ดาราศาสตร์

ประวัติศาสตร์การศึกษาดาราศาสตร์

1. ดาราศาสตร์สากล

วิชาดาราศาสตร์ เป็นวิชาแขนงหนึ่งทางวิทยาศาสตร์ที่มีการศึกษามาอย่างยาวนาน ตั้งแต่สมัยมนุษย์ดำรงอยู่กันเป็นกลุ่มหรือเผ่าพันธุ์ ซึ่งอาจจะมีอารยธรรมของแต่ละเผ่าที่แตกต่างกันออกไป ต่างก็ใช้ความรู้ในการสังเกตการเคลื่อนที่ของดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ในการกำหนดวันในแต่ละช่วงปี และการกำหนดฤดูกาลของคนในสมัยก่อน ที่อาจจะทำให้มนุษย์ในแต่ละพงศ์พันธุ์ มีความเกรงกลัวต่อภัยธรรมชาติ เชื่อว่าสิ่งนั้นเกิดจากฝีมือของเทพพระเจ้าที่อาศัยอยู่บนท้องฟ้า ซึ่งจะนำมาการบูชายัญ ให้เทพเจ้าหลายองค์ อย่าง เทพแห่งดวงจันทร์ เทพแห่งดวงอาทิตย์ เป็นต้น

การพัฒนาวิชาดาราศาสตร์มีมาอย่างต่อเนื่อง แม้จะเริ่มต้นด้วยการสังเกตของผู้นำกลุ่ม และการนำมาเขียนเป็นตำราหรือการสอนสู่ลูกศิษย์ ในหลายรุ่นอย่างยุคสมัยกรีก-โรมัน ที่มีการสอนหลักวิทยาศาสตร์ในหลายรูปแบบ และอีกวิขาหนึ่งที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างตลอดเวลา อย่างวิชาการเคลื่อนที่ของดวงดาว ในอดีตอริสโตเติล (Aristotle) นักปราชญ์ชาวกรีก ได้นิยามว่า โลกเป็นจุดศูนย์กลางของดวงดาวต่างๆ บนท้องฟ้า ทำให้เราค้นพบดวงดาวต่างๆ ที่ใช้กันอยู่ทุกวันตามวันเวลาของเราในหนึ่งสัปดาห์ ดังตารางที่ 1

และมีการสอนมาอย่างยาวนาน จนถึงการพัฒนาแนวคิดของนักวิทยาศาสตร์อย่าง นิโคลัส โคเปอร์นิคัส (Nicolaus Copernicus) ที่ได้เปลี่ยนแปลงแนวคิดของอริสโตเติล ด้วยการนิยามการโคจรของดวงดาวต่างๆ มีดวงอาทิตย์เป็นจุดศูนย์กลาง ซึ่งทฤษฎีนี้มีนามว่า ทฤษฏีดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลาง (Heliocentric Theory) ในหนังสือ การโคจรของวัตถุท้องฟ้า (The Revolutions of the Heavenly Bodies) ซึ่งเป็นยุคแห่งการเริ่มต้นการต่อต้านหลักความเชื่อของศาสนาคริสต์ จนทำให้กาลิเลโอ กาลิเลอิ (Galileo Galilei) ต้องถูกจำคุกในบ้านของตนเอง ด้วยข้อหาก่อตั้งแนวคิดของลัทธิเทียมเท็จ ถึงว่าวิชาดาราศาสตร์จะมีความเชื่อมาอย่างยาวนานตั้งแต่ยุคสมัยกรีก แต่ก็มีข่วงเวลาที่หายไปของวิชาดาราศาสตร์ ด้วยการก่อสงครามชิงดินแดนของผู้คนในแต่ละกลุ่มที่ต้องขยายอำนาจในการปกครองและอำนาจในการค้าเศรษฐกิจภายในประเทศของตน ที่จะทำให้ผู้คนในประเทศของตน ได้รับอาหารและเงินที่เพียงพอในแต่ละวัน

2. ดาราศาสตร์ไทย

ดาราศาสตร์ไทยเริ่มศึกษามาตั้งแต่สมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ซึ่งเกิดจากการนำความรู้ทางดาราศาสตร์มาเผยแพร่ของบาทหลวงเยสุอิต ชาวฝรั่งเศส ที่เป็นตัวแทนในการเชื่อมสัมพันธ์ระหว่างประเทศสยามและประเทศฝรั่งเศส (หมายเหตุ ประเทศไทยในอดีตมีชื่อเดิมว่า ประเทศสยาม และมาเปลี่ยนใช้คำว่า ไทย ในสมัยรัชกาลที่ 6) ที่ได้นำหลักการดูดาวบนท้องฟ้ามาใช้ในประเทศสยาม ด้วยการสร้างหอดูดาวในแถบกรุงลพบุรี ภายใต้การดูแลการก่อสร้างของ ออกญาไขเยนท์ ในช่วงปี พ.ศ. 2228 ซึ่งในช่วงนั้นได้เกิดปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์อย่าง จันทรุปราคา

