ศาลเจ้าแม่ม่าจ้อโป๋ จังหวัดพังงา

ประวัติ ความเป็นมาของศาลเจ้าแม่ม่าจ้อโป๋ จังหวัดพังงา

ศาลเจ้า (อ๊าม) เจ้าแม่ม่าจ้อโป๋ หลังแรก ได้จัดสร้างขึ้นพร้อมกับการสร้างเมืองพังงา ในราว พ.ศ. ๒๓๕๒ (เริ่มก่อตั้งเมืองพังงา) ซึ่งหลักฐานอ้างอิงมาจาก หนังสือ “เสด็จประพาสรอบแหลมมลายู เล่ม ๑ พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕” เสด็จประพาสคราว ร.ศ. ๑๐๙ (พ.ศ. ๒๔๓๓) เสด็จโดยเรือพระที่นั่งอุบลบุรพทิศเป็นเรือพระที่นั่ง โดยเสด็จจากสมุทรปราการ - ชุมพร - กระบุรี - มลิวัน - ระนอง - ภูเก็ต - พังงา - เกาะตะรูเตา(แขวงเมืองไทรบุรี) - ลังกาวี - เกาะปีนัง - มะละกา - สิงคโปร์ - ปาหัง - ตรังกานู - กลันตัน - สงขลา - หมู่เกาะช่องอ่างทอง - เกาะสมุย - เกาะพะงัน - ชุมพร - สามร้อยยอด - ปากน้ำ ซึ่งจะขออัญเชิญมาในตอนหนึ่ง ความว่า “ ถึงปากคลองบางเตย ข้างขวามือเรือไฟไปไม่ได้ ต้องตีกรรเชียง ถึงหัวเขากะท้อย น้ำแห้งมาก ติดร่ำไป ภายหลังต้องลงเข็น พระยาบริรักษ์ ลงมารับหาคนมาเข็นเรือเพราะเห็นว่าขึ้นไปช้าเกินไปทั้งคูเขากันเต็มที่ แต่ฝนตกไม่หยุดตั้งแต่ลงเรือมาประเดี่ยวกราว ประเดี๋ยวกราว ถึงรินโรยอยู่นาน ๆ ก็มีการที่สังเกต จำว่า เขาสูงเป็นกำแพง และที่เพิงอย่างพุตุ๊กตานั้น ก็เป็นอันจริง แต่เพิ่งเล็กไปกว่าจำไว้กว่าครึ่งนึงก่อน เป็นโทษแห่งสัญญาอนิจจาแท้ และมี ๒ แห่งขึ้นด้วยที่เขาขาดเข้าไปนั้นขาดตัดตรงไปเป็นเพิง และมีน้ำหยดด้วย เห็นจะเป็นน้ำฝนที่ตก ๆ ในหมู่นี้เอง เพราะเขาเทือกนี้ บางชั้นไม่มีซอกเขา ที่จะขังน้ำอยู่นาน จึงตกอาบหน้าเขาลงมาโดยเร็ว แต่เรื่องเผียงผานั้นหนักใจว่าจะเฟือนหรือไม่ลองถามใคร ๆดูเขาก็ว่ามีจริง มีอะไรเชิงเขาอยู่หลังหนึ่ง เห็นมีป้ายหนังสือจีน และผ้าแดง

อะไร ๆ เครื่องศาลเจ้าเจ๊ก อยู่ที่นั่น”ต่อมาได้เกิดอัคคีภัยครั้งร้ายแรงที่สุด บ้านเรือนถูกไฟไหม้เสียหายเกือบทั้งหมดรวมทั้งศาลเจ้าแม่ม่าจ้อโป๋ด้วย (แต่เป็นที่น่าแปลกใจที่กิ้มซิ้นม่าจ้อโป๋ไม่ได้ไหม้ไฟไปด้วย) สุดปัญญาของประชาชนที่จะซ่อมแซมแก้ไขประชาชนจึงอพยพขึ้นไปอยู่ไกล้ภูเขาและวัดควน (วัดประชุมโยธี)

เมื่อถึงฤดูฝน ในปีนั้น ฝนก็ตกลงมาอย่างหนักทำให้น้ำท่วมในบริเวณตลาดเก่า ถูกไฟไหม้ จึงทำให้รูปเคารพของเจ้าแม่ม่าจ้อโป๋ ซึ่งอยู่ในศาลเจ้าหลังเก่า ลอยตามกระแสน้ำ ลงไปในคลองสาขาของคลองพังงา ด้านทิศใต้ (ปัจจุบันโดนทับถมไปหมดแล้ว) และจากการบอกกล่าวจากผู้เฒ่าผู้แก่ ซึ่งเล่าขานต่อ ๆ กันมาว่า เจ้าแม่ม่าจ้อโป๋ท่านได้ไปเข้าฝันชาวบ้านคนนึง ว่าท่านต้องการจะมาอยู่ ณ สถานที่แห่งใหม่ ขอให้รวบรวมผู้ที่มีศรัทธา สร้างศาลเจ้าให้ท่าน ณ ที่บริเวณนั้น ในรุ่งเช้า ชาวบ้านคนนั้นก็ได้ ก็ได้เดินออกค้นหาบริเวณริมคลองสาขาของคลองพังงา ซึ่งในสมัยก่อน กว้างขวางและมีขนาดใหญ่ หลังจากค้นหาอยู่หลายวัน ก็ไปพบกันจุดที่มีน้ำหมุนวนตามที่ตนเองฝันได้พบกับรูปเคารพ (กิ้มซิ้น) ขององค์เจ้าแม่ม่าจ้อโป๋จริง ๆ จึงได้เล่าความฝันของตนเองให้ชาวบ้านในตลาดเมืองได้รับรู้รับฟัง พร้อมกับชักชวนให้ร่วมกันสร้างอ๊ามม่าจ้อโป๋ ซึ่งเดิมเป็นที่พักของนักเดินทาง (หลังที่ ๒) และได้ต่อเติมขยายเพิ่มเติม โดยคำบอกเล่าของผู้เฒ่าผู้แก่บอกว่า ในส่วนของโครงหลังคานั้นสร้างมาจากเมืองจีน และบรรทุกใส่เรือสำเภามาก่อศาลตัวศาลเจ้า จนเป็นตัวอาคารศาลเจ้าตั้งอยู่ ณ ที่ตั้งในปัจจุบัน (หลังที่ ) ศาลเจ้าแม่ม่าจ้อโป๋ เป็นศาลเจ้าแห่งเดียวในฝั่งทะเลอันดามัน ที่ได้รับพระมหากรุณาธิคุณ ฯ โปรดเกล้าพระราชทาน ”กระถางธูปจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ สลักพระปรมาภิไธยย่อของรัชกาลที่ ” ซึ่งได้ถวายมาเป็นเครื่องสังเค็ด (เครื่องทานวัตถุ) และได้รับการขึ้นทะเบียนจากกรมศิลปากรให้เป็นโบราณสถานที่สำคัญประจำจังหวัดพังงา


ข้อมูลจาก http://www.openphuketmag.com/2018/10/12

https://www.touronthai.com/travelguide/placeinfo.php?id=20116