นางแสงจันทร์ พิรุณ

ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านเกษตรกรรม

สาขาการแปรรูผลิตภัณฑ์จากข้าวเม่า

ประวัติของภูมิปัญญาท้องถิ่น

นางแสงจันทร์ พิรุณ ชื่อเรียกกันทั่วไปคือ แสงจันทร์ เชื้อชาติไทย สัญชาติไทย เกิดเมื่อวันที่ ๒๓ พฤศจิกายน ๒๕๐๑ ที่บ้าน้ำอ้อม ตำบลน้ำอ้อม อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัด

ร้อยเอ็ด ที่อยู่ปัจจุบัน คือ บ้านเลขที่ ๑๕๒ หมู่ที่ ๗ ตำบลน้ำอ้อม อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด

จบการศึกษาระดับประถมศึกษาปีที่ ๔ ที่โรงเรียนบ้านน้ำอ้อม จบชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ จากศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอเกษตรวิสัย จบชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น จากศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอเกษตรวิสัยและขณะนี้กำลังศึกษาอยู่ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย

ที่ศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอเกษตรวิสัย

นางแสงจันทร์ พิรุณ เป็นบุตรของนายอำคา แวงธำรงค์ และ

นางแก้ว แวงธำรงค์ เป็นบุตรคนที่ ๖ ในจำนวนพี่น้อง ๗ คน มีอาชีพหลักคือ ทำนา

อาชีพรอง คือการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากข้าวเม่าเพื่อจำหน่าย รายได้ของครอบครัวเฉลี่ยปีละประมาณ แปดหมื่นบาท สมรสกับ นายสุบัน พิรุณ มีบุตร-ธิดา จำนวน ๒ คน คือนายไพรวัลย์ พิรุณ จบชั้น ป.๖ ประกอบอาชีพช่างกลึง

นายบุญทัน พิรุณ จบชั้น ปวช. ประกอบอาชีพ ช่างยนต์

จุดเด่นของผลิตภัณฑ์ มีรสชาด หอม หวาน มัน อร่อย มีคุณค่าทางโภชนาการและเป็นผลิตภัณฑ์ ที่วิวัฒนาการมาจากภูมิปัญญาท้องถิ่น

วิธีถ่ายทอดองค์ความรู้ความเชี่ยวชาญ

ถ่ายทอดความรู้ให้แก่นักเรียน โรงเรียนบ้านน้ำอ้อม และสอนกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร บ้านน้ำอ้อม โดยการ อธิบาย สาธิต และการฝึกปฏิบัติจริง

กลุ่มเป้าหมายที่ได้รับการถ่ายทอด คือ เด็กนักเรียนโรงเรียนบ้านน้ำอ้อม และเยาวชน จำนวน ๑,๕๐๐ คนต่อปีการสร้างเครือข่าย เกิดจากการศึกษาดูงานของสมาชิกกลุ่มแต่ละกลุ่ม การประชาสัมพันธ์ต่อกันไป จากสื่อประชาสัมพันธ์ต่าง ๆ เช่น วิทยุ โทรทัศน์ และการนำเอาผลิตภัณฑ์ไปจำหน่ายในงานต่าง ๆ เช่น การขายตรง ผู้ผลิต พบ ผู้บริโภค เป็นศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยี ซึ่งมีเครือข่าย ดังนี้ กศน..เกษตริสัย สำนักงานเกษตรอำเภอเกษตรวิสัย สำนักงานเกษตรจังหวัดร้อยเอ็ด ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอเกษตรวิสัย สำนักงานพานิชจังหวัดร้อยเอ็ด สถาบันวิจัยมหาวิทยาลัยขอนแก่น องค์การบริหารส่วนตำบลน้ำอ้อม และสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดร้อยเอ็ด

ประสบการณ์หรือความเชี่ยวชาญอื่น ๆ นางแสงจันทร์ พิรุณ

มีประสบการณ์ในการทำข้าวเม่าแบบดั้งเดิมแบบโบราณ )การแปรรูปผลิตภัณฑ์จากข้าวเม่า และการนำเอาเทคโนโลยีที่ทันสมัย เข้ามาช่วยในการผลิต

ผลงานที่ทำประโยชน์ต่อชุมชนและสังคม คือ เป็นผู้นำชุมชนที่เสียสละให้กับชุมชน และสังคม เป็นแม่ดีเด่น แม่ตัวอย่าง ของจังหวัดร้อยเอ็ด

