วัดธรรมรัตน์

งานบุญประจำปีประเพณีวันสาร์ทเดือนสิบ

ประเพณีสารทเดือนสิบ ตรงกับแรม 1 ค่ำ เดือน 10 และ แรม 15 ค่ำ เดือน 10 ของทุกปี ส่วนใหญ่ จะจัดประเพณีสารทเดือนสิบกันที่ ภาคใต้ แต่ที่วัดธรรมรัตน์ อำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จัดขึ้นเพราะว่าพี่น้อง 14 จังหวัดภาคใต้ได้ย้ายถิ่นฐานมาอยู่ที่แหล่งนี้เป็นเวลา ถึง 50 กว่าปีมาแล้ว เมื่อถึงวันงานทำให้ไม่ได้ไปร่วมงาน จึงจัดประเพณีสารทเดือน 10 ขึ้นที่นี่

งานบุญประจำปีประเพณีวันสาร์ทเดือนสิบ ณ วัดธรรมรัตน์ ตำบลทองมงคล อำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ในเดือนกันยายน ของทุกปี ร่วมทอดผ้าป่าสามัคคี ปิดทองรูปเหมือนตาหลวงพร้อม อิสุสวณุโณ สมทบทุนมูลนิธิเพื่อการศึกษาตาหลวงพร้อม สารทเดือนสิบ หนึ่งเดียวในประจวบคีรีขันธ์

ครั้งแรกผู้ที่อพยพ ตั้งถิ่นฐานไม่กี่หลังคาเรือน เวลาผ่านไปหลายปีมีการชักชวนกันมามากขึ้น ปัจจุบัน มีหลายหมู่บ้าน ไม่ว่าจะเป็น หมู่ที่ 7 บ้านศรีนคร หมู่ที่ 1 บ้านคลองเตย ตำบลช้างแรก อำเภอบางสะพานน้อย หมู่ที่ 5 บ้านธรรมรัตน์ ตำบลทองมงคล อำเภอบางสะพาน และ หมู่ที่ 8 บ้านในล็อค อำเภอบางสะพาน บางส่วน พ่อแม่พาลูกหลานมาทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้แก่ดวงวิญญาณของบรรพชนและญาติที่ล่วงลับ ซึ่งได้รับการปล่อยตัวมาจากนรกที่ตนต้องจองจำเนื่องจากผลกรรมที่ตนได้เคยทำไว้ตอนที่ยังมีชีวิตอยู่ขนมที่นำมาทำบุญแต่ละอย่างล้วนมีความหมายในตัวเอง คือ ขนมพอง เป็นสัญลักษณ์แทนแพสำหรับผู้ล่วงลับใช้ล่องข้ามห้วงมหรรณพ ขนมลา แทนเครื่องนุ่งห่มแพรพรรณ ขนมกง หรือ ขนมไข่ปลา แทนเครื่องประดับ ขนมดีซำ แทนเงินเบี้ยสำหรับใช้สอย ขนมบ้า แทนสะบ้าใช้เล่น ในกรณีที่มีขนม 6 อย่าง ก็จะมีขนมลาลอยมัน ซึ่งใช้แทนฟูกหมอน เข้าไปด้วย ส่วนผลไม้ก็จะจัดตามฤดูกาล

การตั้งลานเปรตและชิงเปรตจะกระทำกันในวันยกหมฺรับไปวัด ขนมที่นำมาวัดจะมีขนมพอง ขนมลา ขนมเบซำ และอาจจะมีเป็นผลไม้หรืออาหารแห้งอื่นๆที่บรรพบุรุษที่เป็นเปรตชอบไปวางรวมกันไว้บน "ร้านเปรต" หลังจากนั้นพระสงฆ์ได้ทำพิธีกรรมและกำลังฉันเพล ชาวบ้านก็จะออกมาตักบาตรข้าวสวยและเริ่มชิงเปรตกันซึ่งขั้นตอนนี้ก็จะมีทั้งความชุลมุนและความสนุกสนานผสมกันเป็นที่เฮฮาของบรรดาผู้ที่มาชิงเปรต บางครั้งพระสงฆ์ยังสวดมนต์ยังไม่เสร็จก็มีการชิงกันเกิดขึ้นแล้ว ผู้ที่มาชิงเปรตถือว่าได้บุญไปในตัวด้วย