การจักสานไม้ไผ่

การจักสานไม่ไผ่

บ้านนาเลิน หมู่ที่ 1 ตำบลนาเลิน อำเภอศรีเมืองใหม่ จังหวัดอุบลราชธานี


ความเป็นมา

ในสภาพปัจจุบันมนุษย์เราได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆ เช่น ด้านเศรษฐกิจ การเมือง สังคมสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างมาก เมื่อประชากรเพิ่มมากขึ้นแต่ทรัพยากรธรรมชาติถูกใช้ไปอย่างรวดเร็ว และไม่เพียงพอต่อความต้องการ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่มนุษย์จะต้องสร้างขึ้นหรือทดแทนโดยวิธีต่างๆเพื่อความอยู่รอด

การทำผลิตภัณฑ์จากไม้ไผ่เป็นอาชีพอิสระที่กำลังอยู่ในความสนใจ ของหลายๆคนเนื่องจากการทำผลิตภัณฑ์จากไม้ไผ่เป็นภูมิปัญญาที่เป็นพื้นฐานของสังคมไทยซึ้งสืบทอดมาจากบรรพบุรุษโดยในอดีตได้มีการใช้เทียนที่มีมาทำให้เกิดประโยชน์เป็นของใช้สอยในครัวเรือนเป็นจำนวนมาก แต่เนื่องจากยุคสมัยได้เปลี่ยนแปลงไปรูปแบบการใช้งาน หรือรูปแบบผลิตภัณฑ์ย่อมต้องมีการปรับเปลี่ยนให้รับกับความเปลี่ยนแปลง จึงมีการทำผลิตภัณฑ์จากไม้ไผ่ ประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์และเป็นของใช้ในครัวเรือน นอกจากนี้ยังสามารถสร้างรายได้ให้กับครอบครัวได้ด้วย

ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอศรีเมืองใหม่ จึงนำนโยบายสู่การปฏิบัติเพื่อการพัฒนาหลักสูตรอาชีพที่พบว่าบางหลักสูตรการจัดกระบวนการเรียนรู้ยังไม่เป็นระบบมีเพียงต่อการสอนและถ่ายทอดบอกกล่าวจากบุคคลสู้บุคคล อีกทั้งยังขาดตำราหรือหลักสูตรที่เป็นเอกสาร ศูนย์การศึกษานอกระบบปละการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอศรีเมืองใหม่ จึงพัฒนาหลักสูตรการทำเทียนหอมสมุนไพรขึ้น เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ ความเข้าใจ และทักษะการทำเทียนหอมสมุนไพรลายต่างๆ และสามารถนำไปเป็นอาชีพหลักหรืออาชีพเสริมได้

หลักการของหลักสูตร

1. เป็นหลักสูตรที่เน้นการจัดการศึกษาอาชีพเพื่อการมีงานทำ ที่เน้นการบูรณาการเนื้อหาสาระภาคทฤษฎีควบคู่ไปกับการฝึกปฏิบัติจริง ผู้เรียนสามารถนำความรู้และทักษะไปประกอบอาชีพได้จริงอย่างมีคุณภาพและมีคุณธรรมจริยธรรม

2. เป็นหลักสูตรที่เน้นการดำเนินงานร่วมกับเครือข่าย สถานประกอบการ เพื่อประโยชน์ในการประกอบอาชีพและการศึกษาดูงาน

3. เป็นหลักสูตรที่ผู้เรียนสามารถนำผลการเรียนรู้ไปเทียบโอนเข้าสู่หลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ในรายวิชาเลือกของสาระการประกอบอาชีพ

4. เป็นหลักสูตรที่เน้นการใช้ศักยภาพ 5 ด้านในการประกอบอาชีพ ได้แก่ ศักยภาพด้านทรัพยากร ภูมิอากาศ ภูมิประเทศและทำเล ที่ตั้ง ศิลปวัฒนธรรมประเพณีและวิถีชีวิต และด้านทรัพยากรมนุษย์ตามความเหมาะสมของแต่ละในพื้นที่

จุดมุ่งหมาย

1. เป็นหลักสูตรการประกอบอาชีพที่ทำให้เกิดความริเริ่มสร้างสรรค์

2. เป็นหลักสูตรการประกอบอาชีพที่ส่งเสริมการทีงานทำของประชาชน

3. เป็นหลักสูตรที่ยืดหยุ่น ทั้งเนื้อหา ระยะเวลาเรียน และการจัดกระบวนการเรียนรู้

4. เป็นหลักสูตรอาชีพที่สามารถเทียบโอนเข้าสู้หลักสูตรสถานศึกษาของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ในหลักสูตรการศึกษานอกระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ในสาระการประกอบอาชีพรายวิชาเลือกที่สถานศึกษาจัดทำขึ้นได้