ศาลเจ้าปึงเถากง

ศาลเจ้าปึงเถากง

เทพประธานของศาลแห่งนี้ คือ เจ้าพ่อปึงเถ้ากง ความหมายในภาษาไทย คือ ปู่ ตามความเชื่อโบราณเชื่อว่า แต่ละท้องที่มีเทพประจำ ชาวแต้จิ๋วเรียกโดยทั่วไปว่า “ตี่เถ่าเล่าเอี๊ย” หรือ “เทพผู้เป็นใหญ่ ณ ที่นั้น” ไม่ว่าชาวจีนจะอพยพไปอยู่ที่ใดก็ยังยึดมั่นความเชื่อนี้อยู่ จึงได้แกะสลักรูปเคารพของเทพตี่เถ่าเล่าเอี๊ยจากไม้ขึ้นมาเพื่อเคารพบูชา ภายหลังเรียกอย่างง่ายๆ ว่า “ปึงเถ้ากง”

ปึงเถ้ากงเป็นเทพเจ้าองค์เดียวกับแป๊ะกง ซึ่งเป็นเทพเจ้าที่ดิน ซึ่งมีอยู่ทั่วไปในเมืองจีนตามชุมชนต่างๆ จะมีศาลแป๊ะกงให้เห็นเสมอแป๊ะกงมีบทบาทสำคัญมากในสังคมสมัยก่อน งิ้วหลายเรื่องถ่ายถอดให้เห็นว่ากษัตริย์, ขุนนาง, คนเดินทางใครตกระกำลำบากก็ไปอาศัยศาลแป๊ะกง เป็นที่พักแรม, ที่หลบภัย หรือร้องทุกข์กับเทพเจ้า แป๊ะกง ซึ่งเป็นเทพระดับล่างก็มีหน้าที่ส่งรายงานขึ้นไปเบื้องบนลิ้มเฮียยังเล่าถึงนิทานพื้นบ้านแต้จิ๋วเรื่องหนึ่งซึ่งกล่าวถึงแป๊ะกงว่า สมัยราชวงศ์หมิง เอ็งบ่วงตั๊ก-เสนาบดีกลาโหมชาวแต้จิ๋วยกทัพไปรบ ระหว่างทางแวะพักแรมที่ศาลแป๊ะกง แต่ปรากฏว่าทหารในกองทัพถูกเสือฆ่าตายเอ็งบ่วงตั๊กเดินไปตำหนิแป๊ะกงในศาลว่าเป็นเทพเจ้าที่ไม่ดูแลพื้นที่ให้เรียบร้อยปล่อยให้เสือมาทำร้ายทหารหลวงได้อย่างไร ทั้งสั่งให้แป๊ะกงไปเรียกเสือตัวที่ฆ่าคนตายมารับผิด เมื่อเสือมาพบเอ็งบ่วงตั๊กสั่งให้เสือตัวนั้นถือธงประจำกองทัพแทนทหารที่ตายเป็นการทำคุณไถ่โทษ นิทานเรื่องนี้ทำให้รู้ว่าแป๊ะกง ไม่ได้ดูแลแต่คน หากรวมถึงสรรพสัตว์และสภาพดินฟ้าอากาศของชุมชนอีกด้วยแต่เมื่อคนจีนออกมาทำกินในโพ้นทะเล อาชีพเกษตรที่เคยทำส่วนใหญ่เปลี่ยนเป็นค้าขาย ขณะที่ชื่อของ“ปึงเถ่ากง” ในภาษาแต้จิ๋วนั้นมีความหมายที่ดี คำว่า “ปึง” มาจาก “ปึงจี๊” แปลว่า เงินทุน คำว่า “เถ่า” มาจาก“เถ่าใช่” แปลว่า นิมิตหมายที่ดี ส่วนคำว่า “กง” ใช้เรียกผู้อาวุโส ผู้ชาย หรือหมายถึง ปู่, ตา ปึงเถ่ากงจึงเป็นเทพเจ้าในใจคนที่ทำการค้า ซึ่งลักษณะทั่วไปของคนค้าขายจะอาศัยอยู่ในเมือง หรือ ชุมชนขนาดใหญ่ ประกอบกับการขยายตัวของสังคมเมือง ปึงเถ่ากง จึงกลายเป็นเทพเจ้าของคนในเมือง ขณะที่คนในชนบทที่ห่างไกลออกไปยังคงนับถือและเรียกท่านว่า “แป๊ะกง” เช่นเดิม แป๊ะกงจึงกลายเป็นเทพเจ้าของคนในเมืองขณะที่คนในชนบทที่ห่างไกลออกไปยังคงนับถือและเรียกท่านว่า“แป๊ะกง”เช่นเดิม แป๊ะกงจึงกลายเป็นเทพเจ้าของคนในชนบท ขณะที่ปึงเถ่ากงเป็นเทพเจ้าของคนเมืองไปโดยปริยาย