1. ชื่ออาชีพ : การเพาะเห็ดหอมสด

2. รายละเอียดผู้ประกอบกิจการ : คุณบุญธรรม สุขพี้ เกษตรกรผู้ผลิตเห็ดหอม และเป็นผู้ประกอบกิจการด้านเห็ดหอม มีตำแหน่งทางการปกครอง เป็นผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 8 อายุ 47 ปี บ้านเลขที่ 41 หมู่ที่ 8 บ้านปางมะโอ ตำบลวังเงิน อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง 52150 โทรศัพท์ 062 642 3989

3. สถานที่ตั้ง (พิกัด) ผู้ประกอบอาชีพ

18.0531113,99.6657457

4.กระบวนการผลิต

ความเป็นมาของการผลิต เห็ดหอมบ้านปางมะโอ

คุณบุญธรรม สุขพี้ เกษตรกรผู้ผลิตเห็ดหอม และเป็นผู้ประกอบกิจการด้านเห็ดหอม มีตำแหน่งทางการปกครอง เป็นผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 8 อายุ 47 ปี บ้านเลขที่ 41 หมู่ที่ 8 บ้านปางมะโอ ตำบลวังเงิน อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง 52150 โทรศัพท์ (062) 642-3989 ได้เล่าให้ฟังว่า เกษตรกรบ้านปางมะโอเริ่มเพาะเห็ดหอมกันมาตั้งแต่ ปี 2534 ริเริ่มโดย ผู้ใหญ่บ้านประสิทธิ์ วงค์เขียว (เสียชีวิตแล้ว) กับ แม่เล็ก พิชยกุล อดีตประธานกลุ่มสตรีจังหวัดลำปาง ซึ่งเป็นผู้ที่มีความรู้ด้านการเพาะเห็ดหอม ได้มาทดลองเพาะเห็ดหอมในหมู่บ้านอยู่ประมาณ 2 ปี มีเกษตรกรทำตามอยู่ 4 คน เมื่อเพาะเห็ดจนผลผลิตออกดอก ก็มีปัญหาผลิตแล้วไม่มีที่ขาย นำออกไปขายก็ไม่มีใครซื้อ เพราะคนในชุมชนไม่รู้จักเห็ดหอม ราคาขายก็สูง ขณะนั้น กิโลกรัมละ 100 บาท ต่อมามี แม่บุญปั๋น วงค์แคะหล้า ประธานกลุ่มแม่บ้านสมัยนั้นได้ไปแสวงหาความรู้คิดค้นสูตรต่างๆ เกี่ยวกับการผลิตเห็ดหอม จนขายได้ กลายเป็นสินค้าใหม่ ขายได้ราคาดีเป็นแรงจูงใจ

ผู้ใหญ่บุญธรรม ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า ถ้าใช้หม้อนึ่งขนาดเล็ก จะใช้เวลาไม่ถึง 3 วัน แต่กรณีของผู้ใหญ่บุญธรรมใช้ถังปูน ขนาด กว้างxยาวxสูง (2.5x3x2 เมตร) ใช้แรงดันความร้อนด้วยหม้อน้ำ

  • เขี่ยเชื้อเห็ดหอมใส่ถุง นำไปบ่มในโรงเรือนเป็นเวลานาน 4 เดือนครึ่ง ถึง 5 เดือน
  • เมื่อก้อนเชื้อเห็ดหอมแก่ จะเปิดดอกเห็ด สังเกตว่าก้อนเห็ดหอมมีสีน้ำตาลเข้ม เปิดฝาจุกตัดปากถุง
  • ฉีดพ่นน้ำให้มากที่สุดจนชุ่ม เพื่อกระตุ้นเส้นใยให้ตื่นตัวทั้งช่วงเช้าและเย็น เป็นเวลา 2 วัน จากนั้นพลิกถุงอีก 2 วัน นำไปตั้งไว้เหมือนเดิม ขณะเดียวกันต้องรักษาความชื้นภายในโรงเรือนด้วย อีก 3 วัน ก็เก็บดอกเห็ดหอมได้


