ฮอมฮัก ผ้าทอทุ่งฮี


ชื่อผลงาน สปายดี วิถีทุ่งฮี

กศน.ตำบลวังทรายคำ สังกัด กศน.อำเภอวังเหนือ จังหวัดลำปาง

จากภาพความทรงจำที่เลือนรางในวัยเด็ก​ เสียงอีดฝ้าย เสียงฟืมกระทบเส้นด้าย
เสียงกระสวยกระทบหูกทอผ้า เสียงค่าวจ้อยซอ​บ่าวฮ่ำสาวปั่นฝ้ายสิ่งที่ขาดหายไปจากชุมชน
บ้านทุ่งฮี​ร่วม​ 60 ​ปีถึงเวลาได้กลับพลิกฟื้นมาใหม่​ต้องใช้พลังกายพลังใจมากมาย​กว่าจะรวบรวมสิ่งที่เรียกว่าภูมิปัญญาพื้นบ้าน​ที่กระจัดกระจาย​ให้มาอยู่รวมกัน​จึงมีกลุ่มทอและเย็บผ้าพื้นเมือง

บ้านทุ่งฮี เกิดขึ้น​ในหมู่บ้าน​เล็ก ๆ​ แห่งนี้ ดีใจที่ได้มีส่วนร่วม​กับภาคีเครือข่ายส่วนต่างๆเพื่อขับเคลื่อนของดีอำเภอวังเหนือ จังหวัดลำปาง ให้เป็นที่รู้จักในรูปแบบผ้าทอย้อมสีธรรมชาติ​นานาชนิด สิ่งที่มีในชุมชน​นำมาสร้างมูลค่า​เพิ่มก่อให้เกิดอาชีพและรายได้ให้คนในชุมชน

เมื่อปี พ.ศ.2509 สมัยวัยเด็กแม่สมพร ใจคำ ได้อาศัยในครอบครัวใหญ่มีคุณยายหลง ทิมัน ทำอาชีพเกษตรกรรม ทำข้าวไร่และการปลูกฝ้ายขาวและฝ้ายตุ่นในบริเวณที่ปลูกข้าวไร่ หลังฤดูเก็บเกี่ยวข้าวไร่ก็เก็บดอกฝ้ายมาตากแดดคัดแยกเศษหญ้าออกในยามกลางคืนใต้แสงไฟจากน้ำมันก๊าด มีกิจกรรมรวมกลุ่มของสมาชิกในครอบครัวคือการอีดฝ้าย-ปั่นฝ้าย เป็นช่วงเวลาที่ลูกหลานได้ซึมซับวิถีชีวิตพื้นบ้านวันเสาร์-อาทิตย์ ก็ช่วยยายย้อมเส้นด้ายจากสีธรรมชาติ
จากแก่นฝาง เปลือกประดู่ เปลือกสะเดา ขี้เถ้า โคลน และครั่ง หลังจากได้เส้นด้ายจึงนำมาใส่หูกทอผ้าโดยอาศัยความเพียรพยายามและประสบการณ์จึงได้ผ้าทอสีสันสวยงามผืนใหม่ใช้ทำเครื่องนุ่งห่มปกปิดร่างกาย และยามค่ำคืนในฤดูหนาวที่หนาวเหน็บ
ก็อาศัยผ้าห่มที่ทอจากฝีมือยายทำให้นึกถึงทีไร หัวใจดวงน้อยก็พองโต

จากประสบการณ์วันนั้นได้เรียนรู้วิถีชีวิต วิธีการทอผ้าจากรุ่นยายมาถึงหลานภูมิปัญญาด้านอาชีพการทอผ้าพื้นเมือง ทำให้แม่สมพรสนใจและฝึกหัดในยามว่างรวมถึงการเย็บปักทักร้อยตั้งแต่เด็กๆส่งผลให้มีฝีมือในการอิดฝ้ายปั่นฝ้าย ทอผ้าพื้นเมืองหลังจากนั้นยายหลงได้เสียชีวิตลงแม่สมพรได้แต่งงานมีครอบครัวและประกอบอาชีพค้าขายเสื้อผ้าสำเร็จรูปในตลาดนัดต่าง ๆ ทั่วไปทำให้ได้เห็นช่องทางการตลาดในการสร้างชิ้นงานในชุมชน

