ภูมิปัญญาท้องถิ่น

สายลมเย็นพริ้วไหวยาม แว่วเสียงสะล้อ ซอ ซึง มาแต่ไกลชวนให้นึกถึงดินแดนแห่งนี้ ทุ่งฮี วิถีดนตรีล้านนาเสียงดนตรี อันมีเอกลักษณ์ที่มีการขับร้องและท่วงทำนองอ่อนโยน ฟังดูเนิบนาบนุ่มนวล ฟังแล้วเย็นระรื่นหูทำให้บรรยากาศยามพลบคำ่ไม่เงียบเหงา การใช้ดนตรีพื้นเมืองมาเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมการ “แอ่วสาว” หรือ “เกี้ยวสาว” ของรุ่นปู่ย่าตายายมาช้านานประเพณีที่ว่านี้คือ ถ้าบ้านไหนมีสาวๆ และนางผู้ปกครองปรารถนาจะให้มีสามีแล้ว ก็จะจุดตะเกียงหรือโคมไฟตั้งไว้ที่ปลายเสาต้นใดต้นหนึ่งที่รั้วด้านหน้าเรือน หรือไม่ก็วางไว้บนที่สูงๆ ทางหน้าเรือนนั้น เพื่อให้ชายหนุ่มที่เดินผ่านไปมาตามทางเดินได้สังเกตเห็น ถ้าเห็นตะเกียงจุดไว้ก็เป็นทราบได้ว่าที่เรือนหลังนั้นมีหญิงสาวและเป็นโสด ทั้งประสงค์จะให้มีคู่ครองด้วย โดยเฉพาะผู้ชายที่อยู่ต่างตำบล เวลาจะไปอู้สาวมักจะไป ด้วยกันเป็นหมู่ๆ มีเครื่องดีดสีตีเป่า เช่น ซึง สะล้อ ติดมือไปด้วย พวกหนุ่มๆ เหล่านี้จะซอและดีดซึงไปตามถนนอย่างสนุกสนานในยามค่ำคืน จึงกลายเป็นดนตรีพื้นบ้านภาคเหนือโดยปริยาย นิยมเรียกตามชนิดของเครื่องดนตรีที่นำมาผสมเป็นวงว่า “วงสะล้อซอซึง”

พ่อจันทร์ มาลา อดีตผู็ใหญ่บ้านทุ่งฮี เมื่อหลายสิบปีก่อน ว่างจากงานหว่านไถ่ก็ผันตัวเองเป็นสล่าทำเครื่องดนตรีพื้นบ้านที่เรียกว่า ชึง โดยมีขั้นตอนการทำเครื่องดนตรีซึงดังนี้ หาไม้สักที่แห้งที่สุดเตรียมไว้ตามขนาดที่ต้องการอุปกรณ์มีดังนี้ มีดค้อน สิ่ว สว่าน ลูกหมู หินเจียรกบไฟฟ้า นำไม้มาใสด้วยกบไฟฟ้าให้เสมอกันแล้วขีดด้วยวงเวียน เพื่อให้มีวงกลมแล้วใช้มีดมาถากตามให้เป็นรูปโครงสร้างฯชึงแล้วเอาสว่านเจาะรูตามรอย พอได้ขนาดนี้แล้วก็หาไม้บางๆมาปิดหน้าตึงแล้วเจาะรูตรงกลางตัวจึงเรียกว่าตาดตึงแล้วขัดด้วยกระดาษทรายเบอร์ 100 ขัดซ้ำด้วยเบอร์ 150 พอผิวมันเรียบแล้วก็เอาน้ำมัน slack ขาวมารองพื้นทิ้งให้แห้งแล้วขัดด้วยกระดาษทรายเบอร์ 150 อีกครั้งหนึ่งหลังจากนั้นลงด้วยวานิช 2-3 รอบทิ้งให้แห้งก็นำลูกบิดและห้องชึงมาติดแล้วใช้สายกีต้าร์หรือสายเอ็นรถถีบมาทำเป็นสายไล่เสียงๆ ให้ได้ตามที่ต้องการโดยมีเสียงโด เร มี ฟาซอล ลา ทรี โด ปัขจุบันถ่ายทอดวิชานี้ให้กับ
นายทูล ทิมัน เป็นหัวหน้ากลุ่มวิสาหกิจชุมชนสะล้อ ซอ ซึง บ้านทุ่งฮี มีผลิตภัณฑ์มากมาย เช่น สะล้อ เครื่องบีบมะนาว ช้อน ทัพพี พร้อมทั้งเปิดเป็นแหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาศึกษาดูงานให้กับหน่วยงานต่าง ๆ ในอำเภอวังเหนือ