทัล (Digitalization)

(๔) การคิดเชิงนวัตกรรมและโมเดลธุรกิจใหม่ (New Business Modeling) โมเดลใหม่ในการทำงานหรือปรับปรุงโมเดลเดิมด้วยดิจิทัล ทั้งนี้ควรต้องใช้เครื่องมือต่อไปนี้ประกอบ อาทิ ๑) Design Thinking,
๒) Business Model Canvas หรือ ๓) New Business Models ของ Don Tapscott ในหนังสือ Digital Economy และหนังสือ Blockchain Revolution เป็นต้น มาเป็นเครื่องมือกระตุ้นการพัฒนาและการปรับเปลี่ยนความคิด

การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์และการจัดการนวัตรกรรม (Creativity and Innovation Management) นั้นเป็นอีกกรอบแนวคิดในการพัฒนาหลักสูตรนี้โดยเน้นกระบวนการออกแบบกระบวนการหรือโครงการตามความต้องการที่แท้จริงของผู้ใช้งาน เป็นการฝึกสร้างโครงงานที่ตอบโจทย์ชุมชนและประชาชนจากกระบวนการทางความคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking) โดยตระหนักว่าการทำนำเสนอหรือสร้างโครงการใดๆ จะมีผลกระทบและประโยชน์กับผู้ได้รับอย่างแท้จริงอย่างไร โดยเฉพาะการเข้าใจความต้องการของชุมชนและประชาชน และกำหนดความต้องการที่แท้จริงเพื่อสร้างงานที่ตอบสนองต่อความต้องการ นั้นๆ ผ่านกระบวนการความคิดเชิงออกแบบอย่างเป็นขั้นตอนที่นำไปสู่การสร้างนวัตกรรมของกระบวนการแบบใหม่ๆ ได้ ทั้งนี้ รวมไปถึงการนำนวัตรกรรมมาเป็นองค์ประกอบเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มหรือสร้างความยั่งยืนต่อการดำเนินการ

(๕) ความสามารถทางดิจิทัลขององค์กร (Digital capacity) ประกอบไปด้วย ประเด็นสำคัญ คือ

๑. Digital Skill Sets เป็นประเด็นสำคัญมากของราชการที่ข้าราชการจะต้องมีทักษะต่างๆ ที่แนะนำโดยสำนักงานข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) สอดคล้องกับการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล โดยจากระดับเริ่มต้น (Early)
สู่ระดับกำลังพัฒนา (Developing) และในที่สุดสู่ระดับก้าวหน้า (Mature) เช่น Digital Literacy, Digital Governance, Digital Transformation, Cybersecurity และ Digital Culture เป็นต้น

๒. Digital Platform: ระบบ IT ของหน่วยงานรวมเทคโนโลยี เช่น Hardware, Software, Application, Big Data, Internet, 4G/5G, Optical Fiber เป็นต้น ซึ่งควรต้องมีการวางแผนและเป้าหมายก่อนการติดตั้งระบบต่างๆ ดังนั้น องค์กรจะต้องมีการวางพิมพ์เขียวก่อนด้วย Enterprise Architecture (EA)

(๖) ความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ (Cyber security) เมื่อรัฐกำลังมุ่งสู่รัฐบาลดิจิทัล (Digital Government) กำลังย้ายข้อมูลจาก Physic และ Analog ไปสู่รูปแบบดิจิทัลมากขึ้น หมายถึงการเพิ่มความไว้วางใจ (Confidentiality) ข้อมูลที่เป็นส่วนตัว ข้อมูลส่วนหน่วยงาน ที่เรียกว่ามีความเป็นส่วนตัว (Privacy) ของหน่วยงานไปบนระบบกลาง บางครั้งอยู่บนคลาวด์ (Cloud) เพราะฉะนั้นจะต้องสร้างหรือมั่นใจว่าระบบจะมีความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์สูงๆ ป้องกันการโจรกรรมข้อมูล หรือการทำลายระบบ อันจะส่งผลให้เกิดการล่ม (Shut-down) ของบริการของรัฐที่สำคัญต่อประชาชนได้ อาทิ ระบบพลังงาน ระบบการเงินการธนาคาร ระบบโทรคมนาคม ระบบสาธารณสุข เป็นต้น

