ภูมิปัญญาท้องถิ่น

การสืบทอดประเพณีวัฒนธรรม

นางดาริกา   นามสกุล   ชมภูกา

เกิดวันที่  14  เมษายน  2497   อายุ  70 

ที่อยู่ปัจจุบัน  เลขที่  237/1  หมู่ที่  7  ตำบลม่วงน้อย  อำเภอป่าซาง  จังหวัดลำพูน  

รหัสไปรษณีย์ 51120 โทรศัพท์  081-0234462

      ภูมิปัญญาชาวบ้านหรือท้องถิ่นได้ก่อเกิดและสืบทอดกันมาในชุมชนหมู่บ้าน เมื่อหมู่บ้านเปลี่ยนแปลงไปพร้อมกับสังคมสมัยใหม่ ภูมิปัญญาชาวบ้านก็มีการปรับตัวเช่นเดียวกัน ความรู้จำนวนมากได้สูญหายไปเพราะไม่มีการปฏิบัติสืบทอด ผู้คนอพยพย้ายถิ่น บ้างก็เข้าเมือง บ้างก็ไปทำงานที่อื่น สังคมสมัยใหม่มีระบบการศึกษาในโรงเรียนมีอนามัยและโรงพยาบาล มีโรงหนัง วิทยุ โทรทัศน์ และเครื่องบันเทิงต่างๆ ทำให้ชีวิตทางสังคมของชุมชนหมู่บ้านเปลี่ยนไป มีตำรวจ มีโรงศาล มีเจ้าหน้าที่ราชการฝ่ายปกครอง ฝ่ายพัฒนา และอื่นเข้าไปในหมู่บ้าน บทบาทของวัด พระสงฆ์  คนเฒ่าคนแก่เริ่มลดน้อยลงลงไป  การทำมาหากินก็เปลี่ยนจากการทำเพื่อยังชีพไปเป็นการผลิตเพื่อการขาย ผู้คนต้องการเงินเพื่อซื้อเครื่องบริโภคต่าง ๆ ทำให้สิ่งแวดล้อมเปลี่ยนไป ผลผลิตจากป่าก็หมด สถานการณ์เช่นนี้ทำให้นางดาริกา  ชมภูกา มีความคิดที่จะสืบทอด  วัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่น ที่สืบทอดกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษ และการส่งเสริมให้มีการอนุรักษ์ ฟื้นฟู ประยุกต์ และค้นคิดสิ่งใหม่ ความรู้ใหม่เพื่อเผยแพร่ให้กับคนรุ่นหลัง      สืบทอดต่อไป  โดยมีกิจกรรมดังนี้ 

- ปลุกจิตสำนึกให้คนในชุมชนตระหนักถึงคุณค่า และความสำคัญของภูมิปัญญาท้องถิ่นในชุมชน

-  ส่งเสริมสนับสนุนการจัดกิจกรรมตามประเพณีและวัฒนธรรมต่าง ๆ 

- สร้างจิตสำนึกของความเป็นคนในชุมชน/ท้องถิ่นที่จะต้องร่วมกันอนุรักษ์ภูมิปัญญาที่เป็นเอกลักษณ์  ของชุมชน/ท้องถิ่น  รวมทั้งสนับสนุนให้มีพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นหรือพิพิธภัณฑ์ชุมชนขึ้น  เพื่อแสดงสภาพวิถีชีวิตและความเป็นมาของชุมชนอันจะสร้างความรู้และความภูมิใจในชุมชนท้องถิ่น

- เลือกภูมิปัญญาที่กำลังจะสูญหาย หรือที่สูญหายไปแล้วมาทำให้มีคุณค่าและมีความสำคัญต่อการดำเนินชีวิตในท้องถิ่น โดยเฉพาะพื้นฐานทางจริยธรรม คุณธรรม และค่านิยม เช่น การทำไม้กวาดทางมะพร้าว, การประดิษฐ์ใบตองที่ใช้ในพิธีการต่างๆ , การสานสวิงจับปลา , การทำกระบวยจากกะลามะพร้าว เป็นต้น

- ริเริ่มสร้างสรรค์และปรับปรุงภูมิปัญญาให้เหมาะสมกับยุคสมัยและเกิดประโยชน์ในการดำเนินชีวิตประจำวัน โดยใช้ภูมิปัญญาเป็นพื้นฐานในการรวมกลุ่มการพัฒนาอาชีพ ควรนำความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาช่วยเพื่อต่อยอดเพื่อใช้ในการผลิต การตลาด และการบริหาร ตลอดจนการป้องกันและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

- ส่งเสริมกิจกรรม โดยการส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดเครือข่ายการสืบสานและพัฒนาภูมิปัญญาของชุมชนต่าง ๆ เพื่อจัดกิจกรรมทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นอย่างต่อเนื่อง

- ส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาศักยภาพของชาวบ้านผู้ดำเนินงานและปราชญ์ท้องถิ่น ให้มีโอกาสแสดงศักยภาพด้านภูมิปัญญาและพัฒนาความรู้ความสามารถได้อย่างเต็มที่

       จากผลการดำเนินงานดังกล่าวทำให้นางดาริกา ชมภูกาได้รับการยอมรับและยกย่องให้เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นและได้เป็นวิทยากรให้กับหน่วยต่างๆ ถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับเยาวชนและเข้ามาศึกษาดูงานเป็นจำนวนมาก