และวิชาดาราศาสตร์ไทยก็เริ่มจางหายไปในช่วงระหว่างสงครามของกรุงศรีอยุธยา จนในช่วงยุคสมัยของสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 บิดาแห่งนักวิยาศาสตร์ไทย ที่ได้บุกเบิกวิชาดาราศาสตร์ขึ้นมาอีกครั้ง โดยพระองค์ทรงคำนวณหาวันเวลาในการเกิดปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ได้อย่างแม่นยำ และเป็นที่ประจักษ์แก่ชาวต่างชาติ ด้วยการพานักวิทยาศาสตร์ในหลายประเทศมาชมปรากฏการณ์สุริยุปราคาเต็มดวง ในบริเวณลานกว้าง ในตำบลหว้ากอ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ.2411 ซึ่งในวันที่ 18 สิงหาคม ได้กลายวันวิทยาศาสตร์ไทย และระลึกถึงพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ให้ความสำคัญกับวิชาวิทยาศาสตร์ ให้มีความเท่าเทียมกับระดับสากล

ฉลอง 330 ปี ดาราศาสตร์ไทย

ดาราศาสตร์ไทยนั้นมีประวัติศาสตร์ที่มีการศึกษามาอย่างยาวนาน แม้ว่าในปัจจุบันเทคโนโลยีและองค์ความรู้ทางดาราศาสตร์จะพัฒนาไปไกลแล้วก็ตาม แต่ดาราศาสตร์ไทยก็มีมาในช่วงสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ที่ทรงสนพระทัยในเรื่องนี้เพื่อเจริญสัมพันธไมตรีทางการค้าขายระหว่างอาณาจักรสยามกับอาณาจักรฝรั่งเศส โดยอาศัยการพัฒนาองค์ความรู้ทางดาราศาสตร์ของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ที่ทรงอยากสร้างการค้าระหว่างประเทศ โดยอาศัยความรู้วิทยาการทางวิทยาศาสตร์มาพัฒนาประเทศ และแลเห็นความสำคัญของการพัฒนาองค์ความรู้วิทยาศาสตร์ตะวันตกให้เทียบเท่ากับประเทศต่าง ๆ โดยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงส่งพระราชสาสน์ไปยังอาณาจักรฝรั่งเศสที่ทูลเชิญคณะบาทหลวงที่มีความรอบรู้ในเรื่องดาราศาสตร์มาร่วมปฏิบัติงานในอาณาจักรสยาม พร้อมทั้งรับสั่งให้ออกญาไชเยนทร์ ให้เป็นตัวคุมคนงานสร้างพระที่นั่งไกรสรสีหราช (พระที่นั่งเย็น) ที่บริเวณพื้นที่ลุ่มของทะเลชุบศร ซึ่งสถานที่สำคัญในเมืองละโว้ (เมืองละโว้ คือ ชื่อเมืองเดิมของ จ.ลพบุรี ในปัจจุบัน) โดยจะสร้างอาคารดังกล่าวในลักษณะเป็นหอดูดาวถาวร ที่มีลักษณะ 3 ชั้น มีผังทรง 8 เหลี่ยม ที่สามารถพร้อมใช้งานในช่วงปี ค.ศ. 1687 (พ.ศ. 2230)

ภายหลังสร้างอาคารดังกล่าวเสร็จ สมเด็จพระนารายณ์มหาราชได้เชิญคณะทูตจากฝรั่งเศสมาชมปรากฏการณ์สุริยุปราคาบางส่วนในช่วงวันที่ 30 เมษายน ค.ศ. 1688 (พ.ศ.2231) ณ พระที่นั่งไกรสรสีหราช เมืองละโว้ สมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงทอดพระเนตรชมปรากฏการณ์สุริยุปราคาผ่านกล้องโทรทรรศน์ที่ตั้งอยู่บนดาดฟ้าของพระที่นั่งไกรสรสีหราช ร่วมกับคณะทูตจากฝรั่งเศส และเป็นช่วงเวลาสำคัญในครั้งประวัติศาสตร์เมืองสยาม ที่สมเด็จพระนารายณ์มหาราชที่ทรงมีพระปรีชาสามารถสร้างสถานที่สำหรับสังเกตการณ์ปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ได้ภายในอาณาเขตของตน และได้รับการยกย่องจากคณะทูตจากฝรั่งเศสและพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 และเป็นสร้างสัมพันธไมตรีทางการค้าขายระหว่างประเทศให้มีความเจริญรุ่งเรืองมากขึ้นในสมัยนั้น

นับช่วงเวลาจากการเกิดปรากฏการณ์สุริยุปราคาบางส่วนในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช จวบมาบรรจบอีกครั้งในวันที่ 30 เมษายน พ.ศ.2561 ที่นับเวลาที่สมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงนำองค์ความรู้มาดาราศาสตร์มาสู่เมืองไทยก็นับได้เป็น เวลา 330 ปีของการเกิดปรากฏการณ์สุริยุปราคาบางส่วน และเป็นช่วงปีแห่งการเริ่มต้นในการนำองค์ความรู้ดาราศาสตร์เข้ามาสู่ประเทศไทยอันเป็นการเจริญสัมพันธไมตรีทางการค้าขายระหว่างประเทศสยามกับประเทศฝรั่งเศสในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช