การแขวนโคม เป็นหัตถกรรมพื้นบ้านของชาวล้านนาและภูมิปัญญาของบรรพบุรุษที่สืบทอดต่อกันมา มีความเชื่อสำคัญเกี่ยวกับการถวายโคมหลังออกพรรษา ช่วงเวลาใกล้เคียงกับเทศกาล   “ยี่เป็ง” หรืองานลอยกระทงภาคเหนือ โดยความเชื่อถึงการบูชาไฟ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ เพื่อแสดงความศรัทธาเสมอเหมือน... ให้ไฟเป็นแสงสว่างช่วยนำทาง เปรียบเทียบได้กับ...สิ่งคุ้มครองก็คือปกป้องดูแลผู้ที่แขวนบูชาโคม ให้แก่เจ้าของบ้านและคนในครอบครัว เปรียบเสมือนแสงทางส่องชีวิตต่ออายุของผู้ถวายโคมไฟเพื่อเป็นพุทธบูชา

งานประเพณียี่เป็งของชาวล้านนาจะทำการประดับตกแต่งอาคารบ้านเรือน วัด สถานที่ราชการ และสถานที่เอกชน ด้วยโคมล้านนากันมากยิ่งขึ้นในปัจจุบัน  สำหรับโคมล้านนาเป็นหัตถกรรมพื้นบ้านของชาวล้านนาและภูมิปัญญาของบรรพบุรุษที่สืบทอดต่อกันมา

สกร.อำเภอเมืองลำพูน ได้มีการส่งเสริมสนับสนุนการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาตนเอง เป็นการศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพ หลักสูตรระยะสั้น ประเภทกลุ่มสนใจ (ไม่เกิน 30 ชั่วโมง) หลักสูตรการทำโคมล้านนา ให้กับประชาชนที่มีความสนใจประดิษฐ์โคมล้านนา เพื่อส่งเสริมการสร้างอาชีพ และการมีงานทำ พร้อมทั้งสามารถนำสินค้าโคมล้านนา มาจำหน่วยในช่วงเทศกาลต่างๆ เช่น เทศกาลยี่เป็ง หรือลอยกระทง โดยได้เชิญภูมิปัญญาท้องถิ่น ผู้มีความรู้และประสบการณ์มาสอนการทำโคมล้านนา ให้แก่ผู้ที่สนใจชึ่งจะสามารถทำให้ประขาชนในชุมชนมีอาชีพเสริมเพิ่มรายได้ ตลอดจนมีหน่วยงาน เครือข่ายให้การสนับสนุนรับซื้อโคมจากชุมชนเพื่อนำมาประดับตกแต่งอาคาร   สำนักงาน ร้านค้า บ้านเรือน ในช่วงเทศกาลโคมแสนดวงของเมืองลำพูน เพื่อนำเอาคุณค่าทางวัฒนธรรมมาสร้างเป็นมูลค่าทางเศรษฐกิจให้กับชุมชน และส่งเสริมการท่องเที่ยววิถีใหม่ทำให้เศรษฐกิจของจังหวัดลำพูนดีขึ้น มีนักท่องเที่ยวมาเที่ยวในเทศกาลยี่เป็ง ชื่อภูมิปัญญาท้องถิ่น นางศศิกานต์ เมืองลือ อายุ 67 ปี ที่อยู่ 91/3 หมู่ 6 ตำบลอุโมงค์ จังหวัดลำพูน เป็นวิทยากรอาชีพระยะสั้นโครงการเรียนรู้อาชีพการทำโคมล้านนาตำบลอุโมงค์

ข้อมูลเนื้อหา โดย นายภูวดล  ไชยวงค์ /นางสาวนฤดี  อุปกิจ

เรียบเรียงข้อมูล/เนื้อหา : นางสาวนฤดี  อุปกิจ ครู อาสาสมัครการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอเมืองลำพูน

ภาพถ่าย/ภาพประกอบ  โดย นางสาวนฤดี  อุปกิจ