เรื่องที่ 1 จุด เส้น สี แสง เงา รูปร่าง และรูปทรง

จุด เส้น สี แสงเงา รูปร่าง รูปทรง

จุด ………………………………………

คือ องค์ประกอบที่เล็กที่สุด จุดเป็นสิ่งที่สามารถบอกตําแหน่งและทิศทางโดยการนําจุดมาเรียงต่อกันให้เป็นเส้น การรวมกันของจุดจะเกิดน้ำหนักที่ให้ปริมาตรแก่รูปทรง เป็นต้น

เส้น

หมายถึง จุดหลายๆจุดที่เรียงชิดติดกันเป็นแนวยาว โดยการลากเส้นจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งในทิศทางที่แตกต่างกัน จะเป็นทิศมุม 45 องศา 90 องศา 180 องศาหรือมุมใดๆ การสลับทิศทางของเส้นที่ลากทําให้เกิดเป็นลักษณะต่าง ๆ ในทางศิลปะเส้นมีหลายชนิดด้วยกันโดยจําแนกออกได้เป็นลักษณะใหญ่ๆ คือเสันตั้ง เส้นนอน เส้นเฉียงเส้นโค้ง เส้นหยัก เส้นซิกแซก

ความรู้สึกที่มีต่อเส้น

เส้นเป็นองค์ประกอบพื้นฐานที่สําคัญในการสร้างสรรค์ เส้นสามารถแสดงให้เกิดความหมายของภาพและให้ความรู้สึกได้ตามลักษณะของเส้น เส้นที่เป็นพื้นฐาน ได้แก่ เส้นตรงและเส้นโค้งจากเส้นตรงและเส้นโค้งสามารถนํามาสร้างให้เกิดเป็น เส้นใหม่ ๆ ที่ให้ความรู้สึกที่แตกต่างกันออกไปได้ดังนี้

เส้นตั้ง ให้ความรู้สึกแข็งแรง สูงเด่น สง่างาม น่าเกรงขาม

เส้นนอน ให้ความรู้สึกสงบราบเรียบ กว้างขวาง การพักผ่อน หยุดนิ่ง

เส้นแนวเฉียง ให้ความรู้สึกไม่ปลอดภัย ไม่มั่นคง ไม่หยุดนิ่ง

เส้นตัดกัน ให้ความรู้สึกประสานกัน แข็งแรง

เส้นโค้ง ให้ความรู้สึกอ่อนโยน นุ่มนวล

เส้นคด ให้ความรู้สึกเคลื่อนไหวไหลเลื่อน ร่าเริง ต่อเนื่อง

เส้นประ ให้ความรู้สึกขาดหาย ลึกลับ ไม่สมบรูณ์แสดงส่วนที่มองไม่เห็น

เส้นขด ให้ความรู้สึกหมุนเวียนมึนงง

นักออกแบบนําเอาความรู้สึกที่มีต่อเส้นที่แตกต่างกันมาใช้ในงานศิลปะประยุกต์โดยใช้เส้นมาเปลี่ยนรูปร่างของตัวอักษร เพื่อให้เกิดความรู้สึกเคลื่อนไหวและทําให้สื่อความหมายได้ดียิ่งขึ้น

สี

ทฤษฎีสี หมายถึง หลักวิชาในเรื่องของสีที่สามารถมองเห็นได้ด้วยตา และเมื่อสามร้อยกว่าปีทีผ่านมา ไอแซก นิวตัน ได้ค้นพบว่า แสงสีขาวจาก ดวงอาทิตย์เมื่อหักเห ผ่านแท่งแก้วสามเหลี่ยม ( prism) แสงสีขาวจะกระจายออกเป็นสีรุ่ง เรียกว่า สเปคตรัม มี 7 สี ได้แก่ ม่วง คราม น้ําเงิน เขียว เหลือง ส้ม แดง และได้กำหนดให้เป็นทฤษฎีสีของแสง ความจริงสีรุ่งเป็นปรากฏการณ์ ตามธรรมชาติที่เกิดขึน้และพบเห็น กันบ่อยๆ โดยเกิดจากการหักเห ของแสงอาทิตย์หรือ แสงสว่าง เมื่อผ่านละอองน้ำในอากาศและกระทบต่อ สายตาให้เห็นเป็นสี มีผลทางด้านจติวทิยา ทางด้านอารมณ์ และความรู้สึก การที่ได้เห็นสีจากสายตา สายตาจะส่งความรู้สึกไปยังสมองทําให้เกิดความรู้สึกต่างๆ ตาม อิทธิพลของสี เช่น สดชื่น เร้าร้อน เยือกเย็น หรือตื่นเต้น มนุษย์เราเกี่ยวข้องกับสีต่างๆ อยู่ตลอดเวลาเพราะ ทุกสิ่ง ที่อยู่รอบตัวนั้น ล้วนแต่มีสีสันแตกต่างกันมากมาย นักวิชาการสาขาต่างๆ ได้ศึกษาค้นคว้าเรือ่งสี จนเกิดเป็นทฤษฎีสี ตามหลักการของนักวิชาการสาขา ต่าง ๆ เช่น

