ป่าชุมชนบ้านแม่เชียงรายลุ่ม

ข้อมูลพื้นฐาน

สภาพพื้นที่ พื้นที่แห้งแล้ง/พื้นที่ป่าเต็งรัง

สภาพดิน ดินทรายปนลูกรัง

สภาพแหล่งน้ำ แม่น้ำวังไหลผ่าน หนองน้ำ

จำนวนประชากร 1,105 คน

จำนวนครัวเรือน 293 ครัวเรือน

ระยะเวลาการตั้งถิ่นฐานของชุมชน 150 ปี

สภาพปัญหาของชุมชน

เมื่อประมาณ 30 ปี ก่อนหน้านี้ บ้านแม่เชียงรายลุ่มเป็นชุมชนที่มีความสมบูรณ์ เนื่องจากมีหนองน้ำขนาดใหญ่ มีเนื้อที่ 926 ไร่ ต่อมาสภาพป่าไม้ และหนองกระทุ่มปงถูกใช้ประโยชน์จากบุคคลทั้งในและนอกชุมชน อย่างหนัก ทำให้จากที่มีน้ำใช้เพื่อการเกษตรตลอดทั้งปี ได้ขาดแคลนในฤดูแล้ง อาหารและรายได้ของชุมชนก็หายไป ป่าถูกทำลาย โดยการลักลอบต้ดไม้ การบุกรุกที่ป่า การพยายามจะจัดสรรที่ทำกิน (สปก.)

การเรียนรู้ และการจัดการตามแนวพระราชดำริ

• ชุมชนได้เกิดการเรียนรู้ โดยตั้งคำถามและเสาะหาคำตอบด้วยตัวเอง จากปัญหาที่เกิดขึ้นกับหนองกระทุ่มปง และป่าชุมชน

• กำหนดเขตป่าชุมชนมีพื้นที่ 2,500 ไร่ และทำแนวกันำไฟ

• กิจกรรมปลูกป่า บวชป่า สืบชะตาป่า

• จัดเวทีประชาคมหมู่บ้าน โดยมีตัวแทนจากเขตคุ้มต่างๆ 12 คุ้ม ร่วมกันร่างกฎระเบียบข้อบังคับของป่าชุมชน พร้อมกับจัดเวรยามรักษาป่า ทั้งกลางวัน และกลางคืน

• แบ่งเขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์น้ำในเนื้อที่ 38 ไร่ เป็นเขตปล่อยพันธุ์ปลา และพันธุ์กุ้ง อย่างต่อเนื่องทุกปี

• แบ่งเขตสำหรับตกปลา 5 ไร่

ผลสำเร็จ/การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น

• ชุมชนมีความเข้มแข็งและมีจิตสำนึกในการรักและหวงแหนทรัพยากรธรรมชาติ ทั้งป่าชุมชนและหนองกระทุ่มปง

• ผลผลิตที่ได้จากป่าชุมชนและหนองกระทุ่มปงเพิ่มขึันอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการเก็บเห็ดโคนและเห็ดอื่นๆ ทั้งการบริโภค และจำหน่าย

• เกิดแผนชุมชนที่ได้จากกระบวนการเรียนรู้และหาแนวทางในการแก้ปัญหาของครัวเรือน เขตคุ้มและประชาคมหมู่บ้าน อย่างแท้จริง โดยได้ผ่านการประเมินและรับรองมาตรฐานแผนชุมชนของจังหวัดลำปาง ปี 2552

• เป็นเวทีเสวนาแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ ของเครือข่ายป่าชุมชนระดับจังหวัดและหมู่บ้านรอบๆ ป่าชุมชน

• จากกระบวนการเรียนรู้ที่เกิดจากชุมชนได้ร่วมกันจัดกิจกรรมตามแนวพระราชดำริ โดยมีการใช้ประโยชน์จากป่าชุมชนและแหล่งน้ำอย่างคุ้มค่าและยั่งยืน จนได้รับคัดเลือกจากพัฒนาชุมชนจัดหวัดลำปาง ให้เป็นตัวแทนนำเสนอศูนย์กลางการเรียนรู้ที่เกิดจากการจัดกิจกรรมการประเมินจากกรมพัฒนาชุมชน

• ชนะเลิศกลุ่ม/องค์การแกนหลักสำคัญในการพัฒนาหมู่บ้าน(คณะกรรมการป่าชุมชน) ระดับจังหวัดปี 2552 โดยกรมพัฒนาชุมชน

• ได้รับคัดเลือกเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ พออยู่พอกินของอำเภอแม่พริก ปี 2553 โดยกรมพัฒนาชุมชน

• หมู่บ้านอนุรักษ์ต้นน้ำดีเด่น โดยกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช ปี 2547