วัฒนธรรม

(ชนเผ่าเมี่ยน อำเภองาว เชื่อเรื่องผี)

วัฒนธรรม

1. ประเภท (ข้อมูลเฉพาะ)วัฒนธรรม

วัฒนธรรมทางวัตถุเช่นอาหารยาเครื่องนุ่มห่มบ้านเรือง ฯลฯ

วัฒนธรรมที่ไม่ใช่วัตถุเช่นความเชื่อค่านิยมประเพณีขนบธรรมเนียม ฯลฯ

(ชนเผ่าเมี่ยน อำเภองาว เชื่อเรื่องผี)

2. ประวัติความเป็นมาของวัฒนธรรม

ความเชื่อ ประเพณี และพิธีกรรมต่าง ๆ

เมี่ยนเชื่อว่า เงินเป็นกุญแจไปสู่ความสำเร็จทั้งในโลกมนุษย์และโลกของวิญญาณ กล่าวคือ ชาวเมี่ยนเชื่อว่าในขณะที่มีชีวิตในโลกมนุษย์ ถ้าหากได้จ่ายเงินเพื่อทำบุญอย่างเพียงพอ แล้ว เมื่อตายไปแล้ววิญญาณจะได้รับการเคารพนับถือจากดวงวิญญาณทั้งหลาย และอาศัยอยู่ในโลก วิญญาณอย่างมีความสุข (ขจัดภัย ๒๕๓๘, น.๖๔) ผู้ที่ได้รับการนับถือในสังคม เมี่ยนต้องมี ลักษณะอยู่ ๓ ประการ คือ มีฐานะการเงินดี มีความเฉลียวฉลาด และมีความเมตตากรุณา

เมี่ยนมีการนับถือผี พวกเขาเชื่อว่าทุกหนทุกแห่งมีผีสิงสถิตอยู่ทั้งนั้น เช่น ผีภูเขา ผีต้นไม้ ผีบ้าน ผีป่า ผีมี ๒ พวกคือ ผีดีและผีร้าย ผีดี ได้แก่ ผีบนสวรรค์หรือท้องฟ้า ผีร้ายอาศัยอยู่ ูตามต้นไม้ในป่า ตามแอ่งน้ำ ลำธาร นอกจากนั้นเย้ายังนับถือผีอีกพวกหนึ่งซึ่งมีความสำคัญสูงสุด คือ ผีใหญ่หรือ “จุ๊ซัง เมี้ยน” มี ๑๘ ตนด้วยกัน มีอำนาจลดหลั่นกันเป็นลำดับ

3. สถานที่ตั้ง

อิ้วเมี่ยนหรือเย้าอาศัยอยู่ใน 9 จังหวัด 44 อำเภอ 195 หมู่บ้าน จำนวนหลังคาเรือน 9,501 หลังคาเรือน ประชากรรวม ประมาณ 50,000 กว่าคน ชาวเมี่ยนเป็นชนชาติเชื้อสายจีนเดิม ชนเผ่านี้เรียกตัวเองว่า เมี่ยน หรือ อิ้วเมี่ยน ซึ่งแปลว่า มนุษย์ มีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า เย้า

ถิ่นเดิมของเมี่ยนอยู่ทางตะวันออกของมณฑลไกวเจา ยูนนาน หูหนาน และกวางสีในประเทศจีน ต่อมาการทำมาหากินฝืดเคืองและถูกรบกวนจากชาวจีนจึงได้อพยพมา ทางใต้ เข้าสู่เวียดนามเหนือ ตอนเหนือของลาว และทางตะวันออกของพม่า บริเวณรัฐเชียงตุง และภาคเหนือของไทย (ขจัดภัย ๒๕๓๘, น.๔๘) ชาวเมี่ยนที่เข้ามาอยู่ในประเทศไทย อพยพมาจากประเทศลาวและพม่า ปัจจุบันมีชาวเมี่ยนอาศัยอยู่มากในจังหวัด เชียงราย พะเยา และน่านรวมทั้งในจังหวัด กำแพงเพชร เชียงใหม่ ตาก เพชรบูรณ์ ลำปาง สุโขทัย

4. ผู้บันทึกข้อมูล ชื่อ มูลนิธิกระจกเงา

5. ข้อมูลอื่นๆ ชนเผ่าอิ้วเมี่ยน ชื่อชนเผ่าพื้นเมือง อิ้วเมี่ยน , เมี่ยน ภาษาอังกฤษ Mien