เมื่อปลายปี พ.ศ.2562 กศน.ตำบลวังทรายคำสังกัด กศน.อำเภอวังเหนือ ได้ประชาคมกลุ่มอาชีพบ้านทุ่งฮี โดยแม่สมพรได้เสนอการทอและตัดเย็บผ้าพื้นเมือง เพราะอยากจะให้คนในชุมชนมีอาชีพ เช่น ผู้สูงอายุ กลุ่มแม่บ้าน ทำให้มีอาชีพในยามว่างและส่งเสริมการรวมกลุ่มของภูมิปัญญาในพื้นที่และสร้างเอกลักษณ์ของบ้านทุ่งฮี กศน.อำเภอวังเหนือจึงสนับสนุน
งบประมาณโครงการศูนย์ฝึกอาชีพชุมชน(1 อำเภอ1 อาชีพ) หลักสูตรการทอผ้าพื้นเมือง โดยมีผู้สูงอายุ กลุ่มพ่อบ้าน แม่บ้านได้รวมกลุ่มทำกิจกรรมมีแม่สมพรเป็นวิทยากรโดยนำประสบการณ์ในวัยสาวที่ไปเรียนการตัดเย็บเสื้อผ้าในกรุงเทพฯจึงมีฝีมือในการออกแบบ/การตัดเย็บเสื้อผ้า กระเป๋าถือ หมวก รูปทรงต่างๆที่ทันสมัยให้ได้ตามที่ลูกค้าต้องการจึงมีชิ้นงานออกสู่ตลาด
อย่างไม่ขาดสายและมีการส่งเสริมการขายโดยลูกชายและลูกสะใภ้ที่มีความสามารถในการขายออนไลน์ ทั้งการไลฟ์สดขาย รวมถึงการออกบูทสิ้นค้าของดี จังหวัดลำปาง โดยแม่สมพร
ทำให้เป็นที่รู้จักผลิตภัณฑ์นี้ทั่วไป

กลุ่มผ้าทอและเย็บผ้าพื้นเมืองบ้านทุ่งฮี ถือได้ว่าเป็นผลิตภัณฑ์ ดีเด่นของอำเภอวังเหนือจังหวัดลำปาง จึงได้รับรางวัลจากผลิตภัณฑ์กระเป๋าสะพาย (สปายดี บ้านทุ่งฮี) ได้รับรางวัลชนะเลิศการคัดเลือกผลิตภัณฑ์/สินค้า กศน.พรี่เมี่ยม ระดับจังหวัด ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2565 จากสำนักงาน กศน.จังหวัดลำปาง และผลิตภัณฑ์เสื้อผ้าที่เป็นที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในกลุ่มสุภาพบุรุษ สุภาพสตรี ทั้งที่เป็นกลุ่มคนทำงานทั่วไปโดย กศน.อำเภอวังเหนือได้จัดทำวิดีโอ สปายดี วิถีทุ่งฮี เพื่อให้นักท่องเที่ยวและผู้สนใจได้ศึกษาค้นคว้าพร้อมทั้งจัดพิมพ์เอกสารการถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่น และคุณค่าของภูมิปัญญาไทยประชาสัมพันธ์งานผ้าทอและเย็บผ้าพื้นเมืองจากรุ่นสู่รุ่นเผยแพร่ให้แพร่หลายต่อไปรางวัลชนะเลิศการคัดเลือกผลิตภัณฑ์

/สินค้า กศน.พรี่เมี่ยมระดับจังหวัด ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2565 จากสำนักงาน กศน.จังหวัดลำปาง


จุดเด่นภูมิปัญญาท้องถิ่น

กลุ่มการทอและเย็บผ้าพื้นเมืองของบ้านทุ่งฮีใช้ทรัพยากรในท้องถิ่นจากดอกฝ้ายในไร่ การถักทอเส้นด้ายและการย้อมเส้นด้ายด้วยสีธรรมชาติต่างๆเช่นแกนฝางเปลือกประดู่ เปลือกสะเดา ขี้เถ้า โคลนและครั่งรวมถึงการทอผ้าด้วยกี่กระตุก และฝีมือการตัดเย็บที่ประณีตทำให้ได้ เสื้อผ้ากระเป๋าถือสปายดี วิถีทุ่งฮี ด้วยลวดลายที่ปักด้วยมือเป็นงานแฮนด์เมดชิ้นเดียว เป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้จากวัตถุดิบที่มีอยู่ในท้องถิ่น ไม่ทำลายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

