ปลูกใบยาสูบ

ยาสูบ มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่านิโคทิน่า ทาบาคุ๊ม (Nicotina tabacum ) อยู่ในตระกูลโซลานาซี่ (Solanaceae)ต้นยาสูบเป็นไม้ล้มลุกสูงประมาณ ๑ เมตร ใบโตหนาและมีขึ้นตามต้นและใบ ดอกออกเป็นช่อปลายยอดสีขาวชมภูอ่อนงามน่าดูมาก ต้นยาสูบมีหลายพันธุ์ มีปลูกทั่วทุกภาคของประเทศไทย แต่ที่ปลูกมากทางภาคเหนือหลังฤดูเกี่ยวข้าวใบยาสูบมีสรรพคุณใช้เป็นยาตามความเชื่อของแพทย์แผนโบราณ ใช้ยาสูบอย่างฉุนจัดๆ ผสมปูนแดง และในเนียมกวนเป็นยานัตถุ์แก้หวัดคัดจมูก ยางสีดำในกล้องสูบยาใช้แต้มแผลแก้หิดได้ดีมาก หรือนำมาเคี่ยวกับนํ้ามันทารักษาโรคผิวหนังได้หลายชนิด เนื่องจากภายในใบยาสูบมีสารพวกอัลคลอลอยด์ที่มีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อ

ในทางเกษตรกรรม เนื่องจากภายในใบยาสูบมีสารอัลคลอลอยด์นิโคตีนผสมกับสบู่อ่อน ในน้ำร้อยเท่า ทำเป็นยาพ่นฉีดฆ่าแมลงต่างๆ ในไร่ได้ผลดี เช่น เพลี้ย แต่ยานี้มีพิษค่อนข้างแรงถ้าถูกผิวหนังจะซึมเข้าไปเป็นพิษ ต้องระวังในการใช้ให้มาก

การปลูกยาสูบ

- เริ่มต้นจากการเพาะต้นกล้ายาสูบจากเมล็ดพันธุ์ โดยการเตรียมดินขึ้นแปลงขนาดความกว้าง 1 เมตร พรวนดินให้ซุย ไม่จำกัดความยาวของแปลง จากนั้นรดน้ำบนแปลงให้ชุ่ม

- หว่านเมล็ดยาสูบที่เตรียมไว้จากนั้นนำแกลบดิบ(จากโรงสีข้าว)โรยหน้าแปลงทับเมล็ดยาสูบ

- รดน้ำให้ชุ่มทุกๆวันวันละ 1-2 ครั้ง เช้าและเย็น

- จากนั้น 1 สัปดาห์จะพบว่าเมล็ดเริ่มงอก เกษตรกรควรมั่นรดน้ำทุกเช้าเย็นจนต้นกล้ามีอายุครบ 45 วัน ต้นกล้าจะยาว 10-15 เซนติเมตร สามารถถอนต้นกล้าไปปลูกได้

เมื่อต้นกล้ายาสูบอายุ 30-35 วัน ก็ทำการย้ายกล้าปลูกลงแปลงที่เตรียมไว้ ช่วงเดือนที่เดือนที่ปลูกส่วนใหญ่คือเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม ซึ่งเป็นช่วงที่มีสภาพอากาศเย็นและมีความชื้นพอเหมาะสำหรับการปลูกยาสูบ ระยะปลูก 10 x 40 เซนติเมตร พื้นที่ปลูก 1 ไร่ โดยใช้ต้นกล้า 32,000-40,000 ต้น

การดูแลรักษาใบยา

การใส่ปุ๋ย เกษตรกรใช้ปุ๋ยเคมี สูตร 4 - 6 - 24 + MgO + 0.5 B อัตรา 50 กิโลกรัมต่อไร่ การใส่ปุ๋ยเคมีจะใส่ปุ๋ยเคมีเพียงครั้งเดียวหลังการปลูกลงแปลง 7 วัน ปริมาณการใส่ปุ๋ยเคมีและสูตรที่ใช้เป็นสูตรที่ใช้เป็นไปตามที่ทางบริษัทแนะนำเพื่อให้ได้ผลผลิตตามที่กำหนด

การให้น้ำ การให้น้ำจะใช้วิธีการแบบปล่อยน้ำเข้าตามร่องแปลงและบางรายใช้วิธีการตักน้ำรดจากบ่อ โดยใช้แหล่งน้ำตามธรรมชาติ และคลองชลประทาน การให้น้ำจะเฉลี่ย 3 ครั้งตลอดอายุการปลูก หากใช้น้ำมากเกินไปจะทำให้ใบยาสูบมีขนาดใหญ่ กลิ่นจะไม่หอม และรสชาติไม่ดี ไม่เป็นที่ต้องการของแหล่งรับซื้อ

การป้องกันกำจัดศัตรูพืช ปัญหาของโรคในต้นยาสูบ คือ โรคใบหดและโรคใบด่าง ซึ่งมีเพลี้ยอ่อนเป็นพาหะนำโรคใบหด เกษตรกรจะใช้สารเคมีกำจัดพืชออซีนฉีดพ่น ตลอดอายุการปลูกจะฉีดพ่น 6-8 ครั้ง

การเก็บเกี่ยวใบยาสูบ

การเก็บใบยาสดในประเทศไทยยังใช้วิธีเก็บด้วยมือ โดยเก็บจากใบยาล่างขึ้นไปหายอด และควรจะเก็บในเวลาเช้า การเก็บให้เลือกเฉพาะใบยาที่เริ่มแก่หรือสุกเท่านั้น เพราะมีส่วนสัมพันธ์โดยตรงกับคุณภาพใบยาแห้ง การเก็บครั้งหนึ่ง ๆ ประมาณ ๓-๕ ใบต่อต้น แต่ละครั้งห่างกัน ๕- ๑๐ วัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับประเภทของใบยา และตำแหน่งของใบบนลำต้น เช่น ใบยาชั้นล่างจะแก่หรือสุกเร็วกว่าใบยายอด เป็นต้น

ตัวอย่างการปลุกยาสูบ







ขอบคุณคลิปเผยแพร่จาก iheredottv


ที่มาข้อมูล

http://www.news1live.com http://www.trueplookpanya.com/