บ้านคลองหอทอง

การเลี้ยงกุ้งขาว ผสม กุ้งก้ามกราม ชุมชนบ้านคลองหอทอง


ชุมชนบ้านคลองหอทอง ตำบลบางเตย อำเภอบ้านสร้าง จังหวัดปราจีนบุรี เป็นชุมชนขนาดกลาง ชาวบ้านส่วนใหญ่มีอาชีพหลัก คือ การทำเกษตรกรรม การทำนา การเลี้ยงปลา และเลี้ยงกุ้ง ซึ่งการเลี้ยงปลา เลี้ยงกุ้ง เป็นอาชีพที่เป็นที่นิยมมากในตำบลบางเตย โดยเฉพาะการเลี้ยงกุ้งขาว และกุ้งก้ามกราม มีผู้ที่ทำอาชีพนี้หลายคนในตำบลบางเตย และตำบลใกล้เคียง จนเกิดแพปลา แพกุ้งขึ้น เพื่อเป็นคัดหรือการเลือกเพื่อการขาย ถือเป็นการเพิ่มรายได้ให้กับชาวบ้านในพื้นที่ตำบลบางเตย ดังเช่นคำขวัญอำเภอบ้านสร้าง หลวงพ่อจาดลือชื่อ ถิ่นระบือกุ้งใหญ่ เสื่อกก เสริมรายได้ทุ่งนาข้าวเรืองรอง กุ้งก็มีอยู่หลายชนิดเช่น
-กุ้งขาว ส่วนใหญ่เป็นกุ้งเลี้ยง บางคนก็เรียกว่า

กุ้งเกษตร หรืออาจเรียกตามชื่อสายพันธ์กุ้ง เช่น กุ้งขาวแวนนาไม เป็นต้น การนำกุ้งขาวมาประกอบอาหาร เช่น ข้าวผัดกุ้ง, กุ้งชุบแป้งทอด,กุ้งคั่วเกลือ และเมนูยำ

-กุ้งก้ามกราม หรือ กุ้งก้ามครามชนิดที่พบในประเทศไทย ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า M. dacqueti ส่วนชนิดที่ใช้ชื่อว่า M. rosenbergii เป็นชนิดที่พบในภูมิภาคปาปัวนิวกินี แต่ปัจจุบันถือว่าเป็นชนิดเดียวกันกุ้งก้ามกรามมีความยาวประมาณ 13 เซนติเมตร พบใหญ่สุดถึง 1 ฟุต น้ำหนักราว 1 กิโลกรัม เพราะเนื้อมีมาก เนื้อแน่น มัน อร่อย ทำให้มีราคาที่ขายสูง ปัจจุบันยังนิยมเลี้ยงเป็นสัตว์เศรษฐกิจด้วย กุ้งก้ามกรามมีชื่อเรียกที่ต่างออกไปมากมาย เช่น "กุ้งแม่น้ำ", "กุ้งหลวง" ขณะที่กุ้งตัวเมียที่มีขนาดลำตัวเล็กกว่า เรียก "กุ้งนาง" เป็นต้น เมนูที่เหมาะในการทำอาหาร เช่น กุ้งต้มยำ,กุ้งเผา,กุ้งชุบแป้งทอด

-กุ้งแชบ๊วย เป็นกุ้งธรรมชาติที่เติบโตในทะเลลำตัวสีขาวขุ่นอมเหลือง ขาสีเหลือง เนื้อแน่นกว่ากุ้งขาวเกษตร ราคาสูงกว่า ขนาดที่พบมีตั้งแต่ใหญ่ขนาดเท่าฝ่ามือไปจนถึงขนาดเล็ก มักนิยมใช้ในภัตคารอาหารจีน เนื้อแน่น

สับแล้วจะเหนียว เลยมักนิยมใช้ในเมนูติ่มซำ เมนูที่เหมาะในการทำอาหาร เช่น กุ้งอบวุ้นเส้น,กุ้งเผา,กุ้งชุบแป้งทอด