แม่สีของนักฟิสิกส์ หรือ (แม่สีของแสง) (Spectrum Primaries) เป็นสีที่เกิดจากการผสมกันของคลื่นแสง มี 3 สี คือ

แม่สีของนักเคมี (Pigmentary Primaries) คือสีที่ใช้ในวงการอุตสาหกรรมและวงการศิลปะ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า สีวัตถุธาตุ ที่เรากําลังศึกษาอยู่ในขณะนี้ โดยใช้ในการเขียนภาพเกี่ยวกับพาณิชยศิลปะ ภาพโฆษณา ภาพประกอบเรื่องและภาพเขียน ของศิลปินต่าง ๆ ประกอบด้วย

สีขั้นที่ 1 (Primary Color) คือแม่สีพื้นฐาน มี3 สี ได้แก่

1. สีเหลือง (Yellow)

2. สีแดง (Red)

3. สีน้ำเงิน (Blue)

สีขั้นที่ 2 (Secondary color)

คือ สีที่เกิดจากสีขั้นที่ 1 หรือแม่สีผสมกันในอัตราส่วนที่เท่ากัน จะทําให้เกิดสีใหม่ 3 สี ได้แก่

1. สีส้ม (Orange) เกิดจาก สีแดง (Red) ผสมกับสีเหลือง (Yellow)

2. สีม่วง (Violet) เกิดจาก สีแดง (Red) ผสมกับสีน้ำเงิน (Blue)

3. สีเขียว (Green) เกิดจาก สีเหลือง (Yellow) ผสมกับสีน้ำเงิน (Blue)

สีขั้นที่ 3 (Intermediate Color)

คือสีที่เกิดจากการผสมกันระหว่างแม่สีกับสีขั้นที่ 2 จะเกิดสีขั้นที่ 3 ขึ้นอีก 6 สี ได้แก่

1. สีน้ำเงินม่วง ( Violet-blue) เกิดจาก สีน้ำเงิน (Blue) ผสมสีม่วง (Violet)

2. สีเขียวน้ำเงิน ( Blue-green) เกิดจาก สีน้ำเงิน (Blue) ผสมสีเขียว (Green)

3. สีเหลืองเขียว ( Green-yellow) เกิดจาก สีเหลือง(Yellow) ผสมกับสีเขียว (Green)

4. สีส้มเหลือง ( Yellow-orange) เกิดจาก สีเหลือง (Yellow) ผสมกับสีส้ม (Orange)

5. สีแดงส้ม ( Orange-red) เกิดจาก สีแดง (Red) ผสมกับสีส้ม (Orange)

6. สีม่วงแดง ( Red-violet) เกิดจาก สีแดง (Red) ผสมกับสีม่วง (Violet)

เราสามารถผสมสีเกิดขึ้นใหม่ได้อีกมากมายหลายร้อยสีด้วยวิธีการเดียวกันนี้ตามคุณลักษณะของสีที่จะกล่าวต่อไป

จะเห็นได้ว่าสีทั้ง 3 ขั้นตามทฤษฎีสีดังกล่าว มีผลทําให้เราสามารถนํามาใช้เป็นหลักในการเลือกสรรสีสํา หรับงานสร้างสรรค์ของเราได้ซึ่งงานออกแบบมิได้ถูกจํากัดด้วยกรอบความคิดของทฤษฎีตามหลักวิชาการเท่านั้น แต่เราสามารถ คิดออกนอกกรอบแห่งทฤษฎีนั้นๆ ได้เท่าที่มันสมองของเราจะเค้นความคิดสร้างสรรค์ออกมาได้