วัตถุดิบที่ใช้ประโยชน์ในผลิตภัณฑ์ที่เกิดจากภูมิปัญญา พื้นที่อื่นไม่มี

ครั่ง คือแมลงจำพวกเพลี้ยชนิดหนึ่งที่อาศัยอยู่กับลำกิ่งไม้จามจุรี ลิ้นจี่ ลำไยโดยจะใช้งวงปากเจาะเพื่อดูดน้ำเลี้ยงของต้นไม้ ครั่งมีประโยชน์ต่อมนุษย์เป็นอย่างมากนับจากอดีตจนถึงปัจจุบันครั่งจะขับสารชนิดหนึ่งซึ่งมีลักษณะเป็นเหมือนยางหรือชันออกมาไว้ป้องกันตัวเองจากศัตรู ซึ่งสารที่ขับถ่ายออกมานี้เรียกว่า "ครั่งดิบ" สารนี้มีสีแดงม่วง หรือยางสีส้ม ซึ่งภูมิปัญญาท้องถิ่นทางภาคเหนือได้นำมาใช้ประโยชน์ เช่นใช้เป็นสมุนไพร เป็นยารักษาโรคโลหิตจาง,
โรคลมขัดข้อ หรือการทำแคปซูลยาต่างๆ นอกจากนี้ยังนำไปใช้ในอุตสาหกรรมไม้การทำเฟอร์นิเจอร์ให้เงางาม เช่น
เชลแล็ก, แลกเกอร์, การใช้เป็นยางประสานให้มีดติดแน่นกับกับด้ามไม้และเครื่องประดับต่าง ๆเช่นย้อมสี ย้อมผ้าฝ้าย ปัจจุบันครั่งเป็นผลิตผลที่สำคัญของเกษตรกรอำเภอวังเหนือ ทำให้มีรายได้จาการเลี้ยงครั่ง การนำครั่งมาใช้ในการย้อมกับเส้นด้ายต้องนำครั่งมาตำให้ละเอียดแช่น้ำไว้ 1 คืนกรองเอาเศษครั่งออกนำมาต้มน้ำให้เดือดจึงนำเส้นด้ายลงต้มให้ได้สีชมพูอ่อน สีชมพูเข้ม และสีแดง เป็นต้น

******************************

การสั่งสมประสบการณ์ด้านอาชีพการทอและเย็บผ้าพื้นเมือง จากวัยเยาว์จวบจนถึง
วันนี้ของแม่สมพรใจคำทำให้มีอาชีพที่สร้างรายได้ให้กับครอบครัวและชุมชนถือเป็นครูภูมิปัญญาด้านอาชีพของอำเภอวังเหนือที่สามารถถ่ายทอดให้อนุชนรุ่นต่อไปได้ศึกษาเรียนรู้คู่สังคมต่อไป


รายละเอียดการประชาสัมพันธ์เผยแพร่ภูมิปัญญาท้องถิ่น

-https://www.facebook.com/profile.php?id=100008031404789

- https://www.youtube.com/watch?v=60a1tcKY9Ws

- https://www.facebook.com/710003702466931

/posts/2129310990536188

-https://sites.google.com/dei.ac.th/krusombut/home?fbclid=IwAR0YswHHXUg-2KZGzUjV4fVm9mnXl5Qo0oQOWvrwtv7d62k99mMzESSg6Fc

ข้อมูลเนื้อหาโดย

นางสมพร ใจคำเกิดวันที่ 25 มีนาคม 2501 อายุ 64 ปี

ที่อยู่ 57 หมู่ 1 บ้านทุ่งฮี ตำบลวังทรายคำ อำเภอวังเหนือ จังหวัดลำปาง

โทรศัทพ์ 0899510312 Line ID 0899510312

Facebook สมพร ใจคำ

E-mail address: somphon09317@gmail.com


เรียบเรืองเนื้อหาโดย

นายภานุวัฒน์ สืบเครือ ผู้อำนวยการ กศน.อำเภอวังเหนือ

นายจักรกฤษณ์ ปีก่ำ ครู คศ.1

นายสมบัติ ดุกล้า ครู กศน.ตำบลวังทรายคำ


ภาพถ่าย/ภาพประกอบโดย

Facebook นางสมพร ใจคำ

เพจ กศน.ตำบลวังทรายคำ