ภัยที่เกิดจากผลกระทบต่อสุขภาวะทางกายและจิตใจ


วชิรธรรมสาธิตอุ่นใจ ปลอดภัย รอบด้าน


แนวทางการปฏิบัติเกี่ยวกับภัยที่เกิดจากผลกระทบทางสุขภาวะทางกายและจิตใจ (Unhealthiness)

1. ภาวะจิตเวช

การป้องกัน

1) สำรวจข้อมูลนักเรียนกลุ่มเสี่ยง

2) ติดต่อประสานเครือข่ายการมีส่วนร่วมเพื่อประเมินภาวะจิต

3) จัดหลักสูตรการเรียนการสอนพิเศษรายคน

4) สร้างเครือขายเฝ้าระวังทั้งในสถานศึกษาและชุมชน

5) จัดระบบติดตอสื่อสารเพื่อรับสงข้อมูลพฤติกรรมอย่างต่อเนื่อง

การปลูกฝัง

1) จัดกิจกรรมส่งเสริมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันของนักเรียน

2) จัดเวทีให้นักเรียนได้แสดงออกตามความสามารถ

3) จัดกิจกรรมส่งเสริมการตระหนักรู้และเห็นคุณค่าในตนเองและผู้อื่น

การปราบปราม

1) แตงตั้งคณะทำงานเพื่อระงับเหตุทั้งในสถานศึกษาและชุมชน

2) ประสานเครือข่ายการมีส่วนร่วม เพื่อร่วมแก้ปัญหา

3) ดำเนินการตามระเบียบ กฎหมาย โดยเน้นการไกลเกลี่ยประนีประนอม ตามมาตรการจากเบาไปหาหนัก

4) ประสานการส่งต่อเพื่อให้ความช่วยเหลือที่มีประสิทธิภาพ

2. ติดเกม

การป้องกัน

1) สำรวจข้อมูลนักเรียนกลุ่มเสี่ยง

2) สำรวจข้อมูลพื้นที่แหล่งให้บริการร้านเกม

3) กำหนดข้อตกลงเพื่อปฏิบัติร่วมกัน

4) สร้างเครือข่ายเฝ้าระวังทั้งในสถานศึกษาและชุมชน

5) จัดระบบติดต่อสื่อสารเพื่อรับส่งข้อมูลพฤติกรรมอย่างต่อเนื่อง

การปลูกฝัง

1) สร้างความรู้ความเข้าใจถึงผลกระทบที่เกิดจากการติดเกม

2) จัดกิจกรรมส่งเสริมการคิด วิเคราะห์ และใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์

3) จัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรที่สนองต่อความสนใจของนักเรียนอย่างหลากหลาย

การปราบปราม

1) แต่งตั้งคณะทำงานเพื่อระงับเหตุทั้งในสถานศึกษาและชุมชน

2) ประสานเครือข่ายการมีส่วนร่วม เพื่อร่วมแก้ปัญหา

3) ดำเนินการเอาผิดตามข้อตกลงที่กำหนดไว้ร่วมกัน

4) ติดตามเยี่ยมเยีอนเพื่อสร้างขวัญกำลังใจ

3. ยาเสพติด

การป้องกัน

1) สำรวจข้อมูลนักเรียนกลุ่มเสี่ยง

2) วิเคราะห์นักเรียนรายบุคคล

3) กำหนดข้อตกลงเพื่อปฏิบัติร่วมกัน

4) สร้างเครือข่ายเฝ้าระวังทั้งในสถานศึกษาและชุมชน

5) จัดระบบติดต่อสื่อสารเพื่อรับส่งข้อมูลพฤติกรรมอย่างต่อเนื่อง

การปลูกฝัง

1) สร้างความรู้ความเข้าใจถึงโทษภัย และผลกระทบของการติดยาเสพติด

2) จัดกิจกรรมต่อต้านยาเสพติดในวันสำคัญต่าง ๆ อย่างสม่ำเสมอ

3) จัดกิจกรรมส่งเสริมการคิด วิเคราะห์ และใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์

4) จัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรที่สนองต่อความสนใจของนักเรียนอย่างหลากหลาย

การปราบปราม

1) แต่งตั้งคณะทำงานเพื่อระงับเหตุทั้งในสถานศึกษาและชุมชน

2) ประสานเครือข่ายการมีส่วนร่วม เพื่อร่วมแก้ปัญหา

3) ดำเนินการตามระเบียบ กฎหมาย โดยเน้นการไกล่เกลี่ยประนีประนอม ตามมาตรการจากเบาไปหาหนัก

