อาชีพ

ต. บ้านร้อง อ. งาว จ. ลำปาง


อาชีพ

1. ชื่ออาชีพ กลุ่มอาชีพไม้แกะสลัก

2. รายละเอียดผู้ประกอบอาชีพ(ข้อมูลส่วนตัว)

นายคำอ้าย เดชดวงตา ด้านศิลปกรรม (ปราชญ์ชาวบ้าน การแกะสลักไม้) ศูนย์ส่งเสริมชุมชนหัตถกรรม เลขที่ 33 หมู่ 9 ตำบลบ้านร้อง อำเภองาว จังหวัดลำปาง 52110 โทรศัพท์ (054) 365-229 ครูคำอ้ายมีความรู้ในเรื่อง การแกะสลักไม้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการแกะสลักช้างที่หัวเหมือนจริง เป็นต้นแบบของศิลปินด้านการแกะสลักไม้ ที่มีความสวยงามและมีคุณค่าในภาคเหนือ ด้วยวิธีการสมัยใหม่ ใช้ชุดสื่อการสอนสำเร็จรูป ใช้ทรัพยากรไม้อย่างคุ้มค่าและถูกกฎหมาย งานที่ทำออกมาเป็นงานที่ทันสมัยและสามารถให้ประโยชน์ได้จริง ครูคำอ้ายใช้พื้นที่ในบ้านเป็นสถานที่ถ่ายทอดการแกะสลักไม้ และได้ตั้ง "ศูนย์ส่งเสริมชุมชนหัตถกรรม" (บ้านช้าง) ขึ้นรวมทั้งมีแนวคิดในการจัดตั้งกลุ่มกองทุนการแกะสลักไม้ เพื่อให้ช่างแกะสลักไม้มีความมั่นคงในอาชีพ สามารถสร้างสรรค์งานศิลปะที่ไม่ใช่เพียงมุ่งแสวงหาแต่ผลกำไรเท่านั้น ทำให้มีลูกศิษย์ที่มาเรียนรู้เรื่องการแกะสลักเป็นจำนวนมาก

3. สถานที่ตั้ง(พิกัด)ของผู้ประกอบอาชีพ

33 ม. 9 ต. บ้านร้อง อ. งาว จ. ลำปาง และ กลุ่มพัฒนาอาชีพไม้แกะสลัก ที่อยู่ 16 หมู่2 ตำบลบ้านร้อง อำเภองาว จังหวัดลำปาง 52110 086 – 9181505, 082 – 8952437

4. กระบวนการผลิต

วัตถุดิบและส่วนประกอบ

1. ไม้สักทอง

2. เลื่อยยนต์

3. สิ่วขนาดต่างๆ

4. ค้อน

5. กบใสไม้

6. สีทาไม้

7. กระดาษทราย

8. สว่านไฟฟ้า

8. กาว

10. ตะปูขนาดต่างๆ

11. พลาสติกใส

12. นาฬิกา

ขั้นตอนการผลิต

1. นำไม้มาตัดแต่งให้ได้ตามขนาดที่ต้องการ

2. นำไม้มาต่อกันให้ได้ตามขนาดที่ต้องการ โดยการใช้กาว

3. ใช้แม่แรงมาบีบไม้ให้สนิทกัน แล้วนำไปตากแดดให้กาวแห้ง เก็บรายละเอียดโดยการใสไม้

4. นำไม้ที่ได้ขนาดตามต้องการเรียบร้อยแล้ว มาแกะสลักเป็นรูปต่างๆ โดยการร่างแบบลงไปบนแผ่นไม้ก่อน

5. หลังจากนั้นก็ทำการแกะสลักโดยใช้สิ่วขนาดต่าง ๆ แกะลงไปในเนื้อไม้ตามแบบที่วาดไว้

6. เสร็จแล้วนำไม้ที่แกะสลักได้รูปแล้ว นำมาใส่กรอบโดยการใช้ไม้มายึดมุมทั้ง 4 ด้านด้วยกาวและตะปู

7. ชิ้นงาน บางชิ้น ต้องการแกะสลักกรอบให้ดูสวยงาม

8. นำไม้แกะสลักมาขัดด้วยเครื่องขัดไม้ ขัดไม้แกะสลักด้วยมือซ้ำอีกทีเพื่อให้เกิดความประณีต

9. นำไปทาสีให้ได้ตามสีที่ต้องการ

10. พอสีแห้งแล้วก็ใช้กระดาษทรายเบอร์ 0 ทำการขัดซ้ำเพื่อให้เกิดความเรียบเนียน และชิ้นงานจะประณีตยิ่งขึ้น

11. ลงสีเคลือบแลคเกอร์ด้าน ให้เกิดความสวยงาม ขั้นตอนสุดท้าย พอสีแห้งแล้วก็นำมาห่อหุ้มด้วยพลาสติกใสเพื่อป้องกันฝุ่น

เทคนิค/เคล็ดลับในการผลิต

ช่างแกะสลักของตำบลบ้านร้อง หลายคนมีอาชีพหัตถกรรมไม้แกะสลักเป็นอาชีพหลักและอาชีพเสริม เมื่อว่างเว้นจากการทำนา ทำไร่ งานหัตถกรรมไม้แกะสลักเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นมาแต่โบราณ ซึ่งได้มีการถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่น ซึ่งนับวันช่างแกะสลักก็ลดจำนวนลงเรื่อย ๆ