คุณลักษณะของสีมี 3 ประการ คือ

1. สีแท้ หรือความเป็นสี (Hue ) หมายถึง สีที่อยู่ในวงจรสีธรรมชาติ ทั้ง 12 สี (ดูภาพสี 12 สีในวงจรสีประกอบ) สี ที่เราเห็นอยู่ทุกวันนี้แบ่งเป็น 2 วรรณะ โดยแบ่งวงจรสีออกเป็น 2 ส่วน จากสีเหลืองวนไปถึงสีม่วง คือ

1. สีวรรณะร้อน (Warm Color) ให้ความรู้สึกรุนแรง ร้อน ตื่นเต้น ประกอบด้วย สีเหลือง สีเหลืองส้ม สีส้ม สีแดงส้ม สีแดง สีม่วงแดง สีม่วง

2. สีวรรณะเย็น (Cool Color) ให้ความรู้สึกเย็น สงบ สบายตาประกอบด้วย สีเหลือง สีเขียวเหลือง สีเขียว สีน้ำเงินเขียว สีน้ำเงิน สีม่วงน้ำเงิน สีม่วง เราจะเห็นว่า สีเหลือง และสีม่วง เป็นสีที่อยู่ได้ทั้ง 2 วรรณะ คือสีกลางที่เป็นได้ทั้งสีร้อน และสีเย็น

2. ความจัดของสี (Intensity) หมายถึง ความสด หรือความบริสุทธิ์ของสีใดสีหนึ่ง และสีที่ถูกผสมด้วยสีดําจนหม่นลง ความจัดหรือความบริสุทธิ์จะลดลงความจัดของสีจะเรียงลําดับจากจัดที่สุด ไปจนหม่นที่สุดได้หลายลําดับ ด้วยการค่อยๆ เพิ่มปริมาณของสีดําที่ผสมเข้าไปทีละน้อยจนถึงลําดับที่ความจัดของสีมีน้อยที่สุดคือเกือบเป็นสีดํา

3. น้ำหนักของสี (Values) หมายถึง สีที่สดใส (Brightness) สีกลาง (Grayness) สีทึบ(Darkness) ของสีแต่ละสีสีทุกสีจะมีน้ำหนักในตัวเอง ถ้าเราผสมสีขาวเข้าไปในสีใดสีหนึ่ง สีนั้นจะสว่างขึ้น หรือมีน้ำหนักอ่อนลงถ้าเพิ่มสีขาวเข้าไปทีละน้อยๆ ตามลําดับ เราจะได้น้ำหนักของสีที่เรียงลําดับจากแก่สุดไปจนถึงอ่อนสุดน้ำหนักอ่อนแก่ของสี เกิดจากการผสมด้วยสีขาว เทา และ ดํา น้ำหนักของสีจะลดลงด้วยการใช้สีขาวผสม( tint) ซึ่งจะทําให้เกิดความรู้สึกนุ่มนวล อ่อนหวาน สบายตา น้ำหนักของสีจะเพิ่มขึ้นปานกลางด้วยการใช้สีเทาผสม ( tone) ซึ่งจะทําให้ความเข้มของสีลดลง เกิดความรู้สึก ที่สงบ ราบเรียบ และน้ำหนักของสีจะเพิ่มขึ้นมากขึ้นด้วยการใช้สีดําผสม ( shade) ซึ่งจะทําให้ความเข้มของสีลดความสดใสลง เกิดความรู้สึกขรึม ลึกลับ น้ำหนักของสียังหมายถึงการเรียงลําดับน้ําหนักของสีแท้ด้วยกันเอง โดยเปรียบเทียบ น้ำหนักอ่อนแก่กับสีขาว – ดํา เราสามารถเปรียบเทียบระหว่างภาพสีกับภาพขาวดําได้อย่างชัดเจนและเมื่อเรานําภาพสีที่เราเห็นว่ามีสีแดงอยู่หลายค่าตั้งแต่อ่อน กลาง แก่ ไปถ่ายเอกสารขาว-ดํา เมื่อนํามาดูจะพบว่า สีแดงจะมีน้ําหนักอ่อน แก่ตั้งแต่ขาว เทาดํา นั่นเป็นเพราะว่าสีแดงมีน้ำหนักของสีแตกต่างกันนั่นเอง

สีต่างๆ ที่เราสัมผัสด้วยสายตาจะทําให้เกิดความรู้สึกขึ้นภายในต่อเรา ทันทีที่เรามองเห็นสีไม่ว่าจะเป็นการแต่งกาย บ้านที่อยู่อาศัย เครื่องใช้ต่างๆ แล้วเราจะ ทําอย่างไร จึงจะใช้สีได้อย่างเหมาะสม และสอดคล้องกับหลักจิตวิทยา เราจะต้องเข้าใจว่าสีใดให้ความรู้สึก ต่อมนุษย์อย่างไร ซึ่งความรู้สึกที่เกี่ยวกับสีสามารถจําแนกออกได้ดังนี้

