ความเป็นมาและการดำรงชีวิตของแมลง

เมื่อประมาณ 300 ล้านปีมาแล้ว โลกเริ่มมีป่าไม้และหนองน้ำใหญ่บนแผ่นดิน ระยะนี้เองที่ได้มีแมลงเกิดขึ้นบนโลก แมลงชนิดแรกได้แก่ แมลงปอและแมลงสาบ แมลงในสมัยนั้นมีขนาดใหญ่จนอาจเรียกได้ว่า “แมลงปอยักษ์” เพราะมีความยาววัดจากปลายปีกถึง 20 เซนติเมตร ส่วนแมลงสาบก็อาจถือได้ว่าเป็นบรรพบุรุษของแมลงสาบปัจจุบัน เพราะมีรูปร่างและนิสัยเหมือนกันไม่ได้เปลี่ยนไปเลย เนื่องจากแมลงเป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง เนื้ออ่อนนุ่มนิ่ม ปีกบางใส ฟอสซิลของแมลงโบราณ ซึ่งเป็นหลักฐานสำคัญจึงได้หายากยิ่ง หลักฐานเกี่ยวกับแมลงโบราณที่พอจะหาได้ คือ ซากของแมลงในก้อนอำพันซึ่งมีอายุ 60 ล้านปี

คำว่า “ แมลง ” หมายถึง สัตว์ที่มีขา 3 คู่ มีหนวด ลำตัวแบ่งออกได้ 3 ส่วน ได้แก่ ส่วนหัว, ส่วนอก และส่วนท้อง ในขณะที่ “ แมง ” จะหมายถึง สัตว์ที่มีขา 4 คู่ ไม่มีหนวด ลำตัวแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ ส่วนหัวและส่วนท้อง จากสภาพแวดล้อมและการขัดเกลาทางสังคมที่เป็นตัวหล่อหลอมชีวิต ความคิด ความเข้าใจ ทัศนคติ รวมถึงมโนทัศน์ของชาวบ้าน ทำให้คำว่า “ แมลง ” ของชาวบ้านแตกต่างไปจากการจัดแบ่ง

สัตว์ตระกูลแมลงตามแนวของนักอนุกรมวิธานและนักกีฏวิทยา การกำหนดว่าสัตว์ชนิดใดเป็นแมลงนั้น

ชาวบ้านสังเกตจากสิ่งเหล่านี้เป็นเกณฑ์ในการแบ่ง ได้แก่

1. ลักษณะทางกายภาพ สัตว์ที่ชาวบ้านถือว่าเป็นแมลงจะพิจารณาจากลักษณะทางกายภาพเป็นสำคัญ คือ แมลงต้องมีขนาดเล็ก ไม่ใหญ่จนเกินไป โดยมีคำจำกัดความว่าต้องไม่ใหญ่เกินนกมีขามากกว่านก คือ มีขาตั้งแต่ 6 ขาขึ้นไป และต้องเป็นสัตว์ที่รับความรู้สึกทางหนวดซึ่งมีไว้รับความรู้สึกเกี่ยวกับอันตรายต่างๆ รอบตัว

2. ลักษณะการเคลื่อนไหว การเคลื่อนไหวเป็นสิ่งหนึ่งที่กำหนดว่าสิ่งมีชีวิตแบบใดถูกจัดให้เป็นแมลง การเคลื่อนไหวของแมลงในทัศนะของชาวบ้านแบ่งได้ 2 ประเภท คือ

2.1 ใช้ขาในการเคลื่อนไหว สัตว์ประเภทแมลงต้องใช้ขาในการเดินหรือไต่ไปตามที่ต่างๆ บางประเภทเดินเร็ว บางประเภทเดินช้า ลักษณะพิเศษ คือ การไต่หรือเดินของแมลงนี้สามารถทำได้ในพื้นที่ทุกลักษณะ ทุกระนาบ มีการเกาะติดเพราะมีเล็บขาที่แข็งแรง

2.2 ใช้ปีกในการเคลื่อนไหว สัตว์ประเภทแมลงบางชนิดใช้ปีกในการเคลื่อนไหว ปีกนั้นต้องไม่ใหญ่จนเกินไป ซึ่งแตกต่างจากสัตว์ประเภทอื่นๆ ที่มีปีกหนา นุ่ม มีขน แต่ปีกแมลงไม่มีขน และแมลงจะบินได้เป็นครั้งคราว กล่าวคือ บินได้ไม่นานก็ต้องหยุดพัก ซึ่งแตกต่างจากสัตว์ประเภทอื่นๆ อย่างไรก็ตาม แม้จะมีปีกเล็ก แมลงก็สามารถเคลื่อนที่ได้ไวและหลบหนีการไล่ล่าได้เร็วกว่าสัตว์ปีกประเภทอื่นๆ

