ฐานการเรียนรู้

การฝึกอาชีพ


การเพาะเห็ดนางฟ้าภูฐาน 

        เห็ดจัดเป็นวัตถุดิบจำพวกผักอย่างหนึ่งซึ่งเป็นที่นิยมในการใช้ประกอบอาหาร เนื่องจากมีรสชาติดี มีคุณค่าทางอาหารสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีโปรตีนและวิตามินสูง ไขมันต่ำ มีเส้นใยสูงบริโภคได้ทุกเพศ ทุกวัย จนมีผู้ยกย่องให้เป็นราชาแห่งผัก อีกทั้งมีความเชื่อเกี่ยวกับสรรพคุณทางยา เช่น การป้องกันการสะสมไขมันในเส้นเลือด โรคทางเดินหายใจ โรคความดันโลหิตสูง ป้องกันและรักษาโรคมะเร็ง ฯลฯ

         เห็ดนางฟ้าภูฐาน (Bhutan Oyster Mushroom) เป็นเห็ดตระกูลเดียวกับเห็ดนางรม เดิมทีพบที่ประเทศภูฐาน เกิดขึ้นบนต้นไม้เนื้ออ่อนที่ตายแล้ว บริเวณที่อากาศชื้นและเย็น เจริญเติบโตได้เร็วมาก ดอกเห็ดมีสีขาวจนถึงสีน้ำตาลอ่อน หมวกดอกเนื้อแน่นสีคล้ำ ก้านดอกสีขาว ขนาดยาว เนื้อหนาคล้ายเนื้อสัตว์ ไม่มีวงแหวนล้อมรอบ ครีบดอกสีขาวอยู่ชิดติดกันและสิ่งที่เด่นกว่าเห็ดชนิดอื่นคือการออกดอกเห็ดเร็ว ระยะช่วงห่างของการออกดอกสั้น มีความสามารถในการใช้อาหารสูง เป็นเห็ดอีกชนิดหนึ่งที่คนไทยรู้จักและนิยมนำมาประกอบอาหารเพื่อรับประทานกันอย่างแพร่หลาย และยังมีคุณประโยชน์อีกมากมาย  เช่น

·       สามารถช่วยป้องกันโรคหวัด

·       ช่วยการไหลเวียนเลือด ลดไขมันในเลือด และโรคกระเพาะได้

·       รักษาโรคในช่องปาก เช่น การปวดฟัน เลือดออกตามไรฟัน

·       บรรเทาการเป็นตะคิว

·       ช่วยป้องกันโรคโลหิตจาง

·       ลดโอกาสการเกิดโรคมะเร็ง

โรงเรือน/ขั้นตอนการเพาะเชื้อ/การเตรียม วัสดุ อุปกรณ์

โรงเรือนที่ใช้ในการเพาะเห็ดภูฐานควรมีอากาศถ่ายเทดีพอสมควร มีแสงตามความต้องการของเห็ด จะสังเกตได้คือ เมื่อเดินทางเข้าในโรงเห็ดแล้วควรจะหายใจสะดวก ไม่อับชื้นหรือร้อนเกินไป โครงสร้างของโรงเรือนทำ ได้ 2 แบบ แบบแรกเป็น โรงเรือนชั่วคราว ใช้วัสดุไม่ถาวร ลงทุนไม่มาก เสาทำ ด้วยไม้ไผ่ หรือเสาเข็ม หลังคามุงด้วยจากหรือหญ้าคา อายุการใช้งานประมาณ 3 – 4 ปี หรือโรงเรือนถาวร เป็นโรงเรือนสังกะสีหรือกระเบื้องลอน แต่อาจมีปัญหาเรื่องความร้อน จึงควรทำ หลังคาให้สูงขึ้น และควรมีท่อน้ำพาดบนหลังคาเพื่อปล่อยน้ำรดลงมาในเวลาที่อุณหภูมิสูงมาก อายุการใช้งานประมาณ 10 ปีขึ้นไป

       วัสดุเพาะ และสารอาหาร
        การทำก้อนเชื้อเพาะเห็ดนางฟ้านั้นจำเป็นต้องหาวัสดุอุปกรณ์ที่ต้องเตรียมดังนี้ ได้แก่ขี้เลื่อยยางพาราหรือ
ขี้เลื่อยไม้เนื้ออ่อน แต่ในทางปฏิบัตินั้นขี้เลื่อยยางพาราจะให้ผลดีที่สุด จากนั้นก็หาส่วนผสมต่างๆเพื่อให้ได้คุณค่าทางอาหารมากยิ่งขึ้น และสูตรการทำก้อนเชื้อเห็ดนางรม และเห็ดนางฟ้ามีส่วนผสมหลัก ๆดังนี้

     นำวัสดุทั้งหมดมาผสมคลุกเคล้าให้เข้ากัน พรมด้วยน้ำสะอาดให้มีความชื้นพอเหมาะ ( ใช้มือกำวัสดุเพาะที่ผสมกันดีแล้ว บีบให้แน่น ไม่มีน้ำไหลออกมาปล่อยมือวัสดุยังจับตัวเป็นก้อน ) บรรจุใส่ถุงพลาสติกสำหรับเพาะเห็ด ให้แน่น น้ำหนักประมาณ 800–1,000กรัม/ถุง ใส่คอพลาสติกจุกด้วยสำลีและปิดฝาจุกพลาสติก นำก้อนเชื้อเห็ดที่ได้ไปนึ่งฆ่าเชื้อภายใน 24 ชั่วโมง เป็นเวลา 4 ชั่วโมง นับแต่น้ำเดือด นำก้อนเห็ดที่นึ่งได้ที่แล้วออกจากถังนึ่ง ทิ้งไว้ให้เย็นทำการถ่ายเชื้อเห็ดที่เจริญเต็มที่ ในเมล็ดธัญพืชประมาณ 15-20 เมล็ด/ก้อน นำก้อนเชื้อเห็ดที่ถ่ายเชื้อเห็ดเรียบร้อยแล้ว เข้าห้องบ่มก้อนเชื้อต่อไป

        ขั้นตอนการบ่มเส้นใยเห็ดนางฟ้า
ก้อนเชื้อเห็ดนางฟ้า หลังจากที่เขี่ยเชื้อแล้ว จะนำก้อนเชื้อนี้ไปบ่มเก็บไว้ในห้องที่มีอุณหภูมิปกติ หรือในโรงบ่มที่ทำ ไว้โดยเฉพาะ ไม่มีลมโกรกและโรงเรือนควรมีแสงสว่างน้อย เพื่อ รอให้เส้นใยเจริญเติบโตเต็มถุง ใช้เวลาประมาณ 2–3 สัปดาห์ ระยะบ่มที่มาตรฐานคือ ประมาณ 22–28 วัน ยกเว้นฤดูหนาวใช้เวลาเพียง 15–20 วันเท่านั้น ก้อนเชื้อที่ดีเส้นใยเห็ด จะเจริญอย่างสม่ำเสมอเป็นสีขาวทั่วทั้งก้อน หากเส้นใยเดินชะงักหรือไม่เดินลงมา ซึ่งอาจจะเกิดจากมีเชื้อราขึ้นปะปนจากการนึ่งไม่ทั่วถึงหรือในระหว่างการเขี่ยเชื้อ ซึ่งแสดงว่าเชื้อเสีย ลักษณะก้อนเชื้อที่แฉะบริเวณก้นถุง ก็เป็นก้อนเชื้อที่เสียแล้วเช่นกัน ควรคัดออกทิ้งไป

