การเสริมสร้างความปลอดภัย

วชิรธรรมสาธิตอุ่นใจ ปลอดภัย รอบด้าน


นโยบายด้านความปลอดภัย

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 - 2564) ได้กำหนดแนวทางการบริหารจัดการเพื่อลดความเสี่ยงด้านภัยพิบัติเพื่อให้เกิดความเสียหายน้อยที่สุด และนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน มีรายละเอียดดังนี้

1. บูรณาการ การลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติเขาสู่กระบวนการวางแผน ทั้งระดับชาติ ระดับชุมชนทองถิ่นและสาขา การผลิตต่าง ๆ พัฒนาองค์ความรู้ สนับสนุนการประเมินและจัดทำแผนที่ความเสี่ยงจากภัยพิบัติในพื้นที่และภาคการผลิตที่มี ลำดับความสำคัญสูง

2. เสริมสร้างขีดความสามารถในการเตรียมความพร้อมและการรับมือภัยพิบัติ สนับสนุนการจัดทำแผนรับมือภัยพิบัติ ในระดับพื้นที่ ส่งเสริมแนวทางการจัดการภัยพิบัติโดยมีชุมชนเป็นศูนย์กลาง ส่งเสริมภาคเอกชนในการจัดทำแผนบริหาร ความต่อเนื่องของธุรกิจ สร้างจิตสำนึกความปลอดภัยสาธารณะ ส่งเสริมบทบาทของภาคเอกชนและชุมชนท้องถิ่นในการร่วมกัน ดำเนินการป้องกันและลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติ

3. พัฒนาระบบการจัดการภัยพิบัติในภาวะฉุกเฉิน พัฒนาระบบการเตือนภัยให้มีความแม่นยำ น่าเชื่อถือ และมีประสิทธิภาพ ส่งเสริมกลไกการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารผ่านเทคโนโลยีสมัยใหม่ พัฒนาระบบฐานข้อมูลให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน และสามารถเชื่อมโยง แลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างหน่วยงานทั้งในและต่างประเทศได้ พัฒนากลไกบูรณาการความร่วมมือทุกภาคส่วน เพื่อเพิ่มศักยภาพการจัดการภัยพิบัติในภาวะฉุกเฉิน

4. พัฒนาระบบการฟื้นฟูบูรณะหลังการเกิดภัย ให้สามารถตอบสนองต่อความต้องการของผู้ประสบภัยได้อย่างทั่วถึง และเป็นธรรม ยกระดับมาตรฐานการตรวจสอบความปลอดภัยภายหลังการเกิดภัยพิบัติ และปรับปรุงมาตรฐานความปลอดภัย ของสิ่งก่อสร้างและโครงสร้างพื้นฐาน รวมถึงพัฒนามาตรฐานความปลอดภัยของโครงสร้าง

แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 – 2579 ได้กำหนดยุทธศาสตร์ในการพัฒนาการศึกษาภายใต้ 6 ยุทธศาสตร์หลัก ที่สอดคลองกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2561 – 2580) เพื่อให้แผนการศึกษาแห่งชาติบรรลุเป้าหมายตามจุดมุ่งหมาย วิสัยทัศน์ และแนวคิดการจัดการ การศึกษา โดยได้กำหนดใน ยุทธศาสตร์ที่ 1 การจัดการศึกษาเพื่อความมั่นคงของสังคมและ ประเทศชาติ ปัจจุบันภัยคุกคามต่อความมั่นคงรูปแบบใหมที่ส่งผลกระทบต่อประชาชนและประเทศชาติมีความซับซ้อนและ รุนแรงมากขึ้น อาทิ ความรุนแรงในรูปแบบต่าง ๆ ยาเสพติด ภัยพิบัติจากธรรมชาติ ภัยจากโรคอุบัติใหม่ ภัยจากไซเบอร์ เป็นต้น ความมั่นคงของชาติจึงมิได้ครอบคลุมเฉพาะมิติด้านการทหารหรืออำนาจอธิปไตยเท่านั้น แต่ยังครอบคลุมมิติต่าง ๆ ทั้งเศรษฐกิจ สังคม วิถีชีวิต วัฒนธรรม วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฯลฯ ซึ่งในแต่ละมิติล้วนมีความสำคัญต่อการพัฒนาประเทศ

ความปลอดภัยรอบด้านในโรงเรียน เป้าหมายของความปลอดภัยรอบด้านในโรงเรียน

เพื่อคุ้มครองนักเรียนและบุคลากรด้านการศึกษา จากการเสียชีวิต การบาดเจ็บ และอันตรายในโรงเรียน

เพื่อให้โรงเรียนวางแผนจัดการศึกษา ต่อเนื่องแม้ในระหว่างที่เกิดภัยพิบัติ

เพื่อปกป้องการลงทุนในภาคการศึกษา

เพื่อสร้างความเข้มแข็งในการลดความเสี่ยง และการฟื้นตัวของภาคการศึกษา

ข้อมูลจาก คู่มือการดำเนินงานความปลอดภัยสถานศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