(๗) กฎหมายและกฎระเบียบใหม่ด้านดิจิทัล (Digital laws and regulations) กฎหมายและกฎระเบียบใหม่ด้านดิจิทัลซึ่งจะมากขึ้นและมากขึ้น ล่าสุดเมื่อปลายเดือนเดือนพฤษภาคม ๒๕๖๒ มีพระราชบัญญัติสำคัญ ๒ ฉบับคือ พระราชบัญญัติความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ และพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล นอกจากนั้นยังมีการปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องหลายฉบับ อาทิ พระราชบัญญัติธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พระราชบัญญัติอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ ที่จะกำกับดูแลเหตุการณ์ใหม่ๆ ทางดิจิทัล เช่น สังคมไร้เงินสด การจัดการข่าวปลอม (Fake News) เป็นต้น รวมถึงกฎระเบียบที่เกี่ยวกับเหตุการณ์สำคัญ ล่าสุดของโลก เช่น การเก็บภาษีดิจิทัล (Digital Tax) จากบริษัทยักษ์ใหญ่เทคโนโลยี Amazon, Apple, Google, Netflix ฯลฯ ซึ่งหน่วยงานราชการจะต้องเตรียมรับให้พร้อมไม่ว่าจะเป็นโอกาส (Opportunity) หรือภัยคุกคาม (Threat) ก็ตาม

  1. สมรรถนะและคุณลักษณะพึงประสงค์

การออกแบบหลักสูตรนั้นเน้นการพัฒนาสมรรถนะที่เกี่ยวข้องกับการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐในด้าน (๑) การขับเคลื่อนองค์กรให้เป็นดิจิตอล (๒) พัฒนาความคิดสร้างสรรค์และการจัดการนวัตรกรรม (๓) การิเคราะห์การเปลี่ยนแปลง กลยุทธ์องค์กร และการติดตามและประเมินผลแบบมุ่งผลสำริด และ (๔) การพัฒนาองค์กร (อันประกอบด้วย การจัดการงบประมาณแบบมุ่งผลสำริดตามยุทธศาสตร์ชาติ การบริหารจัดการความขัดแย้งแนวใหม่ การพัฒนาเครือข่ายความสัมพันธ์ และการพัฒนาภาวะผู้นำ)

การพัฒนาสมรรถนะนั้นเน้นการพัฒนาในมิติด้านความรู้ ทักษะและประสบการณ์ รวมถึงคุณลักษณะตามสัดส่วนชั่วโมงในการพัฒนาดังนี้ ความรู้ (Knowledge) (ร้อยละ ๔๘) ทักษะ (Skills) (ร้อยละ ๓๖) ประสบการณ์ (Experience) (ร้อยละ ๑๒) และคุณลักษณะ (Attribute) (ร้อยละ ๕)

  • การพัฒนาความรู้นั้นจะเน้นกรอบแนวคิดหลักในด้านกลยุทธ์การขับเคลื่อนองค์กรให้เป็นดิจิทัล (Digital transformation) การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์และการจัดการนวัตรกรรม (Creativity and Innovation Management) และกรอบแนวคิดการพัฒนาที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์การปรับสมดุลและพัฒนาระบบบริหารจัดการภาครัฐ

  • สำหรับการพัฒนาทักษะนั้นจะเน้นการพัฒนาทักษะที่เกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์และออกแบบเชิงนวัตรกรรมเชิงสร้างสรรค์ ทักษะการใช้เทคโนโลยีดิจิตอล การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการวางแผนเชิงยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนองค์กรให้เป็นดิจิทัล การตั้งตัววัดประเมินติดตามและประเมินผลแบบมุ่งผลสำริด การจัดการและบริหารงบประมาณแบบมุ่งผลสำเร็จ การจัดการความขัดแย้ง และการบูรณาการความคิดเพื่อพัฒนาโครงการ