3. ลักษณะของแหล่งที่อยู่อาศัย แหล่งที่อยู่อาศัยก็เป็นเกณฑ์หนึ่ง ที่แสดงให้เห็นว่า สัตว์ประเภทใดอยู่ในจำพวกแมลง ในมโนทัศน์ของชาวบ้านแมลงสามารถอยู่อาศัยได้ทั้งบนบก บนฟ้า และในน้ำ

3.1 บนบก ชาวบ้านมีความเข้าใจว่าสัตว์ตัวเล็กๆ ที่อาศัยอยู่บนบกและชอบขุดรูอาศัยอยู่ใต้ดินนั้นส่วนใหญ่เป็นแมลง ซึ่งเป็นการขุดอยู่เพียงชั่วคราว โดยขึ้นอยู่กับฤดูกาล และความยาวนานของการฟักไข่ หรือในบางครั้งก็ขึ้นมาอยู่บนบกตอนกลางวัน และขุดรูอาศัยอยู่ตอนกลางคืน อีกพวกหนึ่งได้แก่ สัตว์ตัวเล็กๆ ที่อยู่บนบกและชอบเกาะตามกิ่งไม้ก็ถือเป็นแมลงอีกเช่นกัน ชาวบ้านมีความคิดว่าแมลงบนบกต้องอยู่ในแหล่งดังกล่าวเท่านั้น คือ ขุดรูอาศัยอยู่ในดินกับเกาะตามกิ่งไม้ นอกเหนือจากนี้ไม่จัดว่าเป็นแมลง ตัวอย่างเช่น แมงป่อง ชาวบ้านไม่ถือว่าเป็นแมลงเพราะแหล่งที่อยู่อาศัยไม่ได้อยู่ในดินและตามกิ่งไม้ ชาวบ้านจะเรียกว่า “ ตัวงอด ” ซึ่งไม่ได้เป็นแมลงในมโนทัศน์ของชาวบ้าน

3.2 ในน้ำ แมลงบางประเภทก็เป็นสัตว์อีกจำพวกหนึ่งที่อาศัยอยู่ในน้ำนอกเหนือจาก ปู ปลา กุ้ง หอย สัตว์อื่นๆ ที่เป็นสัตว์เล็กและมีจำนวนมากๆ ถือว่าเป็นแมลง

3.3 บนฟ้า สัตว์ที่บินได้และมีขนาดลำตัวที่เล็ก ไม่มีขน ถือว่าเป็นแมลง

4. ลักษณะการขยายพันธุ์ แมลงเป็นสัตว์ที่มีการขยายพันธุ์คราวละมากๆ เป็นร้อยเป็นพันตัว ในขณะที่สัตว์ประเภทอื่นไม่มีลักษณะพิเศษเช่นนี้ การขยายพันธุ์แมลงต้องมีการวางไข่ ฟักเป็นตัวอ่อน ( ชาวบ้านเรียกว่า ลูกขี้ ) และมีการฟักตัวเป็นดักแด้ ( ชาวบ้านเรียกว่า ลูกนาง ) และเจริญเติบโตเป็นตัวเต็มวัย

( ชาวบ้านเรียกว่า ตัวแก่ ) ลักษณะวงจรชีวิตดังกล่าวทำให้แมลงแตกต่างจากสัตว์ประเภทอื่นๆ

ทั้งนี้ พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานปี พ.ศ.2542 ให้นิยามของ “แมง” หมายถึง ชื่อสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังที่เมื่อเจริญเติบโตเต็มที่มีร่างกาย แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนหัวกับอกรวมเป็นส่วนเดียวกัน และมีส่วนท้องอีกส่วนหนึ่ง มีขา 8 หรือ 10 ขา ไม่มีหนวด ไม่มีปีก เช่น แมงมุม แมงดาทะเล แมงป่อง

ส่วน “แมลง” นิยามว่าหมายถึง ชื่อสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง เมื่อร่างกายเจริญเติบโตเต็มที่

แบ่งออกเป็น 3 ส่วน เห็นได้ชัดเจน ได้แก่ ส่วนหัว ส่วนอก และส่วนท้อง มี 6 ขา เป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังพวกเดียวที่มีปีก ซึ่งอาจมี 1 หรือ 2 คู่ แต่อาจพบพวกที่ไม่มีปีกก็ได้ เป็นสัตว์ที่มีมากชนิดที่สุดในโลก ซึ่งทั้ง 2 คำนี้มักมีการนำไปใช้สับกันอยู่เสมอๆ

ขณะที่ข้อมูลจากพิพิธภัณฑ์และอุทยานแมลง 60 ปี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ชี้ลงไปว่า แมลง

คือสัตว์ในไฟลัมอาร์โทโพดา ในคลาสอินเซ็คตา ต่างจากสัตว์บางตัวที่เรียกภาษาไทยว่า "แมง" ซึ่งจัดอยู่ในคลาสอะแรชนิดดา

ความแตกต่างของแมลงกับแมง

ลักษณะของ "แมลง" Insects

- ลำตัว ลำตัวแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ ส่วนหัว ส่วนอก และส่วนท้อง

- มีขา 6 ขา และมีปีก 1-2 คู่ บางชนิดไม่มีปีก

- หนวด มีหนวด 1 คู่ บางชนิดไม่มีหนวด

- ตา มีตารวมขนาดใหญ่ 2 ตา เช่น ด้วง ต่อ แตน ผึ้ง มด ผีเสื้อ แมลงวัน แมลงปอ แมลงสาบ มวน จิ้งหรีด ตั๊กแตน ปลวก ฯลฯ

ลักษณะของ "แมง" Arachnids

- ลำตัว ลำตัวแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนหัว ( หัวและอกรวมเป็นส่วนเดียวกัน ) และส่วนท้อง

- มีขาสำหรับใช้เดิน 8 ขา ( บางชนิดมีมากกว่า 8 ซึ่งใช้จับอาหารเข้าปาก ) ซึ่งมีขาอยู่ตรงส่วนท้อง

- ไม่มีปีก

- ไม่มีหนวด

- ตา ไม่มีตารวม เช่น แมงป่อง แมงมุม ไร เห็บ

วงจรชีวิตของแมลง

วงจรชีวิตของแมลง หมายถึงการเปลี่ยนแปลงรูปร่างของแมลง ตั้งแต่ระยะแรกถึงระยะสุดท้าย โดยจะแบ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงรูปร่าง 2 แบบ คือ การเปลี่ยนแปลงรูปร่างแบบสมบูรณ์ และการเปลี่ยนแปลงรูปร่างที่ไม่สมบูรณ์ เพื่อทำให้เกิดการขยายพันธุ์และแมลงสามารถดำรงชีวิตอยู่ต่อไปได้

1. การเปลี่ยนแปลงรูปร่างแบบสมบูรณ์ มีการเปลี่ยนแปลง 4 แบบ คือ ไข่ ตัวอ่อน ดักแด้ และตัวเต็มวัย ทั้งสี่แบบนี้ จะมีรูปร่างไม่เหมือนกัน ตัวอ่อนจะแตกต่างจากพ่อแม่มาก ตัวอ่อนจะกินอาหารแตกต่างจากพ่อแม่ และลอกคราบหลายครั้ง เมื่อเจริญเต็มที่ก็จะหยุดกินอาหาร และเปลี่ยนรูปเป็นดักแด้ ในระยะนี้ แมลงบางชนิดจะปั่นใยไหมห่อหุ้มตัวเอง บางชนิดจะมีการเปลี่ยนแปลงเฉพาะบริเวณผิวหนัง โดยที่ผิวหนังที่เคยนิ่ม กลายเป็นปลอกแข็งหุ้มตัว ในระหว่างที่มันหยุดนิ่งเฉยนี้จะมีการเปลี่ยนรูปร่างลักษณะไปเป็นแมลงที่สมบูรณ์เต็มที่ เมื่อการเจริญครบกำหนดเวลาแมลงภายในใยไหมหรือปลอกดักแด้ก็จะเจาะออกมาเป็นแมลงที่โตเต็มที่

แมลงส่วนใหญ่จะเจริญเติบโตโดยการเปลี่ยนรูปร่างแบบสมบูรณ์ เช่น ผีเสื้อกลางวัน ผีเสื้อกลางคืน แมลงช้าง แมลงวัน เป็นต้น

2. การเปลี่ยนแปลงรูปร่างแบบไม่สมบูรณ์ เมื่อไข่ฟักออกมาแล้วจะกลายเป็นตัวอ่อนที่มีรูปร่างใกล้เคียงพ่อแม่ แต่ไม่มีปีก และมักจะมีนิสัยตลอดจนที่อยู่อาศัยต่างจากพ่อแม่ด้วย พวกแมลงโบราณ ซึ่งเป็นแมลงชนิดที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างไปจากต้นตระกูล ซึ่งเกิดขึ้นในโลก เมื่อหลายร้อยล้านปี ไข่ของแมลงดังกล่าวนี้เมื่อฟักออกมาแล้ว จะกลายเป็นตัวอ่อนที่มีรูปร่างเหมือนพ่อแม่ ผิดแต่มีขนาดเล็กกว่าเท่านั้น ตัวอย่างของแมลงพวกนี้ได้แก่ ตัวสามง่าม

วงจรชีวิตของแมลง

วงจรชีวิตของยุง

ยุงมีวงจรชีวิตแบบสมบูรณ์ ( Holometabolous ) ซึ่งประกอบด้วย ไข่ ลูกน้ำ ตัวโม่ง และยุงตัวเต็มวัย

ช่วงชีวิตของยุงจะแบ่งเป็น 4 ช่วง

1. ช่วงเป็นไข่ ซึ่งยุงจะไข่ในน้ำ

2. ช่วงเป็นลูกน้ำตัวยาว ( Larva ) จะกินสารอินทรีย์ แบคทีเรีย และแพลงก์ตอนในน้ำเป็นอาหาร

3. ช่วงเป็นลูกน้ำตัวกลม หรือลูกโม่ง (Pupa) คือตัวอ่อนของยุงที่พร้อมจะเป็นตัวเต็มวัย แล้วจะไม่กินอาหาร

4. ช่วงที่เป็นยุงตัวเต็มวัย ( ตัวแมลง )

ยุงเมื่อลอกคราบออกจากระยะตัวโม่งได้ไม่กี่นาทีก็สามารถออกบินได้เลย อาหารที่ใช้ในระยะนี้

ของทั้งตัวผู้และตัวเมียเป็นน้ำหวานจากดอกไม้ หรือต้นไม้ การผสมพันธุ์ส่วนใหญ่เกิดขึ้นในอากาศ บางชนิดการผสมพันธุ์เกิดขึ้นในขณะที่ยุงตัวผู้มีการบินวนเป็นกลุ่ม ( Swarming ) โดยเฉพาะเวลาหัวค่ำและใกล้รุ่ง

ตามพุ่มไม้ บนศีรษะ ทุ่งโล่ง หรือบริเวณใกล้กับเหยื่อ เป็นต้น และตัวเมียจะบินเข้าไปเพื่อผสมพันธุ์ ยุงตัวเมียส่วนใหญ่ผสมพันธุ์เพียงครั้งเดียวโดยที่เชื้ออสุจิจากตัวผู้จะถูกกักเก็บในถุงเก็บน้ำเชื้อ ซึ่งสามารถใช้ไปได้ตลอดชีวิตส่วนยุงตัวผู้สามารถผสมพันธุ์ได้หลายครั้ง ยุงตัวเมียที่จับได้ตามธรรมชาติมักมีเชื้ออสุจิอยู่ใน

ถุงเก็บน้ำเชื้อเสมอ

ยุงตัวเมียเมื่อมีอายุได้ 2-3 วันจึงเริ่มออกหากินเลือดคนหรือสัตว์ เพื่อนำเอาโปรตีนและแร่ธาตุไปใช้สำหรับการเจริญเติบโตของไข่ในรังไข่ แต่มียุงบางชนิดที่ไม่จำเป็นต้องกินเลือดก็สามารถสร้างไข่ในรังไข่ได้ เช่น ยุงยักษ์ เลือดที่กินเข้าไปถูกย่อยหมดไปในเวลา 2-4 วัน แต่ถ้าอากาศเย็นลงการย่อยจะใช้เวลานานออกไป

เมื่อไข่สุกเต็มที่ยุงตัวเมียจะหาแหล่งน้ำที่เหมาะสมในการวางไข่ หลังจากวางไข่แล้วยุงตัวเมียก็ออกดูดเลือดใหม่และวางไข่ได้อีก บางชนิดที่มีอายุยืนมากอาจไข่ได้ร่วม 10 ครั้ง แต่ละครั้งห่างกันประมาณ 4-5 วัน

แต่อาจเร็วกว่าหรือนานกว่า ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิและชนิดของยุง ส่วนยุงตัวผู้ตลอดอายุขัยจะกินอาหารจากแหล่งน้ำหวานของดอกไม้หรือพืชที่ผลิตน้ำตาลในธรรมชาติ เช่นเดียวกันกับยุงบางชนิดที่ตัวเมียไม่กัดดูดเลือดคนหรือสัตว์เลย

ยุงตัวเมียวางไข่ประมาณ 30-300 ฟองต่อครั้ง ขึ้นอยู่กับชนิดของยุงและปริมาณเลือดที่กินเข้าไป ไข่จะมีสีขาวหรือครีมเมื่อออกมาใหม่ๆ และในเวลาไม่กี่นาทีจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลหรือน้ำตาลดำไปจนถึงสีดำ ไข่ยุงมีรูปร่างลักษณะหลายแบบขึ้นอยู่กับชนิด ยุงลายวางไข่บนวัตถุชื้นๆ เหนือผิวน้ำ ยุงรำคาญวางไข่ติดกันเป็นแพบนผิวน้ำ ยุงก้นปล่องวางไข่บนผิวน้ำ ส่วนยุงเสือวางไข่ติดกันเป็นกลุ่มใต้ผิวน้ำติดกับพืชน้ำที่ลอยอยู่ ไข่ยุงส่วนใหญ่ทนต่อความแห้งแล้งไม่ได้ยกเว้นไข่ของยุงลายซึ่งสามารถทนทานต่อความแห้งแล้งได้นานหลายเดือน ในเขตร้อนชื้นไข่จะฟักออกเป็นตัวภายใน 2-3 วัน

ลูกน้ำของยุงเป็นระยะที่มีความแตกต่างจากตัวอ่อนของแมลงชนิดอื่น มีลักษณะส่วนอกกว้างใหญ่กว่าส่วนหัวและส่วนท้อง เมื่อออกมาจากไข่ใหม่ๆ จะมีขนาดเล็กมากและค่อยๆ โตขึ้น มีการลอกคราบ 4 ครั้ง ก่อนที่จะเป็นตัวโม่ง ลูกน้ำต้องอาศัยอยู่ในน้ำตลอดระยะที่ดำรงชีวิต มีบางชนิดที่ปรับสภาพพัฒนาตัวเอง

ให้เข้ากับสภาพแวดล้อม เช่น สามารถอยู่ได้ในสภาพที่เป็นโคลนเปียก หรือในน้ำที่มีอุณหภูมิต่ำหรือสูง

ลูกน้ำของยุงชนิดต่างๆ หายใจจากผิวน้ำโดยผ่านท่อหายใจ ( ยุงลายและยุงรำคาญ ) หรือรูหายใจ ( ยุงก้นปล่อง ) แต่ลูกน้ำของยุงเสือมีท่อหายใจที่สามารถสอดหรือแทงเข้าไปในบริเวณรากของพืชน้ำ โดยเฉพาะพวกจอกและผักตบชวา เพื่อใช้ออกซิเจนจากโพรงอากาศที่อยู่ที่รากหรือลำต้นของพืชน้ำ ลูกน้ำยุงกินอาหารจำพวก แบคทีเรีย โปรโตซัว ยีสต์ สาหร่าย และพืชน้ำที่มีขนาดเล็ก ลูกน้ำยุงก้นปล่องส่วนใหญ่หากินบริเวณผิวน้ำ บางชนิดอาจดำลงไปกินอาหารใต้ผิวน้ำด้วย ในขณะที่ลูกน้ำยุงลาย ยุงรำคาญ และยุงเสือหากินใต้ผิวน้ำ ลูกน้ำยุงยักษ์กินลูกน้ำชนิดอื่นหรือพวกเดียวกันเองเป็นอาหาร ในเขตภูมิประเทศร้อนชื้นลูกน้ำใช้เวลาประมาณ 1-2 สัปดาห์จึงกลายเป็นตัวโม่ง ระยะตัวโม่ง ( pupa ) มีรูปร่างคล้ายเครื่องหมายจุลภาค ( , ) อาศัยอยู่ในน้ำ ตัวโม่งเป็นระยะพักตัว

