การแปรสัณฐาน

ของแผ่นธรณี

บทที่ 2 การแปรสัณฐานของแผ่นธรณี

สาระสำคัญ

แผ่นธรณีต่าง ๆ ของโลกมีการเปลี่ยนแปลงขนาดและตำแหน่งตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน มีหลักฐานทางธรณีวิทยาปรากฏให้เห็นและอธิบายการเคลื่อนที่ของแผ่นธรณีได้ตามทฤษฎีธรณีแปรสัณฐาน โดยทฤษฎีนี้มีรากฐานมาจากทฤษฎีทวีปเลื่อนและทฤษฎีการแผ่ขยายพื้นสมุทร ซึ่งมีหลักฐานที่สนับสนุน ได้แก่ รูปร่างของขอบทวีปที่สามารถเชื่อมต่อกันได้ ความคล้ายคลึงกันของกลุ่มหินและแนวเทือกเขา ซากดึกดำบรรพ์ ร่องรอยการเคลื่อนที่ของตะกอนธารน้ำแข็ง ภาวะ แม่เหล็กโลกบรรพกาล อายุหินของพื้นมหาสมุทร รวมทั้งการค้นพบเทือกสันเขาใต้สมุทร และร่องลึกก้นสมุทร ทฤษฎีธรณีแปรสัณฐานอธิบายการเคลื่อนที่ของแผ่นธรณี เนื่องจากการพาความร้อนของแมกมาภายในโลก โดยแนวของแผ่นธรณีมี 3 รูปแบบ ได้แก่ แนวแผ่นธรณีเคลื่อนที่เข้าหากัน แนวแผ่นธรณี เคลื่อนที่แยกออกจากกัน และแนวแผ่นธรณีเคลื่อนที่ผ่านกัน ซึ่งทำให้เกิดลักษณะธรณีสัณฐาน ได้แก่ ร่องลึกก้นสมุทร หมู่เกาะภูเขาไฟรูปโค้ง แนวภูเขาไฟ แนวเทือกเขา หุบเขาทรุดและสันเขากลางสมุทร และทำให้เกิดธรณีโครงสร้าง เช่น เขตรอยเลื่อน นอกจากนี้ยังทำให้เกิดธรณีพิบัติภัยต่าง ๆ

จุดประสงค์การเรียนรู้

1. อธิบายแนวคิด ทฤษฎีเกี่ยวกับการเคลื่อนที่ของแผ่นธรณี

2. อธิบายหลักฐานทางธรณีวิทยาที่สนับสนุนการเคลื่อนที่ของแผ่นธรณี

จุดประสงค์การเรียนรู้

1. อธิบายแนวคิด ทฤษฎีเกี่ยวกับการเคลื่อนที่ของแผ่นธรณี

2. อธิบายหลักฐานทางธรณีวิทยาที่สนับสนุนการเคลื่อนที่ของแผ่นธรณี

จุดประสงค์การเรียนรู้

1. อธิบายสาเหตุ และกระบวนการเคลื่อนที่ของแผ่นธรณี และระบุผลที่เกิดจากการเคลื่อนที่ของแผ่นธรณี

จุดประสงค์การเรียนรู้

1. อธิบายรูปแบบการเคลื่อนที่ของแผ่นธรณีที่สัมพันธ์กับการเกิดลักษณะธรณีสัณฐานและ ธรณีโครงสร้างแบบต่าง ๆ