ประวัติศาสตร์การตั้งถิ่นฐาน/ถิ่นที่อยู่

อิ้วเมี่ยนหรือเย้าอาศัยอยู่ใน 9 จังหวัด 44 อำเภอ 195 หมู่บ้าน จำนวนหลังคาเรือน 9,501 หลังคาเรือน ประชากรรวม ประมาณ 50,000 กว่าคน ชาวเมี่ยนเป็นชนชาติเชื้อสายจีนเดิม ชนเผ่านี้เรียกตัวเองว่า เมี่ยน หรือ อิ้วเมี่ยน ซึ่งแปลว่า มนุษย์ มีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า เย้า

ถิ่นเดิมของเมี่ยนอยู่ทางตะวันออกของมณฑลไกวเจา ยูนนาน หูหนาน และกวางสีในประเทศจีน ต่อมาการทำมาหากินฝืดเคืองและถูกรบกวนจากชาวจีนจึงได้อพยพมา ทางใต้ เข้าสู่เวียดนามเหนือ ตอนเหนือของลาว และทางตะวันออกของพม่า บริเวณรัฐเชียงตุง และภาคเหนือของไทย (ขจัดภัย ๒๕๓๘, น.๔๘) ชาวเมี่ยนที่เข้ามาอยู่ในประเทศไทย อพยพมาจากประเทศลาวและพม่า ปัจจุบันมีชาวเมี่ยนอาศัยอยู่มากในจังหวัด เชียงราย พะเยา และน่านรวมทั้งในจังหวัด กำแพงเพชร เชียงใหม่ ตาก เพชรบูรณ์ ลำปาง สุโขทัย

ระบบครอบครัวและเครือญาติ

ครอบครัวของเมี่ยนมีทั้งครอบครัวเดี่ยวและขยาย ถ้าเป็นครอบครัวขยายนิยมขยายทางฝ่ายชาย ในทัศนะของเมี่ยน คำว่า ญาติพี่น้อง นอกจากจะหมายถึงญาติพี่น้องทาง สายโลหิตแล้ว ยังรวมถึงชนชาติอื่นๆ ที่เข้ามารวมอยู่ในชุมชนของชาวเมี่ยนด้วย ในเรื่องญาติพี่น้องของเมี่ยนนั้น มิได้หมายถึงความเกี่ยวพันทางสายโลหิตดังที่เข้าใจกัน แต่ เกี่ยวพันกันในทางวิญญาณของบรรพบุรุษ

การทำมาหากิน และวิถีการผลิตพื้นบ้าน

ชาวเมี่ยนในอดีต ทำมาหากินโดยการทำไร่พืช หลักที่ปลูกได้แก่ ฝิ่น ข้าว ข้าวโพด มันฝรั่ง พริก ฝ้าย มันเทศ เป็นต้น ไร่ข้าวของเมี่ยนจะไม่ มีต้นไม้ใหญ่เหมือนพวกกะเหรี่ยง ไร่ข้าวจะอยู่รอบหมู่บ้านในรัศมีเดินไม่เกินสองชั่วโมง ฤดูปลูกข้าว เริ่มปลูกปลายเดือนพฤษภาคม และมิถุนายน ข้าวที่เกี่ยวและนวดแล้วจะเก็บไว้ในยุ้งในไร่ ไม่นิยมนำกลับมาบ้าน นอกจากเพาะปลูกแล้ว ชาวเมี่ยนยังเลี้ยงสัตว์ เช่น ม้า หมูและไก่ ม้าใช้สำหรับขี่ เดินทางหรือต่างของ หมูและไก่เลี้ยงไว้เพื่อเซ่นสังเวยผีในพิธีกรรม (ขจัดภัย ๒๕๓๘, น.๕๙) ชาวเมี่ยนยังมีฝีมือในการทำเครื่องประดับเครื่องเงิน เย็บปักถักร้อย ทำมีด จอบ ขวาน เคียว เป็นต้น

มรดกทางวัฒนธรรม

1.ภาษา

ภาษาเมี่ยนมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับภาษาม้ง มากกว่าภาษาชาวเขาอื่นๆ ภาษาเขียน เมี่ยนได้รับอิทธิพลจากจีนมาก เป็นคำเดียวโดดๆไม่มีภาษาเขียนเป็นของตนเอง(ขจัดภัย ๒๕๓๘, น.๕๐) เมี่ยนที่อยู่ในเมืองไทยส่วนใหญ่พูดภาษา ไทยเหนือหรือคำเมืองพอรู้เรื่องบางคนพูดภาษาไทยกลางได้ คนที่มีอายุพูดภาษาจีนกลางและจีนฮ่อได้ (ขจัดภัย ๒๕๓๘, น.๕๐)