สีแดง ให้ความรู้สึกร้อน รุนแรง กระตุ้น ท้าทาย เคลื่อนไหว ตื่นเต้น เร้าใจ มีพลัง ความอุดมสมบูรณ์ความมั่งคั่ง ความรัก ความสําคัญ และอันตรายจะทําให้เกิดความอุดมสมบูรณ์เป็นต้น

สีส้ม ให้ความรู้สึก ร้อน อบอุ่น สดใส มีชีวิตชีวาวัยรุ่น ความคึกคะนอง และการปลดปล่อย สีเหลือง ให้ความรู้สึก แจ่มใส ร่าเริง เบิกบานสดชื่น ชีวิตใหม่ ความสุกสว่าง สีเขียว ให้ความรู้สึกงอกงาม สดชื่น สงบเงียบร่มรื่น ร่มเย็น การพักผ่อน การผ่อนคลายธรรมชาติ ความปลอดภัย ปกติ ความสุข ความสุขุม เยือกเย็น

สีเขียวแก่ ให้ความรู้สึกเศร้าใจแก่ชรา

สีน้ําเงิน ให้ความรู้สึกสงบ สุขุม สุภาพ หนักแน่น เคร่งขรึม เอาการเอางาน ละเอียด รอบคอบ สง่างาม มีศักดิ์ศรี สูงศักดิ์ เป็นระเบียบถ่อมตน

สีฟ้า ให้ความรู้สึก ปลอดโปร่ง โล่งกว้าง โปร่งใส สะอาด ปลอดภัย ความสว่าง ลมหายใจ ความเป็น

อิสรเสรีภาพ การช่วยเหลือ

สีคราม จะทําให้เกิดความรู้สึกสงบ

สีม่วง ให้ความรู้สึก มีเสน่ห์ น่าติดตาม เร้นลับ ซ่อนเร้น มีอํานาจ มีพลังแฝงอยู่ ความรัก ความเศร้า

ความผิดหวัง ความสงบ ความสูงศักดิ์

สีน้ำตาล ให้ความรู้สึกเก่า หนัก สงบเงียบ

สีขาว ให้ความรู้สึกบริสุทธิ์ สะอาด ใหม่ สดใส

สีดํา ให้ความรู้สึกหนัก หดหู่ เศร้าใจ ทึบตัน

สีชมพู ให้ความรู้สึก อบอุ่น อ่อนโยน นุ่มนวล อ่อนหวาน ความรัก เอาใจใส่ วัยรุ่น หนุ่มสาว น่ารักความสดใส

สีไพล จะทําให้เกิดความรู้สึกกระชุ่มกระชวย เป็นหนุ่มสาว

สีเทา ให้ความรู้สึก เศร้า อาลัย ท้อแท้ ความลึกลับ ความหดหู่ ความชรา ความสงบ ความเงียบ สุภาพ

สุขุม ถ่อมตน

สีทอง ให้ความรู้สึก ความหรูหรา โอ่อ่า มีราคา สูงค่า สิ่งสําคัญ ความเจริญรุ่งเรืองความสุข ความมั่งคั่งความร่ำรวย การแผ่กระจาย

จากความรู้สึกดังกล่าว เราสามารถนําไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจําวันได้ในทุกเรื่อง และเมื่อต้องการสร้างผลงาน ที่เกี่ยวกับการใช้สีเพื่อที่จะได้ผลงานที่ตรงตามความต้องการในการสื่อความหมาย และจะช่วยลดปัญหาในการ ตัดสินใจที่จะเลือกใช้สีต่างๆได้ เช่น

1. ใช้ในการแสดงเวลาของบรรยากาศในภาพเขียน เพราะสีบรรยากาศในภาพเขียนนั้นๆ จะแสดงให้รู้ว่าเป็นภาพตอนเช้า ตอนกลางวัน หรือตอนบ่าย เป็นต้น

2. ในด้านการค้า คือ ทําให้สินค้าสวยงาม น่าซื้อหา นอกจากนี้ยังใช้กับงานโฆษณา เช่น โปสเตอร์ต่างๆช่วยให้จําหน่ายสินค้าได้มากขึ้น

