จักสานพลาสติก 

นางวัฒนา ลีเจริญ 

จุดเด่นของภูมิปัญญา

       จักสานเป็นผลิตภัณฑ์ หัตถกรรม ที่บ่งบอกถึงความรุ่งเรือง ประเพณี วัฒนธรรมของพื้นบ้าน มีการสืบทอดเทคนิควิธีการมาหลายช่วงอายุคน ซึ่งมีพื้นฐานการพัฒนาลวดลายในแบบต่างๆ อย่างต่อเนื่อง โดยมีพื้นฐานในการออกแบบจากสภาพการดำรงชีวิต วัฒนธรรม ประเพณี ความเชื่อ ศาสนา และธรรมชาติที่แตกต่างกันในแต่ละยุคสมัย

ที่มาของภูมิปัญญา

       จากเส้นพลาสติกเหลือใช้เป็นจำนวนมากในปัจจุบัน เป็นปัญหาอย่างยิ่งกับสิ่งแวดล้อม หากนำไปเผา จะทำให้เกิดภาวะโลกร้อน หากนำไปทิ้งจะย่อยสลายช้าทำให้เกิดมลพิษ เกษตรกรชาวสวนยางจึงมีแนวคิดที่จะ ประยุกต์เส้นพลาสติกดังกล่าวให้เกิดประโยชน์อีกทั้งมีความต้องการให้ผู้สูงอายุในหมู่บ้านได้ใช้เวลาว่างให้เกิด ประโยชน์ จึงเกิดความคิดที่จะสานเส้นพลาสติกในรูปแบบต่าง ๆ จากประสบการณ์ของแต่ละคน ได้มีการ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกันในวิธีการสานเส้นพลาสติกให้เป็นรูปของตะกร้าต่าง ๆ จากรูปแบบง่าย ๆ พัฒนาจน มีรูปแบบการสานที่ซับซ้อนและหลากหลายขึ้น เช่น สานตะกร้าหิ้ว , สานตะกร้าใส่ผ้า , สานกระเป๋าสะพาย , สานกล่องกระดาษทิชชู เป็นต้น

รายละเอียดภูมิปัญญา  (ลักษณะภูมิปัญญา/รูปแบบ/วิธีการ/เทคนิคที่ใช้/ภาพถ่าย หรือภาพวาดประกอบ/พัฒนาการของผลิตภัณฑ์ หรือผลงาน/กระบวนการสร้างภูมิปัญญา/ลักษณะการใช้ประโยชน์จากภูมิปัญญาที่เกิดขึ้น)

       การจักสานเป็นอาชีพที่ชาวบ้านพรานหารายได้ช่วยจุนเจือครอบครัวในยามที่เสร็จสิ้นจากการทำนา คนในชุมชนรู้จักและมีภูมิปัญญาด้านการจักสานเป็นพื้นฐานอยู่แล้ว ซึ่งสืบทอดมาจากบรรพบุรุษ รู้จักการนำหวาย ไม้ไผ่ ก้านลานมาทำตะกร้า กระบุง ชะลอม ผลิตใช้สอยในครัวเรือน สมัยก่อนชาวบ้านจะทำไว้ใช้เอง การจักสานสืบทอดมาจากบรรพบุรุษในถิ่นฐานเดิม มีผู้ทรงภูมิปัญญาถ่ายทอดองค์ความรู้แบบดั่งเดิม ซึ่งยังไม่มีการพัฒนารูปแบบแต่อย่างใด

       จักสานพลาสติก เป็นศิลปะการจักสานที่มีลวดลายสวยงาม การออกแบบ สีสันของเส้นพลาสติก ลวดลายต่าง ๆตามความต้องการของลูกค้า มีความละเอียดประณีต เรียบร้อย ได้มาตรฐาน คงทน สมประโยชน์ ราคาไม่แพง มีการพัฒนารูปแบบทันสมัยอย่างต่อเนื่องและเป็นสากล แต่กระบวนการผลิตยังใช้แบบดั่งเดิม ทำให้มองเห็นคุณค่าและแสดงถึงเอกลักษณ์ความเป็นไทย ซึ่งเป็นความภาคภูมิใจของคนบ้านพราน เป็นผลงานจากการสร้างสรรค์ชิ้นงานที่ประสานภูมิปัญญาของคนรุ่นเก่ากับคนรุ่นใหม่ ให้เข้ากันได้อย่างลงตัวและเหมาะสม

    รูปแบบและลักษณะการถ่ายทอด  เผยแพร่ภูมิปัญญาท้องถิ่น  (ที่สะท้อนความน่าเชื่อถือ  การยอมรับผ่านบุคคล/ชุมชน/องค์กร/รางวัล/ใบประกาศ/การจดทะเบียนลิขสิทธิ์  สื่อดิจิทัล/เอกสารเผยแพร่ 
คลิป VDO  ฯลฯ)

       การส่งเสริมและการอนุรักษ์การจักสาน โดยให้มีการผลิตอย่างต่อเนื่อง มีการพัฒนารูปแบบตลอดเวลาจึงมีการถ่ายทอดให้กับผู้ที่ต้องการศึกษา เพื่อเป็นพื้นฐานในการประกอบอาชีพให้กับแม่บ้าน นักเรียน นักศึกษา ผู้ที่สนใจทั่วไป เพื่อเป็นการสืบสานภูมิปัญญาของคนรุ่นเก่าสู่คนรุ่นใหม่ได้อย่างมีคุณภาพและเป็นการอนุรักษ์ และป้องกันภูมิปัญญามิให้สูญหาย  ปัจจุบันการจักสานพลาสติกของตำบลศรีพราน เปรียบเสมือนเป็นวิถีชีวิตของคนในชุมชนเนื่องจากเป็นอาชีพเสริมที่ทำให้เกิดรายได้ดีทำให้คนในชุมชนมีรายได้ที่มั่นคง