  • การพัฒนาคุณลักษณะนั้นเน้นการพัฒนาคุณลักษณะของ ความเป็นผู้นำที่สามารถโน้มน้าวให้เกิดความร่วมมือ (Compelling) การสร้างเครือข่ายความสัมพันธ์กับกลุ่มคนทั้งภายในและภายนอกที (Connected) ความสามารถในการระบุสถานการณ์ปัจจุบันและเครื่องที่ใช้ในการสร้างความเปลี่ยนแปลง (Current) การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ (Creativity) ความมุ่งมั่นที่จะทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลง (Committed)

  • กระทบความคิดเพื่อพัฒนาโครงการเพื่อพัฒนาโครงการหลักและโครงการย่อยการสร้างประสบการจากการศึกษาต้นแบบที่ดี (Best practice) ในประเทศ เพื่อปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ

วิธีการพัฒนาสมรรถนะ

รูปแบบการพัฒนาจะเป็นการบูรณาการความเข้าใจโดยการประยุกต์ในแนวคิดหลักด้านกลยุทธ์การขับเคลื่อนองค์กรให้เป็นดิจิตอลและการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์และการจัดการนวัตรกรรมมาประยุกต์กับประเด็นยุทธศาสตร์ด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ (การบริการประชาชนและประสิทธิภาพภาครัฐ ประเด็นการพัฒนาระบบบริหารงานภาครัฐ) โดยมีผลลัพธ์เป็นโครงการพัฒนาการทำงานที่สะท้อนความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ และการเปลี่ยนแปลงคุณลักษณะที่สำคัญ ภาพรวมการพัฒนาแสดงในตาราง ๑

ตาราง ๑ การเชื่อมโยงกรอบแนวคิดหลักเพื่อพัฒนาสมรรถนะและการพัฒนาโครงการเพื่อตอบยุทธศาสตร์ด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ (การบริการประชาชนและประสิทธิภาพภาครัฐ ประเด็นการพัฒนาระบบบริหารงานภาครัฐ)

หากแยกตามโมดูลการเรียนรูเพื่อให้ได้ผลลัพธ์การเรียนรู้ดังที่ปรากฏในตารางที่ ๑ นั้น การออกแบบการเรียนรู้จะประกอบด้วย ๔ โมดูลอันได้แก่ การอบรมแบ่งรูปแบบการพัฒนาออกเป็น ๔ โมดูลได้แก่ (๑) การปรับและเสริมสร้างความรู้พื้นฐาน (๒) การให้คำปรึกษาสำหรับการนำเสนอข้อเสนอการปรับเปลี่ยนหรือพัฒนางานเชิงนวัตรกรรม (๓) การแลกเปลี่ยนความรู้และการนำเสนอข้อเสนอหรือพัฒนางานเชิงนวัตรกรรม และ (๔) การติดตามและการประเมินผลโครงการ ในแต่ละโมดูลมีวิธีการพัฒนาบุคลากร ดังนี้

  1. โมดูล ๑ การปรับและเสริมสร้างความรู้พื้นฐาน (Knowledge-Based Building) ได้แก่ การบรรยายในชั้นเรียน (Lecture) การประชุมเชิงปฏิบัติการ (Workshop) จากประสบการณ์ในการบริหารและกรณีศึกษา (Case-Based Learning) ตลอดจนการสะท้อนคิด (Reflection) แบบฝึกหัดเดี่ยว (Individual Assignment) อภิปรายกลุ่มย่อย (Small Group Discussion) การให้คำปรึกษา (Consulting) และ รูปแบบการนำประสบการณ์ ที่ผ่านมาของแต่ละบุคคลให้คำปรึกษาระหว่างกันเพื่อแก้ปัญหา (Peer Consulting/ Self-help Group) ซึ่งจะทำการศึกษาในระยะเวลา ๑๖ วัน (ระหว่างวันที่ ๑ เมษายน ถึง ๓๐ เมษายน ๒๕๖๔)