จะไม่กินอาหาร รับเอาอากาศในการหายใจแต่เพียงอย่างเดียว เมื่อถูกรบกวนจะดำน้ำลงสู่ข้างล่างใต้น้ำอย่างรวดเร็วและอยู่ใต้น้ำได้นานหลายนาที ตัวโม่งของยุงลายเสือแตกต่างกับชนิดอื่นโดยมีท่อหายใจแหลมสามารถแทงเข้ารากหรือลำต้นพืชน้ำเพื่อหายใจเหมือนกับระยะลูกน้ำ ในภูมิประเทศเขตร้อนตัวโม่งจะใช้เวลา 2-4 วัน ยุงตัวเต็มวัยลอกคราบออกมาไม่กี่นาทีก็สามารถบินได้ ยุงตัวเมียบางชนิดชอบกัดกินเลือดคน (philic) บางชนิดชอบกินเลือดสัตว์ (zoophilic) บางชนิดกัดดูดเลือดโดยไม่เลือก ยุงสามารถเสาะพบเหยื่อได้โดยอาศัยปัจจัย

หลายประการ เช่น กลิ่นตัว คาร์บอนไดออกไซด์ ( ที่ออกมาจากลมหายใจ ) หรืออุณหภูมิของร่างกาย

ยุงที่เป็นพาหะนำโรคที่สำคัญ ได้แก่

ยุงก้นปล่อง เป็นพาหะนำโรคมาลาเรีย ในประเทศไทยเท่าที่พบในปัจจุบันมียุงก้นปล่องอย่างน้อย 73 ชนิด แต่มีเพียง 3 ชนิด ที่เป็นพาหะสำคัญ สังเกตยุงชนิดนี้ได้ง่ายเวลามันเกาะพัก จะยกก้นชี้เป็นปล่อง

ยุงลาย ที่พบตามบ้านเรือนหรือชนบท (Aedes aegypti และ Aedes albopictus) เป็นพาหะสำคัญของโรคไข้เลือดออก ส่วนยุงลายป่าเป็นพาหะโรคเท้าช้าง

ยุงลายชนิด Ae. aegypti หรือ ยุงลายบ้าน พบบ่อยเป็นประจำในเขตเมือง มีขนาดค่อนข้างเล็ก บินได้ว่องไว บน scutum มีลายสีขาวรูปเคียว 2 อัน อยู่ด้านข้าง มีขาลายชัดเจน ยุงชนิดนี้เพาะพันธุ์ในภาชนะที่มีน้ำขัง

ทุกขนาดทั้งในและนอกบ้าน ชอบกัดกินเลือดคนมากกว่ากินเลือดสัตว์ มักหากินเวลากลางวันช่วงสายและบ่าย ยุงลายชอบเข้ากัดคนทางด้านมืดหรือที่มีเงาโดยเฉพาะบริเวณขาและแขน ขณะที่กัดมักไม่ค่อยรู้สึกเจ็บ คนถูกกัดจึงไม่รู้สึกตัว ยุง Ae. aegypti กัดทั้งในบ้านและนอกบ้าน และเกาะพักตามมุมมืดในห้อง โอ่ง ไห หรือตามพุ่มไม้ที่เย็นชื้น

ยุงลายอีกชนิดหนึ่ง คือ Ae. albopictus หรือยุงลายสวน พบได้ทั่วไปในเขตชานเมือง ชนบทและในป่า

มีลวดลายที่ scutum แตกต่างจาก Ae. aegypti คือมีแถบยาวสีขาวพาดผ่านตรงกลางไปตามความยาวของลำตัว เพาะพันธุ์ในภาชนะที่มีน้ำขัง กระบอกไม้ โพรงไม้ กะลามะพร้าว ใบไม้ ฯลฯ ยุงชนิดนี้มีอุปนิสัยคล้ายๆ กับ

Ae. aegypti แต่มีความว่องไวน้อยกว่า

ยุงรำคาญ มีหลายชนิดที่ไม่ใช่ก่อความรำคาญเพียงอย่างเดียว แต่เป็นพาหะที่สำคัญของทั้งไวรัส

ไข้สมองอักเสบและโรคเท้าช้าง ลูกน้ำยุงรำคาญมักอาศัยอยู่ในน้ำไม่ว่าจะเป็นน้ำนิ่งหรือน้ำไหล ที่ค่อนข้างสกปรกที่มีไนโตรเจนสูงหรือมีการหมักเน่าของพืช

