เครื่องปั้นดินเผา

บ้านสันเหมือง

ประวัติความเป็นมา

หมู่บ้านสันเหมืองเริ่มเเรกก่อตั้งเมื่อไรไม่ปรากฎหลักฐานที่แน่ชัดเดิมทีชาวบ้านบ้านสันเหมืองอพยพมาจากอำเภอสันป่าตอง เมื่อแรกตั้งหมู่บ้านได้ตั้งอยู่บริเวณที่สันดอน มีลำเหมืองล้อมรอบ จนมาถึงปีพ.ศ. 2489 ได้เกิดภัยแล้งขึ้นขาดน้ำในการอุปโภคบริโภค จึงย้ายมาตั้งอยู่ณ ที่ตั้งปัจจุบันคือบ้านสันเหมือง หมู่ที่5 ต.หนองล่อง อ.เวียงหนองล่อง จ.ลำพูน

ในปี 2489 ที่ย้ายลงมานั้นก็คือวัดเเต่ชุมชนดั้งเดิมก็ได้ทยอยกันมาลงรากปักฐานกันอยู่ก่อนหน้านี้เเล้วจากการศึกษาทางด้านประวัติศาสตร์ท้องถิ่นชุมชน เดิมที่อพยพมาจากทางอำเภอสันป่าตองที่มาตั้งรกรากก่อนเดิมของบรรพบุรุษก็คือ 1.มาจากหมู่บ้านมะขามหลวง 2.มาจากบ้านสลีก๊อเก๊า 2.การตั้งรกรากบ้านช่องชุมชนสมัยเมื่อก่อนก็จะตั้งติดกับบริเวณที่มีลำน้ำหรือลำห้วยลำเหมืองล้อมรอบอยู่ภายในบริเวณนั้นและจะมีกู่หรือว่าเจดีย์และวัดอยู่ ที่บริเวณสันดอนมีลำเหมืองล้อมรอบแต่เดิมของชุมชนบ้านสันเหมืองเดิมจริงๆสันนิฐานก็คือบริเวณไกล้ๆกับพระเจดีย์เก่าที่อยู่ในหมู่บ้านหนองสะลิงพื้นที่ของอำเภอบ้านโฮ่งนั้นเองเเละสถานที่วัดเก่าเเห่งนี้เดิมก็ยังใช้เป็นที่เรียนหนังสือระหว่างสองชุมชนคือชุมชนบ้านหนองสะลิงเเละชุมชนบ้านสันเหมือง หลังจากนั้นก็ได้ย้ายที่ตั้งโรงเรียนลงมาจัดตั้งอยู่ที่ดงน้อยซึ่งสถานที่เรียนเดิมไปมาลำบากประกอบกับชุมชนมาตั้งอยู่ข้างล่างไปเสียส่วนใหญ่ ซึ่งปู่ของข้าพเจ้าก็ได้มอบที่ดินเป็นสถานที่เรียนหนังสือซึ่งจะพบหลักฐานก็คือเสาตอหม้อเเละก้อนอิฐเเละก้อนดินกี่หลังจากนั้นวัดสันเหมืองก็คิดที่จะมาจัดตั้งอยุ่กับโรงเรียนประชาบาลที่บ้านดงมะปินในที่ดินของปู่ซึ่งประกอบกับตอนนั้นได้มีการเเบ่งเเยกเขตการปกครองขึ้นระหว่างอำเภอบ้านโฮ่งเเละอำเภอป่าซางในอดีตก็จำเป็นต้องไปหาพื้นที่ใหม่ในการสร้างวัดสันเหมืองเพื่อที่จะได้อยู่ไกล้ชุมชนเเละชุมชนจะได้เดินทางไปทำบุญได้สะดวกเเละก็ได้พื้นที่ว่างเปล่าที่ที่จะสร้างวัดสันเหมืองบางส่วนตลอดจนมีชาวบ้านได้มอบถวายให้สร้างวัดบ้าง ตลอดจนการจัดซื้อที่ดินของชาวบ้านเพิ่มเติมเพื่อขยายเขตวัดให้กว้างขึ้นเเละในสมัยนั้นเมื่อ ปี2489ก็ได้มีครูบาสุรินทร์ หรือ(พระครูวิมล ศรีลาภร วัดหลวงศรีเตี้ย)เเละครูบาเเดง(พระครูประโชติ วุฒิกรวัดต้นผึ้งปัจจุบันนี้)ได้เเบ่งเขตพื้นที่นั้นรางวัดตลอดจนชาวบ้านเเละผู้ทรงคุณวุฒิเเละครั้งนั้นครูบาสุรินทร์ เเละครูบาเเดง ก็ได้รับมอบหมายให้มาเป็นที่ปรึกษาในการสร้างวัดสันเมืองเมื่อครั้งนั้นเเละจัดสร้างให้เป็นวัดสันเหมืองจนถึงปัจจุบันนี้เป็นระยะเวลาทั้งสิ้น 67 ปีซึ่งวัดเก่าเดิมเกิดภัยเเล้งไม่มีน้ำใช้ตลอดจนการอุปโภคเเละบริโภคครั้นศรัทธาชาวบ้านที่มาตั้งรกรากอยู่พื้นที่ปัจจุบันนี้จะเดินทางไปทำบุญที่วัดเก่าวัดห่างก็เเสนลำบากตลอดจนถึงเส้นทางการคมนาคมในสมัยนั้นก็ยังไม่เจริญก้าวหน้าเหมือนกับทุกวันนี้เเละทางหมู่บ้านหนองสะลิงก็ยังมาใช้วัดร่วมกับวัดสันเหมืองอยู่เพราะว่า2ชุมชนนี้อยุ่ติดกันเเละในปี2520หนองสะลิงก็ได้เเยกไปสร้างวัดอีกเเห่งหนึ่งซึ่งก็คือวัดหนองนกหัสดีลิง(หรือว่าวัดหนองสะลิงนั้นเอง) ทางหนองสลิงก็ได้มีพระครูอินทรัตนคุณ(ครูบาสองเมืองเป็นเก๊า ) ซึ่งในสมัยนั้นจะเดินทางไปเเอ๋วหากันต้องเดินลัดเลาะกลางทุ่งกลางนาสมัยเมื่อก่อนชุมชนทั้งสองจะเเข่งกันปลูกข้าวเป็นหลักหนุ่มสาวสมัยก่อนไปเที๋ยวหากันก็อาศัยเดินรัดเลาะทุ่งลัดนาป่าข้าวไปตลอดจนชุมชนบ้านสันเหมืองกับชุมชนบ้านหนองสะลิงก็ถือได้ว่าเป็นชุมชนบ้านพี่บ้านน้องกันในอดีตอาศัยวัดเเละโรงเรียนเดียวกันอยู่ ในอดีตก็มีชุมชนที่มาตั้งรกรากอยู่ก่อนหน้าเเล้วล่วงหน้าซึ่งจะพบเห็นกู่อยู่ประมาณ5กู่จากการที่ได้ศึกษาออกสำรวจเเละค้นคว้าเเต่ ณ ปัจจุบันได้ล้มสลายไปเเล้ว เเละยังเป็นปริศนาอยู่ว่าใครเป็นผู้มาสร้างสิ่งเหล่านี้ไว้ เเต่ยังคงเห็นซากก้อนอิฐก้อนดินกี่อยู่ส่วนใหญ่จะอยู่เเถบพื้นที่ของหนองสะลิงเป็นหลักมากกว่าซึ่งก็ไม่ทราบว่าใครมาสร้างไว้ จนมาถึงปีพ.ศ.2489 ได้เกิดภัยเเล้งขาดน้ำในการอุปโภคบริโภคจึงได้ย้ายวัดสันเหมืองเดิมที่อยู่วัดห่างเก่าเมื่อสมัยก่อนเเถวนั้นจะเป็นป่าต๋อง ป่าเห็ด เเละมาสร้างวัดอยู่ ณ ที่ตั้งปัจจุบันเเละเดิมทีก็ได้มีชาวบ้าน เเละชุมชน มาตั้งอยู่ก่อนนี้เเล้วก็มี เเต่ไม่หลายหลังคาเรือนก็คือบ้านสันเหมืองหมู่ที่5ปัจจุบัน เเต่ก็ยังคงใช้ชื่อบ้านเดิมที่บรรพบุรุษท่านได้ตั้งรกรากอยู่ก่อนหน้านั้นบริเวณสันดอนของเหมืองทั้งสามเส้นที่อยู่ไกล้ๆวัดร้างบ้านหนองสะลิงปัจจุบันนี้มาเป็นชื่อหมู่บ้าน จึงเป็นที่มาที่ไปของคำว่าบ้านสันเหมืองในปัจจุบันนี้ซึ่งชุมชนก็ได้ก่อตั้งมานานเเละได้สืบสานวิชาการปั้นหม้อมาเเต่ดั้งเดิม เเละวัดห่างเก่าเเห่งนั้นตลอดจนพระธาตุสร้างเมื่อได ไม่มีใครทราบบ้างก็ว่าครูบาขันตี๋เป็นผู้สร้างหรืออาจจะสร้างอยู่ก่อนเเล้ว เเต่ครูบาขันตี๋ผู้นี้มาทำการบูระณะบางส่วนซึ่งเดิมท่านอยู่ที่บ้านหลุกประตูป่าซึ่งท่านได้ออกธุดงจาริกมาจำพรรษาที่วัดเก่าวัดห่างเก่าที่อยู่ในเขตของบ้านหนองสะลิง เดินทางมาเมื่อพ.ศ.ใดไม่มีใครทราบข้อมูลเเละไม่พบหลักศิลาจาลึกที่อยู่บริเวณองค์พระเจดีย์เเละบันทึกเขียนถึงปีพ.ศ.ที่ระบุไว้ที่ฐานเจดีย์วัดเก่านี้เเต่อย่างไดหรือว่ามีเเต่ชำรุดเเตกหักไปหมดเเล้วหรือว่าอาจจะถูกขุดเจาะเอาเเผ่นศิลานั้นไปเเล้วก็ไม่มีใครทราบเเต่สันนิฐานว่าเจดีย์เก่าวัดร้างคงจะมีอายุประมาณราวประมาณ200-300ปีเป็นเเน่ซึ่งอายุสมัยของพระธาตุเจดีย์วัดห่างเก่าองค์นี้น่าจะมีอายุสมัยหลังจากที่พระม่า ยึดครองล้านนาก้อาจเป็นไปได้คือหลังพ.ศ.2200ลงมาเเละก็สันนิฐานว่าชุมชนดั้งเดิมน่าจะมีอายุสมัยไล่เลี่ยกับเจดีย์พระธาตุวัดห่างเก่ากับกู่ที่ค้นพบเหลือเเต่ซากปรักหักพัง ซึ่งคนเเก่ที่ทราบข้อมูลก็ได้ล้มหายตายจากไป

อ้างอิงเเหล่งที่มา ว่าที่ ร.ต.วีระพันธ์ ทันใจ 


 คลิปวีดีโอสาธิตการปั้นหม้อ

ขอบคุณคลิปวีดีโอจาก กลุ่มปั้นหม้อบ้านสันเหมือง