  2. โมดูล ๒ การให้คำปรึกษาสำหรับการนำเสนอข้อเสนอการปรับเปลี่ยนหรือพัฒนางานเชิงนวัตรกรรม ได้แก่ การร่วมกับที่ปรึกษาพัฒนาโครงงานกลุ่มและโครงงานเดี่ยวเพื่อการพัฒนาพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ (การบริการประชาชนและประสิทธิภาพภาครัฐ ประเด็นการพัฒนาระบบบริหารงานภาครัฐ) แนวทางในการดำเนินการจะอิงจากการดำเนินวิจัยปฏิบัติการที่เน้นการเข้าไปศึกษาปัญหาในบริบทที่ทำงานในหน่วยงาน ออกแบบแนวทางการแก้ปัญหา และการทดลองนำไปประยุกต์ใช้ (การทดลองประยุกต์ใช้จะกลายเป็นโครงการในการศึกษาทั้งแบบกลุ่มและแบบเดี่ยวต่อไป ทั้งนี้ในกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการจะมีการใช้เครื่องมือเชิงคุณภาพและปริมาณเพื่อเก็บข้อมูลก่อนหาแนวทางการแก้ไขปัญหา นอกเหนือจากนั้นผู้เรียนจะได้เดินทางไปศึกษางานในหน่วยงานของรัฐบาลและเอกชนเพื่อศึกษาแลกเปลี่ยนกระบวนการดำเนินการ เงื่อนไขการดำเนินการแลกเปลี่ยนกรณีตัวอย่าง รวมไปถึงการพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างหน่วยงาน การศึกษาในโมดูลที่ ๒ นั้นจะทำการศึกษาในระยะเวลา ๖ วัน (ระหว่างวันที่ ๖ พฤษภาคม ถึง ๒๑ พฤษภาคม ๒๕๖๔)

  3. โมดูล ๓ การแลกเปลี่ยนความรู้และการนำเสนอข้อเสนอหรือพัฒนางานเชิงนวัตรกรรม ได้แก่ การอภิปรายกลุ่มย่อย (Small Group Discussion) การประชุมปฏิบัติการ (Workshop) การแบ่งปันประสบการณ์ (Case sharing) กิจกรรมพัฒนาทักษะการแก้ปัญหา (Problem solving activity) การให้คำปรึกษาทั้งในชั้นเรียนและทางไกล (Consulting/ Online Consulting) บรรยายคุณลักษณะด้านความเป็นผู้นำด้านการเปลี่ยนแปลง (Change agent attribute) การนำเสนอโครงการ (Project presentation) กลุ่มและโครงการเดี่ยว กิจกรรมในโมดูลนี้ดำเนินการเป็นระยะเวลา ๑ วัน ในวันที่ ๒๘ พฤษภาคม ๒๕๖๔

  4. โมดูล ๔ การติดตามและการประเมินผลโครงการ การดำเนินการนี้จะเป็นการเข้าหารือเรื่องของความคืบหน้าของโครงการกับหัวหน้างานเพื่อทราบถึงเงื่อนไขสนับสนุนและข้อจำกัดการดำเนินการ รวมถึงการให้คำปรึกษากับผู้เรียนเป็นจำนวน ๒ ครั้งในวันที่ ๒๕ มิถุนายน ๒๕๖๔ และวันที่ ๒๕ กรกฎาคม ๒๕๖๔

การจัดการเรียนและการประเมินผล

เกณฑ์ในการผ่านหลักสูตรและการได้รับประกาศนียบัตร จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีนั้น ผู้รับทุนต้องผ่านเกณฑ์ทั้งหมด ดังนี้

