งานวิจัยเพื่อการศึกษา

ประวัติความเป็นมาของเทศกาลภาพยนตร์วิทยาศาสตร์

เทศกาลภาพยนตร์วิทยาศาสตร์ (Science Film Festival)

เทศกาลภาพยนตร์วิทยาศาสตร์เป็นเทศกาลแห่งการชมเรื่องราวเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ที่มีการจัดขึ้นในทุกปี ภายใต้การดูแลของสถาบันเกอเธ่ (Goethe Institut) ที่สร้างความสัมพันธ์ในการสนับสนุนการชมภาพยนตร์วิทยาศาสตร์ร่วมมือกับองค์กรต่างๆ ทั้งในและนอกประเทศที่ได้ทำงานวิจัยทางด้านวิทยาศาสตร์ วัฒนธรรม การศึกษา และสิ่งแวดล้อม ที่ได้ใช้ภาพที่แสดงออกถึงการสื่อสารแทนคำพูด ซึ่งอาจจะเป็นการจินตนาการของผู้เข้าร่วมประกวดภาพยนตร์วิทยาศาสตร์ในแต่ละเรื่องที่ได้ใช้เวลาในการกำกับเรื่องราว ที่จะสื่อให้ผู้ชมเกิดความเข้าใจในเรื่องราววิทยาศาสตร์และก่อให้เกิดผลงานทางด้านวิทยาศาสตร์ในรุ่นต่อรุ่นอย่างไม่รู้จบ

เทศกาลภาพยนตร์วิทยาศาสตร์เพื่อการเรียนรู้ในปีนี้เป็นปีที่13 ที่ถูกจัดขึ้นกันอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี

พ.ศ. 2548 ซึ่งในแต่ละปี จะมีหัวข้อของเทศกาลภาพยนตร์วิทยาศาสตร์ที่แตกต่างกันออกไป ดังตารางที่ 1 โดยในปีนี้มีหัวข้อในการจัดกิจกรรมเทศกาลภาพยนตร์วิทยาศาสตร์เพื่อการเรียนรู้ภายใต้ชื่อ แอนโทรโปซีน (Anthropocene) : ยุคแห่งมนุษยชาติ (The Age of Human) ซึ่งเป็นภาพยนตร์วิทยาศาสตร์ที่ต้องการให้ผู้ชมเรียนรู้ที่มาของเหล่ามนุษย์ว่ามีที่มาอย่างไร? เรามาจากไหน? อนาคตของเราจะเป็นอย่างไร? ตอนนี้เรากำลังทำอะไรอยู่? และเราจะเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมรอบข้างอย่างไรบ้าง? และยังมีหลายคำถามมากมายที่ยากจะให้คำตอบที่แน่ชัดในหมวดมนุษยชาติ ภาพยนตร์วิทยาศาสตร์ที่จัดขึ้นในประเทศไทยได้รับความร่วมมือที่จะออกฉายภาพยนตร์ของหน่วยต่างๆ อย่างเช่น 1. ศูนย์การเรียนรู้นานมีบุคส์ 2. อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย 3. สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) 4. หอภาพยนตร์แห่งชาติ พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) 5.จัตุรัสวิทยาศาสตร์ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) 6. อุทยานการเรียนรู้เมืองจังหวัดนครศรีธรรมราช 7. ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการเรียนรู้ทั้ง 19 แห่ง ที่อยู่ภายใต้การร่วมมือข้อตกลงกับสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ที่คัดสรรภาพยนตร์วิทยาศาสตร์และกิจกรรมต่างๆ ที่นำมาส่งเสริมความรู้ในเรื่องราววิทยาศาสตร์ให้แก่ผู้ชมได้รับความสนุกและเพลิดเพลินไปกับกิจกรรมและภาพยนตร์วิทยาศาสตร์อย่างเต็มที่

เทศกาลภาพยนตร์วิทยาศาสตร์มิได้ถูกฉายในประเทศไทยเท่านั้นยังได้ถูกนำไปฉายในหลายประเทศมากมาย คือ 1. แถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (South East Asia) จำนวน 8 ประเทศ คือ ประเทศไทย (Thailand) กัมพูชา (Cambodia) อินโดนีเซีย (Indonesia) มาเลเซีย (Malaysia) เมียนมาร์ (Mayanman) เวียดนาม (Vietnam) ฟิลิปปินส์ (The Philippines) และสปป.ลาว (Laos) 2. แถบเอเชียตอนใต้ (Sout Asia) จำนวน 2 ประเทศ คือ อินเดีย (India) และศรีลังกา (Sri Lanka) 3. แถบแอฟริกาเหนือและตะวันออกกลาง (North Africa and the Middle East) จำนวน 5 ประเทศ คือ อียิปต์ (Egypt) จอร์แดน (Jordan) ซูดาน (Sudan) ปาเลสไตน์ (Palestinian Territories) สหรัฐอาหรับเอมิเรต (United Arab Einirates) 4. แถบแอฟริกาใต้สะฮารา (Subsahara Africa) จำนวน 6 ประเทศ บูร์กินาฟาโซ (Burkina Easo) นามิเบีย (Namibia) สหรัฐมาลี (Mali) รวันดา (Rwanda) สาธารณรัฐเอธิโอเปีย (Ethiopia) แอฟริกาใต้ (South Africa) ซึ่งรวมทั้งหมด 21 ประเทศ ที่ได้นำภาพยนตร์วิทยาศาสตร์มาฉายภายในประเทศของตนในรูปแบบภาษาของประเทศตนเอง อย่างภาษาไทย ภาษาอังกฤษ ภาษาอินเดีย ภาษาลาว และภาษาต่างๆ ที่ทำให้ผู้รับชมสนุกไปกับภาพยนตร์วิทยาศาสตร์ ที่จุดฉายในที่ต่างๆ และยังเป็นการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ในการเรียนรู้วิทยาศาสตร์อย่างต่อเนื่องในการใช้เวลาว่างหาความรู้นอกห้องเรียนและพัฒนาตนเองให้มีความรู้วิทยาศาสตร์เพิ่มพูนมากยิ่งขึ้น และภาพยนตร์วิทยาศาสตร์ยังเป็นสื่อชนิดหนึ่งที่เกิดจากการสร้างสรรค์ผลงานของกลุ่มผู้เข้าประกวดภาพยนตร์วิทยาศาสตร์ ซึ่งเป็นผู้มีความรู้และความเข้าใจในเรื่องราวที่ตนเองกำกับมาถ่ายทอดเป็นเรื่องราววิทยาศาสตร์ในแขนงต่างๆ อย่างฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยาและดาราศาสตร์ ที่จะทำให้ผู้ชมเข้าใจในเนื้อหาทางด้านวิทยาศาสตร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

เทศกาลภาพยนตร์วิทยาศาสตร์จึงกลายเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างความรู้ให้กับผู้ชมได้เกิดกระบวนการเรียนรู้ในด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม สามารถสร้างผลงานต่างๆ ที่นำมาเผยแพร่ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ไปสู่ระดับชุมชนที่ห่างไกลหรือผู้ขาดโอกาสในการเรียน ได้รับความรู้ใหม่ที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ในรูปแบบต่างๆ ที่สามารถใช้ภาพแทนคำอธิบายได้อย่างเข้าใจ ดังนั้นเทศกาลภาพยนตร์วิทยาศาสตร์ที่อยู่ภายใต้การดูแลของสถาบันเกอเธ่และการร่วมมือข้อตกลงของศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษาพิษณุโลกได้นำกิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวกับภาพยนตร์วิทยาศาสตร์และภาพยนตร์วิทยาศาสตร์ของปี พ.ศ. 2560 มาจัดฉายให้กับผู้รับชมได้เรียนรู้และสนุกกับกิจกรรมทางด้านวิทยาศาสตร์ และเป็นกิจกรรมที่เสริมสร้างความรู้นอกห้องเรียนให้กับผู้เรียน ซึ่งเป็นการทดแทนเวลาเรียนของนักเรียนตามนโยบายของรัฐบาลในการลดเวลาเรียนและแสวงหาความรู้นอกห้องเรียนได้รับความสนุกผ่านกิจกรรม ที่วิทยากรของศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษาพิษณุโลกนำมาให้กับผู้เรียนได้ฝึกทักษะกระบวนการคิดแบบนักวิทยาศาสตร์ และพัฒนาต่อยอดในรูปแบบโครงงานและผลงานทางด้านวิทยาศาสตร์

แอนโทรโปซีน : ยุคแห่งมนุษยชาติ (Anthropocene : The Age of Human)

