Services ensured
บริการช่วยเหลือด้านความรุนแรง
- Applications ช่วยแจ้งความรุนแรง
ESS Help Me ระบบแจ้งเหตุฉุกเฉินทางสังคม ง่าย สะดวก รวดเร็ว
🚨 ESS Help Me 🚨
ระบบแจ้งเหตุฉุกเฉินทางสังคม ง่าย สะดวก รวดเร็ว โดยเฉพาะเด็กและสตรี เมื่อโดนทำร้ายร่างกายหรือข่มขู่ว่าจะทำร้าย หรือถูกกักขังหน่วงเหนี่ยว สามารถแจ้ง ESS Help Me ได้ 24 ชั่วโมง โดยแชร์พิกัดจุดเกิดเหตุเพื่อให้เจ้าหน้าที่รัฐเข้าให้ความช่วยเหลือได้อย่างแม่นยำ และติดตามการช่วยเหลือได้ทันที โดยกดเพิ่มเพื่อนทางแอปพลิเคชั่นไลน์ในช่องค้นหา @esshelpme หรือคลิก https://lin.ee/GetbF8D หลังจากนั้นก็สามารถดำเนินการแจ้งเหตุได้ด้วย 3 ขั้นตอนง่าย ๆ หากคุณกำลังตกอยู่หรือพบเห็นในสถานการณ์เหล่านี้
📍ข่มขู่ว่าจะทำร้ายร่างกาย/โดนทำร้าย
📍กักขังหน่วงเหนี่ยว
📍เสี่ยงถูกล่วงละเมิดทางเพศ
📍ผู้คลุ้มคลั่งก่อให้เกิดเหตุร้าย
📍มั่วสุมก่อให้เกิดเหตุร้าย
⚠️ กดเพิ่มเพื่อนไว้ อุ่นใจกว่า เมื่ออยู่ในสถานการณ์ฉุกเฉิน แจ้งเหตุได้ทันที
⚠️ คำเตือน แจ้งเหตุเท็จโดยเจตนา มีความผิดตามกฎหมายอาญา
- หน่วยงานช่วยเหลือผู้ถูกใช้ความรุนแรง
ผู้ที่ประสบปัญหาหรือพบเห็นปัญหาดังกล่าวสามารถขอคำปรึกษาจากหน่วนงานที่ให้ความช่วยเหลือได้ อย่าเก็บปัญหานั้นไว้คนเดียว มาร่วมช่วยกันหาหนทางแก้ไขโดยติดต่อหน่วยงานดังนี้
1. มูลนิธิปวีณาเพื่อเด็กและสตรี ให้ความ ช่วยเหลือผู้หญิงที่ถูกทำร้ายร่างกาย ถูกล่วงละเมิดทางเพศ ทั้งทางกฎหมายและตามสืบค้น
โทร. 1134, 02-521-9231-2
2. มูลนิธิเพื่อนหญิง เป็นเพื่อนที่พักพิง ของผู้หญิงยามมีทุกข์ ประสบปัญหา ผู้ชายไม่รับผิดชอบ ถูกข่มขืน
โทร. 02-513-2780, 02-513-1001
3. ฮอตไลน์คลายเครียดของกรมสุขภาพจิต รับฟังปัญหา ให้คำปรึกษากับผู้หญิงในทุก ๆ เรื่อง
โทร. 1667
4. สมาคมเสริมสร้างครอบครัวให้อบอุ่นและเป็นสุข ทางสมาคมจะช่วยไกล่เกลี่ยปัญหาครอบครัว สามีทอดทิ้ง, สามีนอกใจ, สามีไม่ให้ค่าเลี้ยงดูบุตร, สามีทำร้ายทั้งด้านร่างกายและจิตใจให้ผู้หญิง
โทร. 1761, 02-622-2220
5. มูลนิธิผู้หญิง ทางสมาคมจะช่วยเหลือ ผู้หญิงที่ถูกทำร้ายร่างกาย ได้รับความรุนแรงทำร้ายร่างกายจากสามี ถูกทารุณกรรมทางเพศ ถูกข่มขืน
โทร. 02-433-5149, 02-435-1246
6. ศูนย์ช่วยเหลือเร่งด่วน 24 ชั่วโมง กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการช่วยผู้หญิงที่มีปัญหาครอบครัว กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ สะพานขาว กทม.