  1. การเข้าเรียนต้องมีเวลาเรียนไม่ต่ำกว่า ร้อยละ ๑๐๐ ของระยะเวลาเรียนทั้งหมด

  2. ผู้รับทุนจะต้องได้รับคะแนนรวมจากการทำกิจกรรมทั้งหมดไม่ต่ำกว่าร้อยละ ๘๐ โดยมีรายละเอียด ดังนี้

    • กิจกรรมกลุ่ม (Best Practice Report) ร้อยละ ๔๐

    • กิจกรรมเดี่ยว (Area-Based Development Report) ร้อยละ ๔๐

    • กิจกรรมในห้องเรียน ร้อยละ ๒๐

  3. ต้องมีส่วนร่วมการนำเสนอข้อเสนอในการพัฒนาการทำงานเพื่อตอบยุทธศาสตร์อย่างน้อย ๑ หัวเรื่องสำหรับโครงการกลุ่ม และนำเสนอโครงการเดี่ยวอย่างน้อย ๑ หัวเรื่อง

โครงสร้างหลักสูตรและเนื้อหาหลักสูตร

การอบรมแบ่งรูปแบบการพัฒนาออกเป็น ๔ โมดูลได้แก่ (๑) การปรับและเสริมสร้างความรู้พื้นฐาน (Knowledge-Based Building) (๒) การให้คำปรึกษาสำหรับการนำเสนอข้อเสนอการปรับเปลี่ยนหรือพัฒนางานเชิง นวัตรกรรม (๓) การแลกเปลี่ยนความรู้และการนำเสนอข้อเสนอหรือพัฒนางานเชิงนวัตรกรรม และ (๔) การติดตามและการประเมินผลโครงการ

โมดูล ๑ การปรับและเสริมสร้างความรู้พื้นฐาน (Knowledge-Based Building)

โมดูล ๑ การปรับและเสริมสร้างความรู้พื้นฐาน (Knowledge-Based Building) ประกอบด้วยเนื้อหา ๔ หัวข้อใหญ่ ๒๙ หัวข้อย่อย รวมระยะเวลาศึกษารวม ๑๖ วัน (ระหว่างวันที่ ๑ เมษายน ถึง ๓๐ เมษายน ๒๕๖๔) โดยมีรายละเอียดดังนี้

วันที่

เวลา

เนื้อหา

ผู้รับผิดชอบ

๑ เมษายน ๒๕๖๔

สถานที่เรียน: ห้อง Orchid 4 ชั้น 11
โรงเเรมจัสมินซิตี้

๙.๐๐ น. – ๑๒.๐๐ น.


๑๓.๐๐ – ๑๖.๐๐ น.

ดร.อานนท์ ทับเที่ยง



ดร.อานนท์ ทับเที่ยง

๒ เมษายน ๒๕๖๔

สถานที่เรียน: ห้อง Orchid 4 ชั้น 11
โรงเเรมจัสมินซิตี้

๙.๐๐ น. – ๑๒.๐๐ น.

๑๓.๐๐ – ๑๖.๐๐ น.

ดร.ปารเมศ วรเศยานนท์


คุณปวริศา ชุมวิกรานต์

๗ เมษายน ๒๕๖๔

สถานที่เรียน: ห้อง Grand Lily ชั้น L
โรงเเรมจัสมินซิตี้

๙.๐๐ น. – ๑๒.๐๐ น.

๑๓.๐๐ – ๑๖.๐๐ น.

ผศ.ดร.วรพจน์ อังกสิทธิ์

คุณสุดภักดี รัตนพันธ์

เมษายน ๒๕๖๔

สถานที่เรียน: ห้อง Grand Lily ชั้น L
โรงเเรมจัสมินซิตี้

๙.๐๐ น. – ๑๒.๐๐ น.


๑๓.๐๐ – ๑๖.๐๐ น.

ดร.ปารเมศ วรเศยานนท์



ดร.ปารเมศ วรเศยานนท์

๙ เมษายน ๒๕๖๔

สถานที่เรียน: ห้อง Grand Lily ชั้น L
โรงเเรมจัสมินซิตี้

๙.๐๐ น. – ๑๒.๐๐ น.


