ปราชญ์ประจำตำบล/ภูมิปัญญาท้องถิ่น

ผู้รู้/ปราชญ์ชาวบ้าน

บุคคลผู้เป็นเจ้าของภูมิปัญญาชาวบ้าน และนำภูมิปัญญามาใช้ประโยชน์ในการดำรงชีวิตจนประสบผลสำเร็จสามารถถ่ายทอดเชื่อมโยงคุณค่าของอดีตกับปัจจุบันได้อย่างเหมาะสม ความเหมือนกันระหว่างผู้ทรงภูมิปัญญาไทยกับปราชญ์ชาวบ้านคือ บทบาทและภารกิจในการนำภูมิปัญญาไปใช้แก้ปัญหา และการถ่ายทอดเพื่อให้เกิดความเชื่อมโยงจากอดีตถึงปัจจุบัน ส่วนความแตกต่างกันนั้นขึ้นอยู่กับระดับภูมิปัญญาที่จะนำไปแก้ปัญหาและถ่ายทอดกล่าวคือ ผู้ทรงภูมิปัญญาไทยย่อมมีความสามารถหรือภารกิจในการนำภูมิปัญญาระดับชาติไปแก้ปัญหา หรือถ่ายทอด หรือผลิตผลงานใหม่ๆ ที่มีคุณค่าต่อประเทศชาติโดยส่วนรวม ส่วนปราชญ์ชาวบ้านมีความสามารถหรือภารกิจในการนำภูมิปัญญาชาวบ้าน หรือภูมิปัญญาท้องถิ่นไปแก้ปัญหาหรือถ่ายทอดในท้องถิ่น

ภูมิปัญญา

พื้นฐานความรู้ความสามารถ ความคิด ความเชื่อ ความสามารถทางพฤติกรรม ความสามารถในการแก้ไขปัญหา โดยใช้ประสบการณ์ที่สั่งสมไว้ในการปรับตัว และดำรงชีพในสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ โดยใช้ประสบการณ์ที่สั่งสมไว้ในการปรับตัว และดำรงชีพในสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมทางสังคมและวัฒนธรรมที่ได้มีการพัฒนาสืบสานกันมา อันเป็นผลของการใช้สติปัญญาปรับตัวให้เข้ากับสภาพต่าง ๆ ในพื้นที่ที่กลุ่มชนเหล่านั้นตั้งถิ่นฐานอยู่ รวมทั้งได้มีการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมกับกลุ่มอื่น

ปราชญ์ด้านการแพทย์แผนไทย

มนุษย์ทุกคนล้วนเกิด แก่ เจ็บ ตาย การเจ็บไข้ได้ป่วยเกิดขึ้นได้ตลอดเวลาตั้งแต่เราเกิดมาจนแก่เฒ่าและตายไป ในสมัยโบราณคนไทยได้เรียนรู้วิธีการแก้ปัญหาหรือบำบัดรักษาโรคภัยไข้เจ็บที่เกิดขึ้นโดยการลองผิดลองถูกอาจเริ่มต้นจากการบีบนวดบริเวณที่เจ็บปวดตามร่างกายแล้วสามารถทำให้ผ่อนคลายหรือหายจากความเจ็บปวดได้หรือโดยการสังเกตผลจากการกินพืช ส่วนของพืช ผัก ผลไม้บางชนิด ตลอดจนสัตว์หรือส่วนของสัตว์ซึ่งทำให้บรรเทาหรือหายจากความเจ็บป่วยได้ ประสบการณ์เหล่านี้ค่อย ๆ ถูกสะสมไว้แล้วถ่ายทอดสืบต่อกันมาจากคนรุ่นหนึ่งสู่คนอีกรุ่นหนึ่งจนมาถึงปัจจุบัน ความรู้ที่เกิดขึ้นเหล่านี้เมื่อได้ผ่านการรวบรวม วิเคราะห์ สรุป และจัดให้เป็นระบบหรือเป็นหมวดหมู่กลายเป็นระบบการแพทย์แบบดั้งเดิมของคนไทยซึ่งในสมัยก่อนเรียกกันว่า การแพทย์แผนโบราณ แต่ปัจจุบันนิยมเรียกเป็น การแพทย์แผนไทย โดย นายสมยา รัตนพลที บ้านเลขที่ 24 หมู่ที่ 2 ตำบลนาชุมแสง อำเภอทุ่งฝนจังหวัดอุดรธานี โทร 0844337993