4) ประสานการส่งต่อเพื่อให้ความช่วยเหลือที่มีประสิทธิภาพ

4. โรคระบาดในมนุษย์

การป้องกัน

1) สำรวจข้อมูลด้านสุขภาพของนักเรียนรายคนและบุคคลใกล้ชิด

2) จัดทำแผนในการป้องกันโรคระบาดในมนุษย์

3) บริการวัสดุ อุปกรณ์ในการป้องกันโรคระบาดในมนุษย์

4) สร้างเครือข่ายเฝ้าระวังทั้งในสถานศึกษาและชุมชน

5) จัดระบบติดต่อสื่อสารเพื่อติดตามข้อมูลด้านสุขภาพอย่างต่อเนื่อง

การปลูกฝัง

1) สร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคระบาดในมนุษย์

2) จัดกิจกรรมฝึกทักษะการปฏิบัติตน เพื่อความปลอดภัยจากโรคระบาดในมนุษย์

3) จัดกิจกรรมสร้างจิตสำนึกในความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม

การปราบปราม

1) แต่งตั้งคณะทำงานเพื่อระงับเหตุทั้งในสถานศึกษาและชุมชน

2) ประสานเครือข่ายการมีส่วนร่วม เพื่อร่วมแก้ปัญหา

3) ดำเนินการตามมาตรการที่กฎหมายกำหนด

4) ประสานการส่งต่อเพื่อให้ความช่วยเหลือที่มีประสิทธิภาพ

5. ภัยไซเบอร์

การป้องกัน

1) สำรวจข้อมูลการใช้งานระบบไซเบอร์ของนักเรียนรายคน

2) กำหนดข้อตกลงเพื่อปฏิบัติร่วมกัน

3) สร้างเครือข่ายเฝ้าระวังทั้งในสถานศึกษาและชุมชน

4) จัดระบบติดต่อสื่อสารเพื่อรับส่งข้อมูลพฤติกรรมอย่างต่อเนื่อง

การปลูกฝ้ง

1) สร้างความรู้ความเข้าใจถึงผลกระทบที่เกิดจากการใช้งานระบบไซเบอร์โดยขาดวิจารณญาณ

2) จัดกิจกรรมส่งเสริมการคิด วิเคราะห์ และใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์

3) จัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรที่สนองต่อความสนใจของนักเรียนอย่างหลากหลาย

การปราบปราม

1) แต่งตั้งคณะทำงานเพื่อระงับเหตุทั้งในสถานศึกษาและชุมชน

2) ประสานเครือข่ายการมีส่วนร่วม เพื่อร่วมแก้ปัญหา

3) ดำเนินการเอาผิดตามข้อตกลงที่กำหนดไว้ร่วมกัน

4) ติดตามเยี่ยมเยีอนเพื่อสร้างขวัญกำลังใจ

6. การพนัน

การป้องกัน

1) สำรวจข้อมูลนักเรียนกลุ่มเสี่ยง

2) สำรวจพื้นที่ที่เป็นแหล่งการพนัน

3) กำหนดข้อตกลงเพื่อปฏิบัติร่วมกัน

4) สร้างเครือข่ายเฝ้าระวังทั้งในสถานศึกษาและชุมชน

5) จัดระบบติดต่อสื่อสารเพื่อรับส่งข้อมูลพฤติกรรมอย่างต่อเนื่อง

การปลูกฝัง

1) สร้างความรู้ความเข้าใจถึงผลกระทบที่เกิดจากการพนัน

2) จัดกิจกรรมส่งเสริมการคิด วิเคราะห์ และใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์

3) จัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรที่สนองต่อความสนใจของนักเรียนอย่างหลากหลาย

การปราบปราม

1) แต่งตั้งคณะทำงานเพื่อระงับเหตุทั้งในสถานศึกษาและชุมชน

2) ประสานเครือข่ายการมีส่วนร่วม เพื่อร่วมแก้ปัญหา

3) ดำเนินการเอาผิดตามข้อตกลงที่กำหนดไว้ร่วมกัน

4) ติดตามเยี่ยมเยีอนเพื่อสร้างขวัญกำลังใจ

7. มลภาวะเป็นพิษ

การป้องกัน

1) สำรวจข้อมูลพื้นที่ที่เกิดมลภาวะเป็นพิษในสถานศึกษาและชุมชน

2) จัดทำป้ายสัญลักษณ์แสดงพื้นที่มลภาวะเป็นพิษ

3) จัดทำแผนในการแก้ปัญหามลภาวะเป็นพิษร่วมกัน

4) กำหนดข้อตกลงในการปฏิบัติรวมกัน

การปลูกฝัง

1) สร้างความรู้ความเข้าใจถึงสาเหตุและผลกระทบที่เกิดจากมลภาวะเป็นพิษ

2) จัดกิจกรรมที่ส่งเสริมการแก้ปัญหาและการลดมลภาวะเป็นพิษ

3) จัดกิจกรรมส่งเสริมการสร้างจิตสำนึกในการลดมลพิษร่วมกับชุมชน

การปราบปราม

1) แต่งตั้งคณะทำงานเพื่อระงับเหตุทั้งในสถานศึกษาและชุมชน

2) ประสานเครือข่ายการมีส่วนร่วม เพื่อร่วมแก้ปัญหา

3) ดำเนินการเอาผิดตามข้อตกลงที่กำหนดไว้ร่วมกัน

4) ติดตามเยี่ยมเยีอนเพื่อสร้างขวัญกำลังใจ

8. โรคระบาดในสัตว์

การป้องกัน

1) สำรวจข้อมูลสัตว์เลี้ยงของนักเรียนรายคน

2) จัดทำแผนในการป้องกันโรคระบาดในสัตว์

3) บริการวัสดุ อุปกรณ์ในการป้องกันโรคระบาดในสัตว์

4) สร้างเครือข่ายเฝ้าระวังทั้งในสถานศึกษาและชุมชน

5) จัดระบบติดต่อสื่อสารเพื่อติดตามข้อมูลสัตวเลี้ยงอย่างต่อเนื่อง

การปลูกฝัง

1) สร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคระบาดในสัตว์

2) จัดกิจกรรมฝึกทักษะการปฏิบัติตน เพื่อความปลอดภัยจากโรคระบาดในสัตว์

3) จัดกิจกรรมสร้างจิตสำนึกในความรับผิดชอบตอตนเองและสังคม

การปราบปราม

1) แต่งตั้งคณะทำงานเพื่อระงับเหตุทั้งในสถานศึกษาและชุมชน

2) ประสานเครือข่ายการมีส่วนร่วม เพื่อร่วมแก้ปัญหา

3) ดำเนินการตามมาตรการที่กฎหมายกำหนด

4) ประสานการส่งต่อเพื่อให้ความช่วยเหลือที่มีประสิทธิภาพ

9. ภาวะทุพโภชนาการ

การป้องกัน

1) การสำรวจและจัดกลุ่มนักเรียนกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มที่มีภาวะทุพโภชนาการ

2) เสริมสร้างความร่วมมือระหว่างโรงเรียน ครอบครัว ชุมชน และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง

3) จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ด้านโภชนาการแก่ผู้ปกครอง

4) จัดทำฐานข้อมูลเพื่อตรวจสอบพัฒนาการและความก้าวหน้าในการลดภาวะทุพโภชนาการ

5) จัดหาอุปกรณ์กีฬาให้เพียงพอ

6) การดูแลอาหารกลางวัน อาหารเสริม และอาหารว่างที่ถูกต้องตามหลักโภชนาการ

การปลูกฝัง

1) จัดกิจกรรมให้ความรู้ด้านโภชนาการแก่นักเรียน

2) จัดกิจกรรมออกกำลังกาย และวิธีการรักษาสุขภาพให้กับนักเรียน

3) การบูรณาการความรู้ด้านโภชนาการในการจัดการเรียนการสอน

การปราบปราม

1) การเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ช่องทางในการขอความช่วยเหลือ

2) แต่งตั้งคณะทำงานให้ความช่วยเหลือเร่งด่วน ที่สามารถให้ความช่วยเหลือได้ทันเหตุการณ์

3) แตงตั้งคณะทำงานกองทุนอาหารกลางวันสำหรับนักเรียนที่มีปัญหาด้านเศรษฐกิจ

4) ประสานภาคีเครือข่ายเพื่อการส่งต่อที่เหมาะสม

ข้อมูลจาก คู่มือการดำเนินงานความปลอดภัยสถานศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