-กุ้งลายเสือ ลำตัวสีน้ำตาล มแถบสีน้ำตาลพาดขวางบ้าง น้ำตาลอมแดงบ้าง กุ้งลายเสือส่วนใหญ่เป็นกุ้งธรรมชาติเนื่องจากเลี้ยงได้ยากพบได้ตั้งแต่บริเวณชายฝั่งถึงระดับน้ำทะเลลึก มีขนาดใหญ่ตั้งแต่เกือบ 1 ฟุต ไปจนถึงขนาดเล็ก บางคนก็จะเรียกว่ากุ้งสายพันธุ์ที่มีขนาดใหญ่มากหรือเป็นกุ้งเลี้ยงเรียกว่า

”กุ้งกุลาดำ”กุ้งลายเสือมีไขมันอิ่มตัวน้อย มีโอเมกา 3 เยอะ

การเตรียมน้ำก่อนลงกุ้ง

บ่อเลี้ยงกุ้ง

ดึงน้ำเข้าบ่อเลี้ยง โดยผ่านการกรองละเอียดโดยใช้ถุงกรองผ้าป่านใยแก้ว 4 ชั้น และกำจัดพาหะ โดยใช้ คลอรีน60% 50 กก./ ไร่ นำคลอรีนใส่ถัง กวนจนคลอรีนละลายแล้ว เทลงบ่อเลี้ยงเคล้าให้ทั่วทั้งบ่อ เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพ ที่ดีที่สุดควรใส่ช่วงเย็น ที่ค่า pH 7.3-7.8 หรือใช้ไตรคลอร์ฟอน 1-1.5 กก./ไร่ ละลายไตรคลอร์ฟอนเช่นเดียวกับคลอรีน เทลงบ่อเลี้ยงเคล้าให้ทั่วทั้งบ่อ ใส่ช่วงบ่าย ที่มีค่า pH 7.8 ขึ้นไป จากนั้นทำการเบื่อปลาโดยใช้ กากชา 20-30 กก./ไร่ หรือน้ำกากชา 10-20 กก./ไร่ โดยใช้กากชากำจัดพวกซูโอแทมเนียม โปรโตซัว หอยเจดีย์

ทำสีน้ำ

การใช้ปุ๋ยเคมี เมื่อทำการฆ่าเชื้อโรคและตากบ่อเรียบร้อยแล้ว หลังจากนั้นก็ทำการใส่ปุ๋ยเคมี 0.8-1.6 กก./ไร่ ใส่ทุก 3 วัน จนกว่าสีน้ำจะเป็นสีเขียว ก็สามารถปล่อยกุ้งได้เลย การใช้สีน้ำเทียม ในการทำสีน้ำก่อนการปล่อยกุ้ง 1 วัน เพื่อช่วยพรางแสงจะป้องกันให้กุ้งไม่เกิดการตื่นกลัว และเครียดจนเกินไป เนื่องจากถ้าน้ำใส นกและนักล่าก็จะมองเห็นลงมากินกุ้งในบ่อได้ และกรณีของการเลี้ยงกุ้งก้ามกราม กุ้งกุลาดำ และกุ้งขาวที่ปล่อยในระดับน้ำตื้น เมื่อเจอแดดจัดในตอนกลางวันจะทำให้พื้นก้นบ่อมีความร้อนเพิ่มขึ้น ดังนั้นควรจะทำสีน้ำให้มีสีเขียวแกมน้ำเงินหรือสีเขียว

อาชีพเลี้ยงกุ้งขาวผสมกุ้งก้ามกรามในตำบลบางเตยนั้นถือว่าเป็นอาชีพที่สร้างรายได้ให้กับชาวบ้านชุนชนบ้านคลองหอทองตำบลบางเตยเป็นอย่างมากถ้าหากได้มีการแปรรูปกุ้งเป็นสินค้าขึ้นชื่อของตำบลบางเตยให้น่าสนใจและนำส่งออกสู่ตลาดรับรองว่าสร้างมูลค่าได้มากมายแก่ชาวบ้านชุมชนบ้านคลองหอทอง ตำบลบางเตยได้อย่างแน่นอนครับ

ผู้ให้ข้อมูล นางบุญถึง สังข์สี

ผู้เรียบเรียง นายวิสูทธ์ สังข์สี
แหล่งที่มา TAGS:
SMART FARM, https://th.wikipedia.org/wiki, สมาร์ทฟาร์ม, ป้าติ๋มฟาร์ม