๑๓.๐๐ – ๑๖.๐๐ น.

คุณสุริยนต์ ธัญกิจจานุกิจ



ดร.ปารเมศ วรเศยานนท์

๑๙ เมษายน ๒๕๖๔

๙.๐๐ น. – ๑๒.๐๐ น.


๑๓.๐๐ – ๑๖.๐๐ น.

ดร.วรัญญา ติโลกะวิชัย



ดร.วรัญญา ติโลกะวิชัย

เมษายน ๒๕๖๔

๙.๐๐ น. – ๑๒.๐๐ น.

๑๓.๐๐ – ๑๖.๐๐ น.

ดร.สำเริง วิระชะนัง



ดร.ปฏิภาณ แซ่หลิ่ม

เมษายน ๒๕๖๔

๙.๐๐ น. – ๑๒.๐๐ น.


๑๓.๐๐ – ๑๖.๐๐ น.

  • Workshop: Strategic Measurement and Indicator Development [File 1]

ดร.วรัญญา ติโลกะวิชัย



ดร.วรัญญา ติโลกะวิชัย

๒๒ เมษายน ๒๕๖๔

๙.๐๐ น. – ๑๒.๐๐ น.


๑๓.๐๐ – ๑๖.๐๐ น.

  • Workshop: Design Thinking for Working Process Redesign and Service Innovation ๑

คุณบุลวิชช์ ช่วยชูวงศ์



คุณบุลวิชช์ ช่วยชูวงศ์

๒๓ เมษายน ๒๕๖๔

๙.๐๐ น. – ๑๒.๐๐ น.

๑๓.๐๐ – ๑๖.๐๐ น.

ผศ.ดร.ทวีศักดิ์ กฤษเจริญ


ผศ.ดร.ทวีศักดิ์ กฤษเจริญ

๒๔ เมษายน ๒๕๖๔

๙.๐๐ น. – ๑๒.๐๐ น.


๑๓.๐๐ – ๑๖.๐๐ น.

  • Design Thinking for Working Process Redesign and Service Innovation ๒

  • Design Thinking for Working Process Redesign and Service Innovation ๒

คุณบุลวิชช์ ช่วยชูวงศ์



คุณบุลวิชช์ ช่วยชูวงศ์

๒๖ เมษายน ๒๕๖๔

๙.๐๐ น. – ๑๒.๐๐ น.

๑๓.๐๐ – ๑๖.๐๐ น.

  • Conflict Motivation and Creative Resolution [File 1 | File 2]

ผศ.ดร.ทวีศักดิ์ กฤษเจริญ



ผศ.ดร.ทวีศักดิ์ กฤษเจริญ

๒๗ เมษายน ๒๕๖๔

๙.๐๐ น. – ๑๒.๐๐ น.



๑๓.๐๐ – ๑๖.๐๐ น.

  • การค้นคว้าอิสระ

วิทยากรภายใน





วิทยากรภายใน

๒๘ เมษายน ๒๕๖๔

๙.๐๐ น. – ๑๒.๐๐ น.

๑๓.๐๐ – ๑๖.๐๐ น.

คุณธนศาล วิธีเจริญ


คุณธนศาล วิธีเจริญ

๒๙ เมษายน ๒๕๖๔

๙.๐๐ น. – ๑๒.๐๐ น.

๑๓.๐๐ – ๑๖.๐๐ น.

คุณกัมปนาท ดาวเรือง


คุณอภิชาติ รัตนราศรี

๓๐ เมษายน ๒๕๖๔

๙.๐๐ น. – ๑๒.๐๐ น.

๑๓.๐๐ – ๑๖.๐๐ น.


๑๔.๓๐ – ๑๖.๐ น.

