กลุ่มผ้าทอ

ประวัติความเป็นมาของแหล่งการเรียนรู้

หมู่บ้านก้อทุ่งตั้งอยู่หมู่ที่ 1 ตำบลก้อ อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน เป็นอีกหมู่บ้านหนึ่งที่มีการสืบทอดภูมิปัญญาด้านการทอผ้ามาจากบรรพบุรุษโดยเดิมทีเป็นการทอผ้าฝ้าย ที่ทำเองทุกกระบวนการตั้งแต่ปลูกต้นฝ้าย เข็นฝ้าย จนกระทั่งทอ แต่ในยุคสมัยปัจจุบันไม่มีที่ดินสำหรับปลูกต้นฝ้ายเนื่องจากกลายเป็นบ้านเรือนและที่นาเสียส่วนใหญ่จึงมีการทอผ้าโดยซื้อฝ้ายจากผู้จำหน่ายมาใช้แทน

ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำนาหรือเกษตรกรในยามที่ว่างจากการทำนาชาวบ้านจะรวมตัวกันหาอาชีพเสริมเพื่อเป็นการเพิ่มรายได้ให้กับครอบครัวด้วยเหตุนี้นางกัลยาณี เกตุแก้ว ซึ่งมีความรู้ความสามารถด้านการทอผ้า จึงได้ชักชวนชาวบ้านที่มีความสนใจตรงกัน ตั้งกลุ่มทอผ้าขึ้นมาและมีผู้เข้าร่วมเป็นประมาณ 20 คนทำให้มีกลุ่มทอผ้าของหมู่บ้านเกิดขึ้นจนถึงปัจจุบัน ผ้าทอมือย้อมสีธรรมชาติเป็นผลผลิตภายในชุมชน ที่เอื้อต่อธรรมชาติและวัฒนธรรมของชุมชนในการดำรงชีวิตตามประเพณีที่สืบทอดกันมา แรงงานเกิดจากการรวมกลุ่มของคนในชุมชน ร่วมแรงร่วมใจกันทำงาน สร้างความสามัคคี เอื้ออารีต่อกัน ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้ชุมชนเข้มแข็ง นอกจากเป็นงานที่สร้างรายได้ให้คนในกลุ่มแล้ว ยังสามารถเป็นแหล่งเรียนรู้ของเยาวชนและบุคคลทั่วไปได้อีกด้วย การเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วในสังคมปัจจุบัน ทำให้คนทุก คนจา เป็นตอ้งมีการเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา มีการปรับตวัให้เท่าทัน วิทยาการใหม่ ๆ ตามความต้องการของสังคม ท้ังน้ีเพราะความรู้ เกิดข้ึนไดท้ ุกวนิาทีส่งผลใหก้ารเรียนรู้ของผูเ้รียนสามารถเรียนรู้ได้ ท้ังในห้องเรียนและนอกห้องเรียน จากแหล่งการเรียนรู้ที่ หลากหลาย ซ่ึงการศึกษาจากแหล่งการเรียนรู้ต่าง ๆ น้ัน ทำให้ นักเรียนและครูผู้สอนสามารถเชื่อมโยงการเรียน การสอนเข้ากับวิถีชีวิต มีความรักความผูกพันกับท้องถิ่นเห็นคุณค่าและอนุรักษ์ วัฒนธรรมสิ่งแวดลอ้ มและสามารถบูรณาการเพื่อมาปรับใช้กับวิถีไทยได้