วัดบ้านทุ่งเคล็ด

ประเภท/กลุ่มข้อมูล (แหล่งท่องเที่ยว)

1.      ประเภท (ข้อมูลเฉพาะ) แหล่งเรียนรู้    วัดบ้านทุ่งเคล็ด  (แหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม

2.      รายละเอียดของแหล่งท่องเที่ยว

           โบสถ์เหรียญบาท วัดทุ่งเคล็ด จากสำนักสงฆ์เล็กๆ บางช่วงถูกปล่อยรกร้าง มีพระธุดงค์เดินไปพบ และปักกลดจำศีล ชาวบ้านพบเห็นเกิดความศรัทธาจึงนิมนต์ให้ช่วยบูรณะสำนักสงฆ์ จนกระทั่งปัจจุบันมีศาสนะสถานหลายอย่าง กลายเป็นวัดทุ่งเคล็ดที่มีพุทธศาสนิกชนแวะเวียนเดินทางไปร่วมงานบุญต่างๆ โดยเฉพาะการสร้างอุโบสถหลังใหญ่ โดยนำเหรียญบาทมาทำฝาผนังเพื่อสร้างประวัติศาสตร์ พระอุโบสถเหรียญบาท แห่งแรกของในประเทศไทย ให้เป็นสถานที่พึ่งทางธรรมในอนาคต และดึงดูดให้ประชาชน นักท่องเที่ยว เข้าวัดทำบุญ โดยต้องใช้เหรียญบาท จำนวน 3 ล้าน 7 แสนเหรียญ

ในอดีตบริเวณที่ใช้สร้างวัดมีต้นเคล็ดอยู่กระจัดกระจายทั่วไป จึงมีชื่อเรียกหมู่บ้านว่า ทุ่งเคล็ด เมื่อประมาณ ปี 2509 เริ่มสร้างเป็นสำนักสงฆ์ โดยที่ดินบริเวณที่สร้างวัดส่วนหนึ่งเป็นที่ดินสาธารณะประโยชน์ของหมู่บ้าน โดยมีหลวงพ่อลาภเป็นเจ้าอาวาส ต่อมาหลาวงพ่อลาภได้สิ้นลง มีเจ้าอาวาสมาแทนหลายรูป และในช่วงหลวงพ่อสงวนเป็นเจ้าอาวาส ในปี 2537 นายเขียว แม่ชุบ ชนะภัย บิดามารดาของตนได้ถวายที่ดินส่วนหนึ่งให้สร้างวัด จึงย้ายสถานที่ตั้งสำนักสงฆ์เข้าไปด้านใน มีการสร้างศาลาหอฉันเป็นหลังแรกเพื่อให้พระภิกษุ และพุทธศาสนิกชนประกอบกิจกรรมทางพุศาสนา เมื่อหลวงพ่อสงวนสิ้น ไม่มีเจ้าอาวาสที่อยู่ประจำวัดจึงถูกปล่อยรกร้าง

ต่อมาชาวบ้านชาวบ้านพบว่ามีพระธุดงค์เดินมาปักกลด 1 องค์ เมื่อสอบถามทราบว่า มาจากวัดมะเดื่อทอง ชาวบ้านจึงนิมนต์ มาช่วยพัฒนาสำนักสงฆ์ตั้งแต่ปี 2547 เป็นต้นมาและได้เริ่มมีการพัฒนาสำนักสงฆ์ได้อย่างรวดเร็ว มีการปรับปรุงศาลาหอฉันหลังเก่า สร้างกุฏิพระภิกษุสงฆ์จำนวน 18 หลัง เพื่อให้พระจำพรรษาและรับรองพระอาคันตุกะ สร้างมณฑปเพื่อเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูป จัดตั้งศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนเพื่อให้ชาวบ้านในพื้นที่ได้มีการศึกษา สร้างโรงอบสมุนไพรเพื่อรักษาสุขภาพและรักษาโรคต่างๆ สร้างโรงครัว ที่พักสำหรับผู้เดินทางมารักษาศีล หรือทำกิจกรรมทางพุทธศาสนา สร้างฌาปนสถาน จนกระทั่งปี 2554 ได้รับการประกาศให้เป็นวัดทุ่งเคล็ด และพระอาจารย์ อาทิตย์ อิสระญาโน (ทรัพย์ประเสริฐ) พระนักพัฒนา ได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาส และเจ้าคณะตำบลนาหูกวาง 

                -  ด้านรูปเคารพและวัตถุมงคล

               -   ด้านสถาปัตยกรรมด้านจิตรกรรมฝาผนังพระอุโบสถจาก “เหรียญบาท” ฝาผนังอาคารเอนกประสงค์ภายในวัดจากสลากกินแบ่งรัฐบาล

               -  ด้านสถานที่ปฏิบัติธรรม

               -   ด้านทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม

               -   ด้านการศึกษา “กศน.ตำบลนาหูกวาง”

3. สถานที่ ที่ตั้ง               วัดบ้านทุ่งเคล็ด   หมู่ที่ 3 บ้านโปร่งแดง ตำบลนาหูกวาง อำเภอทับสะแก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

4.  ผู้บันทึกข้อมูล            นางสาวพรพิมล  เยาวมาลย์   

สถานที่ ที่ตั้ง (พิกัด) ของแหล่งท่องเที่ยว วัดบ้านทุ่งเคล็ด

สื่อประกอบ วัดบ้านทุ่งเคล็ด

ขอขอบคุณสื่อจาก  ThaiCh8 : ช่อง 8