ยุงรำคาญ ที่พบบ่อยในเขตเมือง ได้แก่ Culex quinquefasciatus เป็นยุงสีน้ำตาลอ่อน เพาะพันธุ์ในน้ำเสีย ตามร่องระบายน้ำ คู และหลุมบ่อต่างๆ ยุงรำคาญพบบ่อยในชนบท ได้แก่ Cx. Tritaeniorhynchus และ Cx. vishnu เนื่องจากมีท้องนาเป็นแหล่งเพาะพันธุ์หลัก โดยเฉพาะช่วงที่ไถนา และบริเวณหญ้าแฉะรกร้าง จึงมีมากในฤดูฝน ยุงชนิดนี้ชอบกัดสัตว์ พวกวัว ควาย และหมูมากกว่าคน ยุงที่ก่อความรำคาญอีกสกุลหนึ่งที่มักกัด

ในเวลาพลบค่ำ มีขนาดใหญ่บินช้าๆ และกัดเจ็บ คือ ยุง Armigeres ไม่มีชื่อภาษาไทย

ยุงลายเสือ หรือยุงเสือ ลำตัวและขามีลวดลายค่อนข้างสวยงาม บางชนิดมีสีเหลืองขาวสลับดำคล้าย

ลายของเสือโคร่ง เช่น Ma.uniformis บางชนิดมีลายออกเขียว คล้ายตุ๊กแก เช่น Ma. annulifera ยุงเหล่านี้

ชอบเพาะพันธุ์ในบริเวณที่เป็นหนอง คลอง บึง สระ ที่มีพืชน้ำพวก จอก และผักตบชวา อยู่

ยุงลายเสือจะมีปีกแตกต่างจากยุงกลุ่มอื่น คือ เส้นปีกจะมีเกล็ดใหญ่สีอ่อนสลับเข้ม ลำตัวปกคลุมด้วยเกล็ดเช่นกัน ทำให้ดูคล้ายมีฝุ่นผงเกาะติดทั่วตัว ขาลายเป็นปล้องๆ ตัวแก่มักจะกินเลือดสัตว์มากกว่าคน กัดกินเลือดนอกบ้าน โดยเฉพาะตามทุ่ง หนองน้ำ คลอง บึง ที่มีพืชน้ำขึ้น มักกัดเวลาพลบค่ำหลังพระอาทิตย์ตกดิน หรือบางครั้งกัดตอนกลางวันถ้ามีเหยื่อเข้าไปใกล้บริเวณเกาะพัก ยุงลายเสือหลายชนิดเป็นพาหะของโรคเท้าช้าง

ในภาคใต้ของประเทศไทย บางชนิดเป็นพาหะบริเวณชายแดนไทย – พม่า

สัณฐานวิทยาภายในของแมลง

องค์ประกอบภายในตัวแมลงจะประกอบด้วยระบบต่างๆ ได้แก่ ระบบประสาท ระบบทางเดินอาหาร ระบบหมุนเวียนโลหิต ระบบขับถ่าย ระบบหายใจ และระบบสืบพันธุ์ ในที่นี้จะกล่าวเฉพาะระบบ สำคัญๆ เท่านั้น

ระบบประสาท จะประกอบด้วย 3 ระบบใหญ่ๆ คือ central nervous system, visceral nervous system, peripheral nervous system

ระบบทางเดินอาหาร ประกอบด้วย ต่อมน้ำลาย กระเพาะพัก กึ๋น ติ่งน้ำย่อย ลำไส้ส่วนกลางจนไปถึง ทวารหนัก ซึ่งแต่ละส่วนจะทำหน้าที่คล้ายกับระบบย่อยอาหารของมนุษย์

ระบบหายใจ แมลงหายใจโดยใช้ท่อลม ( trachea ) และรูหายใจ ( spiracle ) ส่วนตัวอ่อนของแมลง

ที่อาศัยในน้ำจะใช้เหงือกในการหายใจ

แมลงและญาติสนิท

แมลงสังคมอย่างเช่น มดและผึ้ง เป็นตัวอย่างที่พบเห็นได้ง่ายที่สุดของสัตว์สังคม พวกมันอาศัยอยู่ร่วมกันเป็นอาณาจักรขนาดใหญ่ โดยแบ่งหน้าที่การงานกันอย่างเป็นระบบและเรียบร้อย บางครั้งอาณาจักรเช่นนี้อาจเรียกได้ว่าเป็น superorganism ในภาษาไทยอาจเรียกได้ว่า “