5.วิธีการผลิตเห็ดหอมในอดีตและปัจจุบัน

  1. โรงเรือนเพาะเห็ดหอม ในอดีตเกษตรกรมักจะเพาะเห็ดหอมกันตามบ้านเรือน เรียกได้ว่าทุกบ้านจะมีพื้นที่เต็มไปด้วยเห็ดหอม จะว่างเว้นเฉพาะทางเดินและที่นอนในบ้านเท่านั้น แต่ปัจจุบันแต่ละครอบครัวได้สร้างโรงเรือน อย่างน้อยครอบครัวละ 2 โรงเรือน ลักษณะโรงเรือนตามมาตรฐานที่ควรจะเป็น เป็นโรงเรือนเพาะแบบชั้นเดียวและแบบคอนโดฯ ก็มี ฝาผนัง หลังคา มุงด้วยหญ้าคา สามารถป้องกันความร้อนได้ พื้นรองมีทั้งที่เป็นพื้นปูนซีเมนต์และเป็นพื้นดิน แต่ที่สำคัญต้องมีความสะอาดปลอดเชื้อโรค จึงมีการใช้ปูนขาวโรยบริเวณพื้นและรอบๆ โรงเรือน เป็นการป้องกันแมลงและเชื้อโรค
  2. วัตถุดิบที่ใช้ในการเพาะเห็ดหอม

ผู้ใหญ่บุญธรรม ได้เปิดเผยข้อมูลโดยไม่ปิดบัง ทั้งตอบข้อสงสัยได้อย่างละเอียดของขั้นตอนและส่วนผสมวัตถุดิบในการเพาะเห็ดหอม ดังนี้

    • เชื้อเห็ดหอม ปัจจุบันยังต้องสั่งซื้อจากในตัวเมืองลำปางบ้าง จังหวัดลำพูนบ้าง ที่เกษตรกรไม่ผลิตหัวเชื้อเองเพราะยังขาดองค์ความรู้และต้นทุนสูง (หัวเชื้อเห็ดหอม 1 ขวด ใช้เขี่ยเชื้อใส่ก้อนเห็ดได้ 20 ถุง)
  • อาหารเชื้อเห็ดหอม ประกอบด้วย

– ขี้เลื่อยไม้ยางพาราแห้ง หรือจากต้นจามจุรี หรือกระถินณรงค์ จำนวน 100 กิโลกรัม

ผู้ใหญ่บุญธรรม บอกว่า ใช้ขี้เลื้อยจากไม้ยางพาราดีที่สุด แต่มีข้อจำกัดคือ ต้องสั่งซื้อมาจากจังหวัดภาคใต้ ทำให้ต้นทุนค่าขนส่งสูง

– รำละเอียด ใช้เป็นอาหารให้เชื้อเห็ด จำนวน 10 กิโลกรัม

– ดีเกลือ เพื่อบำรุงเส้นใย จำนวน 200 กรัม

– น้ำตาลทรายขาวหรือแดง ใช้เป็นอาหารให้เชื้อเห็ด จำนวน 1 กิโลกรัม

– ปูนขาว ใช้เพื่อปรับสมดุลของวัตถุดิบ จำนวน 1 กิโลกรัม

– ยิปซัม ใช้เป็นอาหารให้เชื้อเห็ด จำนวน 50 กรัม

ขั้นตอนการผลิตเห็ดหอม

  • นำวัตถุดิบทั้งหมดมาผสมคลุกเคล้าให้เข้ากันด้วยมือหรือเครื่องผสมก็แล้วแต่ ให้ได้ความชื้น 50-60% โดยใช้น้ำเป็นตัวประสาน
  • บรรจุใส่ถุงพลาสติกอัดให้แน่นด้วยมือหรือเครื่องอัด ให้ได้น้ำหนักถุงละ 1 กิโลกรัม
  • นำก้อนเห็ดไปนึ่ง เพื่อฆ่าเชื้อโรค ใช้ความร้อนที่อุณหภูมิ 95 องศาเซลเซียส นาน 3 วัน นำออกจากถังนึ่ง ทิ้งไว้ 1 คืน ให้ก้อนเห็ดเย็นลงเสียก่อน

ผู้ใหญ่บุญธรรม กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า “ในกรณีที่ราคาเห็ดตก หรือราคาต่ำกว่าที่ควรจะได้ หากเก็บขายอาจไม่คุ้มค่าก็จะงดให้น้ำ เพื่อไม่ให้ก้อนเชื้อเห็ดออกดอก เมื่อไม่ให้น้ำดอกเห็ดจะไม่ออกดอก”

ขอบคุณข้อมูลจาก https://www.technologychaoban.com

6.ผู้บันทึกข้อมูล

นางสาวบงกช เกิดในวงศ์ ครูกศน.ตำบลวังเงิน