3. ในด้านประสิทธิภาพของการทํางาน เช่น โรงงานอุตสาหกรรม ถ้าทาสีสถานที่ทํางานให้ถูกหลักจิตวิทยา จะเป็นทางหนึ่งที่ช่วยสร้างบรรยากาศให้น่าทํางาน คนงานจะทํางานมากขึ้น มีประสิทธิภาพในการทํางานสูงขึ้น

4. ในด้านการตกแต่ง สีของห้อง และสีของเฟอร์นิเจอร์ ช่วยแก้ปัญหาเรื่องความสว่างของห้อง รวมทั้งความสุขในการใช้ห้อง ถ้าเป็นโรงเรียนเด็กจะเรียนได้ผลดีขึ้น ถ้าเป็นโรงพยาบาลคนไข้จะหายเร็วขึ้นสร้างสรรค์งานออกแบบจะเป็นผู้ที่เกี่ยวข้องกับการใช้สีโดยตรง มัณฑนากรจะคิดค้นสีขึ้นมาเพื่อใช้ในงานตกแต่งคนออกแบบฉากเวทีการแสดงจะคิดค้นสีเกี่ยวกับแสง จิตรกรก็จะคิดค้นสีขึ้นมาระบายให้เหมาะสมกับความคิด และจินตนาการของตน แล้วตัวเราจะคิดค้นสีขึ้นมาเพื่อความงาม ความสุข สําหรับเรามิได้หรือสีที่ใช้สําหรับการออกแบบนั้น ถ้าเราจะใช้ให้เกิดความสวยงามตรงตามความต้องการของเรา มีหลักในการใช้กว้างๆ อยู่ 2 ประการ คือ การใช้สีกลมกลืนกัน และ การใช้สีตัดกัน

1. การใช้สีกลมกลืนกัน

การใช้สีให้กลมกลืนกัน เป็นการใช้สีหรือน้ําหนักของสีให้ใกล้เคียงกัน หรือคล้ายคลึงกัน เช่น การใช้สีแบบเอกรงค์ เป็นการใช้สีสีเดียวที่มีน้ําหนักอ่อนแก่หลายลําดับ

การใช้สีข้างเคียง เป็นการใช้สีที่เคียงกัน 2 – 3 สี ในวงสี เช่น สีแดง สีส้มแดง และสีม่วงแดง การใช้สีใกล้เคียง เป็นการใช้สีที่อยู่เรียงกันในวงสีไม่เกิน 5 สีตลอดจนการใช้สีวรรณะร้อนและวรรณะเย็น (warmtonecolors and cool tone colors) ดังได้กล่าวมาแล้ว

2. การใช้สีตัดกัน สีตัดกันคือสีที่อยู่ตรงข้ามกันในวงจรสี(ดูภาพวงจรสี ด้านซ้ายมือประกอบ) การใช้สีให้ตัดกันมีความจําเป็นมาก ในงานออกแบบ เพราะช่วยให้เกิดความน่าสนใจ ในทันทีที่พบเห็น สีตัดกันอย่างแท้จริงมี อยู่ด้วยกัน 6 คู่สี คือ

1. สีเหลือง ตรงข้ามกับ สีม่วง

2. สีส้ม ตรงข้ามกับ สีน้ำเงิน

3. สีแดง ตรงข้ามกับ สีเขียว

4. สีเหลืองส้ม ตรงขามกับ สีม่วงน้ำเงิน

5. สีส้มแดง ตรงข้ามกับ น้ำเงินเขียว

6. สีม่วงแดง ตรงข้ามกับ สีเหลืองเขียว

ในงานออกแบบ หรือการจัดภาพ หากเรารู้จักใช้สีให้มีสภาพโดยรวมเป็นวรรณะร้อน หรือวรรณะเย็นเราจะ สามารถควบคุม และสร้างสรรค์ผลงานให้เกิดความประสานกลมกลืน งดงามได้ง่ายขึ้น เพราะสีมีอิทธิพลต่อ มวล ปริมาตร และช่องว่าง สีมีคุณสมบัติที่ทําให้เกิดความกลมกลืน หรือขัดแย้งได้ สีสามารถขับเน้นให้เกิดจุดเด่น และการรวมกันให้เกิดเป็นหน่วยเดียวกันได้เราในฐานะผู้ใช้สีต้องนําหลักการต่างๆ ของสีไปประยุกต์ใช้ให้สอดคล้องกับเป้าหมายในงานของเรา เพราะสีมีผลต่อการออกแบบ คือ

