แหล่งเรียนรู้

1. ประเภท (ข้อมูลเฉพาะ)แหล่งเรียนรู้

แหล่งเรียนรู้ที่เป็นธรรมชาติ

แหล่งเรียนรู้ที่เป็นสื่อนวัตกรรมและเทคโนโลยี

แหล่งเรียนรู้ที่เป็นแหล่งวิชาการ/สถานที่ (บ้านแมลงลำปาง)

2. ประวัติความเป็นมาของแหล่งเรียนรู้

(ยุคแรกเริ่ม)

เนื่องจากกรมป่าไม้ มีหน้าที่รับผิดชอบในการดูแลรักษาป่าไม้ ซึ่งเป็นทรัพยากรอันมีค่ามหาศาลของประเทศปลูกป่าทดแทนพื้นฟูป่า และปลูกสร้างสวนป่าในรูปของป่าเศรษฐกิจเพื่อให้ได้ผลผลิตสมบูรณ์และมีคุณภาพ กรมป่าไม้ตระหนักถึงปัญหาของศัตรูพืชป่าไม้ที่เป็นภัยร้ายแรงทางป่าไม้ โดยเฉพาะแมลงและโรคที่ทำอันตรายพืชป่าไม้ทั้งทางตรงและทางอ้อมทำให้ต้นไม้ในป่าทั้งป่าธรรมชาติและสวนป่าถูกทำลายเกิดความเสียหายเช่นเนื้อไม้มีรอยตำหนิที่ถูกโรค-แมลงทำลาย ทำให้ผลผลิตนั้นขาดคุณภาพที่ดีราคาถูก

ดังนั้นในปี พ.ศ. 2521 กรมป่าไม้จึงกำหนดให้มีฝ่ายปราบศัตรูพืชป่าไม้ สังกัดกองบำรุง เพื่อให้ทำหน้าที่สำรวจ ศึกษาวิจัย ชีววิทยา นิเวศวิทยา และวิจัยการป้องกันกำจัดศัตรูพืชที่เป็นภัยร้ายแรงทางป่าไม้ ในแปลงเพาะชำ สวนป่า และป่าธรรมชาติทั่วประเทศ การดำเนินการสำรวจศึกษาวิจัย และป้องกันกำจัดศัตรูพืช ซึ่งเป็นภัยร้ายแรงทางป่าไม้ จึงดำเนินการอย่างเร่งด่วนและพัฒนาการดำเนินการภายใต้ฝ่ายปราบศัตรูพืชตั้งแต่ปี พ.ศ. 2521 เป็นต้นมา

เพื่อให้โครงการปราบศัตรูพืชป่าไม้ บรรลุเป้าหมายตามที่กำหนดไว้และครอบคลุมได้ทั่วถึง กรมป่าไม้จึงจัดตั้งศูนย์ปราบศัตรูพืชป่าไม้ภาคเหนือ ที่ตำบลบ้านหวด อำเภองาว จังหวัดลำปาง เพื่อรับผิดชอบดูแลพื้นที่สวนป่าและป่าธรรมชาติในพื้นที่ภาคเหนือ 16 จังหวัด ศูนย์ปราบศัตรูพืชป่าไม้ภาคเหนือมีหน้าที่ในการสำรวจและศึกษาวิจัยศัตรูพืชป่าไม้ และปฏิบัติการควบคุมและกำจัดศัตรูที่เป็นภัยร้ายแรงทางป่าไม้ โดยมีนักวิชาการทำหน้าที่หัวหน้าศูนย์ฯ

(ยุคกลาง)

ปี พ.ศ. 2535 กรมป่าไม้จัดโครงสร้างใหม่โดยกำหนดภาระหน้าที่เพื่อดให้มีการปรับเปลี่ยนพัฒนาให้เหมาะสมทุก 3 ปี เนื่องจากการดำเนินงานจะต้องมีการพัฒนาและปรับแผนให้ทันสมัยและมีประสิทธิภาพ ศูนย์ปราบศัตรูพืชป่าไม้ภาคเหนือ ซึ่งเปลี่ยนภาระกิจและชื่อใหม่เป็นศูนย์วิจัยแมลงและควบคุมศัตรูพืชป่าไม้ที่ 1 สังกัดกลุ่มวิจัยแมลงศัตรูพืชป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ มีภาระหน้าที่ สำรวจ ศึกษา วิจัย ชีววิทยา นิเวศวิทยา และวิจัยการป้องกัน กำจัด ศัตรูป่าไม้ในแปลงเพาะชำ สวนป่า และป่าธรรมชาติ ทั้งภาครัฐบาลและเอกชน ในพื้นที่ภาคเหนือ อีกทั้งให้คำแนะนำและจัดหรือส่งเสริมการฝึกอบรมเกี่ยวกับแมลงศัตรูพืชป่าไม้ และการควบคุม กำจัดแมลงศัตรูพืชป่าไม้แก่นักวิชาการ เกษตรกร ผู้ปลูกสวนป่า และผู้สนใจ ซึ่งศูนย์ฯ ได้มีการปรับแผนและพัฒนาศักยภาพของศูนย์ให้มีความพร้อมทั้งในเชิงวิชาการ การปฏิบัติการ และการส่งเสริมการฝึกอบรม