  • Workshop: How to Evaluate Projects to Meet Stakeholders’ Strategic Goals and Budgeting Needs [File 1 | File 2 | File 3]

ดร.ธัญญา สัตยาอภิธาน

ดร.วรัญญา ติโลกะวิชัย



ดร.วรัญญา ติโลกะวิชัย


พฤษภาคม ๒๕๖๔

๙.๐๐ น. – ๑๒.๐๐ น.

๑๓.๐๐ – ๑๖.๐๐ น.

ดร.ธัชชญาน์พล อภิมนต์เตชบุตร


ดร.ธัชชญาน์พล อภิมนต์เตชบุตร

โมดูล ๒ การให้คำปรึกษาสำหรับการนำเสนอข้อเสนอการปรับเปลี่ยนหรือพัฒนางานเชิงนวัตรกรรม

โมดูล ๒ การให้คำปรึกษาสำหรับการนำเสนอข้อเสนอการปรับเปลี่ยนหรือพัฒนางานเชิงนวัตรกรรม ประกอบด้วยเนื้อหา ๒ หัวข้อใหญ่ รวมระยะเวลาศึกษารวม ๖ วัน (ระหว่างวันที่ ๖ พฤษภาคม ถึง ๒๑ พฤษภาคม ๒๕๖๔) โดยมีรายละเอียดดังนี้

วันที่

เวลา

เนื้อหา

ผู้รับผิดชอบ

๖ พฤษภาคม ๒๕๖๔

๙.๐๐ น. – ๑๒.๐๐ น.


๑๓.๐๐ – ๑๖.๐๐ น.

ดร.ปารเมศ วรเศยานนท์


ดร.ปารเมศ วรเศยานนท์
ดร.วรัญญา ติโลกะวิชัย

๗ พฤษภาคม ๒๕๖๔

๙.๐๐ น. – ๑๒.๐๐ น.

๑๓.๐๐ – ๑๖.๐๐ น.

ดร.ปารเมศ วรเศยานนท์


ดร.ปฏิภาณ แซ่หลิ่ม

๑๔ พฤษภาคม ๒๕๖๔

๙.๐๐ น. – ๑๒.๐๐ น.

๑๓.๐๐ – ๑๖.๐๐ น.

  • ติดตามและสรุปเครื่องมือการเก็บข้อมูล [วีดีโอ 1 | 2]

  • ให้คำปรึกษาด้านการวิเคราะห์ข้อมูลและการนำเสนอข้อมูล
    [วีดีโอ 1 | 2]

ทีมวิทยากรของมหาวิทยาลัย

ทีมวิทยากรของมหาวิทยาลัย

โมดูล ๓ การแลกเปลี่ยนความรู้และการนำเสนอข้อเสนอหรือพัฒนางานเชิงนวัตรกรรม

โมดูล ๓ การแลกเปลี่ยนความรู้และการนำเสนอข้อเสนอหรือพัฒนางานเชิงนวัตรกรรมมีระยะเวลาในการศึกษารวม ๑ วัน ในวันที่ ๒๘พฤษภาคม ๒๕๖๔ โดยมีรายละเอียด ดังนี้

วันที่

เวลา

เนื้อหา

ผู้รับผิดชอบ

๒๘ พฤษภาคม ๒๕๖๔

๙.๐๐ น. – ๑๒.๐๐ น.



๑๓.๐๐ – ๑.๐ น.

  • นำเสนองานกลุ่ม (พร้อมรับข้อเสนอแนะ)

  • แนะนำกระบวนการติดตามการดำเนินการรับประกาศนียบัตรการอบรมและกล่าวปิดโครงการอบรมและถ่ายภาพร่วมกัน

  • [วีดีโอ | การนำเสนอโครงการเดี่ยวและโครงการกลุ่ม]

ทีมวิทยากรของมหาวิทยาลัย



ทีมวิทยากรของมหาวิทยาลัย

โมดูล ๔ การติดตามและการประเมินผลโครงการ

โมดูล ๔ การติดตามและการประเมินผลโครงการ มีระยะเวลาในการดำเนินการรวม ๒ วัน ในวันที่ ๒๕ มิถุนายน ๒๕๖๔ และวันที่ ๒๕ กรกฎาคม ๒๕๖๔ โดยมีรายละเอียด ดังนี้

วันที่

เวลา

เนื้อหา

ผู้รับผิดชอบ

๒๕ มิถุนายน ๒๕๖๔

๙.๐๐ น. – ๑๒.๐๐ น.