1. สร้างความรู้สึก สีให้ความรู้สึกต่อผู้พบเห็นแตกต่างกันไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับประสบการณ์ และภูมิหลังของแต่ละคน สีบางสีสามารถรักษาบําบัดโรคจิตบางชนิดได้ การใช้สีภายใน หรือภายนอกอาคาร จะมีผลในการสร้างบรรยากาศได้

2. สร้างความน่าสนใจ สีมีอิทธิพลต่องานศิลปะการออกแบบ จะช่วยสร้างความประทับใจ และความน่าสนใจเป็นอันดับแรกที่พบเห็น

3. สีบอกสัญลักษณ์ของวัตถุ ซึ่งเกิดจากประสบการณ์ หรือภูมิหลัง เช่น สีแดงสัญลักษณ์ของไฟ หรืออันตราย สีเขียวสัญลักษณ์แทนพืช หรือความปลอดภัย เป็นต้น

4. สีช่วยให้เกิดการรับรู้ และจดจํา งานศิลปะการออกแบบต้องการให้ผู้พบเห็นเกิดการจดจําในรูปแบบ และผลงาน หรือเกิดความประทับใจ การใช้สีจะต้องสะดุดตา และมีเอกภาพแสงและเงา

แสงและเงา

หมายถึงแสงที่ส่องมากระทบพื้นผิวที่มีสีอ่อนแก่และพื้นผิวสูงต่ำ โค้งนู้นเรียบหรือขรุขระทําให้ปรากฏแสงและเงาแตกต่างกันตัวกําหนดระดับของค่าน้ำหนัก ความเข้มของเงาจะขึ้นอยู่กับความเข้มของแสง ในที่ที่มีแสงสว่างมากเงาจะเข้มขึ้น และในที่ที่มีแสงสว่างน้อย เงาจะไม่ชัดเจน ในที่ที่ไม่มีแสงสว่างจะไม่มีเงา และเงาจะอยู่ในทางตรงข้ามกับแสงเสมอ ค่าน้ำหนักของแสงและเงาที่เกิดบนวัตถุ สามารถจําแนกเป็นลักษณะที่ ต่าง ๆ ได้ดังนี้

1. บริเวณแสงสว่างจัด (Hi-light) เป็นบริเวณที่อยู่ใกล้แหล่งกําเนิดแสงมากที่สุด จะมีความสว่างมากที่สุด วัตถุที่มีผิวมันวาวจะสะท้อนแหล่งกําเนิดแสงออกมาให้เห็นได้ชัด

2. บริเวณแสงสว่าง (Light) เป็นบริเวณที่ได้รับแสงสว่าง รองลงมาจากบริเวณแสงสว่าง จัด เนื่องจากอยู่ห่างจากแหล่งกําเนิดแสงออกมา และเริ่มมีค่าน้ำหนักอ่อน ๆ

3. บริเวณเงา (Shade) เป็นบริเวณที่ไม่ได้รับแสงสว่าง หรือเป็นบริเวณที่ถูกบดบังจาก แสงสว่างซึ่งจะมีค่าน้ำหนักเข้มมากขึ้นกว่าบริเวณแสงสว่าง

4. บริเวณเงาเข้มจัด (Hi-Shade) เป็นบริเวณที่อยู่ห่างจากแหล่งกําเนิดแสงมากที่สุด หรือ เป็นบริเวณที่ถูกบดบังหลาย ๆ ชั้น จะมีค่าน้ำหนักที่เข้มมากไปจนถึงเข้มที่สุด

5. บริเวณเงาตกทอด เป็นบริเวณของพื้นหลังที่เงาของวัตถุทาบลงไป เป็นบริเวณเงาที่อยู่ ภายนอกวัตถุและจะมีความเข้มของค่าน้ำหนักขึ้นอยู่กับ ความเข้มของเงา น้ำหนักของพื้นหลัง ทิศทางและระยะของเงา

ความสําคัญของค่าน้ำหนัก

1. ให้ความแตกต่างระหว่างรูปและพื้น หรือรูปทรงกับที่ว่าง

2. ให้ความรู้สึกเคลื่อนไหว

3. ให้ความรู้สึกเป็น 2 มิติ แก่รูปร่าง และความเป็น 3 มิติแก่รูปทรง

4. ทําให้เกิดระยะความตื้น -ลึก และระยะใกล้ -ไกลของภาพ

5. ทําให้เกิดความกลมกลืนประสานกันของภาพ