ความรู้พื้นฐานการเขียนโปรแกรม

ความรู้พื้นฐานการเขียนโปรแกรม

หน่วยสำคัญที่สุดของคอมพิวเตอร์ก็คือ หน่วยประมวลผลหรือที่เรียกกันว่า CPU โดยปกติ CPU จะมีภาษาของตัวเองที่เรียกว่า ภาษาเครื่อง (Machine Language) ซึ่งจะเป็นภาษาที่ประกอบไปด้วยเลขฐานสองมากมาย ดังนั้นการที่จะเขียนโปรแกรมควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์ โดยใช้ภาษาเครื่องโดยตรงนั้นจึงทำได้ยาก ได้มีการพัฒนาตัวแปรภาษาเครื่องที่เรียกว่า โปรแกรมภาษาระดับสูงขึ้นมา หรือที่เรียกว่า High Level Languages

รูปแบบของโปรแกรมภาษาในระดับสูง ซึ่งจะอยู่ในรูปแบบของ Source Program หรือ Source Code จากนั้นเราก็จะใช้ Complier คือแปลง Source code ของเราให้เป็นภาษาเครื่องนั่นเอง ซึ่งในขั้นตอนนี้ ผลที่ได้ เราจะเรียกว่า Object code จากนั้น Complier ก็จะทำการ Link หรือเชื่อม Object code เข้ากับฟังก์ชันการทำงานใน Libraries ต่างๆ ที่จำเป็นต่อการใช้งาน แล้วนำไปไว้ในหน่วยความจำ แล้วเราก็จะสามารถ Run เพื่อดูผลของการทำงานโปรแกรมได้ หากโปรแกรมมีข้อผิดพลาด เราก็จะทำการแก้ หรือที่เรียกกันในภาษาคอมพิวเตอร์ว่า การ Debug นั่นเอง

∗โปรแกรมตัวอย่างที่ แสดงโปรแกรมภาษา C อย่างง่าย


/* simple.c */

#include<stdio.h> /* บรรทัดที่ 1 */

void main(void) /* บรรทัดที่ 2 */

{ /* บรรทัดที่ 3 */

printf(“Hello, C Language \n”); /* บรรทัดที่ 4 */

} /* บรรทัดที่ 5 */

ผลลัพธ์ที่ได้จากโปรแกรม

บรรทัดที่ 1 #include<stdio.h> เป็นคำสั่งที่เรียกแฟ้มที่ชื่อว่า stdio.h ซึ่งภายในจะบรรจุคำสั่ง หรือฟังก์ชันที่จำเป็นต้องใช้ในภาษา C เช่น printf( ), scanf( ) เป็นต้น

บรรทัดที่ 2 void main(void) เป็นการบอกให้ C compiler รู้ว่าฟังก์ชัน main( ) เป็นฟังก์ชันที่ไม่มีการส่งค่าข้อมูล และไม่มีการรับค่าข้อมูลกลับ

บรรทัดที่ 3 เครื่องหมาย { เป็นการแสดงจุดเริ่มต้นของฟังก์ชัน main( )

บรรทัดที่ 4 คำสั่ง printf(“Hello, C Language \n”); เป็นคำสั่งที่ใช้พิมพ์ข้อความที่อยู่ในเครื่องหมาย “….” แสดงออกทางจอภาพแล้วขึ้นบรรทัดใหม่เพราะมีรหัส \n (new line)

บรรทัดที่ 5 เครื่องหมาย } เป็นการแสดงจุดสิ้นสุดของฟังก์ชัน main( )


ขั้นตอนการพัฒนาโปรแกรมภาษาซี

การพัฒนาโปรแกรมโดยใช้ภาษา C มีอยู่ 3 ขั้นตอน ได้แก่

1.การเขียนและแก้ไขโปรแกรม คือ การนำคำสั่งต่างๆ ของภาษา C มาเขียนเรียงต่อกัน จนเป็นโปรแกรมที่ทำงานตามผู้ใช้ต้องการ

2.คอมไพล์โปรแกรม เมื่อได้ Source Files แล้วและเมื่อต้องการรันโปรแกรมใด ๆ นั้น ผู้ใช้จะต้องทำการแปลง Source Files เหล่านั้น ให้เป็นภาษาเครื่องก่อน

3.การลิงค์โปรแกรม ในภาษา C นั้นจะมีฟังก์ชันต่าง ๆ ที่เตรียมพร้อมมาให้ผู้ใช้ได้ใช้อยู่แล้ว เมื่อคอมไพล์แล้วไม่มีข้อผิดพลาดประการใด ตัวคอมไพล์จะทำการดึงโปรแกรมอื่นที่ถูกเรียกใช้จากโปรแกรมที่กำลังทำการลิงค์เข้ามารวมในโปรแกรมที่สมบูรณ์ การรันโปรแกรม เมื่อทำการลิงค์เสร็จแล้ว การพัฒนาโปรแกรมนั้นจะมีขั้นตอน ที่เรียกว่า System Development Life Cycle โดยมีขั้นตอนดังนี้

3.1 หาความต้องการของระบบ ( System Requirements ) คือ การศึกษาและเก็บความต้องการของผู้ใช้โปรแกรม ว่ามีความต้องการอะไรบ้าง

3.2 วิเคราะห์ ( Analysis ) คือ การนำเอาความต้องการของผู้ใช้โปรแกรมมาวิเคราะห์ว่าจะพัฒนาเป็นโปรแกรมตามที่ต้องการได้หรือไม่

3.3 ออกแบบ ( Design ) เมื่อสรุปได้แล้วว่าโปรแกรมที่จะสร้างมีลักษณะเป็นอย่างไรขั้นตอนต่อมาก็คือ การออกแบบการทำงานของโปรแกรมให้เป็นไปตามความต้องการที่วิเคราะห์ไว้

3.4 เขียนโปรแกรม ( Code ) เมื่อได้ผังงานแล้ว ต่อมาก็เป็นการเขียนโปรแกรมตามผังงานที่ออกแบบไว้

3.5 ทดสอบ ( System Test ) เมื่อเขียนโปรแกรมเสร็จแล้ว จะต้องมีการทดสอบเพื่อหาข้อผิดพลาดต่าง ๆ

3.6 ดูแล ( Mainteance ) เมื่อโปรแกรมผ่านการทดสอบแล้ว ผู้พัฒนาจะต้องคอยดูแล เนื่องจากอาจมีข้อผิดพลาดที่หาไม่พบในขั้นตอนการทดสอบโปรแกรม


ดาวน์โหลด์โปรแกรมภาษาซี

https://drive.google.com/a/dt.ac.th/file/d/1sOz88EFBzqwt87Lv2UUHG0LKv4XEC7zE/view?usp=sharing