ภัยจากการใช้ความรุนแรงของมนุษย์

วชิรธรรมสาธิตอุ่นใจ ปลอดภัย รอบด้าน


แนวทางการปฏิบัติเกี่ยวกับภัยที่เกิดจากการใช้ความรุนแรงของมนุษย์ (Violence)

1. การล่วงละเมิดทางเพศ

การป้องกัน

1) สำรวจนักเรียนกลุ่มเสี่ยงและพื้นที่ที่เป็นจุดเสี่ยง

2) เฝ้าระวัง สังเกตพฤติกรรมนักเรียน และพัฒนาพื้นที่เสี่ยงให้ปลอดภัย

3) สร้างเครือข่ายเฝ้าระวังทั้งในสถานศึกษาและชุมชน

4) จัดระบบการสื่อสารเพื่อรับส่งข้อมูลด้านพฤติกรรมนักเรียนทั้งในสถานศึกษาและชุมชน

การปลูกฝัง

1) จัดกิจกรรมส่งเสริมความตระหนักรู้และเห็นคุณค่าในตนเอง

2) จัดกิจกรรมพัฒนาทักษะชีวิต

3) ฝึกทักษะการปฏิเสธ และการเอาตัวรอดในสถานการณ์ต่าง ๆ

การปราบปราม

1) เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ช่องทางในการข้อความช่วยเหลือ

2) แต่งตั้งคณะทำงานให้ความช่วยเหลือเร่งด่วน ที่สามารถให้ความช่วยเหลือได้ทันเหตุการณ์

3) แต่งตั้งคณะทำงานด้านกฎหมายเพื่อให้ความช่วยเหลือ

4) ประสานภาคีเครือข่ายเพื่อการส่งต่อที่เหมาะสม

2. การทะเลาะวิวาท

การป้องกัน

1) จัดทำระเบียบในการประพฤติปฏิบัติตนในสถานศึกษา

2) ประชุมชี้แจงทำความเข้าในการปฏิบัติตนตามระเบียบ

3) เฝ้าระวัง สังเกตพฤติกรรมทั้งในระดับชั้นเรียน สถานศึกษา และชุมชน

4) สร้างเครือข่ายเฝ้าระวังในสถานศึกษาและชุมชน

5) จัดระบบติดต่อสื่อสารเพื่อติดตามพฤติกรรมนักเรียนอย่างต่อเนื่อง

การปลูกฝัง

1) ให้ความรู้เรื่องการอยู่ร่วมกันในสังคม และผลกระทบที่เกิดจากการทะเลาะวิวาท

2) จัดกิจกรรมส่งเสริมการอยู่ร่วมกันในสังคม

3) จัดเวทีกิจกรรมให้นักเรียนได้แสดงออกตามความสามารถอย่างเหมาะสม

การปราบปราม

1) แต่งตั้งคณะทำงานเพื่อระงับเหตุทั้งในสถานศึกษาและชุมชน

2) ประสานเครือข่ายการมีส่วนร่วมเพื่อร่วมแก้ปัญหา

3) ดำเนินการตามระเบียบ กฎหมาย โดยเน้นการไกล่เกลี่ยประนีประนอม ตามมาตรการจากเบาไปหาหนัก

3. การกลั่นแกล้งรังแก

การป้องกัน

1) สำรวจนักเรียนกลุ่มเสี่ยงทั้งกลุ่มผู้กระทำและผู้ถูกกระทำ

2) จัดทำระเบียบข้อตกลงร่วมกัน ทั้งในระดับชั้นเรียนและระดับสถานศึกษา

3) สร้างเครือข่ายเฝ้าระวังทั้งในสถานศึกษาและชุมชน

4) จัดระบบการสื่อสารเพื่อติดตามพฤติกรรมนักเรียน

การปลูกฝัง

1) ให้ความรู้ความเข้าใจหลักในการอยู่ร่วมกันในสังคม

2) จัดกิจกรรมให้นักเรียนได้ทำร่วมกันอย่างต่อเนื่อง

3) จัดเวทีให้นักเรียนได้แสดงออกตามความสามารถอย่างเหมาะสม

การปราบปราม

1) แต่งตั้งคณะทำงานเพื่อระงับเหตุ ทั้งในระดับชั้นเรียน สถานศึกษา และชุมชน

2) ดำเนินการเอาโทษตามระเบียบข้อตกลง โดยเน้นการไกล่เกลี่ยประนีประนอม ตามมาตรการจากเบาไปหาหนัก

3) ติดตาม เยี่ยมเยีอน ให้กำลังใจผู้ถูกกระทำ และสร้างความเข้าใจกับผู้กระทำ

4. การชุมนุมประทวงและการจลาจล

การป้องกัน

1) สำรวจนักเรียนกลุ่มเสี่ยง

2) เฝ้าระวัง สังเกตพฤติกรรมนักเรียน และพัฒนาพื้นที่เสี่ยงให้ปลอดภัย

3) สร้างเครือข่ายเฝ้าระวังทั้งในสถานศึกษาและในชุมชน

4) จัดระบบการสื่อสารเพื่อรับสงข้อมูลด้านพฤติกรรมนักเรียนทั้งในสถานศึกษาและชุมชน

การปลูกฝัง

1) สร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับระเบียบ กฎหมาย สิทธิและหน้าที่พลเมือง