โทร. 1507, 1578
7. กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (ฝ่ายบริหารทั่วไป กองแรงงานหญิงและเด็ก) - อาคารใหม่15ชั้น ถ. มิตรไมตรี, ดินแดง, เขตดินแดง, กรุงเทพมหานคร 10400
โทร. 0-2246-8006
8. มูลนิธิ ศูนย์ฮอตไลน์ รับปรึกษาและให้ คำแนะนำเกี่ยวกับปัญหาครอบครัว ปัญหาชีวิต โรคเอดส์ ฟรี!
โทร. 02-276-2950, 02-277-8811
9. บ้านพักฉุกเกิน สมาคมส่งเสริมสถานภาพสตรีฯ (มีบ้านให้พัก) ช่วยเหลือทั้งการให้คำปรึกษา ให้ที่อยู่อาศัยกับผู้หญิงที่มีปัญหาครอบครัว, ปัญหาความรุนแรงในครอบครัว, ถูกทำร้ายร่างกาย, มีบุตรนอกสมรถ, ถูกข่มขืน, ถูกทอดทิ้ง
โทร. 02-929-2301-10, 02-929-2222, 02-566-2707
10. มูลนิธิส่งเสริมโอกาสผู้หญิง (เอ็มพาวเวอร์) ให้คำปรึกษาเรื่องการศึกษาแก่ผู้หญิงที่ไม่มีโอกาสเรียน แต่ต้องการจะเรียนต่อในด้านจ่างๆ ของ กศน.
โทร. 02-236-9272, 02-266-8019
11. สมาคมบัณฑิตสตรีทางกฎหมาย ช่วยเหลือสตรีในเรื่องให้คำปรึกษาทางด้านกฎหมายทุก ๆ ประเภท เช่น กฎหมายสินสมรส , ค่าเลี้ยงดูบุตรกฎหมายละเมิดสิทธิ์บุคคล
โทร. 02-2241-0737,02-243-9050
12. มูลนิธิ ทองใบ ทองเปาด์ ให้คำปรึกษาเรื่องกฏหมายกับผู้หญิงทุกประเภท
โทร. 02-5416416, 02-5416468
13. สมาคมสะมาริตันส์ แนะนำปรึกษาคลายทุกข์ การแก้ปัญหา หาทางออกให้กับชีวิต หลีกเลี่ยงการฆ่าตัวตาย
โทร. 02-2499977, 02-2497531
14. คณะกรรมการคาทอลิกเพื่อสตรี ให้คำปรึกษาและเสริมสร้างศักยภาพสตรีและสนับสนุนการเรียกร้องสิทธิสตรี ช่วยเหลือสตรีในด้านกฎหมาย
โทร. 02-6813900 ต่อ 1704
15. เสถียรธรรมสถาน ให้คำแนะนำเรื่องการคลายทุกข์เพื่อปฏิบัติธรรม ปรึกษาปัญหาธรรมะ
โทร. 02-5090085, 02-5092237, 02-5106697
16. ศูนย์บริการข้อมูลและฝึกอบรมแรงงาน ให้คำปรึกษาแก่ผู้หญิงที่ถูกกดขี่แรงงาน, ให้คำปรึกษาทางด้านกฎหมายแรงงาน, ให้คำแนะนำเรื่องการหางาน
โทร. 02-972-7035, 02-9726385
17. โครงการพัฒนาเครือข่ายผู้หญิงในชุมชนแออัด ช่วยเหลือผู้หญิงถูกทำร้ายร่างกาย ถูกข่มขืน
โทร. 02-7315218
18. สมาคมวางแผนครอบครัว บริการวางแผนครอบครัวแห่งประเทสไทย (สวท.)
โทร. 02-245-1888, 02-2457382-5
19. คลีนิกนิรนาม (โครงการโรคเอดส์) บริการตรวจกามโรค สภากาชาดไทย (บริการตรวจโรคเอดส์ โดยมีการให้คำปรึกษาก่อนและหลังการตรวจ และสำหรับกามโรค มีบริการตรวจซิฟิลิชเดียงอย่างเดียว)
โทร. 02-2564109, จันทร์-ศุกร์ 12.00-19.00 น. วันเสาร์ 9.00-12.00 น.
