ประเพณีและวัฒนธรรมภูไท 

ประเพณีและวัฒนธรรมภูไท บ้านเกาะกระทิง หมู่ที่ 13 ตำบลคลองตะเกรา อำเภอท่าตะเกียบ อำเภอท่าตะเกียบ จังหวัดฉะเชิงเทรา  ร่วมงานสืบสานวัฒนธรรมภูไท ม. 13 บ้านเกาะกระทิง ต.คลองตะเกรา อ.ท่าตะเกียบ จ.ฉะเชิงเทรา โดยมีการทำผ้าป่าสามัคคี มีการออกร้านค้าชุมชน มีสินค้าพื้นถิ่นชาวภูไท รวมถึงการนำเอาอาหารมากมายหลากหลายมาเป็นโรงทาน รับประทานฟรี วันนี้จะเห็นรอยยิ้มของชาวภูไท ออกมาม่วนชื่นกัน ซึ่งถือได้ว่าเป็นอีกหนึ่งวัฒนธรรมดีงามที่ถึงแม้ชาวบ้านจะย้ายถิ่นฐานหรืออพยพมาจากทางอีสาน คือ จ.ร้อยเอ็ด จ.มุกดาหาร จ.นครพนม มาสู่ ภาคตะวันออกคือ ที่บ้านเกาะกระทิง และบ้านทุ่งส่าย ต.คลองตะเกรา อ.ท่าตะเกียบ จ.ฉะเชิงเทรา ก็มิเคยลืมวัฒนธรรมภูไทที่ดีงามตนเอง ซึ่งทางผู้ใหญ่สมหมาย ชินนะหง เป็นผู้นำทางการอนุรักษ์วัฒนธรรมภูไท กล่าวว่าจะสืบสานให้สู่รุ่นลูกหลานสืบไป พร้อมเน้นว่าจะมีการร่วมสร้างตลาดสินค้านวัตกรรมโอท็อป โดยชาวภูไทของทั้งสองหมู่บ้านคือบ้านเกาะกระทิง กับบ้านทุ่งส่าย และมีการทำตลาดน้ำ เช่นเสื้อทอจากมือ ไม้กวาด กระเป๋า ปลาร้า ปลาเค็ม เสื่อ และอีกมากมาย โดยลักษณะทางสังคม ชาวภูไท(ผู้ไทย) เป็นกลุ่มที่มีความขยัน และอดออมเป็นพิเศษ และมีวัฒนธรรมในเรื่องการถักทอเสื้อผ้าเด่นชัด จึงปรากฎเสื้อผ้าชนิดต่างๆ ทั้งฝ้าฝ้าย ผ้าไหมในกลุ่มชาวภูไท(ผู้ไทย) โดยเฉพาะผ้าแพรวานับว่ามีวัฒนธรรมเรื่องเสื้อผ้าเด่นชัดมาก ผ้าซิ่น วัฒนธรรมของกลุ่มภูไทที่เด่นชัด คือ การทอผ้าซิ่นหมี่ตีนต่อเป็นผืนเดียวกับผ้าผืน เช่น ตีนต่อขนาดเล็ก กว้าง 4 ถึง 5 นิ้ว (มือ) ที่เรียกว่า ตีนเต๊าะ เป็นที่นิยมในหมู่ภูไท ทอเป็นหมี่สาด มีหม้อย้อมคราม จนเป็นสีครามเกือบเป็นสีดำ แต่ชาวบ้านเรียกว่า?ผ้าดำ? หรือซิ่นดำ ลักษณะเด่นของซิ่นหมี่ชาวภูไท คือการทอและลวดลาย เช่น ทอเป็นลายขนาดเล็กๆ นอกจากนี้มีลายอื่น ๆ เช่น หมี่ปลา หมี่ตุ้ม หมี่กระจัง หมี่ข้อ ทำเป็นหมี่คั่น มิได้ทอเป็นหมี่ทั้งผืน แต่หากมีลายต่าง ๆ มาคั่นไว้ สีที่นิยมคือ สีเขียว สีน้ำเงิน สีแดง สีม่วง พื้นมักใช้เครือหูกฝ้ายสีเปลือกอ้อย นอกจากนี้ยังพบผ้ามัดหมี่ฝ้ายขาวสลับดำในกลุ่มผู้ไทย เสื้อ นิยมทำเป็นเสื้อแขนกระบอกสามส่วนติดกระดุมธรรมดา กระดุมเงิน หรือเหรียญสตางค์ เช่น เหรียญสตางค์ห้า สตางค์สิบ มาติดเรียงเป็นแถว นิยมใช้เป็นผ้าย้อม ครามเข้มใน ราว พ.ศ. 2480 โดยมีผู้นำผ้าขลิบแดงติดชายเสื้อ เช่น ที่คอสาบเสื้อปลายแขนเพื่อใช้ในการฟ้อนภูไทสกลนคร และใช้กันมาจนถึงปัจจุบัน ผ้าห่ม การทอผ้าผืนเล็ก ๆ เป็นวัฒนธรรมของชาวกลุ่มพื้นอีสานมานานแล้วผ้าห่มใช้สำหรับห่มแทนเสื้อกันหนาว ใช้คลุมไหล่ เช่นเดียวกับไทยลาวที่นิยมใช้ผ้าขาวม้าพาดไหล่ ผ้าห่มของกลุ่มชนต่าง ๆ ในเวลาต่อมามีขนาดเล็ก ทำเป็นผ้าสไบเป็นส่วนแทนประโยชน์ใช้สอย เดิมคือห่มกันหนาว หรือปกปิดร่างกายส่วนบน โดยการห่มทับเสื้อ ผ้าห่มของภูไทที่เรียกว่า ผ้าจ่อง เป็นผ้าทอด้ายยืน มีเครื่องลาย เครื่องพื้นหลายแบบนอกจากนี้ยังมีผ้าแพรวานอกจากผ้าจ่องแล้ว ชาวภูไทยังมีผ้าลาย ซึ่งใช้เป็นผ้ากั้นห้อง หรือใช้ห่มแทนเสื้อกันหนาวหรือต่อกลาง 2 ผืน เป็นผ้าห่มขนาดใหญ่พอสมควร แต่ผ้าลายที่มีชื่อคือผ้าลายบ้านนางอย อำเภอเต่างอย จังหวัดสกลนคร การแต่งกายของชาวภูไท ยังนิยมสายสร้อยคอ สร้อยข้อมือ ข้อเท้า (ก้องแขน ก้องขา) ทำด้วยโลหะเงิน เกล้าผมเป็นมวยสูงตั้งตรงในสมัยโบราณใช้ผ้ามนหรือแพรมน ทำเป็นผ้าสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ ม้วนผูกมวยผมอวดลายผ้าด้านหลังใน ปัจจุบันใช้ผ้าแถบเล็ก ๆ สีแดงผูกแทนแพรมนทำเป็นผ้าสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ ม้วนผูกมวยผมอวดลายผ้าด้านหลังใน ปัจจุบันใช้ผ้าแถบเล็ก ๆ สีแดงผูกแทนแพรม

(ข้อมูล: ชุมชนภูไท)