โครงเรื่อง

โครงเรื่องแบบ 3 องก์ 3 Act Structure

*** องก์ หมายถึง ตอนหนึ่ง ๆ ในบทละคร.

โครงเรื่อง หมายถึงการกำหนดผ่านรายละเอียดสำคัญ (ตัวละครหลัก , ปมขัดแย้งสำคัญ) หรือ เข้าใจง่ายๆ คือ การเขียนเรียงความนั่นเอง

โดยโครงเรื่อง จะมีโครงสร้างง่ายๆ คือ หลัก 3 องก์

องก์ที่ 1 = เปิดเรื่อง ปูพื้นเรื่องและปมปัญหา

องก์ที่ 2 = ดำเนินเรื่องการเผชิญหน้า และทางออกของปมปัญหา

องก์ที่ 3 = climax การแก้ปมปัญหา และบทสรุป

ที่มา : http://www.elementsofcinema.com/screenwriting/three-act-structure/

องก์ที่ 1 (Act 1)

จะเป็นเรื่องของการปูพื้นสร้างบรรยากาศ วางพื้นฐานให้แก่เรื่องราวนั้นๆ แนะนำตัวละครแต่ละตัวที่จะมามีบทบาทต่อไป โดยทั่วไปมักจะยาวประมาณ

1 ในสี่ของเรื่อง (ปัจจุบันมีคนบอกว่า ความอดทนของคนดูสั้นลง ส่วนนี้จึงถูกปรับให้น้อยลงตามไปด้วย) การจบองก์ก็มักจะจบด้วยจุดหักเห เราเรียกกันว่า plot point ที่ 1 มันคือจุดที่ทำให้เกิดเงื่อนไขที่ผลักให้เรื่องราวไปต่อ ทำให้ผู้ชมอยากดูเนื้อหาในช่วงต่อไป

องก์ที่ 2 (Act 2)

ส่วนนี้คือส่วนของการดำเนินเรื่อง เป็นช่วงของการเผชิญหน้า การวางปมปัญหาเป็นส่วนที่ยาวที่สุดในหนังครับโดยประมาณก็คือ 2.5 ใน 4 ของเรื่อง และเป็นช่วงที่เสี่ยงต่อการน่าเบื่อเป็นที่สุด และแน่นอนว่าในการเขียน นี่คือส่วนที่เขียนยากที่สุดเช่นเดียวกัน

ในบทที่เรียบง่ายที่สุด ถ้า plot point ที่ 1 คือการวางปมปัญหาใหญ่ การดำเนินเรื่องในองก์ที่ 2 มักจะเป็นเรื่องของการแก้ปัญหาใหญ่นั้น แต่การแก้ปัญหาใหญ่อาจจะก่อให้เกิดปัญหาเล็กๆตามมา ต้องตามแก้กันไปเรื่อยๆ จนสุดท้ายก็แก้ปัญหาใหญ่นั้นแก้ไขไม่ได้ พร้อมกับหมดหนทางในการแก้ไขทุกด้าน ตรงนี้จะเกิดจุดหักเหขึ้น เป็นจุดที่เราเรียกกันว่า plot point ที่ 2 เช่นตัวละครของเราพบวิธีแก้ปัญหานั้นแล้ว… แต่ทว่าเวลากำลังจะหมด….…ทำไงดี ต้องแข่งกับเวลาด้วย ในส่วนหลังนี้แหละที่เป็น plot point ที่ 2 ซึ่งทำให้เราอยากรู้เรื่องต่อไป อยากเดินหน้าต่อไป เพื่อก้าวเข้าสู่องก์ที่ 3 ที่เรียกกันว่า จุดสูงสุดทางอารมณ์ (climax)

องก์ที่ 3 (Act 3)

climax และบทสรุป…นี่คือส่วนที่สั้นที่สุด และจะเป็นส่วนที่ต้องสนุกที่สุดของหนัง ความยาวของมันก็แค่ 0.5 ใน 4 ส่วนของบทหนัง ทางออกสุดท้ายของตัวละครและเรื่องราวของคุณจะถูกนำเสนอในช่วงนี้ หน้าที่ของคนเขียนก็คือต้องทำให้คนดูลุ้น ตื่นเต้น และประทับใจไปกับตอนจบของเรื่องราวให้ได้ และถ้าจะมีการหักมุม มักจะเกิดขึ้นในช่วงท้ายนี้ ในองก์นี้คนดูจะได้เห็นผลของความพยายามทั้งหมด ในการแก้ปัญหาของตัวละคร และพบกับบทสรุปของเรื่องราว ( resolution )

ข้อสำคัญ

อย่าให้ความสำคัญกับส่วนใดส่วนหนึ่งมากเกินไป

เราควรจะให้ความสำคัญกับทั้งสามส่วน

เพราะมันไม่สามารถอยู่โดยแยกจากกันได้


นี่เป็นหลักการวางโครงเรื่องของหนังสั้นขนาดยาว หรือหนังยาวเท่านั้น อาจไม่เหมาะสมกับหนังสั้นที่สั้นกว่าหนัง 10 นาทีได้

เพราะมันจะทำให้เรื่องของคุณยาวจนเกินไป

ตัวอย่างที่ดีในการเขียนโครงเรื่อง