2) สร้างองค์ความรู้ความเข้าใจถึงผลกระทบที่เกิดจากการชุมนุมประท้วงและการจลาจล

3) จัดกิจกรรมบำเพ็ญสาธารณ์ประโยชน์อย่างสม่ำเสมอ

4) จัดกิจกรรมสร้างทัศนคติที่ถูกต้องร่วมกับผู้ปกครอง ชุมชน ในโอกาสที่เหมาะสม

การปราบปราม

1) แต่งตั้งคณะทำงานเพื่อระงับเหตุทั้งในสถานศึกษาและชุมชน

2) ประสานเครือข่ายการมีส่วนร่วม เพื่อร่วมแก้ปัญหา

3) ดำเนินการตามระเบียบ กฎหมาย โดยเน้นการไกลเกลี่ยประนีประนอม ตามมาตรการจากเบาไปหาหนัก

5. การก่อวินาศกรรม

การป้องกัน

1) สำรวจนักเรียนกลุ่มเสี่ยง

2) เฝ้าระวัง สังเกตพฤติกรรมนักเรียน

3) สร้างเครือข่ายเฝ้าระวังทั้งในสถานศึกษาและในชุมชน

4) จัดระบบการสื่อสารเพื่อรับส่งข้อมูลด้านพฤติกรรมนักเรียนทั้งในสถานศึกษาและชุมชน

การปลูกฝัง

1) สร้างความรู้ความเข้าใจถึงผลกระทบที่เกิดจากการก่อวินาศกรรม

2) จัดกิจกรรมสร้างทัศนคติที่ถูกต้องร่วมกับผู้ปกครอง ชุมชน ในโอกาสที่เหมาะสม

3) จัดเวทีให้นักเรียนได้แสดงออกตามความสามารถอย่างเหมาะสม

การปราบปราม

1) แต่งตั้งคณะทำงานเพื่อระงับเหตุทั้งในสถานศึกษาและชุมชน

2) ประสานเครือข่ายการมีส่วนร่วม เพื่อร่วมแก้ปัญหา

3) ดำเนินการตามระเบียบ กฎหมาย โดยเน้นการไกลเกลี่ยประนีประนอม ตามมาตรการจากเบาไปหาหนัก

6. การระเบิด

การป้องกัน

1) สำรวจนักเรียนกลุ่มเสี่ยง

2) สำรวจข้อมูลแหลงที่มาของวัตถุประกอบระเบิด

3) สร้างเครือข่ายเฝ้าระวังทั้งในสถานศึกษาและชุมชน

4) จัดระบบติดต่อสื่อสารเพื่อติดตามพฤติกรรมนักเรียน

การปลูกฝัง

1) สร้างความรู้ความเข้าใจถึงผลกระทบที่เกิดจากการใช้ระเบิด

2) จัดกิจกรรมสร้างทัศนคติที่ถูกต้องรวมกับผู้ปกครอง ชุมชน ในโอกาสที่เหมาะสม

3) จัดเวทีให้นักเรียนได้แสดงออกออกตามความสามารถอย่างเหมาะสม

การปราบปราม

1) แต่งตั้งคณะทำงานเพื่อระงับเหตุทั้งในสถานศึกษาและชุมชน

2) ประสานเครือข่ายการมีส่วนรวม เพื่อรวมแก้ปัญหา

3) ดำเนินการตามระเบียบ กฎหมาย โดยเน้นการไกลเกลี่ยประนีประนอม ตามมาตรการจากเบาไปหาหนัก

7. สารเคมีและวัตถุอันตราย

การป้องกัน

1) จัดทำมาตรการและแนวปฏิบัติในการดำเนินการ ลด ละ เลิก การใช้สารเคมีและวัตถุอันตราย

2) จัดสถานที่ในการจัดเก็บสารเคมีและวัตถุอันตรายให้มิดชิด

3) สร้างเครือข่ายเฝ้าระวังการใช้สารเคมีและวัตถุอันตรายทั้งในสถานศึกษาและชุมชน

การปลูกฝัง

1) สร้างความรู้ความเข้าใจถึงผลกระทบที่เกิดจาการใช้สารเคมีและวัตถุอันตราย

2) จัดกิจกรรมส่งเสริมการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในการดำเนินชีวิต

3) จัดกิจกรรมให้นักเรียนได้เรียนรู้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในสถานที่จริงในพื้นที่

การปราบปราม

1) ติดต่อประสานงานเครือข่ายการมีส่วนร่วมเพื่อร่วมแก้ปัญหา

2) ดำเนินการตามมาตรการและข้อตกลงที่กำหนดร่วมกัน

8. การลอลวง ลักพาตัว

การป้องกัน

1) สร้างเครือข่ายเฝ้าระวังทั้งในสถานศึกษาและชุมชน

2) จัดระบบการติดต่อสื่อสารเพื่อรับส่งข้อมูลพฤติกรรมนักเรียน ผู้ใกล้ชิด และบุคคลภายนอก

3) จัดทำข้อมูลช่องทางขอความช่วยเหลือเผยแพร่ ประชาสัมพันธ์ให้นักเรียนและชุมชน

การปลูกฝัง

1) การจัดกิจกรรมส่งเสริมความตระหนักรู้และเห็นคุณค่าในตนเอง

2) จัดกิจกรรมพัฒนาทักษะชีวิตอย่างรอบด้าน

3) ฝึกทักษะการปฏิเสธ และการเอาตัวรอดในสถานการณ์ต่าง ๆ

การปราบปราม

1) แต่งตั้งคณะทำงานให้ความช่วยเหลือเร่งด่วน ที่สามารถให้ความช่วยเหลือได้ทันเหตุการณ์

2) แต่งตั้งคณะทำงานด้านกฎหมายเพื่อให้ความช่วยเหลือ

3) ประสานภาคีเครือข่ายเพื่อร่วมแก้ปัญหา

ข้อมูลจาก คู่มือการดำเนินงานความปลอดภัยสถานศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