ขั้นตอนการเปิดดอกเห็ด
สำหรับลักษณะของวิธีการเปิดถุงเพื่อให้เห็ดออกดอก และลักษณะของการวางถุงก้อนเชื้อในโรงเรือน สามารถทำได้หลายวิธี คือ
    – เปิดจากสำลีให้ออกดอกเห็ดที่ปากถุง ดึงจุกสำลีออกวางถุงในแนวนอนกับพื้นโดยวางซ้อนกันบนแผงรูปตัวเอ หรือวางซ้อนกันบนพื้นโรงเรือน พ่นละอองน้ำเป็นฝอยละเอียดเห็ดจะเกิดแล้วโผล่ออกมาทางปากถุงได้เอง วิธีนี้นิยมทำ กันมากกว่าวิธีอื่น สามารถให้ผลผลิตเห็ดได้หลายรุ่น การวางก้อนเชื้อซ้อนกันในลักษณะนี้ เมื่อเก็บผลผลิตได้ 2-3 รุ่น ก้อนเชื้อจะยุบตัวลงมาทำ ให้ถุงเชื้อแน่นอยู่ตลอดเวลา เส้นใยเห็ดสามารถส่งอาหาร เพื่อทำ ให้เกิดดอกเห็ดใหม่ได้อีกหลายครั้ง แต่การวางก้อนเชื้อแบบนี้มีข้อเสียคือ ก้อนเชื้อชั้นล่างๆ มักจะถูกทำลายด้วยรำเมือกหรือเน่าเปื่อยก่อน เพราะถูกทับมากเกินไป ดังนั้นการวางก้อนเชื้อซ้อนกันจึงไม่ควรวางเกิน 12 ถุง
    – พับปากถุง หลังจากที่เอาคอขวดออกแล้ว เปิดปากถุงพับลงมา ม้วนปากถุงให้อยู่ในระดับเดียวกับวัสดุเพาะหรือก้อนเชื้อ อาจวางก้อนเชื้อเห็ดได้ทั้งในแนวนอนหรือแนวตั้งบนชั้นวางติดๆ กัน วิธีนี้จะเกิดดอกเห็ดครั้งละหลายดอก แต่ดอกเล็กลง เพราะแย่งอาหารกัน การวางบนชั้นลักษณะเช่นนี้ อาจทำให้จำนวนถุงเชื้อมีน้อย จึงเก็บความชื้นได้น้อย แต่อากาศหมุนเวียนได้ดีจึงต้องคอยรักษาความชื้นในโรงเรือนไม่ให้แห้งเร็วเกินไป
    – ตัดปากถุง เป็นการเปิดปากถุงโดยใช้มีดโกนปาดปากถุงออก ตรงส่วนของคอขวด เมื่อตัดออกไปแล้วจะเหลือถุงพลาสติกหุ้มก้อนเชื้อส่วนบนอยู่บางส่วน การเปิดวิธีนี้ จะได้ดอกเห็ดน้อยกว่าวิธีแรก แต่น้ำ หนักดอกเห็ดจะดีกว่า
    – กรีดข้างถุง นำก้อนเชื้อมาถอดเอาคอขวด และจุกสำลีออก รวบปากถุงรัดยางให้แน่น ใช้มีดคมๆ กรีดข้างถุงให้เป็นแนวยาวประมาณ 5 – 10 แถว หรือกรีดแบบเฉียงเล็กน้อยยาวประมาณ 6-8 เซนติเมตร หรือกรีดเป็นกากบาทเป็นจุดเล็กๆ ก็ได้ อาจวางถุงบนชั้นทางแนวนอน แล้วกรีดด้านก้นถุงอีกด้านหนึ่งหรือจะไม่วางบนชั้น แต่ใช้เชือกรัดปากถุงให้แน่น แขวนไว้ในแนวตั้งสลับสูงบ้างต่ำบ้าง ระยะห่างของถุงประมาณ 5-7 เซนติเมตร
    – การเปลือยถุง แกะเอาถุงพลาสติกออกหมดทั้งก้อน แล้วเอาก้อนเชื้อวางลงใส่ในแบบไม้หรือในตะกร้า รดน้ำ ให้เปียกทั่วทั้งก้อน เวลาเกิดดอกเห็ดจะได้เกิดทุกส่วน คือ ด้านบน และด้านข้างแต่ต้องรักษาความชื้นในโรงเรือนให้สูงมาก เพราะก้อนเชื้อจะสูญเสียความชื้นอย่างรวดเร็ว แบบนี้เกิดดอกเห็ดได้เร็ว เกิดขึ้นรอบก้อนแต่หมดไปเร็ว และดอกเห็ดเล็กมาก เพราะแย่งอาหารกัน
    – เพาะแบบแขวนหลักการเดียวกับการวางก้อนเชื้อในแนวนอนแต่ไม่จำเป็นต้องทำชั้นใดๆ ใช้เชือกไนล่อนทำ ขึ้นพิเศษ 4 เส้น ผูกติดกันด้านหัวท้าย ส่วนตรงกลางใส่แผ่นพลาสติกแข็ง เจาะรูร้อยเชือกทั้ง 4 เส้น ถ่างห่างออกจากกัน เอาก้อนเชื้อวางซ้อนกันได้หลายถุง แขวนห้อยจากคานด้านบน พื้นเรือนเพาะจึงสะอาด ศัตรูเห็ดมีน้อย การเก็บดูแลรักษาทำ ได้ง่าย เปิดให้เกิดดอกเห็ดทางหัวหรือท้ายก่อน