มนุษย์ถือว่าเป็นสิ่งมีชีวิตที่ฉลาดที่สุดในโลกนี้และสร้างสรรค์ผลงานต่างๆ มากมายที่ให้ประโยชน์และการทำลายต่างๆ ของระบบนิเวศของโลกได้อย่างอิสระ แต่นั้นเป็นเพียงข้อสันนิษฐานของคนทั่วไปที่มองว่า เราฉลาดกว่าใคร? แต่แท้จริงไม่มีใครรู้ว่า เรามาจากไหน? มีบรรพบุรุษเป็นใคร? และเราจะทำอย่างไรให้สภาพแวดล้อมโดยรอบมีเพียงพอต่อคนรุ่นต่อไป? ยุคสมัยของมนุษย์นั้นเริ่มมาจากจุดไหน? ยังไม่มีใครสามารถสรุปได้ บางคนคิดว่าน่าจะเป็นช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ของการผลิตอาวุธนิวเคลียร์มาเพื่อสยบสงครามอันยาวนานของประเทศต่างๆ ที่อยากจะกลายเป็นประเทศแห่งมหาอำนาจ และประเทศที่มีอิทธิพลในการผลิตอาวุธที่ร้ายแรงจนไม่มีใครกล้ามารุกรานได้ บางครั้งอาจจะเป็นยุคสมัยแห่งการเริ่มต้นการปลูกพืชและหาอาหารที่ได้จากต้นไม้ใบหญ้า อย่างเช่น เมล็ดข้าว ข้าวโพด ผักผลไม้ต่างๆ ที่ให้คุณค่าทางอาหารแก่ผู้บริโภคที่ได้รับปริมาณที่เพียงพอในแต่ละวัน ซึ่งอาจจะเป็นยุคหลังจากการล่าสัตว์ของมนุษย์ ซึ่งเป็นมนุษย์ยุคแรกที่เริ่มต้นด้วยการล่าสัตว์มาเพื่อดำรงชีวิต และนำขนสัตว์มาใช้เป็นเครื่องนุ่งห่มเพื่อปกคลุมร่างกายบรรเทาความหนาวจากสภาพอากาศที่แปรเปลี่ยนของโลก หรืออาจจะเป็นช่วงที่มนุษย์เริ่มอาศัยภายใต้ชายคา ที่ได้เริ่มก่อสร้างบ้านเรือน หรือการอาศัยอยู่ในถ้ำ หรืออาจจะเป็นช่วงที่มนุษย์เริ่มต้นแห่งการคิดค้นตัวอักษรมาใช้ในการสื่อสาร อย่างเช่น ภาพวาดแทนการสื่อสาร หรือการใช้ตัวอักษรที่ให้ความหมายที่สอดคล้องกันตามของผู้พูดและผู้ฟัง แต่นั้นยังไม่ใช้ยุคสมัยใหม่ของมนุษยชาติอย่างคำนิยามว่า แอนโทรโปซีน (Anthropocene)

คำว่า แอนโทรโปซีน แปลว่า ยุคใหม่ของมนุษยชาติ ซึ่งเป็นคำพูดเริ่มต้นของนักวิทยาศาสตร์รางวัลโนเบลสาขาวิชาเคมี อย่างพอล ครูตเซน (Paul J. Crutzen ; รูปที่ 1) นักวิทยาศาสตร์ที่ทำงานวิจัยเกี่ยวกับสารเคมีในชั้นบรรยากาศที่ทำให้อุณหภูมิของสภาพอากาศเปลี่ยนแปลง และตัวกลางที่ทำให้สารเคมีเหล่านั้นมีการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศอย่างแก๊สออกซิเจน (Oxygen Gas : ) ซึ่งนั้นอาจจะเป็นการก่ออันตรายจากสภาวะเรือนกระจกและก่อให้เกิดแก๊สเสียต่างๆ มากมายลอยตัวอยู่ในอากาศ ซึ่งพอล ครูตเซน ได้พูดขึ้นมากลางห้องประชุมงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ และเป็นการสร้างความตกใจให้กับนักวิทยาศาสตร์หลายท่านที่นั่งฟังงานวิจัยในวันนั้นเป็นอย่างมาก และเป็นคำพูดที่เอ๋ยขึ้นมาในช่วงปี ค.ศ. 2000 ซึ่งถ้อยคำที่พอล ครูตเซนเอ๋ยคำออกมาว่า “เรากำลังสิ้นสุดยุคเก่า และก้าวสู่ยุคสมัยใหม่ อย่างยุคแอนโทรโปซีน” ซึ่งยุคที่สิ้นสุดชองมนุษย์ในยุคปัจจุบันนี้คือ ยุคโฮโลซีน (Holocene) ที่เป็นยุคสุดท้ายก่อนจะก้าวสู่ยุคใหม่ของมนุษยชาติ

