วัฒนธรรม ประเพณี

มีผู้ให้คำจำกัดความของคำว่า "วัฒนธรรม" ไว้มากมาย แต่เมื่อพิจารณาถึงสาระสำคัญแล้ว สรุปได้ว่า "วัฒนธรรม" หมายถึง "แบบอย่างหรือวิถีการดำเนินชีวิตของชุมชนแต่ละกลุ่ม เป็นตัวกำหนดพฤติกรรมการอยู่ร่วม กันอย่างปกติสุขในสังคม" วัฒนธรรมแต่ละสังคมจะแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับข้อจำกัดทางภูมิศาสตร์ และทรัพยากร ต่างๆ ลักษณะอีกประการหนึ่งของวัฒนธรรมคือ เป็นการสั่งสมความคิด ความเชื่อ วิธีการ จากสังคมรุ่นก่อน ๆ มีการเรียนรู้ และสามารถถ่ายทอดไปยังรุ่นต่อๆ ไปได้ วัฒนธรรมใดที่มีรูปแบบ หรือแนวความคิดที่ไม่เหมาะสม ก็อาจจะเลือนหายไป

วัฒนธรรม เป็นสิ่งที่แสดงความเป็นชาติให้ปรากฏชัดเจนขึ้น ประเทศไทยมีวัฒนธรรมที่โดดเด่นทำให้คนไทย แตกต่างจากชาติอื่น ๆ มีเอกลักษณ์ประจำชาติที่เห็นได้จากภาษาที่ใช้ อุปนิสัยใจคอ ความรู้สึกนึกคิดตลอดจนการ แสดงออกที่นุ่มนวล อันมีผลมาจากสังคมไทยที่เป็นสังคมแบบประเพณีนำ และเป็นสังคมเกษตรกรรม เนื่องจาก ประชากรส่วนใหญ่ใช้ชีวิตอยู่ในชนบท สภาพของสิ่งแวดล้อมที่ดี กล่อมเกลาจิตใจมีความโอบอ้อมอารี มีน้ำใจเอื้อเฟื้อ เกื้อกูลซึ่งกันและกันตลอดมา

หากแบ่งวัฒนธรรมด้วยมิติทางการท่องเที่ยวแล้ว

จะสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท ได้แก่

วัฒนธรรมที่เป็นนามธรรม หมายถึงสิ่งที่ไม่ใช่วัตถุ ไม่สามารถมองเห็น หรือจับต้องได้ เป็นการแสดงออกในด้าน ความคิด ประเพณี ขนบธรรมเนียม แบบแผนของพฤติกรรมต่าง ๆ ที่ปฏิบัติสืบต่อกันมา เป็นที่ยอมรับกันในกลุ่มของ ตนว่าเป็นสิ่งที่ดีงามเหมาะสม เช่น ศาสนา ความเชื่อ ความสนใจ ทัศนคติ ความรู้ และความสามารถ วัฒนธรรม ประเภทนี้เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้เกิด วัฒนธรรมที่เป็นรูปธรรม ขึ้นได้ และในบางกรณีอาจพัฒนาจนถึงขั้นเป็น อารยธรรม (Civilization) ก็ได้ เช่น การสร้างศาสนสถานในสมัยก่อน เมื่อเวลาผ่านไปจึงกลายเป็นโบราณสถาน ที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์

หากพิจารณาความหมาย และลักษณะของวัฒนธรรมที่กล่าวไว้ข้างต้นแล้ว ทรัพยากรการท่องเที่ยวประเภทที่ 2 เป็นผลผลิตของวัฒนธรรมที่มีตัวตน เป็นรูปธรรมเห็นได้ชัดเจน ส่วนประเภทที่ 3 มีสภาพแรกเริ่มมาจากแนวความคิด ความเชื่อและวิถีชีวิต ซึ่งเป็นนามธรรม แต่ได้มีการพัฒนาจนมีลักษณะทางวัฒนธรรมที่เป็นรูปแบบขึ้นมา ทำให้นัก ท่องเที่ยวสามารถสัมผัสทรัพยากรการท่องเที่ยวประเภทนี้ได้โดยตรง

จึงเห็นได้ชัดเจนว่า วัฒนธรรมที่เป็นแนวความคิด ความเชื่อ เป็นนามธรรมล้วน cต่เพียงอย่างเดียว ไม่ถือว่าเป็น ทรัพยากรทางการท่องเที่ยว วัฒนธรรมที่เป็นรูปธรรมเท่านั้น จึงจะสามารถพัฒนาให้เป็นจุดสนใจของนักท่องเที่ยวได้ ตัวอย่างวัฒนธรรมที่จะนำมาใช้ประโยชน์ในการท่องเที่ยว ได้แก่ แหล่งท่องเที่ยวประเภทโบราณสถาน อุทยาน ประวัติศาสตร์ ศาสนสถาน โบราณวัตถุ งานศิลปกรรม สถาปัตยกรรม นาฏศิลป์ การละเล่นพื้นบ้าน เทศกาลและงาน ประเพณี งานศิลปหัตถกรรมที่พัฒนามาเป็นสินค้าประจำท้องถิ่น ตลอดจนวิถีชีวิตความเป็นอยู่ และอัธยาศัยไมตรีของ คนไทย ล้วนแล้วแต่เป็นทรัพยากรการท่องเที่ยวที่สำคัญของประเทศไทย เป็นเสมือนตัวเสริมการท่องเที่ยวให้มีความ สมบูรณ์ เป็นจุดเด่นหรือจุดขายของแหล่งท่องเที่ยวนั้น ๆ เพิ่มความประทับใจให้นักท่องเที่ยวได้มากขึ้น ถึงแม้ว่า ประเทศไทยจะมีทรัพยากรประเภทศิลปวัฒนธรรมที่หลากหลาย แต่ก็มีการผสมผสานสอดคล้องเป็นวัฒนธรรมไทย ได้อย่างกลมกลืน


ภาพ จาก www.google.com

เรื่อง/เนื้อหา จาก www.google.com