นายสุรชัย  ปาจุวัง

ผู้ใหญ่บ้านไร่น้อย 

        การพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง  หมู่บ้านอยู่เย็น  เป็นสุข

นายสุรชัย  ปาจุวัง ผู้ใหญ่บ้านไร่น้อย  หมู่ที่ 7  ตำบลม่วงน้อย  อำเภอป่าซาง  จังหวัดลำพูน

รายละเอียดที่อยู่ติดต่อได้ บ้านเลขที่ 264  หมู่ที่ 7 ตำบลม่วงน้อย อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน    Tel.089-560-8653

การพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงนั้น หมู่บ้านต้องมีผู้นำที่เป็นแบบอย่างที่ดีแก่ชาวบ้าน          ในเรื่องการดำเนินชีวติอย่างพอเพียง เป็นที่ปรึกษาและเป็นผู้ประสานระหว่าง เจ้าหน้าที่ของรัฐกับหมู่บ้าน     ให้มีความพร้อมที่จะเสียสละ ให้แก่ส่วนรวม มีการจัดตั้งอาชีพเพื่อให้ สมาชิกในหมู่บ้านช่วยเหลือกัน         ชาวบ้านมีความต้องการ ที่จะพัฒนาตนเองและครอบครัวตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ร่วมกันแก้ปัญหาและอุปสรรคของการพัฒนาหมู่บา้นเศรษฐกิจพอเพียง ด้านการลด รายจ่าย บางครัวเรือน  ไม่มีเงินทุนในการประกอบอาชีพ ด้านการเพิ่มรายได้ขาดตลาดรองรับผลผลิต การเกษตร ด้านการประหยัด เงินออมทรัพย์ค่อนข้างน้อย ด้านการเรียนรู้คนรุ่นใหม่ไม่ใส่ใจ ที่จะสืบทอดวัฒนธรรมประเพณีดั้งเดิม ด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ไม่มีการปลูกป่าทดแทน และด้านการเอื้ออารีกัน มีจำนวนน้อย  ส่งผลสำเร็จต่อการพัฒนาหมู่บา้นเศรษฐกิจพอเพียง ปัจจัยภายในได้แก่บทบาทที่โดดเด่นของผู้นำ ความสัมพันธ์ทางเครือญาติที่ช่วยเหลือเกื้อกุลกัน  การมีพุทธศาสนาและวัดเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจความสามคัคีในชุมน การจัดเวทีชุมชน สภาพพื้นที่ ที่เอื้ออำนวยต่อการผลิตทางการเกษตร ส่วนปัจจัยภายนอก ได้แก่การได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานราชการ และชุมชนภายนอก 

             นายสุรชัย  ปาจุวัง เป็นผู้นำชุมชนที่น้อมนำเอาหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในการ      ดำรงชีวิตประจำวันเป็นผู้นำที่เป็นแบบอย่างที่ดี และถ่ายถอดความรู้การน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอ 

  เพียงในด้านต่าง ๆ ให้กับชุมชน เพื่อสร้างชุมชม/หมู่บ้านให้เป็นบ้านเศรษฐกิจพอเพียง“อยู่เย็น เป็นสุข” โดยมีขั้น

  ตอนการดำเนินงานและการบริหารจัดการดังนี้

 1.จัดทำเวทีประชาคม เพื่อประชุมชี้แจง เพื่อสร้างการรับรู้และเข้าใจในหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและได้ชี้แจงการขับเคลื่อนสร้างชุมชม/หมู่บ้านให้เป็นบ้านเศรษฐกิจพอเพียง“อยู่เย็น   เป็นสุข”โดยให้ประชนในชุมชรช่วยระดมความคิด ช่วยกันสร้าง เกิดความรักความสามัคคี และการเป็นเจ้าของร่วมกัน

2. แต่งตั้งคณะกรรมการหมู่บ้าน เพื่อรับผิดชอบและดูแลชุมชนด้านต่าง ๆ ดังนี้

3. ประสานงานขอความร่วมมือจากภาคีเครือข่าย และหน่วยงานของภาครัฐ และภาคเอกชน ให้เข้ามา     มีส่วนร่วมการดำเนินงาน เช่น วิทยากรมาอบรมให้ความรู้ การศึกษาดูงานเพื่อพัฒนาความรู้ และการขอสนับสนุนงบประมาณในการจัดกิจกรรม

4. มีปราญช์  และภูมิปัญญาเในชุมชนที่มีความพร้อมถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับผู้เข้ามาศึกษา 

5. มีฐานการเรียนรู้เพื่อถ่ายทอดและขยายผลให้กับชุมชน  ดังนี้

      นายสุรชัย  ปาจุวัง ยังมีการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง เข้ารับการอบรมจาก กศน.อำเภอป่าซางเช่นการทำปุ๋ยหมักจากขยะเปียกจากครัวเรือน การเพาะเห็ดฟาง การทำน้ำยาล้างจาน  น้ำนาเอนกประสงค์     การทำบัญชีครัวเรือน  การประดิษฐ์จากเศษวัสดุต่างๆ สามารถสร้างรายได้ต่อครอบครัว และได้เป็นวิทยากรปราญช์ด้านเศรษฐกิจพอเพียงให้กับหน่วยงาน กศน.อำเภอป่าซางอีกด้วย

      จากการบริหารจัดการของนายสุรชัย  ปาจุงวัง ทำให้ชุมชนได้รับการยอมรับและได้รับรางวัลดังนี้

1 .รางวัลชนะเลิศชุมชนต้นแบบพื้นที่ว่างสร้างอาหาร จังหวัดลำพูน  ประจำปี 2564

2 รางวัลชนะเลิศชุมชนต้นแบบ ตาม “โครงการลำพูนน่าเยือน  บ้านเมืองน่าอยู่” ประจำปี 2564

3.รางวัลชนะเลิศ หมู่บ้านแผ่นดินธรรม แผ่นดินทอง (หมู่บ้าน อยู่เย็น) ระดับจังหวัด

       ประจำปี 2563

        4. โล่เกียรติคุณ จากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดลำพูน รางวัลชนะเลิศการประกวดหมู่บ้านต้นแบบ          ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพตำบลจัดการคุณภาพชีวิต ระดับจังหวัดประจำปี  2563