ยุคโฮโลซีน เป็นยุคที่เริ่มหลังจากยุคน้ำแข็ง (The Age of Ice) ที่คนในอดีตเริ่มเปลี่ยนวิถีชีวิตจากการล่าสัตว์เป็นอาหารและเครื่องนุ่งห่ม ด้วยการปลูกพืชทางการเกษตร แต่นั้นกลับเป็นช่วงเวลาที่ยาวนานแห่งการค้นพบอาหารมาเพื่อหล่อเลี้ยงชีวิตและการอพยพจากถิ่นฐานเดิมไปสู่ที่อยู่อาศัยใหม่ในการปลูกพืชทางการเกษตร ซึ่งนั้นเป็นการเปลี่ยนวิถีชีวิตของตนที่อาศัยอยู่ความหนาวของหิมะในดินแดนน้ำแข็ง ไปสู่ดินแดนที่แสนอบอุ่นและการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศดั้งเดิมไปยังที่ใหม่ ที่ทำให้ผู้คนในกลุ่มของตนนั้นสามารถเอาชีวิตรอดจากภัยธรรมชาติในช่วงเวลานั้นได้อย่างปลอดภัย และเป็นช่วงเวลาแห่งการพัฒนาผู้คนที่สร้างสิ่งต่างๆ มาเพื่ออำนวยความสะดวกในการดำรงชีวิตของผู้คนในกลุ่มของตน อย่างการพัฒนาเทคโนโลยีต่างๆ มาเพื่อตอบโจทย์การสืบหาข้อมูลต่างๆ และเป็นการสร้างความสัมพันธ์ของเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน และการพัฒนาองค์ความรู้ที่สร้างผลงานต่างๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้คนให้ได้รับความสุขสบายในชีวิตประจำวัน และเป็นยุคแห่งการเริ่มต้นที่มนุษย์รู้จักใช้ชีวิตกับเครื่องจักร อย่างยุคสมัยแอนโทรโปซีน

ยุคแอนโทรโปซีน ยังไม่มีใครรู้ว่า มันเริ่มต้นจากจุดไหน? เริ่มต้นในศตวรรษใด? แต่ในแวดวงนักวิชาการที่เริ่มนับยุคแอนโทรโปซีนในช่วงปลายศตวรรษที่ 18 ซึ่งเป็นยุคสมัยที่มนุษย์เริ่มมีประชากรเพิ่มมากขึ้น และเรียนรู้ที่จะปลดปล่อยอากาศที่เป็นมลพิษที่เกิดจากการปล่อยของเสียจากท่อไอเสียของรถยนต์ และการทำลายของมนุษย์หรืออาจจะเป็นการรักษาระบบนิเวศไว้ของมนุษย์บางกลุ่มที่อยากจะคงธรรมชาติให้ยั่งยืนสู่คนรุ่นหลัง อย่างการปลูกป่าและสนุกกับการเกษตรและการเอาชีวิตรอดจากภัยธรรมชาติ จากการดำเนินชีวิตตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงของพ่อหลวงของเรา ที่ได้คิดแนวทางในการดำรงชีวิตกับธรรมชาติได้อย่างปลอดภัยและเรียนรู้ที่ใช้ประโยชน์จากธรรมชาติ อย่างการสร้างฝายชะลอน้ำ สร้างเขื่อน อ่างเก็บน้ำ เพื่อเป็นแหล่งน้ำในการเกษตรและอุตสาหกรรมต่างๆ และเป็นยุคแห่งการเริ่มต้นมนุษย์เริ่มพัฒนาเครื่องมือมาเพื่อตอบสนองความต้องการผู้คน ซึ่งยุคแอนโทรโปซีนเป็นยุคสมัยแห่งการมนุษย์อยู่ด้วยกันกับเครื่องจักร อย่างเทคโนโลยีในปัจจุบันที่มีความก้าวหน้าอย่างไม่สิ้นสุด ดังรูปที่ 2

บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย

บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยเป็นโครงการหนึ่งของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงนำโครงการตัวอย่างจากต้นแบบโครงการการทดลองนักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์ จากประเทศเยอรมนีของมูลนิธิ Haus der klainen Forscher ซึ่งเป็นการประสานงานร่วมกันกับ Mr. Thomas Tillmann ที่ทรงก่อตั้งโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ที่จะเป็นโครงการที่เปิดโลกของนักวิทยาศาสตร์จากการรับสมัครนักเรียนจากหลายโรงเรียนในประเทศไทย ที่มีความคิดสร้างสรรค์ในการศึกษาและมีความสนใจในทางการทดลองทางวิทยาศาสตร์ในมุมมองต่างๆ และเป็นการจุดประกายความคิดในตัวนักเรียนในหลายโรงเรียน ที่มีแนวคิดที่อยากจะใฝ่ฝันจะเป็นนักวิทยาศาสตร์ ที่จะสร้างสรรค์ผลงานใหม่ที่มีประโยชน์ต่อประเทศในอนาคต โดยในแต่ละครั้งในการจัดโครงการดังกล่าว จะทำการรับสมัครนักเรียนในวัย 3 – 6 ปี ที่สามารถส่งผลงานมาเข้าประกวด โดยผ่านการพิจารณาผลงานผ่านการประเมินของโครงการ PISA (Programme for International Student Assessment) ที่ริเริ่มโครงการนี้โดยองค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (Organisation for Economic Co-operation and Development or OECD)

โครงการ PISA เป็นโครงการหนึ่งที่ประเมินสมรรถนะในการถ่ายทอดสื่อและเนื้อหาที่มีความเข้าใจในด้านรู้เรื่อง (Literacy) ที่ประเมินสมรรถนะของผู้ส่งเข้าประกวดผลงานวิดีโอวิทยาศาสตร์ ในด้านการอ่าน (Reading Litering) ด้านคณิตศาสตร์ (Mathematical Litering) และด้านวิทยาศาสตร์ (Science Litering) ที่ได้ใช้คะแนนคัดสรรผลงานของนักเรียน ออกมาในรูปแบบรายการโทรทัศน์ที่นำเสนอผ่านช่องไทย พีบีเอส (Thai PBS) โดยโครงการนี้เริ่มต้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2552 จากแนวคิดของการเสด็จพระราชดำเนินของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมกุมารี เสด็จทอดพระเนตรการสร้างสรรค์ผลงานวิทยาศาสตร์ของนักเรียนในประเทศเยอรมนี มาบูรณาการเข้ากับนักเรียนในประเทศไทย ที่จะเป็นโครงการต้นแบบในการสร้างสรรค์นักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ ให้มีความก้าวหน้าในด้านวิทยาศาสตร์ ที่จะปลุกแรงบันดาลใจนักเรียน ที่จะเดินตามรอยแห่งความฝันในการเป็นนักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์ และมีผลงานทางวิทยาศาสตร์เป็นของตนเองและเป็นประโยชน์ภายในประเทศในการเสริมสร้างนักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์ภายในประเทศไทย ให้มีความรู้ที่เท่าเทียมกับระดับนานาประเทศ

โครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยได้เดินทางมาแล้ว 9 ปีในการส่งผลงานเข้าประกวดภาพยนตร์วิทยาศาสตร์จากแนวคิดของนักเรียนหลายโรงเรียน และโรงเรียนที่ผ่านการคัดเลือก จะได้รับการนำเสนอผ่านสื่อทางโทรทัศน์ทางช่องไทย พีบีเอส (Thai PBS) ในวันเสาร์ – อาทิตย์ เวลา 6.00 – 7.00 น. ซึ่งในแต่ละสัปดาห์จะนำผลงานของนักเรียนที่แนวคิดอย่างนักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์ และยังเป็นการประชาสัมพันธ์โครงการของบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ในโรเรียนในจังหวัดต่างๆ ที่มีความสนใจ ที่สร้างสรรค์นักเรียนในโรงเรียนของตน ให้หันมาสนใจเรื่องวิทยาศาสตร์ ผ่านการทำวิดีโอที่มีการทดลองวิทยาศาสตร์ที่น่าตื่นเต้น และสร้างประสบการณ์ที่สนุกกับเรื่องวิทยาศาสตร์อย่างไม่รู้จบ นอกจากนี้ยังเป็นการสร้างสื่อการเรียนการสอนในรูปแบบใหม่ ที่ให้ความเข้าใจในเรื่องวิทยาศาสตร์ผ่านภาพยนตร์วิทยาศาสตร์ ประเภทหนังสั้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ภาพยนตร์วิทยาศาสตร์ในเรื่อง “บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย” นอกจากจะมีผลงานการทดลองของนักเรียนในหลายโรงเรียนแล้ว ยังมีตัวละครเสริมออกมา 4 ตัวที่มาเป็นตัวละครช่วยเสริมความเข้าใจ หรือการสรุปหลังจากชมภาพยนตร์วิทยาศาสตร์ในแต่ละช่วงออกมาอย่างชัดเจน ซึ่งตัวละครในแต่ละตัวจะมีชื่อเป็นของตนเอง คือ แก่น แก้ว เจ้าเหมียว และคุณมังกร ดังภาพที่ 4 ซึ่งเป็นตัวละครที่สร้างรอยยิ้มและความเข้าใจกับผู้ชมให้มีความสนุกสนานกับภาพยนตร์วิทยาศาสตร์ของโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยที่ชมผ่านรายการโทรทัศน์ และสื่อภาพยนตร์วิทยาศาสตร์ ซึ่งเป็นผลงานหนึ่งของทีมงานของ สวทช. ที่ได้คัดสรรผู้บริหาร นักการตลาด นักวิชาการ และนักวิทยาศาสตร์มาร่วมกันสร้างสรรค์ผลงานตัวละครการ์ตูนในภาพยนตร์วิทยาศาสตร์ เรื่องบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ของมูลนิธิ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ซึ่งเป็นการสร้างสรรค์ตัวละครในรูปแบบอะนิเมชั่น ที่มีความเสมือนจริง ที่จะให้ตัวละครในเรื่อง บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย มีการแสดงออกในการศึกษาวิทยาศาสตร์ที่แตกต่างๆ กันออกไปอย่าง นักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์ คือ หนูแก่น และหนูแก้ว ที่พยายามใช้หลักการของเหตุและผล การวิเคราะห์การทดลองทางวิทยาศาสตร์ และวิเคราะห์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เพื่อเสริมความรู้ให้กับผู้ชมเข้าใจกระบวนการวิทยาศาสตร์ ผ่านการทดลองของตัวการ์ตูนทั้งสองตัว หรือการคิดและตัดสินใจในการแสดงออกของตัวการ์ตูน หนูแก่น และหนูแก้ว ที่ทำให้ผู้ชมเกิดความเข้าใจในเนื้อหาของภาพยนตร์วิทยาศาสตร์เรื่องนี้มากยิ่งขึ้น และยังเสริมแนวคิดที่จินตนาการแบบเด็กๆ หรือตัวการ์ตูนที่สร้างรอยยิ้มของผู้ชมในระยะเวลาสั้นได้เป็นอย่างดี ของเจ้าเหมียวและคุณมังกร ที่ทำการทดลองที่น่าสนุกและไม่น่าจะเป็นแนวคิดของผู้คนทั่วไป ให้เป็นเรื่องตลกและสร้างรอยยิ้มแบบขำ ให้กับผู้ชมได้อย่างอิสระ ซึ่งผลงานในการสร้างตัวการ์ตูนอะนิเมชั่น เป็นการช่วยกันคัดกรองต้นแบบตัวการ์ตูน ที่เป็นต้นแบบในรูปที่พอดีและตอบสนองความต้องการของกลุ่มเป้าหมายอย่างเด็กอนุบาล ด้วยการร่วมมือของทีม ไทย พีบีเอสและนานมีบุ๊คส์ ที่สร้างตัวละครที่เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจน ดังภาพต้นแบบตัวการ์ตูนในภาพที่ 3