การจัดวางก้อนเชื้อเห็ดนางฟ้าในโรงเรือน

โรงเรือนนี้ภายในทำเป็นแผงสำหรับวางก้อนเชื้อ ไม่จำเป็นต้องกำหนดเป็นรูปแบบตายตัว สามารถวางก้อนเชื้อเห็ดได้มาก นิยมใช้ไม้ไผ่ประกอบกันเป็นรูปตัวเอ หรือรูปสามเหลี่ยมทรงสูง จะวางในแนวนอน เช่น การวางในแนวนอนโดยวางซ้อนกันบนแผงรูปตัวเอ ประมาณ 3 – 5 ก้อน หรือวางซ้อนกันบนพื้นโรงเรือน ดอกเห็ดจะโผล่ออกมาทางปากถุง


ปัจจัยการผลิต และการดูแลรักษา
โดยธรรมชาติในการเจริญเติบโตของเห็ดนางฟ้า นับตั้งแต่เกิดดอก จนกระทั่งพร้อมที่จะเก็บเกี่ยวได้ จะใช้เวลาประมาณ 5 – 7 วัน การเกิดดอกเห็ดก็คือ การที่เส้นใยได้มีการเปลี่ยนรูปมาอัดตัวกันสร้างดอกเห็ดขึ้นเมื่ออยู่ในสภาพแวดล้อมเหมาะสมผลผลิตและคุณภาพของดอกเห็ดจะดีหรือไม่ ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ ดังนี้
1. อุณหภูมิ
    อุณหภูมิที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของเห็ดนางฟ้า คือ ประมาณ 24- 26 องศาเซลเซียส ดอกเห็ดจะออกดอกเร็วมาก อาจกล่าวได้ว่าเห็ดนางฟ้าขึ้นได้ดีในหน้าฝนดีพอสมควรในหน้าร้อนดีมากในหน้าหนาว ไม่หนาวจัดจนเกินไป ถ้าหนาวจัดก็จะชะงักการเจริญเติบโตและสีซีด ดังนั้น ภาคกลางและภาคใต้ ปลูกได้ทุกฤดู
2. อากาศ
    เห็ดเป็นจุลินทรีย์ที่ต้องการออกซิเจนค่อนข้างมาก โดยเฉพาะเวลาเกิดดอกเห็ดจะต้องการออกซิเจนมาก ทั้งระยะเป็นดอกเห็ดและระยะเป็นเส้นใย
3. ความชื้น
    จุลินทรีย์ทั่วๆ ไปชอบความชื้นสูง แต่สำหรับเห็ด เมื่อเทียบกันแล้วก็ทนแล้งได้ดีกว่าจุลินทรีย์อื่น การเพิ่มความชื้นในวัตถุเพาะทำ ได้โดยการรดน้ำ แต่ต้องระวังมิให้มากเกินไปเพราะจะทำ ให้เส้นใยชะงักการเจริญหรือเปียกเกินไป ความชื้นในอากาศ ทำ ได้โดยการพ่นละอองน้ำในอากาศ น้ำที่ใช้รดควรเป็นน้ำสะอาดปราศจากสารเคมี และสิ่งสกปรกปนเปื้อน เช่น น้ำ ฝน น้ำ คลอง น้ำ บ่อ และน้ำ บาดาล น้ำ ที่ใช้รดเห็ดนางฟ้าควรเป็นกลาง ค่าความเป็นกรดด่าง (pH) ที่เหมาะควรเป็นประมาณ 7
4. แสง
    เห็ดทุกชนิดไม่สามารถปรุงอาหารเองได้ ต้องอาศัยอาหารจากพืชต่างๆ ดังนั้น แสงจึงไม่มีความจำเป็นต่อการเจริญเติบโตของเห็ด โดยเฉพาะในระยะที่เส้นใยกาลังลามทั่วก้อนหากมีแสงสว่างมากจะทำ ให้เส้นใยเจริญเติบโตช้าลง ฉะนั้นในระยะของการบ่มก้อนเชื้อเพื่อเลี้ยงเส้นใย ควรทำในโรงเรือนที่มีแสงสว่างน้อยที่สุด 5. ความสะอาด
เมื่อเปิดปากถุง และนำก้อนเชื้อไปวางบนชั้นในโรงเพาะแล้ว สิ่งที่ต้องเอาใจใส่ระมัดระวังมากที่สุด คือ ความสะอาด โรงเรือนที่ไม่สะอาดจะเป็นแหล่งสะสมเชื้อโรค ที่เป็นผลเสียต่อเห็ดได้ เช่นโรงเรือนที่มีโรค และแมลงศัตรูเห็ด แล้วระบาดทำ ให้ก้อนเชื้อ และดอกเห็ดเสียหายหมดทั้งโรงเรือน

