การสานสุ่มไก่

การสาน เป็นขั้นตอนที่ยาก และต้องใช้ความละเอียดมากที่สุด เริ่มจากการก่อฐานด้านล่างด้วยเส้นตอกสองชนิด คือ ตอกยืน (ตอก-ตั้ง) ซึ่งจะมีลักษณะคอดตรงกลางต่างจากตอกทั่ว ๆ ไป และตอกนอน (ตอกสาน) ที่มีขนาดกว้างเท่ากันเท่ากันทั้งเส้นตากปกติ เมื่อสานเสร็จแล้ว ต้องมีการรมควัน ซึ่งจะเป็นขั้นตอนสุดท้ายของการสานเพื่อเพิ่มความแข็งแรง สวยงาม แก่เครื่องจักสานด้วยหวาย ในส่วนที่ต้องการเสริมเป็นพิเศษได้แก่ ปาก ขา หู การผูกและพันด้วยหวาย จะเสริมให้เครื่องจักสานเกิดความสวยงาม

เราก็ได้รู้เทคนิคและพื้นฐานการจักสานกันไปแล้ว ขั้นตอนก็ไปเรามาเริ่ม ฝึกสานสุ่มไก่ไปพร้อมๆกันเลยจ้า


  1. เริ่มจากสานตอกยาวและตอกยืนเป็นหัวสุ่มแบบลายขัด

2. ใช้ค้อนตอกตะขอข้อไผ่หลักหมุดยึดหัวสุ่มบนพื้นดินลานกว้าง เพื่อยึดสุ่มไก่ ไว้ใน การสานขึ้นรูป


3. ใช้ตอกยาวสานรอบ ๆ สุ่มไก่เพื่อขึ้นรูปแบบลายหนึ่ง (ยกหนึ่งข้ามหนึ่ง) โดยจุดเริ่มต้นของตอกยาวแต่ละเส้นเปลี่ยนตำแหน่งไปเรื่อย ๆ เพื่อให้สุ่มไก่ได้รูปทรงกลม

4. สานตีนสุ่มโดยใช้ตอกไผ่ตีนประมาณ 5 เส้น


5. ใช้เลื่อย เลื่อยตัดส่วนตอกยืนที่ยื่นยาวตีนสุ่มไก่ทิ้งไป เป็นอันเสร็จเรียบร้อยจ้า


สุดท้ายนี้ ขอฝากแนวคิดไว้ว่า ธรรมชาติเป็นสิ่งที่มีมาก่อนมนุษย์ เมื่อมนุษย์เข้ามาอยู่อาศัยอยู่ร่วมกับธรรมชาติ จึงก่อให้เกิดการสร้างสรรค์สิ่งต่างๆที่จำเป็นต่อการดำเนินชีวิต การปรับตัวของมนุษย์ เพื่อให้เข้ากับสภาพแวดล้อมธรรมชาติ จึงก่อให้เกิดภูมิปัญญาต่างๆ จึงช่วยให้คนในท้องถิ่น สามารถพึ่งพาตนเองได้ โดยไม่ทำลายสภาพแวดล้อมธรรมชาติ และไม่ส่งผลกระทบต่อมนุษย์ด้วยกันเองและสิ่งแวดล้อม แล้วเจอกันใหม่นะคะ สวัสดีค่ะ


ภาพ : โดย อัญชลี ห้วยหงษ์ทอง

เนื้อหา/เรื่อง : โดย อัญชลี ห้วยหงษ์ทอง

เรื่อง/เนื้อหา : โดย อัญชลี ห้วยหงษ์ทอง