หัวข้อเทศกาลภาพยนตร์วิทยาศาสตร์เพื่อการเรียนรู้ ครั้งที่ 14

เทศกาลภาพยนตร์วิทยาศาสตร์เพื่อการเรียนรู้ได้ดำเนินการมาในช่วงปี พ.ศ. 2561 ซึ่งเป็นปีที่ 14 ของการนำภาพยนตร์วิทยาศาสตร์มาถ่ายทอดให้กับสามัญชนทั่วไป ที่อยากจะมีแรงบันดาลใจในการผลิตสื่อการเรียนการสอนทางด้านวิทยาศาสตร์ ที่จะทำให้ผู้รับการเข้าชมภาพยนตร์วิทยาศาสตร์มีแนวคิดแบบนักวิทยาศาสตร์ ซึ่งในแต่ละปีก็มีหัวข้อที่แตกต่างกันดังตารางที่ 1 และในปี พ.ศ. 2561 ได้มีชื่อหัวข้อเทศกาลภาพยนตร์วิทยาศาสตร์เพื่อการเรียนรู้ ครั้งที่ 14 ที่มีชื่อว่า “การปฏิวัติทางอาหาร (The food revolution)

การปฏิวัติทางอาหาร (The food revolution)

เมื่อเราคิดถึงภัยคุกคามต่อสิ่งแวดล้อม เรามักจะนึกภาพรถยนต์และเมืองที่ขยายตัว ไม่ใช่อาหารบนโต๊ะของเรา แต่ความจริงก็คือ ความต้องการอาหารของเรา ก่อให้เกิดอันตรายที่ใหญ่ที่สุดต่อโลก เทศกาลภาพยนตร์วิทยาศาสตร์ 2018 จะเป็นการสำรวจประเด็นเกี่ยวกับโภชนาการและตอบสนองความต้องการของประชากรโลกที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว นับเป็นหนึ่งในความท้าทายหลักของศตวรรษนี่

การเกษตรเป็นหนึ่งในผู้ที่มีส่วนร่วมมากที่สุดในสภาวะโลกร้อน ซึ่งปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากกว่ารถบรรทุก รถประจำทาง รถไฟ และเครื่องบินรวมกัน ซึ่งส่วนใหญ่มาจากก๊าซมีเทน (methane) ปล่อยออกมาจากโคและนาข้าว ไนตรัสออกไซด์ (nitrous oxide) จากทุ่งนา และคาร์บอนไดออกไซด์จากการตัดป่าฝนเพื่อปลูกพืชผลหรือเลี้ยงปศุสัตว์ การทำฟาร์มเป็นผู้ใช้น้ำที่มีค่าที่สุดของเรา และเป็นผู้ก่อมลพิษรายใหญ่ที่สุด เนื่องจากการไหลบ่าจากปุ๋ยและมูลสัตว์มารบกวน ทะเลสาบ น้ำเค็ม แม่น้ำ และระบบนิเวศชายฝั่งที่เปราะบางทั่วโลก การเกษตรยังเร่งการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ ขณะที่เราได้เคลียร์พื้นที่ทุ่งหญ้า และป่าไม้สำหรับฟาร์มแล้ว เราก็สูญเสียแหล่งที่อยู่อาศัยที่สำคัญด้วย ทำให้การเกษตรเป็นสาเหตุสำคัญของการสูญพันธุ์สัตว์น้ำ