๑๓.๐๐ – ๑.๐ น.

  • การติดตามเพื่อดูความก้าวหน้าการไปใช้ประโยชน์โครงการ (ติดตามผ่านการเข้าพูดคุยกับหัวหน้าหน่วยงาน และผู้ดำเนินการ)

  • การให้คำปรึกษากับผู้ดำเนินการ และสอบประมวลความรู้

ทีมวิทยากรของมหาวิทยาลัย


ทีมวิทยากรของมหาวิทยาลัย

๒๒ กรกฎาคม ๒๕๖๔

๙.๐๐ น. – ๑๒.๐๐ น.

๑๓.๐๐ – ๑.๐ น.

  • การให้คำปรึกษากับผู้ดำเนินการ และสอบประมวลความรู้

ทีมวิทยากรของมหาวิทยาลัย

ทีมวิทยากรของมหาวิทยาลัย

กรกฎาคม ๒๕๖๔

๙.๐๐ น. – ๑๒.๐๐ น.



๑๓.๐๐ – ๑.๐๐ น.

  • เข้าเยี่ยมชมและแลกเปลี่ยนความรู้กับ ‘บริษัท อีสต์วอเตอร์จำกัด มหาชน เรื่อง ‘การพัฒนาตัววัดประเมินเพื่อติดตามแผนการดำเนินการเชิงกลยุทธ์’

  • เข้าเยี่ยมชมระบบสกาด้าสำหรับการจัดการทรัพยากรน้ำของ‘บริษัท จัดการนำภาคตะวันออก จำกัด (มหาชน) เพื่อให้เห็นแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพการแข่งขันโดยใช้ระบบสารสนเทศน์ จังหวัดระยอง

[วีดีโอ 1 | 2 | เอกสารนำเสนอ]

  • การกระทบยอดความคิดจากการดูงานกับโครงการในการพัฒนาปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ

ทีมวิทยากรของมหาวิทยาลัย



ทีมวิทยากรของมหาวิทยาลัย

กรกฎาคม ๒๕๖๔

๙.๐๐ น. – ๑๒.๐๐ น.




๑๓.๐๐ – ๑๖.๐๐ น.

  • เยี่ยมชมและแลกเปลี่ยนความรู้กับ ‘สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ’ เรื่อง ‘ทิศทางการการพัฒนาประเทศและการพิจารณางบประมาณภาครัฐ’

[วีดีโอ]

  • เข้าเยี่ยมชมและแลกเปลี่ยนความรู้กับ ‘สำนักงานงบประมาณ’ เรื่อง ‘แนวทางการพิจารณาและการบริหารงบประมาณภาครัฐ’

ทีมวิทยากรของมหาวิทยาลัย




คุณอมรรัตน์

ผู้รับผิดชอบโครงการ

ปารเมศ วรเศยานนท์ , ผู้จัดการโครงการ

(มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี)

โทร: +66 0999-191-598

e-mail: parameth.vor@kmutt.ac.th

คณะทำงาน

ผศ.ดร.วรพจน์ อังกสิทธิ์, คณบดีบัณฑิตวิทยาลัยการจัดการและนวัตรกรรม, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

ผศ.ดร.กนกพร กังวานสงค์, รองคณบดีฝ่ายบริการวิชาการและสังคม, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

ดร.ปฏิภาณ แซ่หลิ่ม, รองคณบดีฝ่ายแผนและประกันคุณภาพ, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

ดร.อานนท์ ทับเที่ยง, ประธานสาขาการจัดการธุรกิจดิจิตอล, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี