นโยบายและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

วชิรธรรมสาธิตอุ่นใจ ปลอดภัย รอบด้าน


สามเสาหลักของความปลอดภัยรอบด้านในโรงเรียน

ความปลอดภัยรอบด้านในโรงเรียน ซึ่งอยู่ภายใต้นโยบายและการปฏิบัติด้านการศึกษา มีความสอดคล้องกับ การบริหารจัดการภัยพิบัติ ในระดับสากล ระดับประเทศ ภูมิภาค จังหวัด และระดับพื้นที่ รวมทั้งในโรงเรียน

กรอบแนวคิดดวามปลอดภัยรอบด้านในโรงเรียน ประกอบด้วยสามเสาหลัก (Three Pillars) ได้แก่

ด้านอาคารสถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวกในโรงเรียน ที่ปลอดภัย (Safer Learning Facilities)

ด้านการบริหารจัดการภัยพิบัติในสถานศึกษา (School Disaster Management)

ด้านการศึกษาด้านการลดความเสี่ยงและการรู้รับ ปรับตัวจากภัยพิบัติ (Risk Reduction and Resilience Education)

รากฐานของการวางแผนสำหรับความปลอดภัยรอบด้านในโรงเรียนคือการจัดทำการประเมินความเสี่ยงแบบภัย หลายชนิด การวางแผนนี้ควรเป็นส่วนหนึ่งของระบบข้อมูลการจัดการศึกษาในระดับประเทศ ระดับภูมิภาคและในระดับ พื้นที่ ข้อมูลเรื่องความเสี่ยงจากภัยพิบัติเป็นส่วนหนึ่งของการวิเคราะห์นโยบายของภาคการศึกษาและการจัดการในภาพรวม ซึ่งจะให้ข้อมูลเชิงประจักษ์และหลักฐานที่สำคัญสำหรับการวางแผนและการดำเนินงาน

กฎหมายที่เกี่ยวของ

พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546

สาระสำคัญ พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 120 ตอนที่ 95 ก วันที่ 2 ตุลาคม 2546 มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2547 สาระสำคัญของ พ.ร.บ. ฉบับนี้ เกี่ยวกับเรื่องสิทธิเสรีภาพของเด็กและเยาวชนที่ต้อง ได้รับความคุ้มครองจากรัฐโดยไม่เลือกปฏิบัติ และคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของเด็กเป็นสำคัญ พ.ร.บ. ฉบับนี้ มีทั้งหมด 9 หมวด 88 มาตราด้วยกันแยกเป็น มาตรา 1-6 อธิบายความหมายเกี่ยวของกับ พ.ร.บ. ฉบับนี้

ข้อมูลจาก คู่มือการดำเนินงานความปลอดภัยสถานศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