ประสบการณ์การเรียนรู้ที่นำไปสู่ผู้เชี่ยวชาญ ของนางแสงจันทร์ พิรุณ คือการได้รับ ความรู้การถ่ายทอด จากบรรพบุรุษ บิดา – มารดา และต่อมามีหน่วยงานเฉพาะกิจอำเภอ และหน่วยงานสถาบันวิจัยและพัฒนามาหาวิทยาลัยขอนแก่น มาให้ความรู้ในการใช้วัสดุ อุปกรณ์ ที่ทันสมัย เป็นเครื่องทุ่นแรงในการผลิต

นางแสงจันทร์ พิรุณ เป็นภูมิปัญญา ที่มีความเชี่ยวชาญต้านเกษตรกรรม สาขาการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากข้าวเม่า

ระยะเวลาในการเป็นผู้เชี่ยวชาญ เริ่มตั้งแต่การทำข้าวเม่าธรรมดา สมัยเป็นเด็ก จนถึง ปี พ.ศ.๒๕๓๕ และทำการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากข้าวเม่า ตั้งแต่ ปี พ.ศ.๒๕๓๕ จนถึง ปัจจุบัน (๒๕๔๘)

การทำข้าวเม่าสมัยโบราณจะทำเป็นประเพณีบุญข้าวเม่า ซึ่งจะนำเอารวงข้าวที่ยังไม่แก่จัดมาตีคัดแยก เอาเมล็ดออกจากรวงข้าว นำไปแช่น้ำทำความสะอาด คั่วให้สุก นำไปตำด้วยครกกระเดื่อง โดยใช้แรงงานคน ถ้า ข้าวอ่อนเกินไป เวลาตำจะติดกันเป็นก้อน หรือชาวบ้านเรียกว่าขี้แมว หลังจากนั้น นำมาฝัดโดยใช้กระด้งฝัดแยกเปลือกออก จะได้ข้าวเม่าสด ต่อมาก็มีวิวัฒนาการมาทำการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากข้าวเม่า จนถึงปัจจุบัน

องค์ความรู้ คุณค่า ความหมาย คือ เป็นวิถีชีวิตที่ผูกพัน อยู่กับข้าว

ความสำคัญ การทำข้าวเม่า เป็นการนำเอาแนวความคิด มาจากภูมิปัญญาชาวบ้าน ตั้งแต่สมัยบรรพบุรุษ ซึ่งเป็นขั้นตอนง่าย ๆ ที่ลูกหลานทำสืบต่อกันมาเป็นกระบวนการผลิตข้าวเม่าแบบชาวบ้าน เพียงแต่นำข้าวเปลือกมาแช่น้ำคัดเมล็ดลีบที่ลอยน้ำออก และทำการสะเด็ดน้ำ หรือให้เปียก พอหมาด ๆ ขั้นตอนต่อไปคือ การนำไปคั่วให้สุกในกะทะ ปัจจุบันใช้กะทะคั่วแบบเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่องกับเครื่องคั่ว ร่อนแยกเปลือกข้าวด้วยกระด้ง ตะแกรงคัดแยกสิ่งเจือปนตามระบบเป็นการทำงานอย่างต่อเนื่อง สุดท้ายเป็น ”ข้าวเม่า” พร้อมที่จะปรุงเป็นสูตรต่าง ๆ ตามความต้องการของตลาด

โดยปกติ ชาวบ้านน้ำอ้อมประกอบอาชีพทำนาเป็นอาชีพหลัก วิถีชีวิตผูกพันอยู่กับข้าว มีพิธีกรรมหลายอย่างที่เกี่ยวข้องกับข้าว เช่น บุญคูณลาน บุญข้าวจี่ บุญข้าวเม่า ซึ่งเป็นประเพณีที่ยึดถือและปฏิบัติกันมายาวนาน ข้าวเม่าเดิมชาวบ้านจะทำเพื่อ นำไปถวายพระในงานบุญข้าวเม่า และเหลือไว้เพื่อรับประทานในครอบครัวเท่านั้น เพราะมีขั้นตอนการทำที่ยุ่งยาก และสามารถทำได้ในช่วงเดือนกันยายน ถึงเดือนพฤศจิกายน ซึ่งเป็นช่วงที่ข้าวติดเมล็ดและยังไม่แก่จัดเท่านั้น แต่ยังมีบางครอบครัว ทำข้าวเม่าเพื่อขายให้เพื่อนบ้านที่ไม่มีเวลาว่างในการทำข้าวเม่า