2.การแต่งกาย

การแต่งกายของชาวเมี่ยน ผู้หญิงนุ่งกางเกงด้วยผ้าสีน้ำเงินปนดำ ด้านหน้าจะปักลวดลาย ใส่เสื้อคลุมสีดำยาวถึงข้อเท้า ผ่าด้านหน้าตลอดติดไหมพรมสีแดงที่อกเสื้อรอบคอลงมาถึง หน้าท้อง ผ่าด้านข้าง อกเสื้อกลัดติดด้วยแผ่นเงินสี่เหลี่ยม ทาผมด้วยขี้ผึ้ง พันด้วยผ้าสีแดง และพันทับด้วย ผ้าสี น้ำเงินปนดำ ส่วนผู้ชายนุ่งกางเกงสีดำขายาว ขลิบขอบขากางเกง ด้วยไหมสีแดง สวมเสื้อดำ อกไขว้แบบเสื้อคนจีน ติดกระดุมคอและรักแร้เป็นแนวลงไปถึงเอว เสื้อยาวคลุมเอว ปัจจุบันชาวเมี่ยนเริ่มแต่งกายคล้ายคนไทยพื้นราบมากขึ้น (ขจัดภัย ๒๕๓๘, น.๕๕)

3.ศิลปะ การแสดง

การรำถาด เป็นการรำที่ใช้รำในงานมงคลสมรสเท่านั้น ซึ่งถือเป็นการให้เกียรติแก่ฝ่ายเจ้าสาว โดยจะมีการเชิญน้ำชาให้กับแขกทั้งฝ่ายเจ้าบ่าวและเจ้าสาว และจะมีการรำด้วยกัน พอรำเสร็จก็จะรับถ้วยน้ำชากลับ

บรรเลงเพลงปี่ การบรรเลงเพลงปี่เป็นการบรรเลงเพื่อความบันเทิงมาตั้งแต่สมัยก่อน ซึ่งในเพลงบรรเลงแต่ละเพลงมีความหมายของเพลงนั้น ๆ อยู่ และมีลักษณะการบรรเลงเพลงเพื่อใช้ในพิธีกรรมต่าง ๆ กัน

4.ลักษณะการสร้างบ้าน

ในหมู่บ้านเมี่ยนจะเอากระบอกไม้ไผ่ผ่าครึ่งทำเป็นท่อหรือรางน้ำเพื่อรองน้ำจากลำธารมาใช้ภายในหมู่บ้านได้ ชาว เมี่ยนปลูกบ้านคร่อมดิน ใช้พื้นดินเป็นพื้นบ้าน บ้านมีลักษณะรูป สี่เหลี่ยมผืนผ้ามุงหลังคา ด้วยหญ้าคา หรือใบหวาย ฝาบ้านทำจากไม้เนื้ออ่อนที่ผ่าด้วยขวานและลิ่มถากให้เรียบกั้นฝาในแนวตั้ง บางหลังใช้ไม้ไผ่ หรือฟางข้าวผสมดิน โคลนก่อเป็นกำแพงเป็นฝาผนัง ถ้ามีสมาชิกหลายคนจะแบ่งเป็นห้อง ๆ หน้าบ้านมี ประตูเรียกว่า ประตูผี ประตูนี้จะ เปิดใช้เมื่อส่งตัวบุตรสาวออกไปแต่งงาน หรือนำลูกสะใภ้เข้าบ้าน และใช้เวลายกศพออกจากบ้าน ตรงกับประตูหน้า จะมีหิ้งผีติดข้างฝาเรียกว่า “เมี้ยนป้าย” เป็นที่สิงสถิตของผีบรรพบุรุษ บางบ้านมีหิ้งผีอีกแบบหนึ่งเรียกว่า “เมี้ยน เตี่ย หลง”

หมายเหตุ : แหล่งอ้างอิง มูลนิธิกระจกเงา โครงการพิพิธภัณฑ์ชาวเขาออนไลน์ http://www.hilltribe.org

และ http://www.openbase.in.th/node/1012

และ http://impect.or.th/?p=15013

และ http://www.lannapost.net/2015/03/blog-post_9.html

��³Z�mZ\