ความท้าทายด้านสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากการเกษตรเป็นเรื่องใหญ่ และจะยิ่งกดดันมากขึ้นเท่านั้น เมื่อเราพยายามตอบสนองความต้องการอาหารทั่วโลกที่เพิ่มขึ้น เราอาจจะมีประขากรกว่าสองพันล้านคนในโลกที่ต้องเลี้ยงดู และอีกกว่า 9 พันล้านคนภายใน 50 ปี แต่การเติบโตของประขากรที่แท้จริง ไม่ได้เป็นเหตุผลเดียว ที่เราต้องการอาหารมากขึ้น การแพร่กระจายของความเจริญรุ่งเรืองทั่วโลก กำลังผลักดันความต้องการอาหารสูงขึ้นด้วย หากแนวโน้มเหล่านี้ยังคงมีอยู่ต่อไป เราจะต้องผลิตข้าวเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าภายในปี 2594*

แนวคิดของผู้เรียบเรียงรายงานการดำเนินการ โครงการเทศกาลภาพยนตร์วิทยาศาสตร์เพื่อการเรียนรู้ ครั้งที่ 12 และโครงการจัดกิจกรรมเทศกาลภาพยนตร์วิทยาศาสตร์เพื่อการเรียนรู้ ครั้งที่ 13

อาหารเป็นสิ่งที่หล่อเลี้ยงผู้คนและสิ่งมีชีวิตมากมาย ในปัจจุบันมีอาหารที่หน้าตาหลากหลายกันออกไป ซึ่งเป็นหน้าตาอาหารที่ชวนน่ารับประทาน และให้คุณค่าทางอาหารที่เป็นประโยชน์แบะโทษต่อร่างกายในทางเดียวกัน ซึ่งขึ้นอยู่กับปริมาณในการรับประทานอาหารของแต่ละผู้คน ที่บางคนรับประทานอาหารเกินในปริมาณที่ร่างกายต้องการจนเกิดโรคต่างๆ มากมาย อย่างโรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง เป็นต้น หรืออาจจะได้ในปริมาณที่น้อยกว่าปริมาณที่ร่างกายต้องการ ซึ่งก็อาจจะก่อให้เกิดโรคต่างๆ ได้เช่นกัน คือ โรคขาดสารอาหาร โรคกระเพาะ เป็นต้น

โดยส่วนใหญ่แล้ว เราต้องรับปริมาณอาหารที่เพียงพอในแต่ละมื้อ ตามความต้องการของร่างกายในสภาวะการอิ่มตัวของการรับประทานอาหารในแต่ละมื้อ ในสภาวะที่ร่างกายอิ่มตัว ร่างกายของเราจะมีการตอบสนองในการรับประทานอาหารที่แตกต่างกัน หรือความต้องการอาหารที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งสภาวะนั้นเป็นสภาวะความอิ่มตัวของร่างกาย ถึงแม้ว่าความต้องการอาหารในแต่ละคนจะมีไม่เท่ากันก็ตาม แต่อาจจะไม่เพียงพอในอีกหลายสิบปีข้างหน้า เพราะที่ผ่านมา กาลเวลาเริ่มเปลี่ยนแปลงในแต่ละยุคสมัย ผู้คนบนโลกก็มีปริมาณที่เพิ่มมากขึ้น จนปัจจุบันได้มีกลุ่มนักวิจัยได้ทำศึกษาปริมาณอาหารที่มีเพียงพอสำหรับผู้คนในปัจจุบัน และถ้าจำนวนประชากรบนโลกเพิ่มขึ้น ความต้องการของอาหารนั้นมีเพียงพอได้อย่างไร ความต้องการและปริมาณอาหารที่รับอาจจะมีไม่เพียงพอกับความต้องการของผู้คนในแต่ละมื้อ บางครั้งอาหารแต่ละมื้ออาจจะมีความต้องการมาก แต่ปริมาณที่รับอาจจะมีปริมาณน้อยกว่าความต้องการอาหารของผู้คน

