พิธีบวชป่า

ขอบคุณภาพจาก เทศบาลตำบลศรีบัวบาน

พิธีบวชต้นไม้หรือการบวชป่า 

สืบสานประเพณี การบวชป่า : บวชต้นไม้

พิธีบวชต้นไม้” มีวิธีคิดและวิธีการปฏิบัติคล้ายคลึงกับ “พิธีสืบชะตาแม่น้ำ หรือ คน” ด้วยการต่ออายุให้เจริญยั่งยืนสืบไป

พิธีบวชต้นไม้พิธีบวชต้นไม้พิธีบวชต้นไม้พิธีบวชต้นไม้พิธีบวชต้นไม้

ช่วงเวลา ทำได้ตลอดปี แต่มักจะทำพิธีในช่วงฤดูแล้ง

***สืบสานประเพณี การบวชป่า : บวชต้นไม้

พิธีบวชต้นไม้” มีวิธีคิดและวิธีการปฏิบัติคล้ายคลึงกับ “พิธีสืบชะตาแม่น้ำ หรือ คน” ด้วยการต่ออายุให้เจริญยั่งยืนสืบไป 

พิธีบวชต้นไม้หรือพิธีบวชป่าเป็นพิธี ที่ยังคงสืบทอดประเพณีมาถึงปัจจุบัน  มีการประกอบพิธีบวชต้นไม้ ต้นไม้ที่มีอายุยาวนาน หลายปี 

ในด้านกุศโลบาย ในการักษาป่าของชาวบ้าน ความเชื่อว่าป่าเขาล้วนแต่มีผีปกปักรักษา มิให้ใครมารุกล้ำทำลาย พิธีกรรมที่หลากหลาย อาทิ การเลี้ยงผีขุนน้ำ ผีเจ้าป่าเจ้าเขา ปลูกฝังให้คนต้นน้ำไห้มีจิตใจรักษาป่าและน้ำของเขาไว้ พิธีการบวชต้นไม้ หรือบวชป่าก็เป็นเช่นเดียวกัน

“พิธีบวชต้นไม้” มีวิธีคิดและวิธีการปฏิบัติคล้ายคลึงกับ “พิธีสืบชะตาแม่น้ำ หรือ คน” ด้วยการต่ออายุให้เจริญยั่งยืนสืบไปตามคติความเชื่อ  ส่วนที่มาของการ “บวชป่า” มาจากวิธีการห่มจีวรให้กับต้นไม้เช่นเดียวกับการบวชพระ ส่งผลให้สถานภาพของคนและต้นไม้เปลี่ยนไป นับเป็นการนำความเชื่อทางศาสนามาประยุกต์ใช้ในการดูแลรักษาป่าต้นน้ำ

ขั้นตอนและวิธีการบวชต้นไม้  นิยมทำกันเหมือนงานบุญทั่วไป โดยเจ้าพิธีจะใช้สายสิญจน์ล้อมอาณาบริเวณที่จะบวชต้นไม้ แล้วนิมนต์พระสงฆ์มาสวดมนต์ เพื่อเป็นสิริมงคลต่อชาวบ้านและต้นไม้ที่จะทำพิธี

เจ้าพิธีจะจึงนำจีวรมีเตรียมไว้ไปห่มให้กับต้นไม้ เป็นอันเสร็จพิธี

การบวชให้ต้นไม้ใดบ้าง ก็ขึ้นอยู่กับความเชื่อและเจตนาของชุมชนเอง บวชได้ตั้งแต่ต้นไม้ขนาดเล็ก กลาง ใหญ่ แต่ส่วนมากจะเน้นต้นไม้ที่ขนาดใหญ่ มีความสำคัญต่อการดำรงชีพของสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศ สิ่งแวดล้อม แม้กระทั่งต้นไม้ในป่าที่ผ่านการรุกทำลาย เพราะจะสามารถฟื้นคืนสภาพเป็นป่าสมบูรณ์ได้ในเวลาเพียงไม่กี่ปี ถ้าไม่ถูกรบกวนอีก

           ชาวบ้านเชื่อว่า ผืนป่าที่ผ่านพิธีบวช เป็นเสมือนดินแดนอันศักดิ์สิทธิ์ ไม่ว่าผู้ใดก็ไม่อาจเข้าไปทำลายได้ ทำให้ต้นไม้มีโอกาสเติบโต และสายน้ำที่เกิดจากป่าต้นน้ำ ก็จะฟื้นคืนชีวิตอีกครั้งหนึ่ง

        การบวชป่าถือเป็นความร่วมมือกันของคนในชุมชน ที่ร่วมมือร่วมแรงร่วมใจกัน ในการดูแลรักษาป่าและแหล่งต้นน้ำลำธารด้วย  

ความสำคัญ

๑.เป็นการยับยั้งการทำลายธรรมชาติและช่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

๒.เป็นการรักษาป่าไม้ที่เป็นต้นน้ำลำธารให้อุดมสมบูรณ์

๓.สร้างความสำนึกให้แก่ชุมชนในการดูแลรักษาสภาพธรรมชาติ

พิธีกรรม

๑.สำรวจต้นไม้ที่มีขนาดใหญ่และเกรงว่าน่าจะถูกลักลอบตัด

๒.เชิญชวนชาวบ้านให้ร่วมมือกันจัดเตรียมเครื่องเซ่นสังเวยเจ้าป่าเจ้าเขาซึ่งมีข้าวเหนียวสุก ๑ ปั้นกล้วยสุก ๑ ลูก และหมากคำ พลูใบ

๓.เตรียมเครื่องบวชมีผ้าเหลืองตามจำนวนต้นไม้ ด้ายสายสิญจน์ บาตรน้ำมนต์ น้ำขมิ้นส้มป่อย จัดสร้างศาลเพียงตา สำหรับอัญเชิญรุกขเทวดามาอาศัยเฝ้าต้นไม้

๔.เมื่อถึงวันกระทำพิธีก็โยงด้ายสายสิญจน์ไปตามป่าและต้นไม้วกกลับมายังสถานที่ประกอบพิธี

๕.พิธีกรรมจะเริ่มจากปู่อาจารย์ที่เป็นหมอเวทมนต์ ทำพิธีเซ่นสังเวย เช่น เทพารักษ์ ผีป่า ผีเขา ให้รับรู้และให้มาอยู่ในป่าไม้ ดูแลต้นไม้หากมีผู้ใดมาตัดไม้ ทำลายป่า ขอให้ผู้นั้นมีอันเป็นไปต่าง ๆ จากนั้นก็บอกแม่ธรณีโดยใช้หมากพลูตามประเพณี เมื่อเสร็จพิธีเซ่นสังเวยแล้ว ก็เป็นพิธีสงฆ์ เริ่มจากไหว้พระสมาทานศีลอาราธนาพระปริด พระสงฆ์เจิมพระพุทธมนต์ เสร็จแล้วพระสงฆ์จะห่มผ้าเหลืองให้ต้นไม้ พระสงฆ์เจริญชัยมงคลคาถา จากนั้นประพรมน้ำพระพุทธมนต์ตามต้นไม้ที่บวชไว้ เป็นเสร็จพิธี

ดังนั้น...พิธีบวชป่าจึงเป็นถือเป็นการอนุรักษณ์ป่า เพื่อเป็นป่าที่สมบรูณ์ในอนาคต