การเก็บเกี่ยวและการจัดการหลังการเก็บเกี่ยว
        เมื่อเอาถุงก้อนเชื้อมาเปิดรดน้ำ และมีการดูแลรักษาที่ถูกต้องเหมาะสม จะเกิดดอกเห็ดเล็กๆ ภายในเวลาประมาณ 

2 – 3 สัปดาห์ ขณะที่กำลังเกิดเป็นดอกเห็ดเล็กๆ นี้ หากดูแลในเรื่องของความชื้นได้ดี ดอกเห็ดก็จะโตเต็มที่ภายใน 4–5 วัน ส่วนมากจะเก็บได้ ในวันที่ 4 ถ้าทิ้งไว้นานกว่านั้น ดอกเห็ดจะสร้างสปอร์ออกมาเป็นผงสีขาวละเอียด หลุดร่วงหล่นลงด้านล่าง ดอกเห็ดที่สร้างสปอร์ไปแล้วคุณภาพจะด้อยลง คือ เหนียวขึ้นและรสชาดก็จะขม  การเก็บดอกเห็ดควรเก็บในตอนเช้ามืด ให้ใช้มือดึงที่โคนออกมาเบาๆ ไม่ควรใช้มีดตัด เพราะเศษเห็ดที่ติดอยู่กับก้อนเชื้อจะเน่า เกิดเป็นแหล่งสะสมเชื้อโรค เมื่อเก็บดอกเห็ดมาแล้ว จึงใช้มีดหรือกรรไกรตัดเอาส่วนโคนที่มีเศษขี้เลื่อยติดมาวางเห็ดคว่ำไว้ในตะกร้าที่สะอาดแต่ละตะกร้าไม่ควรใส่ดอกเห็ดลงไปมากเกินไป หรือไม่ควรใส่เกิน 5 กิโลกรัม/ตะกร้า เพื่อไม่ให้น้ำ หนัก ของดอกเห็ดกดทับกันจนเสียหาย

ก้อนเชื้อเห็ดนางฟ้าสูตรธรรมดาขนาดน้ำ หนัก 1 กิโลกรัม จะให้ผลผลิตครั้งละ 50–60 กรัม แต่ละก้อนจะให้ผลผลิตประมาณ 4–5 รุ่น แต่ละรุ่นมีช่วงห่างระหว่างการเกิดดอกประมาณ 30–40 วัน ได้น้ำหนักรวมกระทั่งหมดอายุ ประมาณ 

3–4 ขีด

         การดูแล และเก็บเห็ดนางฟ้าจะใช้เวลาประมาณ 2-4 เดือน หรือจนหมดอายุอาหารในก้อนจึงนำรุ่นใหม่เข้ามาเพาะแทน รวมทั้ง ก้อนเชื้อบางก้อนที่เน่าเสียไปอย่างรวดเร็วกว่าก้อนอื่นๆให้แยกออกไปแล้วนำ รุ่นใหม่เข้ามาแทนเช่นกัน ก้อนเชื้อที่หมดสภาพหรือหมดอายุแล้ว จะมีน้ำหนักเบา บางก้อนจะเละมีสีดำคล้ำ ถึงระยะนี้อาจนำออกมาทั้งหมด จากนั้นจึงล้างโรงเรือนให้สะอาดก่อนนำ ก้อนเชื้อรุ่นใหม่เข้าไปเพาะต่อไป


การแปรรูปและช่องทางการตลาด
เห็ดเป็นผลผลิตทางการเกษตรชนิดหนึ่งที่ให้ผลผลิตจำนวนมาก และสามารถนำไปขายสดและสามารถนำมาปรุงอาหารคาวและแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ชนิดต่างๆ

(1) การทอด โดยการทอดในน้ำมันที่ร้อน การทอดทำให้แห้งและกรอบ เช่น เห็ดชุปแป้งทอด

(2) การแปรรูปเห็ด แหนมเห็ด