ไม้ที่ใช้ในการแกะสลักจะต้องเป็นไม้สักเท่านั้น เพราะไม้สักเป็นไม้ที่มีเนื้ออ่อน ทำให้แกะง่าย มีลวดลายสวยงาม และเป็นไม้ที่แมลงไม่เจาะ ทุกขั้นตอนในการผลิตจะต้องใช้ความชำนาญและความประณีตเป็นอย่างมาก การวางภาพในการแกะจะต้องได้สัดส่วนกับขนาดของไม้ เพื่องานจะได้ออกมาสวยงาม นอกจากการคัดสรรไม้แล้ว ฝีมือในการแกะสลัก ยังต้องอาศัยทักษะ ความรู้ ความชำนาญ และความเป็นคนช่างสังเกต จะทำให้ผลงานที่ออกมามีความงดงาม ประณีต และถ่ายทอดความเป็นวิถีชีวิตของชนบทไทย

5. ผู้บันทึกข้อมูลชื่อ กลุ่มพัฒนาอาชีพไม้แกะสลักบ้านร้อง

6. ข้อมูลอื่นๆ

ประวัติความเป็นมา

ไม้แกะสลัก หมายถึง การนำไม้ที่เป็นทั้งชนิดแผ่น หรือเป็นท่อนมาทำการแกะสลักให้ออกมาเป็นรูปแบบต่าง ๆ ตามที่ต้องการ โดยการใช้สิ่วเป็นอุปกรณ์ในการแกะสลัก ซึ่งสิ่วนั้นทำมาจากเหล็กโดยตีเหล็กให้มีขนาดที่แตกต่างกัน เพื่อให้เหมาะสมกับการใช้ในแต่ละขั้นตอน จึงทำให้ได้ชิ้นงานไม้แกะสลักอันงดงามและประณีต และคงไว้ซึ่งความโดดเด่น สะท้อนภูมิปัญญาของชนบทไทย

ความเป็นมาของงานไม้แกะสลักในชุมชนตำบลบ้านร้อง เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2505 เริ่มมาจากช่างปั๋น ซึ่งเป็นชาวเชียงใหม่และได้ย้ายถิ่นฐานเข้ามาอาศัยอยู่ บ้านข่อย ตำบลบ้านร้อง อำเภองาว หลังจากนั้นก็ได้ภรรยาเป็นชาวบ้านข่อย ตั้งรกรากอยู่ถาวร จึงได้นำเอาความรู้ที่มีในด้านการแกะสลักไม้ มาประกอบอาชีพส่วนตัวเป็นระยะเวลาหนึ่ง หลังจากนั้นช่างปั๋น ก็ได้ชักชวนช่างคำอ้ายซึ่งเป็นศิษย์เอกให้มาช่วย ในการเผยแพร่ศิลปะการแกะสลักไม้ให้กับชาวชุมชนบ้านข่อยเป็นแห่งแรกและช่างคำอ้ายยังได้รวมกลุ่มคนในชุมชนจัดตั้งเป็น กลุ่มแกะสลักบ้านช้างหลวง เมื่อชุมชนเกิดรายได้มากขึ้น ก็ได้มีการกระจายความรู้เข้าสู่หมู่บ้านใกล้เคียงในตำบลบ้านร้อง

ที่มาของกลุ่มพัฒนาอาชีพไม้แกะสลัก ตำบลบ้านร้อง อำเภองาว จังหวัดลำปาง เมื่อประมาณ ปี พ.ศ. 2530 เริ่มจากคุณจำเนียร ฟูแสง ได้เห็นว่าชาวบ้านร้องและบ้านใกล้เคียงส่วนใหญ่ใช้เวลาว่างหลังจากการทำการเกษตรมาทำไม้แกะสลัก จึงเกิดความสนใจจึงรับสินค้าไม้แกะสลักไปขายตามสถานที่ต่างๆ หลังจากนั้นประมาณปี พ.ศ. 2535 คุณจำเนียร ก็ได้ย้ายกลับ

อัตลักษณ์(เอกลักษณ์)/จุดเด่นของผลิตภัณฑ์

ผลิตภัณฑ์ของกลุ่มฯ อาทิเช่น ไม้แกะสลักภาพชนบท ซึ่งมีหลายขนาด ภาพเจ้าแม่กวนอิม ภาพ 3 มิติ ป้ายชื่อ ไม้แกะจากเศษไม้ ตอไม้ เป็นต้น เป็นสินค้าไม้สักแกะสลัก รูปช้าง ม้า มังกร กวาง ชนบท และตามที่ลูกค้าสั่งที่มีเอกลักษณ์เฉพาะ ประณีตสวยงาม

นอกจากนี้ กลุ่มฯ ยังได้ประยุกต์ตัวผลิตภัณฑ์ มีการนำนาฬิกามาติดตั้ง เพื่อใช้ประโยชน์ นอกจากจะสวยงามแล้วยังสามารถใช้บอกเวลาได้อีกด้วย เหมาะแก่การสะสม และสามารถทำตามแบบที่ลูกค้าต้องการได้ทุกรูปแบบ

มาตรฐานและรางวัลที่ได้รับ

-

ความสัมพันธ์กับชุมชน

ช่างแกะสลักทุกคนเป็นคนในชุมชนอย่างแท้จริง ถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่น จึงทำให้คนในชุมชนมความผูกพันกันเหมือนญาติพี่น้อง และยังเป็นการสร้างงาน สร้างรายได้และเป็นการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์แก่ชุมชน

หมายเหตุ แหล่งอ้างอิง: http://www.otoptoday.com/wisdom/1258/%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%89%E0%B9%81%E0%B8%81%E0%B8%B0%E0%B8%AA%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%81

และ http://www.thaitambon.com/tambon/520504

และ http://www.sedb.org/show_view.php?sedbid=1482

และ http://www.chiangmainews.co.th/page/archives/513424