แนวคิดในการปฏิวัติอาหารภายในโลกของกลุ่มนักวิจัยบนโลก ยังคงเป็นปริศนาที่ยากจะหาคำตอบได้ว่าจะสำเร็จได้จริงหรือไม่ ว่าในปริมาณอาหารจะมีเพียงพอกับผู้คนที่เพิ่มมากขึ้นในทุกวัน และยังมีสิ่งมีชีวิตต่างๆ ที่ยังมีความต้องการอาหารที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งบางครั้งความต้องการในแต่ละสิ่งมีชีวิตนั้นมีปริมาณไม่เพียงพอในการรองรับของผู้คน ซึ่งอาจจะมีปริมาณที่แตกต่างในการรับประทานในแต่ละมื้อที่ไม่เท่ากัน ซึ่งในบางครั้งสิ่งมีชีวิตอาจจะมีการเอาตัวรอดในการดำรงชีวิตในแต่ละวัน หรืออาจจะมีการแย่งชิงอาหารที่จะต้องใช้ความรุนแรง หรือการต่อสู้กับศัตรูของห่วงโซ่อาหาร ซึ่งบางครั้งห่วงโซ่อาหารของสิ่งมีชีวิตบางอย่างอาจจะมีการรับประทานที่แตกต่างไปจากเดิมหรือการทานของบรรพบุรุษ ที่มีการรับประทานอาหารที่แตกต่างไปจากเดิม และไม่เหมาะสมสำหรับความคิดของผู้คนรุ่นก่อน ถึงแม้ปัจจุบันการรับประทานของผู้คนจะมีความหลาหลาย อย่างเนื้อสัตว์ ผัก และผลไม้ ซึ่งอาจจะรวมไปถึงน้ำที่ได้จากลำธาร หรือจากผักและผลไม้ต่างๆ ปัจจุบันผู้คนในปัจจุบันมีความต้องการอาหารที่มีปริมาณเพิ่มมากขึ้น ซึ่งจะเห็นได้ชัด ผู้คนในปัจจุบันเริ่มที่จะรับประทานอาหารจำพวกแมลงทอด หนอนทอด หรือเครื่องในสัตว์ทอด ซึ่งเดิมอาหารเหล่านี้มีผู้คนต้องการน้อยลง แต่ในปัจจุบันมีปริมาณเพิ่มขึ้นจากเดิม ราคาอาหารในปัจจุบันมีราคาที่สูงกว่าเดิม ซึ่งในยุคนั้นเป็นยุคที่มีความต้องการของอาหารที่น้อยกว่าเดิมเมื่อเทียบกับความต้องการของอาหารในผู้คนปัจจุบัน

อาหารถือได้ว่าเป็นสิ่งที่จำเป็นต่อผู้คนและสิ่งมีชีวิต ที่ต้องการในปริมาณอาหารที่มีความต้องการที่แตกต่างกัน โดยเฉพาะผู้คนที่มีความต้องการอาหารในแต่ละมื้อที่แตกต่างกัน แต่อาหารในแต่ละมื้อจะต้องให้พลังงานกับร่างกายของผู้รับประทานอาหารนั้นในปริมาณ 2,000 - 2,500 กิโลแคลอรี ที่ได้จากสารอาหารจำพวกโปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมัน เกลือแร่ วิตามิน และน้ำ หรืออาจะสารอาหารประเภทต่างๆ ที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย อย่างโปรตีน และวิตามิน ที่มีความต้องการของร่างกายแต่ละคนที่แตกต่างกันออกไป ร่างกายของผู้คนต้องการอาหารจำพวกวิตามิน โปรตีน และสารอาหารอื่นทีแตกต่างกันออกไป สารอาหารเหล่านั้นอาจจะเป็นสารอาหารที่สร้างภูมิคุ้มกันต่อโรคต่างๆ หรืออาจจะเป็นก่อให้เกิดโรคที่รับประทานไม่เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย แต่ในปัจจุบันนักวิจัยหลายคนยังหาแนวทางในเพิ่มปริมาณที่มีเพียงพอ กับผู้คนบนโลก ที่มีปริมาณเพิ่มมากขึ้น และการคาดการณ์และการวางแผนในเตรียมอาหารให้เพียงพอต่อการเพิ่มจำนวนของประชากรบนโลก ซึ่งในปัจจุบันมีการตัดต่อพันธุกรรมของสารอาหารในสามารถมีปริมาณเพียงพอ อย่างพืชบางชนิดสามารถปลูกในที่ร่มและมีปริมาณในการรับแสงที่เพียงพอ ในบางครั้งพืชบางชนิดอาจจะเติบโตด้วยปริมาณแสงที่มากต่อการเจริญเติบโต และรับสารอาหารที่แตกต่างกันในการเจริญเติบโตของพืช ซึ่งในการศึกษาปริมาณอาหารที่มีเพียงพอสำหรับผู้คน แต่สิ่งเหล่านี้ก็ยังอยู่ในเส้นทางการพัฒนางานวิจัยที่จะหาแนวทางในการผลิตอาหาร ให้มีเพียงพอสำหรับผู้คนที่เพิ่มมากขึ้น และมีมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะการเพิ่มแหล่งอาหารที่มีความต้องการของสิ่งมีชีวิตที่เพียงพอในแต่ละมื้อและต่อผู้คน สิ่งมีชีวิตในแต่ละยุคสมัย ได้อย่างมีประสิทธิภาพในการเตรียมอาหารต่อการเพิ่มประชากรของสิ่งมีชีวิตบนโลก

การศึกษาไทยในปัจจุบัน