บทที่ 1 เรื่อง การคิดแยกแยะระหว่างผลประโยชน์ส่วนตน กับผลประโยชน์ส่วนรวม

แนะนำรายวิชา

สาระสำคัญ

1. ช่วยให้มองเห็นปัญหาต่าง ๆ ได้ดี

2. ช่วยให้บุคคลคิดหาแนวทางในการหลีกเลี่ยงหรือมืองกันปัญหาได้

3. ช่วยลดผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการคิด คือ คนจะมีการปฏิบัติหรือการกระทำตามที่เขาคิดถึงแม้ว่าจะถูกหรือผิดก็ตามเนื่องจากการคิดมีพลังอำนาจ จึงต้องการการควบคุมโดยได้ใช้วิธีการคิดต่างที่จะช่วยรักษาความคิดให้เป็นไปอย่างถูกต้อง



วัตถุประสงค์

1. บอกความสำคัญของการคิดแยกแยะระหว่างผลประโยชน์ส่วนตนและผลประโยชน์ส่วนรวม

2. บอกความหมาย ความสำคัญของหลักการคิดเป็น

3. นำหลักการคิดเป็นมาใช้ในการป้องกันการทุจริต

4. มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับผลประโยชน์ส่วนตนและผลประโยชน์ส่วนรวม

5. วิเคราะห์การคิดแยกแยะระหว่างบผลประโยชน์ส่วนตนกับผลประโยชน์ส่วนรวม

6. ตระหนักและเห็นความสำคัญของการมีส่วนร่วมในการป้องกันการทุจริต

เนื้อหาบทเรียน

คิด หมายถึง ใคร่ครวญ ไตร่ตรอง คาดคะเน คำนวณ นึก เช่น เรื่องนี้ยากยังคิดไม่ออก คิดว่าเย็นนี้ฝนอาจจะตก คิดเลขในใจ คิดละอาย เป็นต้นแยกแยะ หมายถึง กระจายออกให้เห็นชัดเจน เช่น แยกแยะปัญหาให้เห็นเป็นแต่ละประเด็นไปดังนั้น การคิดแยกแยะ เป็นการคิดแบบแยกส่วนประกอบ หรือแบบกระจายเนื้อหา เป็นการคิดที่มุ่งให้มองและให้รู้จักสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริงโดยอาศัยการแยกแยะออกเป็นส่วนประกอบต่าง ๆและมีการจัดหมวดหมู่หรือจัดป ระเภทไปพร้อมกัน เช่น ผู้เรียนมาเรียนสาย สามารถแยกแยะสาเหตุของการมาสายได้

ผลประโยชน์ส่วนตน หมายถึง การที่บุคคลทั่วไปในสถานะเอกชนหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐได้ทำกิจกรรม

หรือได้กระทำการต่าง ๆ เพื่อประโยชน์ส่วนตน ครอบครัว ญาติ เพื่อน หรือกลุ่มในสังคมที่มีความสัมพันธ์กันใน

รูปแบบต่าง ๆ เช่น การประกอบอาชีพ การทำธุรกิจการค้าการลงทุน เพื่อหาประโยชน์ทางการเงินหรือทาง

ทรัพย์สินต่าง ๆ เป็นต้น

ผลประโยชน์ส่วนรวม หมายถึง การที่บุคคลใด ๆ ในสถานะที่เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ ไม่ว่าจะเป็น

ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ข้าราชการพนักงานรัฐวิสาหกิจ หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐในหน่วยงานของรัฐก็ตาม

ได้กระทำการใด ๆ ตามหน้าที่ หรือได้ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เป็นการดำเนินการอีกส่วนหนึ่งซึ่งแยกออกมาจากการ

ดำเนินการตามหน้าที่ในสถานะของบุคคล การกระทำการใด ๆ ตามหน้าที่หรือการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่

ของรัฐจึงมีวัตถุประสงค์หรือมีเป้าหมายเพื่อประโยชน์ของส่วนรวม หรือการรักษาประโยชน์ส่วนรวมที่เป็น

ประโยชน์ของรัฐ การทำหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ของรัฐ จึงมีความเกี่ยวข้องเชื่อมโยงกับอำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย

และมีรูปแบบความสัมพันธ์หรือมีการกระทำในลักษณะต่าง ๆ ที่เหมือนหรือคล้ายกับการกระทำของบุคคลใน

สถานะเอกชน เพียงแต่การกระทำในสถานะที่เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐกับการกระทำในสถานะเอกชนมีความ

แตกต่างกันที่วัตถุประสงค์หากมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับผลประโยชน์ส่วนตนกับผลประโยชน์ส่วนรวมแล้ว จะสามารถคิดแยกแยะระหว่างผลประโยชน์ส่วนตนกับผลประโยชน์ส่วนรวมได้ ตลอดจนสร้างความตระหนักและเห็น

ความสำคัญในการต่อต้านและป้องกันการทุจริตที่เกิดขึ้นได้