(ยุคปัจจุบัน)

ปี พ.ศ. 2545 รัฐบาลมีนโยบายในการปฏิรูประบบราชการ ได้มีพระราชกฤษฎีกาให้จัดตั้งกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช สังกัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2545 มีภารกิจเกี่ยวกับการอนุรักษ์ส่งเสริมและฟื้นฟูทรัพยากรป่าไม้ สัตว์ป่าและพันธุ์พืชในเขตพื้นที่ป่าเพื่อการอนุรักษ์ โดยการควบคุมป้องกันพื้นที่ป่าอนุรักษ์เดิมที่มีอยู่ และฟื้นฟูป่าเสื่อมโทรมให้กลับสมบูรณ์ด้วยกลยุทธ์การส่งเสริม กระตุ้น และปลูกจิตสำนึกให้ชุมชนมีความรู้สึกหวงแหน และการมีส่วนร่วมในการดูแลทรัพยากรท้องถิ่น เพื่อการรักษาสมดุลของระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อม ตลอดจนความหลากหลายทางชีวภาพสำหรับเป็นแหล่งต้นน้ำ ลำธาร แหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่า แหล่งอาหาร แหล่งนันทนาการและการท่องเที่ยวทางธรรมชาติของประชาชน

ศูนย์วิจัยแมลงและควบคุมศัตรูพืชป่าไม้ที่ 1 ได้ถูกกำหนดให้สังกัดกลุ่มวิจัยแมลงและจุลชีววิทยาป่าไม้ ฝ่ายวนวัฒนวิจัยและพฤกษศาสตร์ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช โดยมีหน้าที่และภาระกิจเปลี่ยนจากเดิมและเปลี่ยนชื่อศูนย์ เป็น "ศูนย์วิจัยแมลงและจุลชีววิทยาป่าไม้ที่ 1"

ปี พ.ศ. 2548 ได้เปลี่ยนชื่อจาก "ศูนย์วิจัยแมลงและจุลชีววิทยาป่าไม้ที่ 1" เป็น "ศูนย์วิจัยกีฏวิทยาป่าไม้ที่ 1"

3. สถานที่ที่ตั้ง (พิกัด)ของแหล่งเรียนรู้

ละติจูด 18.764889, ลองจิจูด 99.873787 ที่ตั้งตามพิกัดภูมิศาสตร์ พิกัด UTM (WGS 1984) X 592097.250000, Y 2075039.250000 ที่ตั้งตามการปกครอง หมู่ที่ 6 ตำบลบ้านอ้อน อำเภองาว จังหวัดลำปาง

4. ผู้บันทึกข้อมูล ศูนย์วิจัยกีฏวิทยาป่าไม้

5. ข้อมูลอื่นๆ

รายละเอียดสถานที่เรียนรู้

แหล่งเรียนรู้ทางธรรมชาติวิทยา (ด้านแมลงป่าไม้) ในนาม "บ้านแมลงลำปาง" ดำเนินการโดยศูนย์วิจัยกีฏวิทยาป่าไม้ที่ 1 สังกัดสำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช ว่า ประเทศไทยมีศูนย์วิจัยกีฏวิทยาป่าไม้ 3 ศูนย์ คือศูนย์ฯ ที่ 1 จังหวัดลำปาง ศูนย์ฯที่ 2 จังหวัดขอนแก่น และ ศูนย์ฯที่ 3 จังหวัดจันทบุรี


ศูนย์ฯที่ 1 มีภารกิจหลักด้านการศึกษาวิจัยที่เกี่ยวข้องกับงานด้านแมลงป่าไม้ โดยเฉพาะการศึกษาด้านชีววิทยา และการเพาะเลี้ยง แมลงหายากและแมลง ที่ได้รับการคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุมครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 แหล่งเรียนรู้ฯนี้ได้ดำเนินการแบบจิต อาสา โดยใช้เวลาว่างของบุคลากรของศูนย์ฯ มาตั้งแต่ปี 2548 จนถึงปัจจุบัน ซึ่งนับว่ามีการพัฒนาไปเป็นอย่างมาก ในปี พ.ศ. 2556 มี นักเรียนนักศึกษามาศึกษาดูงานราว 1,900 คน และนักท่องเที่ยวประมาณ 980 คน โดยมีฐานการเรียนรู้ 7 ฐาน เช่น สวนผีเสื้อ สวนสัตว์แมลง ห้องพิพิธภัณฑ์เครื่องมือ ห้องฉายภาพยนตร์สารคดี และเส้นทางศึกษาธรรมชาติในสวนพืชอาหารแมลง รวมทั้งนิทรรศการต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง

หมายเหตุ: แหล่งอ้างอิง

http://www.dnp.go.th/foremic/nforemic/histry.htm

และ http://www2.dnp.go.th/res_dev/2014/?page_id=46

และ http://www.lampangshopping.com/p/bmllp.php

[�-&� �ZK�Z