20. บ้านพระคุณ เฉพาะหญิงตั้งครรภ์นอกสมรส ทั้งก่อนและหลังคลอด เปิดบริการทุกวัน ตลอด 24 ชั่วโมง
โทร. 02-7591201, 02-7599238
21. กองเผยแพร่และควบคุมการโฆษณา สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) รับเรื่องร้องเรียนต่างๆ เกี่ยวกับเรื่องอาหารและยา
โทร. 02-5918472, 02-2029333 หรือสายด่วน อย. 1556
22. มูลนิธิเครือข่ายครอบครัว ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการดูแลลูกและดูแลครอบครัวให้กับผู้หญิง เพื่อสร้างความสุขในครอบครัว ป้องกันปัญหา
การหย่าร้าง
โทร. 02-9542346-7, 02-9542348
23. คลินิกวัยรุ่น บริการวัยรุ่นทั้งชายและหญิง อายุระหว่าง 12-21ปี เกี่ยวกับเรื่องเพศ เรื่องอ้วน เรื่องการเรียน ติดเชื้อทางเพศ ฯลฯ โรงพยาบาลรามาฯ และมหาวิทยาลัยมหิดล
โทร. 02-6449666 (24 ชม.)
24.ศูนย์ประชาบดี ช่วยเหลือเด็ก สตรี คนสูงอายุ และคนพิการ ฟรีทั่วประเทศ ตลอด 24 ชั่วโมง
โทร. 1300
25. กรมการกงศุล กระทรวงการต่างประเทศ (กองคุ้มครองและดูแลผลประโยชน์คนไทยในต่างประเทศ) รับร้องเรียนจากผู้หญิงและคนไทยทุกคน หากถูกหน่วงเหนี่ยวกักขัง ถูกโกงค่าแรงในต่างประเทศหรือต้องการ
ขอความช่วยเหลือ
โทร. 02-5751047-9
26. ศูนย์วิจัยและพัฒนาเพศศาสตร์ศึกษาจุฬา ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับเพศ การเสื่อมสมรรถ ภาพทางเพศ
โทร. 02-2188434
27. สมาคมพัฒนาประชากรและชุมชนPDA ให้บริการปรึกษาเรื่องการวางแผนครอบครัว การทำหมัน คุมกำเนิดด้วยวิธีต่างๆ ทำแท้งอย่างถูกกฏหมาย (ของคุณมีชัย วีระไวยทยะ)
โทร. 02-2294629 เวลา 08.30-17.00 น.
28. มูลนิธิส่งเสริมความเสมอภาคทางสังคม ทั้งนี้ยังสามารถติดต่อ และติดตามทางช่องทาง Facebook Fanpage มูลนิธิส่งเสริมความเสมอภาคทางสังคม
โทร. 02-0472086
29. มูลนิธิหญิงชายก้าวไกล อีเมล:info@wmp.or.th
โทร. 0-2513-2889 โทรสาร 0-2513-2856.
บริการช่วยเหลือด้านจิตใจ
- Applications ปรึกษาจิตแพทย์
* ราคา และระยะเวลายืดหยุ่นตามแต่ละแพทย์ของแต่ละแอปฯ
อ่านเพิ่มเติมได้จาก https://www.checkraka.com/house/article/131272
- Line Family : เพื่อนครอบครัว
ช่องทางในการให้คำปรึกษาออนไลน์ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้และเสริมทักษะสำหรับพ่อแม่และสมาชิกในครอบครัวที่จะขอรับคำปรึกษา และได้รับข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์ ผู้สนใจ สามารถติดตามรายละเอียดได้ทั้งช่องทางเว็บไซต์ www.เพื่อนครอบครัว.com และช่องทาง Line Official Account : เพื่อนครอบครัว (@linefamily)
วันที่เผยแพร่ 14 เม.ย. 2565 โดย DWF. Channel
- Applications “สบายใจ” ป้องกันภาวะซึมเศร้า
แอปพลิเคชัน "สบายใจ" (SabaiJai) ตัวช่วยเช็กสถานะทางใจ ประเมินความรู้สึกผ่านแบบคัดกรอง 9 ข้อ พร้อมเสนอแนวทางการปฏิบัติตนของผู้ที่ทำแบบคัดกรองเอง หรือผู้ที่อยู่ใกล้ชิด เพื่อให้ก้าวผ่านความเศร้า กังวลใจ ความโกรธ หรือความสับสนไปได้ด้วยการเติมพลังใจที่ดี
อ่านเพิ่มเติมได้จาก https://www.thaipbs.or.th/news/content/278260
ลดการฆ่าตัวตายด้วยแอพลิเคชั่น (SABAIJAI APPLICATION)
วันที่เผยแพร่ 8 ก.ย. 2561 โดย P&M EVENT ONLINE
วันที่เผยแพร่ 8 ก.ย. 2561 โดย P&M EVENT ONLINE