การปลูกข้าวไรซ์เบอร์รี่แบบอินทรีย์
ชุมชนบ้านคลองหอทอง ตำบลบางเตย

ชุมชนบ้านคลองหอทอง ตำบลบางเตย อำเภอบ้านสร้าง จังหวัดปราจีนบุรี เป็นชุมชนขนาดกลาง ชาวบ้านส่วนใหญ่มีอาชีพหลัก คือ การทำเกษตรกรรม การทำนา การเลี้ยงปลา และเลี้ยงกุ้ง ด้วยปัญหาราคาข้าวขาว ราคาตกต่ำ เกษตรกรในชุมชนบ้านคลองหอทอง จำหันมาปลูกข้าวเศรษฐกิจที่มีราคาสูงในท้องตลาด คือข้าวไรซ์เบอร์รี่ ซึ่งถือเป็นการเพิ่มรายได้ให้กับชาวบ้านในพื้นที่ชุมขนบ้านคลองหอทอง ตำบลบางเตย ที่หันมาปลูกข้าวไรซ์เบอร์รีแบบอินทรีย์ ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง “เศรษฐกิจพอเพียง” เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสชี้แนะแนวทางการดำเนินชีวิตแก่ปวงชนชาวไทยมาโดยตลอดนานกว่า 26 ปี ตั้งแต่ก่อนเกิดวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจและเมื่อภายหลังได้ทรงเน้นย้ำแนวทางการแก้ไขเพื่อให้รอดพ้นและสามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคง ยั่งยืน ภายใต้กระแส โลกาภิวัตน์ และการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงจึงสามารถประยุกต์ใช้เป็นพื้นฐานบริหาร และพัฒนาประเทศได้ในทุกภาคการผลิตรวมทั้งเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตและปฏิบัติงานของคนไทย ทั้งใน ระดับบุคคล ครอบครัว ชุมชน และสังคม


การปลูกข้าวไรซ์เบอร์รี่ ในกลุ่มผู้บริโภค หรือชาวนามือใหม่ที่หันมาปลูกข้าวไรซ์เบอร์รี่กันในปัจจุบัน ด้วยความรักสุขภาพ ข้าวไรซ์เบอร์รี่มีคุณประโยชน์สูง แต่มีราคาสูงตามไปด้วย เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้มีผู้คนสนใจ หันมาปลูกข้าวไรซ์เบอร์รี่ไว้รับประทานกันเอง ทั้งในที่นาสำหรับคนที่มีพื้นที่ และในยางรถยนต์เก่า หรือวงบ่อซีเมนต์ สำหรับคนที่มีพื้นที่น้อย ถึงแม้ว่า ข้าวไรซ์เบอร์รี่จะเริ่มเป็นที่รู้จักกันมากขึ้น ทั้งในและต่างประเทศ ไม่เป็นที่นิยมเพาะปลูกในกลุ่มเกษตรกรมากนัก เนื่องจากเป็นสายพันธุ์ข้าวที่ดูแลรักษายาก ต้องได้รับการเอาใจใส่เป็นพิเศษ ต้องปลูกแบบเกษตรอินทรีย์ ซึ่งสภาวะแวดล้อมของพื้นที่เพาะปลูกก็บีบบังคับหากที่นาข้างเคียงยังมีการใช้สารเคมีอยู่ การเกษตรแบบอินทรีย์ก็เป็นไปค่อนข้างยาก รวมไปถึงสภาพอากาศที่ไม่เหมาะสมในบางพื้นที่ ซึ่งลักษณะภูมิประเทศและภูมิอากาศที่เหมาะสมกับการปลูกข้าวไรซ์เบอรี่ในระบบเกษตรอินทรีย์

ดังเช่นคำขวัญอำเภอบ้านสร้าง หลวงพ่อจาดลือชื่อ ถิ่นระบือกุ้งใหญ่ เสื่อกกเสริมรายได้ ทุ่งนาข้าวเรืองรอง


สามารถปลูกได้ตลอดทั้งปี มีอายุเก็บเกี่ยว 130 วัน ให้ผลผลิตปานกลาง มีความสามารถต้านทานต่อโรคไหม้ แต่ไม่ต้านทานโรคหลาว

จึงแนะนำให้เปลี่ยนเมล็ดพันธุ์ทุกรอบของการปลูก เกษตรกรที่สนใจปลูกข้าวไรซ์เบอร์รี่ แนะนำให้ปลูกด้วยการโยนกล้า หรือปักดำ เนื่องจากการปลูกข้าวไรซ์เบอร์รี่เป็นการปลูกแบบปลอดสารเคมีทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็น สารเคมีกำจัดศัตรูพืช, ปุ๋ยเคมี หรือฮอร์โมนต่างๆ ซึ่งถ้าปลูกด้วยวิธีการหว่าน จะทำให้ดูแลรักษาได้ยาก ป้องกันโรคและแมลงก็ยาก ผลผลิตที่ได้ก็ไม่ดี เริ่มต้นที่ การเลือกพื้นที่ปลูก ดินมีความอุดมสมบูรณ์โดยธรรมชาติ ปราศจากสารพิษ พื้นที่ปลูกควรปราศจากมลพิษทางอากาศด้วย ปลูกพืชกันชนล้อมรอบแปลงนา และอยู่ใกล้แหล่งน้ำสะอาด การเลือกใช้พันธุ์ข้าว ใช้เมล็ดพันธุ์ที่ได้รับการอนุญาตจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ผู้ให้ข้อมูล นายวิสูทธ์ สังข์สี

ผู้เรียบเรียง นายวิสูทธ์ สังข์สี แหล่งที่มา http://www.riceberryvalley.org/ http://www.brrd.in.th, www.youtube.com, www.starpluscity.com, www.phupassara.com ,เพจ กศน.ตำบลบางเตย